พระสงฆ์ออกฟิตเนสได้หรือไม่ ?

 
Pure.
วันที่  24 ก.พ. 2556
หมายเลข  22529
อ่าน  6,154

- ดังทราบมาว่า ณ ปัจจุบันพระสงฆ์เป็นโรคประจำตัวเยอะมาก เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไตพิการ โรคเบาหวาน ฯลฯ เป็นเพราะท่านไม่สามารถที่จะเลือกฉันอาห ารได้หรือไม่?

- เป็นเพราะท่านไม่สามารถออกกำลังกายได้ใช่หรือไม่?

- ณ ปัจจุบันมีเครื่องออกกำลังกายในร่มอยู่หลากหลายรูปแบบ โยมสามารถซื้อไปถวา ยท่านได้หรือไม่เพื่อสุขภาพของท่านทั้งหลาย?

- มีพระวินัยบัญญัติไว้ไหมว่าห้ามภิกษุออกกำลังกาย?

- ภายในวัดสามารถสร้างห้อง Fitness สำหรับภิกษุ-สามเณรได้ไหม?

- ขออาจารย์แสดงความคิดเห็นตามความเหมาะสมครับ...

ขออนุโมทนา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 24 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็น ครับ

พระภิกษุเป็นเพศบรรพชิต ที่สละอาคารบ้านเรือนออกบวชด้วยศรัทธา เห็นประ โยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเองยิ่งขึ้นในเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ความเป็นอยู่ของพระภิกษุก็ต้องอาศัยศรัทธาของคฤหัสถ์ อาหารบิณฑบาต ตลอดจนถึงปัจจัยเครื่องอาศัยที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิต มีที่อยู่อาศัย จีวร ยารักษาโรค ก็เพื่อประคับประคองให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ เพื่อประโยชน์ในการอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสต่อไป การที่จะท่านมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นนั้น ก็เพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเพียงอย่า งเดียว และ ตามพระธรรมวินัย ก็มีการอนุญาตยารักษาโรค อนุญาตการอุปัฏฐากดูแลเมื่อพระภิกษุด้วยกันเกิดอาพาธเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เป็นธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นธรรมดาของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว และ ในที่สุดก็จะต้องละจากโลกนี้ไปด้วยกันทั้งนั้น สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งจริงๆ ก็คือ ความดีและความเข้าใจพระธรรม การอบรมเจริญปัญญา ตามหนทางที่พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ จะเป็นเพื่อคว ามสิ้นไปแห่งโรคทางใจ คือ กิเลส ซึ่งเป็นสิ่งที่เสียดแทงจิตใจ เป็นโรคที่เห็นได้ยากกว่าโรคทางกาย และที่มีโรคทางกายก็สืบเนื่องมาจากการเกิด ซึ่งเหตุจริงๆ ก็คือ กิเลสนี้เอง

ความเป็นบรรพชิตก็มีการสำรวมตามพระธรรมวินัย การออกกำลังกาย การคึกคะนอง อย่างเพศคฤหัสถ์ เป็นสิ่งทีี่่ไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตโดยแท้ แสดงถึงภาวะของผู้ที่ไม่ได้ขัดเกลากิเลส ไม่เป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใสของผู้ที่ได้พบ เห็น และประการที่สำคัญ การได้กระทำกิจที่ควรทำในภาวะของตนๆ เช่นเดินบิณ ฑบาต การกวาดวิหารลานเจดีย์ เป็นต้น ก็ได้ชื่อว่าการบริหารร่างกายไปในตัวอยู่แล้ว และไม่ผิดพระวินัยด้วย

สิ่งที่ควรถวายแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นสิ่งที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิต มีอาหาร บริขารเครื่องใช้ต่างๆ จีวร ยารักษาโรค ไม่ใช่สิ่งของอย่างอื่นที่ไม่ควรแก่เพศของท่าน ส่วนประเด็นเรื่องการสร้างห้อง Fitness สำหรับภิกษุ-สามเณรนั้น ไม่ควรโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ใช่กิจที่ท่านจะต้องทำ กิจที่จะต้องทำที่สำคัญที่สุด คือ การอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย แต่ถ้าเป็นกุฏิ เสนาสนะต่างๆ คฤหัสถ์สามารถสร้างถวายไว้ในพระพุทธศาส นาได้ และจะต้องให้คฤหัสถ์เป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุอันจะเกี่ยวเนื่องกับการใช้จ่ายเงิน

ความเข้าใจพระธรรมวินัยจากการศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ที่จะได้กระทำเฉพาะในสิ่งที่ถูกต้อ งเหมาะสม และ หลีกเลี่ยงการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

พระภิกษุสงฆ์ สามารถบริหารร่างกาย ได้หรือไม่

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ดังทราบมาว่า ณ ปัจจุบันพระสงฆ์เป็นโรคประจำตัวเยอะมาก เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไตพิการ โรคเบาหวาน ฯลฯ เป็นเพราะท่านไม่สามารถที่จะเลือกฉันอาหารได้หรือไม่?

สำหรับการเกิดขึ้นหรือสมุฏฐาน เหตุให้เกิดโรค มีหลายประการ ทั้งเกิดจากกรรม จิต อุตุ และอาหาร ดังนั้นโรคบางอย่าง สามารถเกิดจากกรรมก็ได้ ไม่ใช่เกิดจากอาหาร โรคบางอย่างเกิดจากอุตุ อากาศ ความเย็น ความร้อน ไม่ใช่เกิดจากอาหารก็ได้ และ โรคบางอย่างก็เกิดจากจิต เช่น เกิดอกุศลจิตมากๆ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปที่ไม่ดี เช่น เครียดบ่อยๆ ทำให้เกิดปวดหัว เป็นต้น ก็เพราะอาศัยรูปที่ไม่ดี ทำให้เกิดโรคได้ เป็นต้น ส่วนโรคบางอย่างก็เกิดจากอาหารเป็นปัจจัย อาหารที่ไม่ดีกับร่างกาย คือ รูปที่ไม่ประณีต ย่อมมีผลกับธาตุที่เป็นรูปในร่างกายที่ประชุมรวมกันได้ ครับ แต่มีปัจจัยหลัก คือ กรรมเป็นปัจจัย ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรค ก็เป็นปัจจัยที่รองลงมา ซึ่งในส่วนของการฉันอาหารของพระภิกษุนั้น ภิกษุผู้ฉลาด ย่อมบริโภค ไม่ใช่ด้วยความโลภ แต่บริโภคอาหารเพียงเพื่อความดำรงอยู่ เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ได้ต่อไปในเวลานาน เพราะฉะนั้นเมื่อได้อาหารมา ภิกษุผู้ฉลาด ย่อมพิจารณาอาหารด้วยกุศลจิตว่า จะบริโภคอาหารเพื่อดำรงชีวิตที่จะอบ รมปัญญาต่อไป และก็พิจารณาอาหารที่ฉันแล้ว ไม่เป็นโทษกับตัวท่านเอง คือ เสพปัจจัยด้วยความเหมาะสม คือ อาหารใดที่ไม่ถูกกับโรคของท่าน และ จะทำให้โรคของท่านกำเริบ ท่านก็สามารถที่จะไม่ฉันอาหารนั้นได้ ครับ ไม่ได้หมายความว่า เมื่อได้อาหารใดก็จะต้องฉันทุกอย่าง แต่ความเป็นผู้สันโดษ ข้อหนึ่ง คือ สันโด ษตามความเหมาะสม คือ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องฉันอาหารที่ได้ทั้งหมด เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้เลี้ยงง่าย แต่การพิจารณาอาหารที่ได้มา และฉันตามความเหมาะสม คือ ไม่เป็นโทษกับร่างกายที่เป็นโรค ก็ชื่อสันโดษตามความเหมาะสม เพราะไม่ให้เกิดโรค เพื่อที่จะประพฤติพรหมจรรย์ อบรมปัญญา ในการมีชีวิตอยู่ต่อไป ครับ


-เป็นเพราะท่านไม่สามารถออกกำลังกายได้ใช่หรือไม่?

ตามที่กล่าวแล้วครับว่า โรคเกิดได้จากเหตุหลายอย่าง ซึ่งโรคบางอย่าง ก็เกิดเพราะการไม่ออกกำลังกายก็ได้ แต่ในความเป็นจริง การออกกำลังกายของพระภิกษุมีอยู่ และ ถูกต้อง ตรงตามพระวินัย คงจะเคยได้ยินคำว่า จงกรม อยู่บ่อยๆ ที่ในความหมาย คือ เดินไปเดินมา แต่ยุคสมัยปัจจุบัน สำคัญว่าการเดินจงกรมเป็น การปฏิบัติธรรม ทั้งๆ ที่ความจริง การปฏิบัติธรรม คือ นามธรรม ที่เป็น สติ และปัญญา ที่เกิดรู้ความจริงในขณะไหนก็ได้ อิริยาบถใดก็ได้ โดยไม่ได้มีรูปแบบว่า การปฏิบัติจะต้องเป็นการเดินจงกรม เพราะหากขาดความเข้าใจถูก ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ปัญญาก็ไม่เกิด ดังนั้น การเดินจงกรมของพระภิกษุ เป็นการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ จากที่ท่านนั่งนาน หรือ มีการนอน ก็เปลี่ยนเป็นการเดินไป เดินมา ในสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อเปลี่ยน ลด ความเมื่อยล้า และ เป็นการบริหาร่างกายของพระภิกษุไปในตัวด้วย เพียงแต่ผู้มีปัญญา ท่านก็สามารถเกิดสติและปัญญาในขณะจงกรมได้ การจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกายของพระภิกษุที่ถูกต้องตรงตามพระวินัย ครับ


- ณ ปัจจุบันมีเครื่องออกกำลังกายในรมอยู่หลากหลายรูปแบบโยมสามารถซื้อไปถวายท่านได้หรือไม่เพื่อสุขภาพของท่านทั้งหลาย?

พระภิกษุต่างจากเพศคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น พระภิกษุจะมีสิ่งของที่เกินจำ เป็นดังเช่นคฤหัสถ์ไม่ได้ และ สิ่งที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ คือ บริขาร 8 ดังนั้นการ ถวายครื่องออกกำลังกายจึงไม่สมควร เพราะเป็นของที่ไม่เหมาะกับเพศพระภิกษุ แต่เหมาะกับเพศคฤหัสถ์ ครับ


-มีพระวินัยบัญญัติไว้ไหมว่าห้ามภิกษุออกกำลังกาย?

การออกกำลังกาย หากออกโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมดังเช่นคฤหัสถ์ ย่อมถู กชาวโลกติเตียนว่าทำตนดังเช่นคฤหัสถ์ ผู้ที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสมากขึ้น ผู้ที่เลื่อมใสอยู่ย่อมเสื่อมจากความเลื่อมใส จึงไม่สมควรออกกำลังกายด้วยเครื่องบริหารดังเช่นคฤหัสถ์ แต่สามารถออกกำลังกายโดยการเปลี่ยนอิริยาบถ มีการเดินจงกรม และ การทำกิจของพระภิกษุ มีการกวาดลานวัด เป็นต้น ได้ครับ


-ภายในวัดสามารถสร้างห้อง Fitness สำหรับภิกษุ-สามเณรได้ไหม?

สิ่งใดที่เป็นเพื่อความมักมาก เกินความจำเป็น และ ไม่ใช่เพื่อละ สละ ขัดเกลา ย่อมไม่สมควรกับพระภิกษุเลย เพราะฉะนั้นการสร้าง ควรสร้างสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ที่เหมาะกับเพศบรรพชิต ไม่ควรสร้างสิ่งที่คล้ายวิถีชีวิตดั่งเพศคฤหั สถ์


การดำรงชีวิตอยู่ได้ยาวหรือสั้น ไม่ใช่สาระสำคัญของชีวิต เท่ากับชีวิตที่ประกอ บด้วยจิตที่เกิดคุณความดี เกิดปัญญา ใช้ชีวิตมีค่าตามความเหมาะสม และ ถูกต้องตามเพศที่ตนเป็นอยู่ หากว่า แม้ชีวิตจะสุขภาพดี มีชีวิตยืนยาว แต่สุขภาพจิตไม่ดี เพราะเต็มไปด้วยจิตที่มากไปด้วยกิเลส ไม่มีธรรมที่รักษาจิตให้ดี คือ คุณควา มดี มี ศรัทธา และ ปัญญา อันเกิดจากการทานยา คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพร ะธรรม ชีวิตแม้นั้นจะยืนยาวแต่ไม่มีคุณความดี ก็สักแต่ว่าอยู่ด้วยลมหายใจเข้า- ออก ไม่ได้มีชีวิตที่เกิดประโยชน์ กลับเกิดมามีแต่โทษ สะสมโทษ ยิ่งอายุยืนนาน ก็สะสมโทษนานขึ้น ตามความไม่รู้ และ กิเลสที่สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ชีวิตที่แม้จะไม่มาก แต่ชีวิต ก็คือ จิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้น ได้สะสม ได้เกิดคุณความดีในจิตใจแต่ละขณะ เป็นผู้มีสุขภาพจิตที่ดี เพราะมีคุณธรรม ปัญญาอันเกิดจากการทานยาที่ดี คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ชีวิตที่เกิดปัญญา แม้เพียงเล็กน้อยบ้าง ชีวิตนั้นก็ชื่อว่าประเสริฐแล้วในขณะจิตนั้น แม้มีชีวิตไม่ยาวนานแต่ก็ชื่อว่าเกิดมามีประโยชน์ เพราะได้ประโยชน์ คือ สะสมคุณความดี เกิดปัญญาในขณะนั้น และ สะสมสิ่งที่ดีต่อไปในภายภาคหน้า ครับ

เรื่อง การมีชีวิตอยู่ที่ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 416

ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌาน ประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น) .

ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีปัญญา มีฌาน ประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น) .

ก็ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรอันทราม พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของท่านผู้ปรารภความเพียรมั่น ประเสริฐกว่า ชีวิตของผู้นั้น.

ก็ผู้ใดไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

ก็ผู้ใดไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นบทอันไม่ตาย ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

ผู้ใดไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 25 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jaturong
วันที่ 27 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
swanjariya
วันที่ 27 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 25 มิ.ย. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ