อรรถกถาสุภาสิตสูตร
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๔๑๓
อรรถกถาสุภาสิตสูตรที่ ๓
สุภาสิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว
อย่างนี้ ดังนี้.
พระสูตรนี้เกิดขึ้นโดยอัธยาศัยของพระองค์. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าวคำน่ารัก. พระองค์ทรงห้ามการกล่าวคำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย โดยทรง
ประกาศคำกล่าวที่เป็นสุภาษิตของพระองค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นเป็นคำของพระสังคี-
ติกาจารย์. ในพระสูตร บทว่า ตตฺรโข ภควา ฯเปฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขุ
นี้ ไม่เคยมีมาแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล. เพราะฉะนั้น เพื่อ
พรรณนาบทที่ไม่เคยมีมาแล้วท่านจึงกล่าวคำนี้. บทว่า ตตฺร แสดงถึงเทศะ
และกาละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในสมัยที่พระองค์อยู่นั้น และ
ในพระอารามที่เสด็จประทับอยู่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงในเทศะและกาละ
อันควรที่จะพึงตรัส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมในเทศะหรือในกาละ
อันไม่สมควร ตัวอย่างในข้อนี้มีอาทิว่า อกาโล โข ตาว พาหิย ดูก่อน
พาหิยะ ยังไม่ถึงกาละอันควรก่อน ดังนี้. บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ
เพียงให้เต็มบท หรือในอรรถแห่งกาลอันเป็นอวธารณะเป็นต้น. บทว่า ภควา
แสดงถึงความเคารพของชาวโลก. บทว่า ภิกฺขุ เแสดงถึงบุคคลที่ควรฟัง
ถ้อยคำ. บทว่า อามนฺเตสิ คือ ร้องเรียกกล่าวให้รู้ บทว่า ภิกฺขโว
แสดงอาการเรียกหา อนึ่งบทนั้นท่านกล่าว เพราะสำเร็จด้วยคุณมีความเป็น
ผู้มีปรกติขอเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึง
ความประพฤติที่ชนเลวและชนดีเสพ ของภิกษุเหล่านั้นจึงทรงกระทำการข่ม
บุคคลผู้ฟุ้งซ่านเป็นคนเลว อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าไปหาพระองค์ด้วยพระดำรัสอันถึงก่อนคือ
มุ่งความกรุณาและพระทัยสุภาพเยือกเย็นและดวงพระเนตรตก แล้วให้ภิกษุ
เหล่านั้นเกิดความใคร่ที่จะฟังพระดำรัสอันแสดงถึงความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าว
นั้นนั่นแล อนึ่ง ทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้นแม้ใส่ใจที่จะฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัส
ให้ตั้งอยู่ในความตรัสรู้นั้นนั่นเอง. จริงอยู่ การถึงพร้อมด้วยคำสอนอาศัยการ
ใส่ใจเพื่อฟังด้วยดี.
หากถามว่าเมื่อมีเทวดาและมนุษย์แม้อื่นๆ อยู่ เพราะเหตุไรพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นเล่า. ตอบว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็น
ผู้ใหญ่และเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ใกล้ชิดและเตรียมพร้อมอยู่ทุกเมื่อ. จริงอยู่
พระธรรมเทศนานี้ทั่วไปแก่บริษัททั้งหมดไม่เฉพาะบุคคล. ภิกษุชื่อว่า ผู้ใหญ่
ในบริษัทเพราะเกิดก่อน ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะรู้ตามพระจริยาของ
พระศาสดาตั้งแต่ออกบวชและรับคำสอนได้ตลอด ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด เพราะ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่นั้นก็นั่งใกล้พระศาสดา ชื่อว่าเตรียมพร้อมทุกเมื่อ
เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรมทั่วไปแก่บริษัททั้งหมด จึงตรัสเรียกภิกษุเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง
ท่านจำแนกไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นด้วยพระดำรัสนี้ว่า
ภิกษุ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามที่สอน. บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นชื่อของความ
เคารพ. บทว่า เต ภิกฺขู ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่าใด
ภิกษุเหล่านั้นแลทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระองค์ตรัสเรียก.
บทว่า จตูหิ องฺเคหิ คือแต่เหตุ ๔ หรือด้วยส่วน ๔. เหตุแห่ง
วาจาสุภาษิต ๔ มีเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น ส่วน ๔ มีพูดจริงเป็นต้น. อนึ่ง
อังคศัพท์ใช้ในอรรถว่า เหตุ. บทว่า สมนฺนาคตา คือมาตามเสมอ เป็นไป
แล้วและประกอบแล้ว. บทว่า วาจา ได้แก่วาจาที่สนทนากันมาในบทมีอาทิว่า
การเปล่งวาจาไพเราะ และการเปล่งวาจาไม่มีโทษ ไพเราะหู, วิญญัตติวาจา
(พูดขอร้อง) อย่างนี้ว่า หากท่านทำกรรมด้วยวาจาเป็นต้น. วิรติวาจา (พูดเว้น)
อย่างนี้ว่า การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา๑เป็นต้น และเจตนา-
วาจา (พูดด้วยเจตนา) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวาจาหยาบที่เสพมาก
อบรมแล้วทำให้มากจะยังสัตว์ให้ไปนรก ดังนี้เป็นต้น ย่อมมาด้วยบทว่า วาจา,
วาจานั้นท่านไม่ประสงค์เอาในสูตรนี้. เพราะเหตุไร เพราะไม่ควรพูด.
บทว่า สุภาสิตา โหติ ได้แก่ กล่าวคำชอบ ด้วยเหตุนั้นท่านแสดง
ความที่วาจานั้นนำประโยชน์มาให้. บทว่า น ทุพฺภาสิตา ได้แก่ ไม่กล่าวคำที่ชั่ว.
ด้วยบทนั้นท่านแสดงความที่วาจานั้นไม่นำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์มาให้.
บทว่า อนวชฺชา ได้แก่ เว้นจากโทษมีราคะเป็นต้นที่จัดว่าเป็นโทษ. ด้วย
บทนั้น ท่านแสดงความที่วาจานั้นบริสุทธิ์ด้วยเหตุ และความที่วาจานั้นไม่มีโทษ
อันทำให้ถึงอคติเป็นต้น. บทว่า อนนุวชฺชา จ ได้แก่ เว้นจากการติเตียน.
ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยอาการทั้งหมดของวาจานั้น. บทว่า
วิญฺญูน ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. ด้วยบทนั้นท่านแสดงว่า ในการนินทา
และสรรเสริญ คนพาลเอาเป็นประมาณไม่ได้. บทว่า กตเมหิ จตูหิ เป็น
คำถามที่พระองค์มีพระประสงค์จะตอบเอง. บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.
บทว่า ภิกฺขเว ได้แก่ ร้องเรียกผู้ที่ประสงค์จะกล่าวด้วย. บทว่า ภิกฺขุ ชี้ถึง
บุคคลที่จะกล่าวถึง โดยประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สุภาสิตเยว ภาสติ ได้แก่ โดยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน
เป็นคำชี้ถึงองค์ใดองค์หนึ่งในองค์ของวาจา ๔. บทว่า โน ทุพฺภาสิต
ได้แก่ ห้ามการกล่าวทักท้วงองค์ของวาจานั้น. ด้วยบทนั้นย่อมปฏิเสธความเห็น
ว่า บางครั้งแม้มุสาวาทเป็นต้นก็ควรพูดได้. หรือว่าด้วยบทว่า โน ทุพฺภาสิต
นี้ ท่านแสดงการละมิจฉาวาจา. บทว่า สุภาสิต นี้เป็นลักษณะของคำพูดที่
ผู้ละมิจฉาวาจานี้ได้แล้วควรกล่าว เหมือนกล่าวถึง ปาปสฺส อกรณ กุสลสฺส
อุปสมฺปท (การไม่ทำความชั่ว การเข้าถึงกุสล) . แต่ท่านกล่าวถึงคำที่ไม่ควร
กล่าวเพื่อแสดงองค์ ควรกล่าวเฉพาะคำที่ไม่ได้กล่าวมาในบท. แม้ในคำ
มีอาทิว่า ธมฺมเยว ก็มีนัยนี้แล. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงคำที่ทำให้สุภาพเว้นจาก
โทษมีส่อเสียดเป็นต้น ด้วยบทนี้ว่า สุภาสิตเยว ภาสติ โน ทุพฺภาสิต
กล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต. ด้วยบทว่า ธมฺมเยว
ภาสติ โน อธมฺม ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม
นี้ ท่านกล่าวถึงคำที่เป็นปัญญา ไม่ปราศจากธรรมเว้นจากโทษคือคำ
เพ้อเจ้อ. ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านกล่าวถึงคำน่ารักเป็นสัจจะ เว้นจากคำหยาบ
และคำเหลาะแหละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์เหล่านั้นโดยประจักษ์ จึง
ทรงสรุปคำนั้นด้วยบทมีอาทิว่า อิเมหิ โข ดังนี้. ส่วนโดยพิสดารในบทนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔
เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ทรงปฏิเสธคำที่พวกอื่นบัญญัติว่า วาจาสุภาษิต
ประกอบด้วยส่วนทั้งหลายมีปฏิญญาเป็นต้น ด้วยบทนามเป็นต้น และด้วยการ
ประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ์ กาล และการกเป็นต้น จากธรรม.
วาจาประกอบด้วยการพูดส่อเสียดเป็นต้น แม้ถึงพร้อมด้วยส่วนเป็นต้น
ก็เป็นวาจาทุพภาษิตอยู่นั่นเอง เพราะเป็นวาจาที่นำความพินาศมาให้แก่ตน
และคนอื่น. วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้ แม้หากว่านับเนื่องด้วยภาษา
ของชาวมิลักขะ (คนป่าเถื่อน) หรือนับเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้และนักขับ
ร้องแม้ดังนั้นก็เป็นวาจาสุภาษิตได้เหมือนกัน เพราะนำโลกิยสุขและโลกุตรสุข
มาให้. เมื่อหญิงรับใช้ผู้ดูแลข้าวกล้าที่ข้างทางในเกาะสีหลขับเพลงขับเกี่ยวด้วย
ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะด้วยภาษาสีหล ภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนาประมาณ
๖๐ รูป เดินไปตามทางได้ยินเข้าก็บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเอง นี่เป็นตัวอย่าง.
อนึ่ง ภิกษุผู้เริ่มวิปัสสนาชื่อติสสะไปใกล้สระปทุม เมื่อหญิงรับใช้เด็ดดอก
ปทุมในสระปทุมขับเพลงขับนี้ว่า
ปาตผุลฺล โกกนท สูริยาโลเกน ตชฺชียเต
เอว มนุสฺสตฺตคตา สตฺตา ชราภิเวเคน มิลายนฺติ
ดอกบัวบานในเวลาเช้า ถูกแสง-
อาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ถึงความเป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อม
เหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของเรา ดังนี้.
ภิกษุนั้นก็บรรลุพระอรหัต.
ในระหว่างพุทธกาล บุรุษผู้หนึ่งมาจากป่าพร้อมด้วยบุตร ๗ คน ได้
ยินเพลงขับของหญิงคนหนึ่งซ้อมข้าวอยู่ว่า
ชราย ปริมทฺทิต เอต มิลาตจฺฉวิจมฺมนิสฺสิต
มรเณน ภิชฺชติ เอต มจฺจุสฺส ฆสมามิส คต
กิมีน อาลย เอต นานากุณเปน ปูริต
อสุจิสฺส ภาชน เอต กทลิกฺขนฺธสม อิท.
สรีระนี้ถูกชราย่ำยี ผิวหนังเหี่ยวแห้ง
ย่อมแตกไปด้วยมรณะ ถึงความเป็นอาหาร
และเหยื่อของมัจจุ.
สรีระนี้เป็นที่อาศัยของเหล่าหนอน
เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด สรีระนี้เป็น
ภาชนะของอสุจิ สรีระนี้ เสมอด้วยต้น
กล้วย ดังนี้.
บุรุษนั้นได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ พร้อมกับบุตรทั้งหลาย. อนึ่ง
ยังมีตัวอย่างผู้อื่นที่บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้อีก. นั้นยังไม่น่าอัศจรรย์นัก
ภิกษุ ๕๐๐ รูปฟังคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในอาสยานุสยญาณ (รู้
อัธยาศัยของสัตว์) ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ได้บรรลุพระอรหัต. อนึ่ง เทวดา
และมนุษย์เหล่าอื่นไม่น้อย ฟังกถาภาษิตประกอบด้วยขันธ์และอายตนะเป็นต้น
ได้บรรลุพระอรหัต.
วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้อย่างนี้ แม้หากว่าเป็นวาจาที่เนื่อง
ด้วยภาษาของพวกมิลักขะ และเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้ และนักขับร้อง
พึงทราบว่าเป็นวาจาสุภาษิตเหมือนกัน. เพราะเป็นวาจาสุภาษิตนั่นเอง จึงเป็น
วาจาไม่มีโทษ และวิญญูชน คือ กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์ ยึดอรรถไม่ยึด
พยัญชนะไม่พึงติเตียน.
บทว่า อิทมโวจ ภควา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสลักษณะ
ของคำเป็นสุภาษิตนี้แล้ว. บทว่า อิท วตฺวาน สุคโต อถาปร เอตทโวจ
สตฺถา พระสุคตผู้ศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ความว่า พระสุคต
ตรัสลักษณะนี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสอย่างอื่นต่อไปอีก. พระสังคีติกาจารย์
ครั้นแสดงคาถาที่ควรกล่าวในบัดนี้แล้ว จึงกล่าวบทนี้ทั้งหมด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปร ท่านกล่าวหมายถึงคำเป็นคาถาประพันธ์.
คาถาประพันธ์นั้นมีสองอย่าง แสดงถึงประโยชน์อันหมายถึงคนที่มาภายหลัง
หรือการไม่ได้ฟัง การได้ฟัง การทรงจำและการทำให้มั่นเป็นต้น และแสดงถึง
ความวิเศษของประโยชน์ โดยการชี้แจงถึงประโยชน์อันจะให้เกิดความเสียหาย
ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส
กุารี ชายเต มุเข ขวานเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว. แต่ในที่นี้เป็นดำ
แสดงถึงประโยชน์อย่างเดียว. ในบทเหล่านั้นบทว่า สนฺโต คือพระพุทธเจ้า
เป็นต้น. จริงอยู่ สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมกล่าวคำอันเป็นสุภาษิตว่าเป็นคำสูงสุด
ประเสริฐสุด. บทว่า ทุติย ตติย จตุตฺถ นี้ ท่านกล่าวหมายมุ่งถึงลำดับ
ที่แสดงไว้ก่อนแล้ว.
ก็ในที่สุดแห่งคาถา พระวังคีสเถระ เลื่อมใสสุภาษิตของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระสังคีติกาจารย์เมื่อแสดงคำที่พระวังคีสเกระทำอาการเลื่อมใส และ
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข อายสฺมา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิภาติ ม คือพระธรรมเทศนาย่อมแจ่มแจ้ง
แก่ข้าพระองค์. บทว่า ปฏิภาตุ ต คือ พระธรรมเทศนาจงแจ่มแจ้งแก่เธอเถิด.
บทว่า สารุปฺปาหิ คือ สมควร. บทว่า อภิตฺถวิ คือ สรรเสริญ. บทว่า
น ตาปเย คือไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยความร้อนใจ. บทว่า น วิหึเสยฺย
คือไม่พึงทำลายเบียดเบียนกันและกัน. บทว่า สา เว วาจา คือวาจานั้น
เป็นสุภาษิตโดยส่วนเดียว. พระวังคีสเถระชมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอัน
ไม่ส่อเสียดด้วยเหตุเพียงนี้. บทว่า ปฏินนฺทิตา ได้แก่ มีใจร่าเริงยินดีน่ารัก
จนปรากฏออกเฉพาะหน้า. บทว่า ย อนาทาย ปาปานิ ปเรส ภาสเต
ปิย บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รักไม่ถือเอาคำอันลามกของผู้อื่น อธิบายว่า
บุคคลเมื่อจะกล่าววาจาใด ย่อมกล่าวคำน่ารักไพเราะด้วยอรรถและพยัญชนะ
ไม่ถือเอาคำลามก คือ คำไม่เป็นที่รัก คำน่าเกลียด คำหยาบแก่ผู้อื่น พึงกล่าว
แต่วาจาน่ารักอย่างเดียวนั้น. พระวังคีสเถระสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
วาจาน่ารักด้วยคาถานี้. บทว่า อมตา ได้แก่ วาจาเช่นอมตะ เพราะไพเราะ.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สจฺจ หเว สาธุตร รสาน คำสัจแล
ประเสริฐกว่ารสทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง วาจาชื่อว่าเป็นอมตะ เพราะเป็นปัจจัยแห่งอมตะ คือ
นิพพาน. บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ได้แก่ ธรรมคือสัจวาจาเป็น
ของเก่า เป็นจริยธรรม ปเวณิธรรม. สัจจะนี้แลประพฤติกันมาแต่โบราณ ท่าน
เหล่านั้นไม่พูดเหลาะแหละ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สจฺเจ
อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺิตา สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่ใน
สัจจะที่เป็นอรรถและธรรม. ในบทนั้นพึงทราบว่า เพราะตั้งอยู่ในสัจจะนั่นแล
จึงชื่อว่าตั้งอยู่ในประโยชน์ตนและผู้อื่น เพราะตั้งอยู่ในประโยชน์นั้นแล จึง
ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม. พึงทราบว่า ทั้งสองนั้นเป็นวิเสสนะของสัจจะนั่นเอง.
ตั้งอยู่ในสัจจะเป็นเช่นไร คือที่เป็นอรรถและเป็นธรรม. ท่านอธิบายไว้ว่า
ทำความพอใจ ชื่อว่าเป็นประโยชน์ เพราะไม่ปราศจากประโยชน์ของผู้อื่น.
อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อมีความพอใจ ย่อมทำสิ่งที่มีความเป็นธรรม
อันชื่อว่าธรรม เพราะไม่ปราศจากธรรม ให้สำเร็จ. พระวังคีสเถระสรรเสริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำสัจ ด้วยคาถานี้. บทว่า เขม ได้แก่ ไม่มีภัย
คือ ไม่มีอันตราย. หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า ให้ถึงการดับ
กิเลสด้วยการบรรลุพระนิพพาน ทำที่สุดแห่งทุกข์ อธิบายว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อทำที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ.
บทว่า ย พุทฺโธ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย วาจา
ที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นวาจาเกษมเพื่อบรรลุพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์
ความว่า พระพุทธเจ้าตรัสวาจาเกษมเพราะประกาศทางอันเกษมเพื่อประโยชน์
แก่พระนิพพานทั้งสอง. บทว่า สา เว วาจานมุตฺตมา พึงทราบความใน
คาถานี้อย่างนี้ว่า วาจานั้นเป็นวาจาประเสริฐกว่าวาจาทั้งปวง. พระวังคีสเถระ
สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาปัญญาด้วยคาถานี้ ยังเทศนาให้จบลง
ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในพระสูตร
นี้. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสุภาสิตสูตรที่ ๓
อรรถกถาสุภาษิตสูตรที่ ๓
สุภาสิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว
อย่างนี้ ดังนี้.
พระสูตรนี้เกิดขึ้นโดยอัธยาศัยของพระองค์. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าวคำน่ารัก. พระองค์ทรงห้ามการกล่าวคำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย โดยทรง
ประกาศคำกล่าวที่เป็นสุภาษิตของพระองค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้นเป็นคำของพระสังคี-
ติกาจารย์. ในพระสูตร บทว่า ตตฺรโข ภควา ฯเปฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขุ
นี้ ไม่เคยมีมาแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล. เพราะฉะนั้น เพื่อ
พรรณนาบทที่ไม่เคยมีมาแล้วท่านจึงกล่าวคำนี้. บทว่า ตตฺร แสดงถึงเทศะ
และกาละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในสมัยที่พระองค์อยู่นั้น และ
ในพระอารามที่เสด็จประทับอยู่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงในเทศะและกาละ
อันควรที่จะพึงตรัส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมในเทศะหรือในกาละ
อันไม่สมควร ตัวอย่างในข้อนี้มีอาทิว่า อกาโล โข ตาว พาหิย ดูก่อน
พาหิยะ ยังไม่ถึงกาละอันควรก่อน ดังนี้. บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ
เพียงให้เต็มบท หรือในอรรถแห่งกาลอันเป็นอวธารณะเป็นต้น. บทว่า ภควา
แสดงถึงความเคารพของชาวโลก. บทว่า ภิกฺขุ เแสดงถึงบุคคลที่ควรฟัง
ถ้อยคำ. บทว่า อามนฺเตสิ คือ ร้องเรียกกล่าวให้รู้ บทว่า ภิกฺขโว
แสดงอาการเรียกหา อนึ่งบทนั้นท่านกล่าว เพราะสำเร็จด้วยคุณมีความเป็น
ผู้มีปรกติขอเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึง
ความประพฤติที่ชนเลวและชนดีเสพ ของภิกษุเหล่านั้นจึงทรงกระทำการข่ม
บุคคลผู้ฟุ้งซ่านเป็นคนเลว อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าไปหาพระองค์ด้วยพระดำรัสอันถึงก่อนคือ
มุ่งความกรุณาและพระทัยสุภาพเยือกเย็นและดวงพระเนตรตก แล้วให้ภิกษุ
เหล่านั้นเกิดความใคร่ที่จะฟังพระดำรัสอันแสดงถึงความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าว
นั้นนั่นแล อนึ่ง ทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้นแม้ใส่ใจที่จะฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัส
ให้ตั้งอยู่ในความตรัสรู้นั้นนั่นเอง. จริงอยู่ การถึงพร้อมด้วยคำสอนอาศัยการ
ใส่ใจเพื่อฟังด้วยดี.
หากถามว่าเมื่อมีเทวดาและมนุษย์แม้อื่นๆ อยู่ เพราะเหตุไรพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นเล่า. ตอบว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็น
ผู้ใหญ่และเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ใกล้ชิดและเตรียมพร้อมอยู่ทุกเมื่อ. จริงอยู่
พระธรรมเทศนานี้ทั่วไปแก่บริษัททั้งหมดไม่เฉพาะบุคคล. ภิกษุชื่อว่า ผู้ใหญ่
ในบริษัทเพราะเกิดก่อน ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะรู้ตามพระจริยาของ
พระศาสดาตั้งแต่ออกบวชและรับคำสอนได้ตลอด ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด เพราะ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่นั้นก็นั่งใกล้พระศาสดา ชื่อว่าเตรียมพร้อมทุกเมื่อ
เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรมทั่วไปแก่บริษัททั้งหมด จึงตรัสเรียกภิกษุเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง
ท่านจำแนกไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นด้วยพระดำรัสนี้ว่า
ภิกษุ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามที่สอน. บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นชื่อของความ
เคารพ. บทว่า เต ภิกฺขู ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่าใด
ภิกษุเหล่านั้นแลทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระองค์ตรัสเรียก.
บทว่า จตูหิ องฺเคหิ คือแต่เหตุ ๔ หรือด้วยส่วน ๔. เหตุแห่ง
วาจาสุภาษิต ๔ มีเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น ส่วน ๔ มีพูดจริงเป็นต้น. อนึ่ง
อังคศัพท์ใช้ในอรรถว่า เหตุ. บทว่า สมนฺนาคตา คือมาตามเสมอ เป็นไป
แล้วและประกอบแล้ว. บทว่า วาจา ได้แก่วาจาที่สนทนากันมาในบทมีอาทิว่า
การเปล่งวาจาไพเราะ และการเปล่งวาจาไม่มีโทษ ไพเราะหู, วิญญัตติวาจา
(พูดขอร้อง) อย่างนี้ว่า หากท่านทำกรรมด้วยวาจาเป็นต้น. วิรติวาจา (พูดเว้น)
อย่างนี้ว่า การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา๑เป็นต้น และเจตนา-
วาจา (พูดด้วยเจตนา) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวาจาหยาบที่เสพมาก
อบรมแล้วทำให้มากจะยังสัตว์ให้ไปนรก ดังนี้เป็นต้น ย่อมมาด้วยบทว่า วาจา
วาจานั้นท่านไม่ประสงค์เอาในสูตรนี้. เพราะเหตุไร เพราะไม่ควรพูด.
บทว่า สุภาสิตา โหติ ได้แก่ กล่าวคำชอบ ด้วยเหตุนั้นท่านแสดง
ความที่วาจานั้นนำประโยชน์มาให้. บทว่า น ทุพฺภาสิตา ได้แก่ กล่าว
ไม่ชอบ. ด้วยบทนั้นท่านแสดงความที่วาจานั้นนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์มาให้.
บทว่า อนวชฺชา ได้แก่ เว้นจากโทษมีราคะเป็นต้นที่จัดว่าเป็นโทษ. ด้วย
บทนั้น ท่านแสดงความที่วาจานั้นบริสุทธิ์ด้วยเหตุ และความที่วาจานั้นไม่มีโทษ
อันทำให้ถึงอคติเป็นต้น. บทว่า อนนุวชฺชา จ ได้แก่ เว้นจากการติเตียน.
ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยอาการทั้งหมดของวาจานั้น. บทว่า
วิญฺญูน ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. ด้วยบทนั้นท่านแสดงว่า ในการนินทา
และสรรเสริญ คนพาลเอาเป็นประมาณไม่ได้. บทว่า กตเมหิ จตูหิ เป็น
คำถามที่พระองค์มีพระประสงค์จะตอบเอง. บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.
บทว่า ภิกฺขเว ได้แก่ ร้องเรียกผู้ที่ประสงค์จะกล่าวด้วย. บทว่า ภิกฺขุ ชี้ถึง
บุคคลที่จะกล่าวถึง โดยประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สุภาสิตํเยว ภาสติ ได้แก่ โดยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน
เป็นคำชี้ถึงองค์ใดองค์หนึ่งในองค์ของวาจา ๔. บทว่า โน ทุพฺภาสิตํ
ได้แก่ ห้ามการกล่าวทักท้วงองค์ของวาจานั้น. ด้วยบทนั้นย่อมปฏิเสธความเห็น
ว่า บางครั้งแม้มุสาวาทเป็นต้นก็ควรพูดได้. หรือว่าด้วยบทว่า โน ทุพฺภาสิตํ
นี้ ท่านแสดงการละมิจฉาวาจา. บทว่า สุภาสิตํ นี้เป็นลักษณะของคำพูดที่
ผู้ละมิจฉาวาจานี้ได้แล้วควรกล่าว เหมือนกล่าวถึง ปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺส
อุปสมฺปทํ การไม่ทำความชั่ว การเข้าถึงกุสล. แต่ท่านกล่าวถึงคำที่ไม่ควร
กล่าวเพื่อแสดงองค์ ควรกล่าวเฉพาะคำที่ไม่ได้กล่าวมาในบท. แม้ในคำ
มีอาทิว่า ธมฺมํเยว ก็มีนัยนี้แล. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงคำที่ทำให้สุภาพเว้นจาก
โทษมีส่อเสียดเป็นต้น ด้วยบทนี้ว่า สุภาสิตํเยว ภาสติ โน ทุพฺภาสิตํ
กล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต. ด้วยบทว่า ธมฺมํเยว
ภาสติ โน อธมฺมํ ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม
นี้ ท่านกล่าวถึงคำที่เป็นปัญญา ไม่ปราศจากธรรมเว้นจากโทษคือคำ
เพ้อเจ้อ. ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านกล่าวถึงคำน่ารักเป็นสัจจะ เว้นจากคำหยาบ
และคำเหลาะแหละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์เหล่านั้นโดยประจักษ์ จึง
ทรงสรุปคำนั้นด้วยบทมีอาทิว่า อิเมหิ โข ดังนี้. ส่วนโดยพิสดารในบทนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔
เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ทรงปฏิเสธคำที่พวกอื่นบัญญัติว่า วาจาสุภาษิต
ประกอบด้วยส่วนทั้งหลายมีปฏิญญาเป็นต้น ด้วยบทนามเป็นต้น และด้วยการ
ประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ์ กาล และการกเป็นต้น จากธรรม.
วาจาประกอบด้วยการพูดส่อเสียดเป็นต้น แม้ถึงพร้อมด้วยส่วนเป็นต้น
ก็เป็นวาจาทุพภาษิตอยู่นั่นเอง เพราะเป็นวาจาที่นำความฉิบหายมาให้แก่ตน
และคนอื่น. วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้ แม้หากว่านับเนื่องด้วยภาษา
ของชาวมิลักขะ (คนป่าเถื่อน) หรือนับเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้และนักขับ
ร้องแม้ดังนั้นก็เป็นวาจาสุภาษิตได้เหมือนกัน เพราะนำโลกิยสุขและโลกุตรสุข
มาให้. เมื่อหญิงรับใช้ผู้ดูแลข้าวกล้าที่ข้างทางในเกาะสีหลขับเพลงขับเกี่ยวด้วย
ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะด้วยภาษาสีหล ภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนาประมาณ
๖๐ รูป เดินไปตามทางได้ยินเข้าก็บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเอง นี่เป็นตัวอย่าง.
อนึ่ง ภิกษุผู้เริ่มวิปัสสนาชื่อติสสะไปใกล้สระปทุม เมื่อหญิงรับใช้เด็ดดอก
ปทุมในสระปทุมขับเพลงขับนี้ว่า
ปาตผุลฺลํ โกกนทํ สูริยาโลเกน ตชฺชียเต
เอวํ มนุสฺสตฺตคตา สตฺตา ชราภิเวเคน มิลายนฺติ
ดอกบัวบานในเวลาเช้า ถูกแสง-
อาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ถึงความเป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อม
เหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของเรา ดังนี้.
ภิกษุนั้นก็บรรลุพระอรหัต.
ในระหว่างพุทธกาล บุรุษผู้หนึ่งมาจากป่าพร้อมด้วยบุตร ๗ คน ได้
ยินเพลงขับของหญิงคนหนึ่งซ้อมข้าวอยู่ว่า
ชราย ปริมทฺทิตํ เอตํ มิลาตจฺฉวิจมฺมนิสฺสิตํ
มรเณน ภิชฺชติ เอตํ มจฺจุสฺส ฆสมามิสํ คตํ
กิมีนํ อาลยํ เอตํ นานากุณเปน ปูริตํ
อสุจิสฺส ภาชนํ เอตํ กทลิกฺขนฺธสมํ อิทํ.
สรีระนี้ถูกชราย่ำยี ผิวหนังเหี่ยวแห้ง
ย่อมแตกไปด้วยมรณะ ถึงความเป็นอาหาร
และเหยื่อของมัจจุ.
สรีระนี้เป็นที่อาศัยของเหล่าหนอน
เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด สรีระนี้เป็น
ภาชนะของอสุจิ สรีระนี้ เสมอด้วยต้น
กล้วย ดังนี้.
บุรุษนั้นได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ พร้อมกับบุตรทั้งหลาย. อนึ่ง
ยังมีตัวอย่างผู้อื่นที่บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้อีก. นั้นยังไม่น่าอัศจรรย์นัก
ภิกษุ ๕๐๐ รูปฟังคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในอาสยานุสยญาณ (รู้
อัธยาศัยของสัตว์) ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ได้บรรลุพระอรหัต. อนึ่ง เทวดา
และมนุษย์เหล่าอื่นไม่น้อย ฟังกถาภาษิตประกอบด้วยขันธ์และอายตนะเป็นต้น
ได้บรรลุพระอรหัต.
วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้อย่างนี้ แม้หากว่าเป็นวาจาที่เนื่อง
ด้วยภาษาของพวกมิลักขะ และเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้ และนักขับร้อง
พึงทราบว่าเป็นวาจาสุภาษิตเหมือนกัน. เพราะเป็นวาจาสุภาษิตนั่นเอง จึงเป็น
วาจาไม่มีโทษ และวิญญูชน คือ กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์ ยึดอรรถไม่ยึด
พยัญชนะไม่พึงติเตียน.
บทว่า อิทมโวจ ภควา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสลักษณะ
ของคำเป็นสุภาษิตนี้แล้ว. บทว่า อิทํ วตฺวาน สุคโต อถาปรํ เอตทโวจ
สตฺถา พระสุคตผู้ศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ความว่า พระสุคต
ตรัสลักษณะนี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสอย่างอื่นต่อไปอีก. พระสังคีติกาจารย์
ครั้นแสดงคาถาที่ควรกล่าวในบัดนี้แล้ว จึงกล่าวบทนี้ทั้งหมด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปรํ ท่านกล่าวหมายถึงคำเป็นคาถาประพันธ์.
คาถาประพันธ์นั้นมีสองอย่าง แสดงถึงประโยชน์อันหมายถึงคนที่มาภายหลัง
หรือการไม่ได้ฟัง การได้ฟัง การทรงจำและการทำให้มั่นเป็นต้น และแสดงถึง
ความวิเศษของประโยชน์ โดยการชี้แจงถึงประโยชน์อันจะให้เกิดความเสียหาย
ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส
กุฐารี ชายเต มุเข ขวานเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว. แต่ในที่นี้เป็นดำ
แสดงถึงประโยชน์อย่างเดียว. ในบทเหล่านั้นบทว่า สนฺโต คือพระพุทธเจ้า
เป็นต้น. จริงอยู่ สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมกล่าวคำอันเป็นสุภาษิตว่าเป็นคำสูงสุด
ประเสริฐสุด. บทว่า ทุติยํ ตติยํ จตุตฺถํ นี้ ท่านกล่าวหมายมุ่งถึงลำดับ
ที่แสดงไว้ก่อนแล้ว.
ก็ในที่สุดแห่งคาถา พระวังคีสเถระ เลื่อมใสสุภาษิตของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระสังคีติกาจารย์เมื่อแสดงคำที่พระวังคีสเกระทำอาการเลื่อมใส และ
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข อายสฺมา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิภาติ มํ คือพระธรรมเทศนาย่อมแจ่มแจ้ง
แก่ข้าพระองค์. บทว่า ปฏิภาตุ ตํ คือ พระธรรมเทศนาจงแจ่มแจ้งแก่เธอเถิด.
บทว่า สารุปฺปาหิ คือ สมควร. บทว่า อภิตฺถวิ คือ สรรเสริญ. บทว่า
น ตาปเย คือไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยความร้อนใจ. บทว่า น วิหึเสยฺย
คือไม่พึงทำลายเบียดเบียนกันและกัน. บทว่า สา เว วาจา คือวาจานั้น
เป็นสุภาษิตโดยส่วนเดียว. พระวังคีสเถระชมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอัน
ไม่ส่อเสียดด้วยเหตุเพียงนี้. บทว่า ปฏินนฺทิตา ได้แก่ มีใจร่าเริงยินดีน่ารัก
จนปรากฏออกเฉพาะหน้า. บทว่า ยํ อนาทาย ปาปานิ ปเรสํ ภาสเต
ปิยํ บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รักไม่ถือเอาคำอันลามกของผู้อื่น อธิบายว่า
บุคคลเมื่อจะกล่าววาจาใด ย่อมกล่าวคำน่ารักไพเราะด้วยอรรถและพยัญชนะ
ไม่ถือเอาคำลามก คือ คำไม่เป็นที่รัก คำน่าเกลียด คำหยาบแก่ผู้อื่น พึงกล่าว
แต่วาจาน่ารักอย่างเดียวนั้น. พระวังคีสเถระสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
วาจาน่ารักด้วยคาถานี้. บทว่า อมตา ได้แก่ วาจาเช่นอมตะ เพราะไพเราะ.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ คำสัจแล
ประเสริฐกว่ารสทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง วาจาชื่อว่าเป็นอมตะ เพราะเป็นปัจจัยแห่งอมตะ คือ
นิพพาน. บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ได้แก่ ธรรมคือสัจวาจาเป็น
ของเก่า เป็นจริยธรรม ปเวณิธรรม. สัจจะนี้แลประพฤติกันมาแต่โบราณ ท่าน
เหล่านั้นไม่พูดเหลาะแหละ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สจฺเจ
อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่ใน
สัจจะที่เป็นอรรถและธรรม. ในบทนั้นพึงทราบว่า เพราะตั้งอยู่ในสัจจะนั่นแล
จึงชื่อว่าตั้งอยู่ในประโยชน์ตนและผู้อื่น เพราะตั้งอยู่ในประโยชน์นั้นแล จึง
ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม. พึงทราบว่า ทั้งสองนั้นเป็นวิเสสนะของสัจจะนั่นเอง.
ตั้งอยู่ในสัจจะเป็นเช่นไร คือที่เป็นอรรถและเป็นธรรม. ท่านอธิบายไว้ว่า
ทำความพอใจ ชื่อว่าเป็นประโยชน์ เพราะไม่ปราศจากประโยชน์ของผู้อื่น.
อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อมีความพอใจ ย่อมทำสิ่งที่มีความเป็นธรรม
อันชื่อว่าธรรม เพราะไม่ปราศจากธรรม ให้สำเร็จ. พระวังคีสเถระสรรเสริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำสัจ ด้วยคาถานี้. บทว่า เขมํ ได้แก่ ไม่มีภัย
คือ ไม่มีอันตราย. หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า ให้ถึงการดับ
กิเลสด้วยการบรรลุพระนิพพาน ทำที่สุดแห่งทุกข์ อธิบายว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อทำที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ.
บทว่า ยํ พุทฺโธ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย วาจา
ที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นวาจาเกษมเพื่อบรรลุพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์
ความว่า พระพุทธเจ้าตรัสวาจาเกษมเพราะประกาศทางอันเกษมเพื่อประโยชน์
แก่พระนิพพานทั้งสอง. บทว่า สา เว วาจานมุตฺตมา พึงทราบความใน
คาถานี้อย่างนี้ว่า วาจานั้นเป็นวาจาประเสริฐกว่าวาจาทั้งปวง. พระวังคีสเถระ
สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาปัญญาด้วยคาถานี้ ยังเทศนาให้จบลง
ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในพระสูตร
นี้. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสุภาสิตสูตรที่ ๓ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อว่าปรมัตถโชติกา