จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่น

 
ชื่นบุตร
วันที่  5 มี.ค. 2556
หมายเลข  22580
อ่าน  1,404

จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่น คืออย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 มี.ค. 2556

ขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้น จิตจะต้องมีที่เกิด เพราะฉะนั้น จักขุวิญาณขณะที่เห็นรูป จักขุวิญญาณ เกิดที่จักขุปสาทรูปๆ เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ คือ จิตเห็น สองดวงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 5 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 5 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตจะต้องเกิดที่รูปอันเป็นวัตถุรูปตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ และจิตเกิดที่ไหนก็ต้องดับที่นั่น ไม่มีจิตแม้แต่ขณะเดียวที่เที่ยงยั่งยืน จิตเห็นจะเป็นผลของกุศลกรรม หรือ เป็นผลของอกุศลกรรม ก็ต้องเกิดที่จักขุปสาทะแล้วก็ดับไป ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 6 มี.ค. 2556

จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่น เช่น จิตเห็นเกิดที่ตา ก็ดับที่ตา หรือจิตได้ยินเกิดที่หู ก็ดับที่หู แต่ทั้งหมดให้รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 6 มี.ค. 2556

ขออนุญาตนะครับ ผมอ่านแล้วเข้าใจตามนี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ

คำตอบของ อ. paderm ตอบว่าจิตเกิดที่จักขุปสาทรูป หมายถึงจิตเกิดที่ตา ซึ่งคือคำตอบที่ 2 ในคำถามของผม แต่ผมไม่เข้าใจประโยคสุดท้าย " คือ จิตเห็น สองดวงครับ" กรุณาอธิบายด้วยครับ

คำตอบของ อ. khampan.a ตอบว่าจิตจะต้องเกิดที่รูป ซึ่งคือคำตอบที่ 1 ในคำถามของผม คุณ wannee.s ไม่ได้ตอบคำถามผมครับ

สรุป คือ ในการเห็น จักขุวิญญาณจิตจะเกิดที่รูปที่เห็นก็ได้ หรือเกิดที่ตาก็ได้ แล้วเป็นไปได้หรือไม่ครับที่จักขุวิญญาณจิตจะเกิดที่อื่นที่ไม่ใช่ที่รูปที่เห็น หรือไม่ใช่เกิดตา ตามคำตอบข้อ 3 ในคำถามของผม

ถ้าจะกรุณาควรตอบเป็นคำตอบที่ถูกคือข้อ 1, 2, 3 หรือทุกข้อจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ

ขอบคุณครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 7 มี.ค. 2556

เรียนคุณชื่นบุตร (ความเห็นที่ ๕)

ขณะที่เห็น จิตเกิดที่ตา เท่านั้น เกิดที่อื่นไม่ได้ครับ ที่ว่าจิตเห็น ๒ ดวง อธิบายโดยนัยพระอภิธรรม หมายถึง จิตที่เห็น มีความต่างกันเป็น ๒ ประเภท คือ บางครั้งเห็นสิ่งที่ดี บางครั้งเห็นสิ่งที่ไม่ดี จิตที่เห็นสิ่งที่ดีเรียกว่ากุศลวิบาก จิตที่เห็นสิ่งไม่ดี มีชื่อเรียกว่าอกุศลวิบาก (ผลของอกุศล)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ฐาณิญา
วันที่ 7 มี.ค. 2556

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 8 มี.ค. 2556

กรุณาจำกัดคำตอบอยู่ในประเด็น "ตำแหน่งที่เกิดของจิต" ด้วยนะครับ ผมปัญญาน้อยต้อง การเรียนรู้ทีละเรื่องครับ

เรียน คคห #7 คุณ prachern.s เห็นตรงกับ อ. paderm ไม่ตรงกับคำตอบของ อ.khampan.a ช่วยยกข้อความจากพระไตรปิฎกอ้างอิงด้วยครับเพื่อเป็นธรรมทาน

ขอบคุณครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 8 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ ๙ ครับ

ฃจริงๆ แล้ว ก็ตอบตามความเป็นจริงทั้งหมด โดยกล่าวถึง จิตเห็น (จักขุวิญญาณ) มี ๒ ประเภท คือ ที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง เป็นผลของกุศลกรรม และ ที่เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง อันเป็นผลของอกุศลกรรม และ จิตทั้ง ๒ ดวงนี้ ล้วนเกิดที่จักขุปสาทะ (ตา) เท่านั้น ไม่ได้เกิดที่อื่น เพราะจิตแต่ละดวงๆ ล้วนเกิดตามที่เกิดของตน ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ ดังข้อความบางตอนจาก

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ [เล่มที่ 77] ภาค ๑- หน้าที่ ๕๖

ว่า "วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุปสาทวัตถุเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดทีเดียว" หมายความว่า จิตเห็น เกิดที่ตา จิตได้ยินเกิดที่หู จิตได้กลิ่น เกิดที่จมูก จิตลิ้มรส เกิดที่ลิ้น จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย เกิดที่กาย โดยไม่ก้าวก่ายกันและกัน ซึ่งความเป็นจริงของจิต ย่อมเป็นอย่างนี้ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

จักขุวัตถุ

โสตวัตถุ

ฆานวัตถุ

ชิวหาวัตถุ

กายวัตถุ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 12 มี.ค. 2556

ขอบคุณ อ. ที่กรุณา

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 15 มี.ค. 2556

ขออนุญาตครับ ผมค้นข้อความในพระไตรปิฎก ซึ่งระบุว่าจิตเกิดที่รูปก็ได้ ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑

ธรรมสังคณีปกรณ์

[๕๐๔] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒

รูปเป็นอุปาทา [อุปาทายรูป] ก็มี รูปเป็นอนุปาทาก็มี

รูปเป็นอุปาทินนะ ๑- ก็มี รูปเป็นอนุปาทินนะก็มี

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ๒- ก็มี รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี

รูปเป็นสนิทัสสนะ ๓- ก็มี รูปเป็นอนิทัสสนะก็มี

รูปเป็นสัปปฏิฆะ ๔- ก็มี รูปเป็นอัปปฏิฆะก็มี

รูปเป็นอินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นอินทรีย์ก็มี

รูปเป็นมหาภูตก็มี รูปไม่เป็นมหาภูตก็มี

รูปเป็นวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นวิญญัติก็มี

รูปเป็นจิตตสมุฏฐานก็มี รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี

รูปเป็นจิตตสหภู ๕- ก็มี รูปไม่เป็นจิตตสหภูก็มี

รูปเป็นจิตตานุปริวัติก็มี รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี

รูปเป็นภายในก็มี รูปเป็นภายนอกก็มี

รูปหยาบก็มี รูปละเอียดก็มี

รูปไกลก็มี รูปใกล้ก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณก็มี

รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 15 มี.ค. 2556

รูปปรมัตถ์มีด้วยกันทั้งหมด ๒๘ รูปนะคะ

จักขุปสาท หรือ ที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่าตา เป็นที่เกิดของจิตเห็น เป็นรูปหนึ่งในรูป ๒๘

คุณชื่นบุตรสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป ของมูลนิธิฯ นะคะ ท่านอาจารย์ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดชัดเจนมาก ดาวน์โหลดหนังสือได้เลยค่ะ

(คลิก) ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 18 มี.ค. 2556

ขอบคุณ คุณไตรสรณคมน์ครับ แล้วคำว่ารูปใน คคห.12 หมายถึงตา หรือหมายถึงรูปที่ตา มองเห็น ครับ

ขอบคุณที่กรุณาครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
sumano
วันที่ 18 มี.ค. 2556

น่าสนใจ เข้าอ่านครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
peeraphon
วันที่ 20 มี.ค. 2556

๑. จิตเห็นต้องเกิดที่จักขุปสาทรูปเท่านั้น จะเกิดที่โสตปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, ฯลฯ ไม่ได้ครับ เพราะหูไม่เห็น ลิ้นไม่เห็น

๒. ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (มนุษย์, เทวดา) จิตต้องเกิดกับรูป จะเกิดนอกรูปไม่ได้

๓. จิตเห็นมีสองดวง ทำหน้าที่เห็นสิ่งที่น่าพอใจ และสิ่งที่ไม่น่าพอใจ

๔. เมื่อตามองเห็นรูป (สิ่งที่ปรากฎทางตา) จิตเห็นต้องเกิดที่ตา เพราะอาศัยตาเป็นที่เกิดเพื่อรับรู้อารมณ์ และรับผลของกรรมดีและกรรมไม่ดี ส่วนรูปที่จิตเห็นเห็น ก็เป็นสิ่งที่จิตเห็นรู้

๕. รูปที่จิตเห็นเห็นนั้น ถ้าไม่เรียกว่ารูปหรืออะไรเลย สิ่งนั้นก็มี และเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตาเท่านั้น ดังนั้น รูปไม่รู้อารมณ์ และไม่มีจิตเห็นหรือนามธรรมใดๆ ไปเกิดที่รูปนั้นๆ ได้เลยครับ

เพื่อความเข้าใจจริงๆ อยากแนะนำให้อ่านหนังสือตามที่คุณไตรสรณคมน์บอกครับ เพราะการศึกษาธรรมมะไม่ใช่ของง่ายเพียงการอ่านและท่องจำเท่านั้น แต่ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่คำว่า ธรรมมะคืออะไรครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 27 มี.ค. 2556

ขอบคุณครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 26 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ