ปฏิปทาเป็นที่ สบายแก่การบรรลุนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่ สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำาในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่าไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ เป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ว่าไม่เที่ยง.
(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่าง เดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น) . ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบาย แก่การบรรลุนิพพาน นั้น.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๗/๒๓๒.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมละเอียดลึกซึ้ง แม้ ปฏิปทา คือ ทางให้ถึงพระนิพพาน ซึ่งปฏิปทาที่จะถึงพระนิพพาน ก็คือ การเจริญวิปัสสนา เห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ โดยไม่ได้จำกัดที่ลมหายใจ เพราะขณะนี้ในชีวิตประจำวัน มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฎอยู่ ขาดเพียงปัญญาที่จะไปรู้ ดังนั้น ปฎิปทาที่สบายที่จะถึงความหลุดพ้น คือ การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริง ในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา เกิดขึ้นและดับไป เป็นต้น ซึ่งจะเป็นปฏิปทาสบายก็เพราะมีปัญญา มีความเห็นถูกที่มีกำลัง เพราะหากขาดปัญญาแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ความจริงในขณะนี้ได้เลย ก็เป็นทางลำบาก ไม่ใช่ทางสบาย เพราะ อกุศลทำให้ลำบาก ทำให้เดินทางผิด ไม่ถึงพระนิพพาน และกว่าจะถึงการเห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม ก็จะต้องมีปัญญาไปตามลำดับ คือ รู้ตัวจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในลักษณะที่เป็นธรรมไม่ใช่เรา ก่อน แต่การจะรู้การเกิดดับ ต้องเป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ ซึ่งสูงมาก กว่าจะถึงตรงนั้น ดังนั้น สำคัญที่ความเห็นถูกเบื้องต้นว่า มีความเข้าใจขั้นการฟังถูกต้องหรือไม่อย่างไร ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา