วินัย ๒ - - ปหานะ ๕

 
sms
วันที่  13 ต.ค. 2549
หมายเลข  2261
อ่าน  2,997
วินัย ๒ คืออะไร

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 13 ต.ค. 2549

โปรดอ่านข้อความจากอรรถกถาโดยตรงจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันแยกออกเป็นสติปัฏฐาน เป็นต้น. ก็ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละ ประเภท มี ๕ เพราะความไม่มีวินัยทั้ง ๒ นั้น อัน นี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต นี้.

วินัย ๒ อย่าง

จริงอยู่วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. และวินัยแต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕. จริงอยู่ แม้สังวร- วินัยมี ๕ คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร เละวิริย- สังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหานวิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน. สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์สังวรนี้ นี้เรียกว่า สีลสังวร. สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือ ถึงการสำรวมในจักขุนทรีย์ นี้เรียกว่า สติสังวร. สังวรที่ตรัสไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแส (ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่อง ห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็น เครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอัน บุคคลย่อมละด้วยปัญญา. นี้เรียกว่า ญาณสังวร. สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมอดทนต่อหนาวและร้อน นี้เรียกว่า ขันติสังวร. สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมหยุดกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้นี้เรียกว่า วิริยสังวร

อนึ่ง สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่องระวังกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องระวังตามหน้าที่ของตนและเรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องขจัดกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้นที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน. สังวรวินัยพึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน. สังวรวินัยพึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ดังอธิบายมานี้ก่อน.

ปหานะ ๕

อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกําจัดความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ ละสักกาย-ทิฏฐิ ด้วยการกําหนดนามรูป, ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็นส่วนภายหลัง แห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละความยึดถือว่าเราของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ (กลุ่ม, กอง) , ละสัญญาในธรรมที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดมรรคและอมรรค, ละอุจ- เฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น, ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 13 ต.ค. 2549

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ความเสื่อม, ละความสำคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณา เห็นภัย, และความสำคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ, ละอภิรติสัญญา (ความสำคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้น ด้วยญาณ คือ ความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป, ละการไม่เพ่งด้วยอุเบกขาญาณ, ละปฏิโลมในธรรมฐิติ และในพระ-นิพพานด้วยอนุโลม, ละความยึดนิมิตในสังขารด้วยโคตรภู อันนี้ ชื่อว่าตทังคปหานะ. อนึ่ง การละนีวรณธรรม เป็นต้น นั้นๆ ด้วยสมาธิแยกออกเป็นอุปจารสมาธิ เพราะห้ามความเป็นไป (แห่งนีวรณ์) ดุจการแหวกสาหร่ายบนผิวน้ำ โดยใช้หม้อแหวกฉะนั้น อันนี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ. ส่วนการละกองกิเลสในสันดานของตน อันนับเนื่องในสมุทัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่าเพื่อละทิฏฐิทั้งหลายโดยที่กองกิเลสนั้นกลับเป็นไปไม่ได้อีกอย่างเด็ดขาด แห่งพระโยคาวจรผู้ชื่อว่า มีมรรคนั้น เพราะเหตุที่เจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว อันนี้ชื่อว่าสมุจเฉทปหานะ. อนึ่ง ข้อที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผล อันนี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหานะ. พระนิพพานที่ชื่อว่าละเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงได้เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงแล้ว อันนี้ ชื่อว่า นิสสรณปหานะ. อนึ่ง เพราะเหตุที่การละทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ปหานะ โดยอรรถว่าสละ ชื่อว่า วินัย โดยอรรถว่า กำจัด ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง เพราะการละกิเลสนั้นด้วย เพราะทำให้เกิดมีการกำจัด (กิเลส) นั้นๆ ด้วย การละทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า ปหานวินัย. แม้ปหานวินัย พึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ประการ ด้วยประการฉะนี้. วินัยนี้โดยย่อมี ๒ และโดยแยกแยะมี ๑๐ ดังพรรณนามาฉะนี้เพราะเหตุที่ปุถุชนผู้มิได้สดับนั้น ไม่มีวินัยทั้ง ๒ อย่างนั้น ฉะนั้น ปุถุชนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อวินีตะ (ผู้ไม่มีวินัย) เพราะขาดสังวร และเพราะยังละปหาตัพพธรรมไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornchai.s
วันที่ 13 ต.ค. 2549

ตามศัพท์ วินัย แปลว่า กำจัดอย่างวิเศษ หรือ ขัดเกลาอย่างวิเศษ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ