ธรรมะจากพม่า 3 พระมหาเจดีย์ชเวดากอง

 
kanchana.c
วันที่  21 มี.ค. 2556
หมายเลข  22658
อ่าน  2,032

พระมหาเจดีย์ชเวดากอง

เดินทางออกจากพุกามแต่เช้าเพื่อนั่งเครื่องบินไปย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงหมาดๆ ของ เมียนมาร์ พวกเราก็แบ่งกลุ่มกันเดินทางเช่นเคย และเราได้อยู่คณะแรก ใช้เวลาเดินทาง แค่ครึ่งชั่วโมง ก็ถึงที่หมาย ย่างกุ้งแตกต่างจากพุกามอย่างลิบลับ พุกามดูเป็นชนบทที่ ยังไม่พัฒนา โดยเฉพาะในเขตเมืองเก่าที่มีแต่เจดีย์ ต้นไม้แห้งๆ และถนนที่มีแต่ฝุ่น แต่ ที่ย่างกุ้งดูสะอาดสะอ้าน มีต้นไม้เขียวขจี และมีทะเลสาบทำให้ดูชุ่มฉ่ำ ลดความร้อน ของอุณหภูมิลงได้

มีเวลาเหลือเพื่อรอกลุ่มอื่น ทัวร์จึงพาไปดูช้างเผือกของพม่าที่โรงเลี้ยงช้าง มีช้าง เผือก 3 เชือก เป็นช้างพังสีชมพู 2 เชือก และช้างพลายสีเทา 1 เชือก มีคชลักษณ์ครบ ถ้วน อย่างนี้จะเรียกว่า เป็นช้างที่มีอุปธิสมบัติได้ไหมนะ เพราะมีความงามครบถ้วนตาม แบบช้าง แต่ก็ทำให้ถูกจับมาล่ามโซ่ เพื่อให้คนเข้าชม ดูไม่น่าจะมีความสุขกว่าอยู่ในป่า ตามประสาช้างนะ

จากนั้นไปดูพระพุทธรูปหยกขาวที่ใหญ่ที่สุดในโลก นำหยกขาวที่แกะสลักเป็นพระ พุทธรูปหยาบๆ มาจากเหมืองหยกทางเหนือ โดยบรรทุกแพล่องมาตามแม่น้ำอิระวดี แล้ว นำมาแกะสลักต่อจนเสร็จประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สวยงาม และที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ด้าน หลังตรงกลางขององค์พระพุทธรูป มีลายในเนื้อหยกสีเทาเป็นรูปพระพุทธรูปปางลีลาที่ สวยงาม ที่เห็นโดยบังเอิญหลังจากช่างแกะเสร็จเรียบร้อยแล้ว

หลังจากนั้นไปชมถ้ำที่สร้างขึ้นเพื่อทำสังคายนาครั้งที่ ๖ ทางเข้ามีต้นโพธิ์ ๒ ต้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถของไทยทรงปลูกไว้ในคราว เสด็จเยือนพม่า เมื่อ 60 กว่าปีก่อน ถ้ำนี้สร้างเลียนแบบถ้ำสัตตบรรณคูหาที่ทำปฐม สังคายนา ในกรุงราชคฤห์ ประตูทางเข้าถ้ำประดับด้วยแผ่นหยกรูปร่างต่างๆ สวยงาม มาก ภายในถ้ำเป็นอาคารคล้ายๆ สนามกีฬา มีที่นั่งเป็นอัฒจรรย์ สำหรับให้พระภิกษุสอบ บาลีหรือธรรมะต่างๆ ที่ฝาผนังมีแผ่นจารึกพระพุทธวจนะเป็นภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ เช่น ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย 8 ประการ คือ

พระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบท้าวปหาราทะผู้เป็นจอมแห่งอสูร ถึงการที่ภิกษุทั้งหลาย ยินดีในพระธรรมวินัยนี้ ซึ่งมีความอัศจรรย์ ๘ ประการ (เทียบด้วยความอัศจรรย์ ๘ อย่าง ของมหาสมุทรที่ท้าวปหาราทะกราบทูล) คือ

๑. ในพระธรรมวินัยนี้มีการศึกษา การกระทำและข้อปฏิบัติโดยลำดับ ไม่ใช่เริ่มต้นก็ ตรัสรู้อรหัตตผล เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีความลุ่มลึกโดยลำดับ ไม่ใช่เริ่มต้นก็ลึกเป็น เหว

๒. พระสาวกย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ แม้เพราะ เหตุแห่งชีวิต เปรียบเหมือนมหาสมุทรซึ่งมีความหยุดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงเลยฝั่งไป

๓. สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลผู้ทุศีล ย่อมประชุมกันยกออก (จากหมู่) แม้เธอจะนั่ง อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ก็ชื่อว่าไกลจากสงฆ์ เปรียบเหมือนมหาสมุทรที่ซัดซากศพเข้าสู่ฝั่ง โดยพลัน

๔. วรรณะ ๔ เมื่อบวชในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่า เป็น สมณะศากยบุตร เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น คงคา ยมุนา เมื่อถึงมหาสมุทรย่อม ละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่าสมุทร

๕. แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่ชื่อว่าพร่องหรือ ความเต็มแห่งนิพพานธาตุก็ไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น เปรียบเหมือนความพร่องหรือความ เต็มแห่งมหาสมุทรไม่ปรากฏ เพราะสายน้ำตกลงมาจากอากาศ

๖. พระธรรมวินัยมีรสเดียว คือมีวิมุติ (ความหลุดพ้น) เป็นรส เปรียบเหมือน มหาสมุทรที่มีรสเดียว คือ รสเค็ม

๗. พระธรรมวินัยนี้มีรัตนะเป็นอันมาก เช่น สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จนถึงอริยมรรคมี องค์ ๘ (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก เช่น มุกดา มณี ไพฑูรย์ เป็นต้น

๘. พระธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง โสดาปัตติผลจนถึงพระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็น ที่อยู่แห่งสัตว์ใหญ่ มีปลาติมิ ... อสูร นาค คนธรรพ์

ที่มา พระไตรปิฎกฉบับประชาชน (อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ)

หลังจากนั้นน้องมะตู พาไปชมสิ่งที่เธอภูมิใจเสนอ เพราะคนไทยชอบมากคือ พระ เจ้าทันใจ พร้อมกับอธิบายวิธีขอให้ได้สมความปรารถนา แต่ขอได้เพียงอย่างเดียว มี หลายคนซักถามเพื่อทำให้ถูกใจพระเจ้าทันใจ เราก็อยากขอเหมือนกัน แต่อยากได้ หลายอย่าง ตัดสินใจไม่ถูกว่าอยากได้อะไรมากกว่ากัน สิ่งที่อยากได้มากที่สุดใน ตอนนี้คือ อยากเข้าใจธรรมะ ซึ่งไม่ใช่ได้จากการขอ การขอไม่ใช่เหตุที่ทำให้เข้าใจ ธรรมะ แต่ต้องมาจากการฟัง การอ่าน การไตร่ตรองพิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ เท่านั้นเอง ถ้าเหตุยังไม่สมควรแก่ผล ขออย่างไรก็ไม่สำเร็จสมปรารถนาและนึกถึงพระพุทธพจน์ที่ ว่าผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ แม้กับมารดา พระเจ้าทันใจคงไม่โปรดให้คนไปขอ ทุกวัน วันละมากๆ อย่างนี้แน่นอน

ภายในบริเวณนี้มีพระเจดีย์ทองบรรจุพระธาตุเขี้ยวแก้ว และมีทางเดินลอดเจดีย์ (จำ ชื่อไม่ได้) เมื่อกราบนมัสการแล้วเดินลอดเจดีย์แล้ว ก็ถึงเวลารับประทานอาหารกลางวัน แบบฮ่องเต้ที่ภัตตาคารจีน

เข้าพักที่โรงแรมกันดอร์จี พาเลซ ที่สร้างด้วยไม้สักอายุกว่า 80 ปี ตั้งอยู่ริมทะเลสาบ ที่เป็นสวนสาธารณะใหญ่กลางเมืองย่างกุ้ง มองเห็นพระเจดีย์ชเวดากองอยู่ใกล้ๆ มี บรรยากาศสวยงาม เมื่อพักผ่อนหลบร้อนยามบ่ายแล้ว เวลาสมควรคือบ่ายสี่โมงเย็นก็ เดินทางไปนมัสการพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ที่เคยเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยเมื่อมาเมื่อ 10 ปีก่อน แล้วติดใจมาก ตอนนั้นคงติดใจเลื่อมใสในทองคำเหลืองอร่ามรอบเจดีย์ พร้อมกับเพชรนิลจินดามากมายที่ประดับทั่วๆ ไป (ดูจากภาพที่ติดแสดงให้ชมเมื่อไปครั้ง ก่อน และครั้งนั้นกำลังซ่อมแซมพระเจดีย์ เราได้บริจาคเงินร่วมกับ สมาชิก มศพ. เพื่อ เปลี่ยนเป็นทองคำสลักชื่อมูลนิธิฯ ซ่อมแซมพระเจดีย์ด้วย) แต่ครั้งนี้เวลาผ่านไปด้วย การศึกษาพระธรรม ไตร่ตรองพิจารณาพระธรรมมากขึ้น ทำให้รู้ว่า ความเลื่อมใสใน ทองคำนั้นเป็นโลภมูลจิตที่เกิดความติดข้องต้องการรูปสวยๆ ที่ปรากฏให้เห็นทางตา ยัง ไม่ใช่ศรัทธาที่มีต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงตรัสรู้และแสดงความจริงให้ สามารถเข้าใจตามได้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ และธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงธรรมะแต่ละอย่าง ทำให้เริ่มเข้าใจว่า ฟังธรรมะ คือ ฟังสิ่งที่มีจริง ที่ไม่ใช่คนนั้น คนนี้ ไม่ใช่เรื่องนั้น เรื่องนี้ แต่ฟังสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้ (เพิ่งเข้าใจ แสดงว่า ก่อนหน้านั้นไม่ได้ฟังธรรมะเลย ฟังแต่เรื่องราวของธรรมะ แต่ก็ต้องเริ่มเป็นลำดับจากตื้นๆ แล้วก็ลึกขึ้นๆ )

พวกเรานั่งบนลานมุมหนึ่งของพระเจดีย์ ฟังท่านอาจารย์สนทนาธรรมในบรรยากาศที่ ศักดิ์สิทธิ์ แม้จะพลุกพล่านด้วยผู้คน แต่ต่างก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ มากราบนมัสการ พระเจดีย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยรำลึกถึงพระ ปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ และพระบริสุทธิคุณ นึกถึงท่านตปุสสะและภัลลิกะ ที่ตาม ตำนานของพม่าบอกว่า ได้ถวายข้าวสัตตุผงสัตตุก้อนแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงเสวยวิมุติสุขในสัปดาห์ที่ 7 ที่ต้นราชายตนะ แล้วพระผู้มีพระภาคทรง ประทานพระเกศา ๘ เส้น ซึ่งนำมาบรรจุในพระเจดีย์แห่งนี้ (ไม่ปรากฏในพุทธประวัติ) แล้วมีการบูชาอย่างยิ่งใหญ่สืบต่อมา ด้วยทองคำ 40 ตัน (ไม่แน่ใจจำนวน แต่บอกว่า มากกว่าทองในธนาคารของอังกฤษ) เพชร 5,448 เม็ด (ใหญ่ที่สุด คือ 76 กระรัต) ทับทิม นิล และบุษราคัมอีก 2,317 เม็ด มีมรกตเม็ดเขื่องอยู่ตรงกลางเพื่อรับลำแสงแรก และสุดท้ายของพระอาทิตย์ ทั้งหมดนี้ประดับอยู่ด้านบนเหนือฉัตรขนาด 10 เมตร ซึ่ง สร้างบนไม้หุ้มทองเจ็ดเส้น ประดับด้วยกระดิ่งทองคำ 1,000 ลูก และกระดิ่งเงิน 420 ลูก รอบองค์สถูปรายล้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างกว่า 100 หลัง ขออนุโมทนาในการบูชาบุคคลผู้ ควรบูชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้รัตนะทั้งหมดในโลกมารวม กันก็ไม่มีค่ายิ่งกว่าพระองค์

ในมังคลัตถทีปนี แปล หน้า 112 – 114 กล่าวถึงเรื่องอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาไว้ว่า แท้จริง เมื่อคราวพระผู้มีพระภาคบรรทม ณ พระแท่นที่มหาปรินิพพาน เทพดาในหมื่น จักรวาลประชุมพร้อมกันในจักรวาลนี้ บูชาพระผู้มีพระภาคด้วยสักการะทั้งหลายมีมาลา ทิพย์ เป็นต้นแล้ว

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคบรรทมแล้วนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นมหาสักการะอันบริษัทผู้ ประชุมกันแต่พื้นปฐพี กระทั่งขอบปากจักรวาล และตั้งแต่ขอบจักรวาลกระทั่งถึงพรหม โลก ทำแล้วด้วยอุตสาหะใหญ่ ทรงแสดงสักการะนั้นแก่พระอานนทเถระ โดยนัยที่ตรัส ไว้ในมหาปรินิพพานสูตรแล้ว เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์ไม่เป็นอันบริษัทนั้น สักการะแล้วด้วยมหาสักการะแม้นั้นแล จึงตรัสว่า “อานนท์ ตถาคตเป็นผู้ชื่อว่า อันบริษัท สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นบนอบแล้วด้วยสักการะเพียงเท่านั้นหามิได้เลย” ดังนี้ มีคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า “อานนท์ อภินิหารอันเราผู้หมอบแทบบาทมูล ของพระทีปังกรพุทธเจ้า ทำแล้วเพื่อต้องการมาลา ของหอม ดนตรีและสังคีตก็หาไม่ บารมีทั้งหลายอันเราบำเพ็ญแล้วเพื่อต้องการมาลาเป็นต้นนั้น ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เป็นอันบริษัทบูชาแล้ว ด้วยการบูชานั่นเลย”

ถามว่า “ก็ในบาลีประเทศอื่น พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาวิบากของการบูชาที่บุคคล ถือสักการะแม้เพียงดอกสามหาวดอกเดียว ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ทำแล้ว ว่า เป็นวิบากอันพระพุทธญาณก็ไม่ทรงกำหนดแล้ว เหตุไฉน ในบาลีประเทศนี้จึงทรง คัดค้านการบูชาใหญ่อย่างนี้หรือ?”

แก้ว่า “เพราะทรงอนุเคราะห์บริษัทอย่างหนึ่ง เพราะพระองค์ทรงมีพระประสงค์ถึงการ ตั้งอยู่ยั่งยืนแห่งพระศาสนาอย่างหนึ่ง”

จริงอยู่ว่าพระผู้มีพระภาคจะไม่พึงทรงคัดคร้านไว้อย่างนั้นไซร้ ในอนาคต ภิกษุทั้ง หลายก็จักเป็นผู้ไม่ทำศีลและสมาธิให้บริบูรณ์ และไม่ยังวิปัสสนาให้ถึงซึ่งท้อง (คือให้ตั้ง ท้อง เหมือนข้าวกล้าตั้งท้องมีหวังคลอดเป็นผล) ได้แต่ชักชวนพวกอุปัฏฐากทำการบูชา เท่านั้น ก็ชื่อว่า อามิสบูชานั่นไม่อาจดำรงพระศาสนาได้ชั่วกาลแม้เพียงดื่มยาคูอึก หนึ่ง ความจริง วิหารพันหนึ่ง เช่น มหาวิหารก็ดี เจดีย์พันหนึ่ง เช่น มหาเจดีย์ก็ดี หาอาจ ดำรงพระศาสนาไว้ได้ไม่ ผู้ใดทำ อานิสงส์ก็มีแก่ผู้นั้นเท่านั้น ส่วนสัมมาปฏิบัติ เป็นบูชา สมควรแก่พระศาสนา เพราะสัมมาปฏิบัตินั้น พระองค์โปรดด้วย อาจดำรงพระศาสนาได้ ด้วย

เพราะฉะนั้น ครั้นทรงคัดค้านอามิสบูชาแล้ว จะทรงอนุญาตบูชานอกนี้ จึงตรัสว่า “อานนท์ ผู้ใดแล เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยบูชาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลาย ในพระธรรมวินัยนี้ พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ ชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ อานนท์ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล” ถ้าเข้าใจพระธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นปฏิบัติบูชา แล้วยังบูชาด้วย อามิส ก็ยิ่งประเสริฐสุด ชื่อว่าได้บูชาทั้ง 2 ส่วนตามที่ทรงตรัสไว้ในเรื่องการบูชาบุคคล ที่ควรบูชา ซึ่งเป็นมงคลหนึ่งในมงคล 38


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 มี.ค. 2556

ธรรมสัญจรสู่พม่า..นอกจากได้รับความรู้เพลิดเพลินร่วมกับผู้เขียนแล้วยังได้สาระของพระธรรม...ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
jaturong
วันที่ 22 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
panasda
วันที่ 22 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 22 มี.ค. 2556

“อานนท์ อภินิหารอันเราผู้หมอบแทบบาทมูลของพระทีปังกรพุทธเจ้า ทำแล้วเพื่อต้องการมาลา ของหอม ดนตรีและสังคีตก็หาไม่ บารมีทั้งหลายอันเราเราบำเพ็ญแล้วเพื่อต้องการมาลาเป็นต้นนั้น ก็หาไม่ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เป็นอันบริษัทบูชาแล้ว ด้วยการบูชานั่นเลย”

“อานนท์ ผู้ใดแล เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยบูชาอย่างยิ่ง"

...

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่แดงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 22 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. กาญจนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 23 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Boonyavee
วันที่ 23 มี.ค. 2556

ต้องขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณแม่แดง ที่กรุณาเขียนเรื่องราวได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและประวัติต่างๆ ทำให้ผู้ที่ไม่ได้ร่วมเดินทางได้อรรถรสเสมือนกับร่วมเดินทางไปทริปนี้ด้วย อีกทั้งยังสอดแทรกพระธรรม เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน ต้องขอกราบอนุโมทนาอีกครั้งและขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 24 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

“อานนท์ ผู้ใดแล เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยบูชาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ อานนท์ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล”

...

ข้าพเจ้ามีความประทับใจและมีกุศลปีติเสมอ ที่ได้อ่านสิ่งที่พี่แดงบรรยายในทุกกาละ เป็นกุศลศรัทธา และ กุศลเจตนา ทั้งกุศลวิริยะอย่างยิ่งของพี่แดง ที่ทำให้รู้สึกกราบอนุโมทนาในกุศลทุกประการดังกล่าวของพี่ทุกครั้ง ด้วยความจริงใจครับ

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Wisaka
วันที่ 28 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. กาญจนา และทุกๆ ท่านด้วย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
rrebs10576
วันที่ 29 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 16 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ