จิตตสัมภูตชาดก.. ผลของกรรม

 
pirmsombat
วันที่  23 มี.ค. 2556
หมายเลข  22669
อ่าน  1,472

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากข้อความบางตอนจาก

[เล่มที่ 61]
[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 31

๒. จิตตสัมภูตชาดก

ว่าด้วยผลของกรรม

[๒๐๕๔] กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว

ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อย

ที่จะไม่ให้ผล เป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเรา

ผู้ชื่อว่าสัมภูตะ มีอานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ

เพราะกรรมของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสม

ไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อย

ที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแม้ฉันใด

มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชษฐาของเรา

ก็คงสำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ.

......................

ข้อความบางตอนจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม

ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล

อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ

อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน. เขาตายไป

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้

อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ

ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี

ปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร

เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ

อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก

ดูก่อนมาณภพ สัตว์ทั้งหลาย

มีกรรมเป็นของตน

เป็นทายาทแห่งกรรม

มีกรรมเป็นกำเนิด

มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต.

...........................

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

กมฺมสฺสโกมหิ มีกรรมเป็นของตน ใครจะทำกรรมแทนใคร

หรือจะมอบกรรมที่ตนทำไว้ให้คนอื่นไม่่ได้

กมฺมทายาโท เป็นทายาทของกรรม ผู้ใดทำกรรมไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น

ผู้ที่จะรับผลกรรมนั้น แทนผู้ทำกรรมไม่ได้

กมฺมโยนิ มีกรรมเป็นกำเนิด กรรมย่อมจำแนกสัตว์โลกให้เกิดในที่ต่างๆ เช่น

ต่างด้วยที่เกิด ด้วยคติ ด้วยกำเนิด ด้วยรูปร่าง ด้วยตระกูล ด้วยทรัพย์ เป็นต้น

กมฺมพนฺธุ มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ผู้ใดทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมติดตาม

เหมือนเผ่าพันธุ์วงศ์ญาติ ที่คอยอุปถัมภ์หรือเบียดเบียน กรรมดีก็เหมือนวงศ์ญาติที่ดี

กรรมชั่วก็เหมือนวงศ์ญาติชั่ว ความจริงนั้น กรรมเท่านั้นที่เป็เผ่าพันธุ์วงศ์ญาติ

ที่แท้จริงของผู้ทำกรรม เพราะเมื่อกรรมใดมีโอกาสให้ผล แม้แต่พ่อแม่พี่น้อง

หรือผู้ที่รักก็ช่วยเหลือแก้ไข หรือเบียดเบียนผลของกรรมนั้นไม่ได้ การได้รับสุข ทุกข์

อันเป็นผลของกรรมของแต่ละคนนั้น ย่อมเป็นไปตามกรรมของผู้นั้นเอง

ทุกคนจึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่แท้จริง

กมฺมปฏิสรโณ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศํย

กรรมดีและกรรมชั่วที่ผู้ใดได้กระทำไว้ย่อมเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของผู้นั้น

ญาติ พี่น้อง มิตรสหาหรือผู้ศักด์สิทธิ์ ก็เป็นที่พึ่งให้ไม่ได้เลย

เพราะเมื่อถึงโอกาสกรรมให้ผล ไม่มีใครขัดขวางการให้ผลของกรรมได้เลย

......................

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ที่เป็นอริยเจ้าทั้งหลาย ก่อนที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจจธรรม

ท่านตั้งความปรารถนาที่เป็นกุศล แต่ผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่มาก

แล้วก็มีปัญญาน้อย ก็ย่อมเป็นของธรรมดา ที่ยังติดในรูป....โผฏฐัพพะ

แม้จะรู้ว่าปัญญาเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังอดปราถนารูป....โผฏฐัพพะ แถมนิดหน่อยบ้างไม่ได้

หรือว่า อาจจะมากก็ได้ นั่นเป็นเรื่องซึ่งเฉพาะแต่ละท่านจริงๆ

ที่จะทราบได้ว่าในปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้ ท่านปราถนาอะไร

ย่อมเป็นไปตามการสะสมทั้งนั้น

....................

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร

ปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

สมาทานสิกขาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา

เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เมื่อฟังพระธรรมแล้ว สงบกายและสงบจิต แล้วมีการสำรวมระวังเพี่มขึ้น

เพราะว่าเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้มีประมาณน้อย

นี่สำหรับผู้ที่ละเอียดมากทีเดียวนะคะ

ที่จะเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

คิดถึงคนอื่นด้วยอกุศลจิตนิดเดียว

สติระลึกได้หรือยัง เห็นหรือยัง ภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

คือแม้เพียงชั่วความคิด ก็ยังเห็นว่าเป็นโทษ

แต่ถ้ายังไม่เห็นนะคะ ปัญญาก็ยากที่จะเจริญได้

......................

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

[๑๔๕] ดูก่อนราหุล

เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้

เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้

เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้

ธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้

เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้

เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.

…………….......

ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ.

แม้จะให้ทรัพย์สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว

โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน

ก็ยังไม่พอแก่คนๆ เดียว รู้อย่างนี้แล้ว

พึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 24 มี.ค. 2556

"ปกติเห็นภัยในโทษ แม้มีประมาณน้อย"

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 24 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 24 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ขอฟังธรรม
วันที่ 24 มี.ค. 2556

โมทนาสาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natural
วันที่ 24 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนัตถ์กานต์
วันที่ 26 มี.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
boonpoj
วันที่ 18 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 20 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ