กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลก็ได้ อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลก็ได้
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นก็ต้องมีความเข้าใจในคำที่กล่าวถึงอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็น การศึกษาธรรมทีละคำ คือ คำว่า อกุศล และ กุศล คำว่า อกุศล หมายถึงสภาพธรรมที่ ไม่ดี เป็นความชั่ว เป็นธรรมที่ให้ผลเป็นทุกข์ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่กุศล เป็นสภาพ ธรรมที่มีจริง เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ อกุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วม ด้วย ตัวอย่างขณะที่เป็นอกุศล เช่น ติดข้อง ไม่พอใจ ตระหนี่ ริษยา ไม่รู้ธรรมตาม ความเป็นจริง เป็นต้น ส่วนกุศล ก็เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลคือ เป็นธรรมที่ดีงาม เป็นความดี ไม่มีโทษภัยใดๆ เป็นธรรมที่ให้ผลเป็นสุข ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ได้แก่ กุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย ตัวอย่างขณะที่เป็นกุศล เช่นมีเมตตา ฟังพระ ธรรมเข้าใจ ช่วยเหลือผู้อื่น อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น
จากประเด็นคำถาม ก็ต้องเข้าใจว่าอกุศล เป็นอกุศล กุศล เป็นกุศล จะไม่ปะปนกัน เลย ธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น อกุศล เกิดแล้วดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ ยกตัวอย่างเช่น อยากทำบุญ อยากฟังธรรม อยาก เป็นอกุศล เป็นความต้องการแล้วเป็นเหตุให้มีการเจริญกุศล คือ ทำบุญ และ ฟังธรรม นี้คือ ตัวอย่าง อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดกุศล ซึ่งธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ และไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวด้วย มีหลายปัจจัย ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เป็นอนัตตา
ส่วน กุศล เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล เช่น เมื่อมีการเจริญกุศลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในส่วน ของการให้ทาน การรักษาศีล การอบรมเจริญปัญญา ก็มีการยกตน สำคัญตนว่าเราให้ ทานแต่คนอื่นไม่ได้ให้ หรือเราให้ทานได้มากกว่าคนอื่น เรารักษาศีลได้ดีกว่าคนอื่น เรามีความเข้าใจธรรม มากกว่าคนอื่น เป็นต้น ซึ่งก็เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ
ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ตาม ความเป็นจริง เพราะแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจนั้น มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน แม้อกุศล กับ กุศล ก็มีจริงๆ เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ได้ในตำราเลย ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้หรือไม่
กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้อย่างไร
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เพราะด้วยสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ลึกซึ้ง คือ เป็นนามธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก ที่เกิดขึ้น ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา แต่เห็น ได้ด้วยปัญญา ซึ่งการที่สภาพธรรมแต่ละอย่างจะเกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นมาเองลอยๆ ไม่ได้ อย่างเช่น กุศลจะเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุปัจจัยไม่ได้ อกุศลก็เช่นกัน จะ เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุปัจจัยไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิต เจตสิก ที่เป็นกุศล อกุศล และ สภาพธรรมทั้งหลาย ที่เป็น จิต เจตสิก รูป จะต้องอาศัยเหตุปัจจัยประการต่างๆ จึงเกิดขึ้น ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดง หลากหลายปัจจัย หลากหลายนัย โดยสรุป กล่าวได้ว่า เพราะ อาศัย ปัจจัย 24 ประเภท จึงเป็นเหตุให้เกิดสภาพธรรมต่างๆ ไม่ว่า กุศล อกุศล หรือ สภาพธรรมใด ล้วนแล้วแต่ ไม่พ้นความเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นเป็นไป ครับ
ซึ่ง ในชีวิตประจำวัน หากยังไม่ได้ศึกษาพระธรรมอย่างละเอียด เราก็เข้าใจ โดย ทั่วไปในหลักกฎแห่งกรรมว่า การทำดี (กุศล) ย่อมได้รับผลที่ดี (วิบาก) และ การทำ ชั่ว (อกุศล) ทำให้ได้รับผลชั่ว (วิบาก) เพราะฉะนั้น กุศล เป็นปัจจัยให้เกิด ผลของ กรรมที่ดีได้ คือ เกิดวิบากได้ เพราะ กรรมเป็นปัจจัย นี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง คือ กัมมปัจจัย และ การทำชั่ว ทำอกุศล ก็เป็นปัจจัยให้เกิดผลของกรรมที่ไมดี่ได้ โดยนัย กัมมปัจจัย จะเห็นนะครับว่า การพิจารณาธรรม เรากำลังพูดถึงปัจจัยประเภทไหน ก็จะไม่เข้าใจ ผิดว่า ธรรมเกิดแต่เหตุปัจจัยด้วยปัจจัยอะไร
และ ลึกลงไปในความละเอียดของธรรม ก็ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้สภาพธรรมต่างๆ เกิดขึ้น เช่น อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิด กุศล คำนี้ หากฟังเผิน ศึกษาไม่ละเอียด ก็ จะเข้าใจผิดว่า เป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อ กุศลสิ่งที่ดี จะทำให้เกิด อกุศลสิ่งที่ไม่ดี ได้อย่างไร การเข้าใจผิดนี้ เพราะเราไปเอา ปัจจัยเดียว คือ กัมมปัจจัย คือ ปัจจัย ที่เป็น กรรมและผลของกรรม ที่ทำดี ทำกุศล ก็ต้องได้รับผลที่ดี ไม่ใช่ได้รับอกุศล แต่ในความละเอียดของธรรม แม้อกุศล ก็เป็นปัจจัยให้เกิดสภาพธรรมต่างๆ แม้ กุศลก็ได้ แต่ ในที่นี้ ไม่ได้ด้วย อำนาจของกัมมปัจจัย แต่ ด้วยอำนาจของปัจจัยอีก ประเภทที่เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย คือ เพราะอาศัยอกุศลจิตที่เกิดขึ้น ก็เป็น ปัจจัยให้เกิดกุศลจิตได้ เช่น เห็นอาหารที่ประณีต ดีมาก หรือ ชิมอาหารนั้น อร่อย ชอบ เกิดโลภะ คือ อกุศลจิตที่ติดข้อง แต่เพราะสะสมมาดี ที่เป็นผู้ให้ทาน อกุศลจิต ที่เกิดนั้นแหละ ที่ติดข้อง ก็คิดให้ทาน คือ ซื้อของนั้นไปใส่บาตรให้พระภิกษุ ฉัน อาหารที่ดี เป็นต้น อกุศลจิตที่เป็นโลภะ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตขั้นทานได้ หรือ เห็นคนอื่นมีความเข้าใจพระธรรม ก็อยากเข้าใจบ้าง ความอยากเกิดด้วยโลภะ อกุศล จิต ก็ขวนขวายศึกษาธรรม เกิดปัญญา ความเข้าใจถูก อกุศลจิต เป็นปัจจัยให้เกิด กุศลจิตก็ได้ ครับ
ส่วน กุศลจิต เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล ก็ไม่ใช่ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย แต่ด้วย ปัจจัยประการอื่น ซึ่งเป็นข้อเตือนใจที่ดีได้ทีเดียวว่า ไม่มีใครที่จะเกิดกุศลจิตได้ ตลอดไปและบ่อยๆ และกุศลจิตที่เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจจัยให้เกิดอกุศลจิตก็ได้ เช่น ขณะที่เข้าใจธรรม ขณะนั้นเป็นกุศล แต่ก็เกิดอกุศล คือ อยากจะเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก เกิดโลภะ อกุศลจิต เพราะมีกุศลจิตที่เกิดจากความเข้าใจทีแรก เป็นปัจจัยก็ได้
แสดงให้เห็นถึงความจริงของสภาพธรรมว่า ไม่มีใคร ไม่มีสัตว์ บุคคลเลย มีแต่ สภาพธรรมที่เป็นไป ที่เป็นกุศล อกุศล เป็นต้น และ ก็ไม่มีใครทำให้เกิด แต่อาศัย เหตุปัจจัยหลายๆ ปัจจัยทำให้เกิดขึ้น การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง จึงเป็นไปเพื่อ ความเข้าใจตามความเป็นจริงว่ามีแต่ธรรม และบังคับบัญชาไม่ได้ เพื่อไถ่ถอน ความเห็นผิดว่า มีเรา มีสัตว์ บุคคล อันจะเป็นไปเพื่อดับกิเลสในอนาคต ซึ่งหนทาง มีอยู่ คือ การฟังพระธรรมในหนทางที่ถูกต้อง ไม่ต้องไปจำชื่อ แต่ค่อยๆ เข้าใจความ จริงที่พระพุทธองค์ทรงแสดง แม้แต่ความจริงที่ว่า มีแต่ธรรม และ ธรรมจริงๆ คืออะไร ก็จะทำให้มีความเข้าใจถูกในขั้นการฟัง ในสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เป็นปัจจัยให้สติ เกิดได้ และจนท้ายที่สุด ก็จะเข้าใจความเป็นเหตุปัจจัย จริงๆ ในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อปัญญาแก่กล้า จนถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่ 2 แต่ ยังอีกไกลมาก สำคัญ คือ ความ เข้าใจเบื้องต้นในขณะนี้ แม้แต่คำว่า ธรรม ให้เข้าใจ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
กราบขอบพระคุณในธรรมทานจากทุกท่านด้วยความเคารพค่ะ
อกุศลเป็นเปัจจัยให้เกิดกุศล เป็นความละเอียดของสภาพธรรมจริงๆ กลัวภัยของวัฎฎะ การวนเวียนของการเกิดไม่สิ้นสุด ด้วยความไม่รู้ มีทุกข์ในอบายเป็นที่สุด จึงเห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรมต่อไปเพื่อชำระความไ่ม่รู้
แม้ครั้งพุทธกาล พราหมณ์ชราผู้มีความขลาดต่อความตาย เพราะรู้ว่า ไม่มีที่พึ่ง ก็ได้รับประโยชน์จากการไปเฝ้าฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๑ ชนสูตรที่ ๑ ข้อ ๔๙๑ มีข้อความว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ ๒ คน เป็นคนชราแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด ได้ชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชราแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด แต่มิได้สร้างความดี มิได้ทำกุศล มิได้ทำกรรมอันเป็นที่ต้านทานความขลาดไว้ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงโอวาทสั่งสอนพวกข้าพระองค์ถึงข้อที่จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพระองค์ สิ้นกาลนานเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกร พราหมณ์ ที่แท้พวกท่านเป็นคนชรา แก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด แต่มิได้สร้างความดี มิได้ทำกุศล มิได้ทำกรรมอันเป็นที่ต้านทานความขลาดไว้
ดูกร พราหมณ์ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ มรณะ นำเข้าไปอยู่แล เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ มรณะ นำเข้าไปอยู่เช่นนี้ ความสำรวมทางกาย ความสำรวมทางวาจา ความสำรวมทางใจในโลกนี้ ย่อมเป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วงของเขาผู้ละไปแล้ว
ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้ความมีอายุสั้น ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปใกล้แล้ว ย่อมไม่มีที่ต้านทาน เมื่อบุคคลเล็งเห็นภัยในความตายนี้ ควรทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ ความสำรวมทางกาย ทางวาจา และทางใจในโลกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ผู้ซึ่งสร้างสมบุญไว้แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ฯ ....
ขอเชิญคลิกฟังความละเอียดได้ที่
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1587
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1589
ขออนุโมทนา