อรรถกถาทวยตานุปัสสนาสูตร

 
khampan.a
วันที่  13 เม.ย. 2556
หมายเลข  22756
อ่าน  1,138

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๖๗๘

บทว่า เย เต ภิกฺขเว กุสลา ธมฺมา ความว่า โพธิปักขิยธรรม

๓๗ หรือปริยัติธรรมอันส่องความโพธิปักขิยธรรมนั้น ชื่อว่าเป็นกุศล เพราะ

อรรถว่า ไม่มีโรค ไม่มีโทษ มีผลน่าปรารถนา เกิดแต่ความฉลาด. บทว่า

อริยา นิยฺยานิกา สมฺโพธิคามิโน เป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไปให้ถึง

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะควรเข้าถึง ชื่อว่าเป็น

เครื่องนำออกไป เพราะนำออกไปจากโลก ชื่อว่าให้ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้

เพราะให้ได้บรรลุพระอรหัต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่าจะมี

ประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไป อันให้

ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้แก่เธอทั้งหลาย ท่านอธิบายว่า เธอทั้งหลายฟังธรรม

เหล่านั้นเพื่ออะไร. บทว่า ยาวเทว ในบทว่า ยาวเทว ทฺวยตาน ธมฺมาน

ยถาภูต าณาย เพื่อรู้ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง นี้เป็น

คำรับรองในการกำหนด. ธรรมชื่อว่า ทฺวยา เพราะมี ๒ อย่าง. ธรรม ๒

อย่างนั้นแลชื่อว่า ทฺวยตา. ธรรม ๒ อย่างเหล่านั้น. ปาฐะว่า ทฺวยาน ก็มี.

บทว่า ยถาภูต าณาย เพื่อรู้ตามความเป็นจริง คือ เพื่อรู้ไม่วิปริต.

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ว่า การรู้ตามความเป็นจริงอันได้แก่เห็นแจ้ง

ธรรมที่ท่านกำหนดไว้สองอย่างเป็นโลกิยะและโลกุตระเป็นต้น เพื่อประโยชน์

แก่การรู้ตามความเป็นจริงนั้น ไม่ยิ่งไปกว่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมประมาณ

เท่านี้ ย่อมมีด้วยการฟัง การบรรลุคุณวิเศษยิ่งกว่านั้น ย่อมมีด้วยการภาวนา.

ก็ในบทว่า กิญฺจ ทฺวยต วเทถ เธอทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็น

ธรรม ๒ อย่างนี้ มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หากจะมีผู้ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง.

มีความว่า ท่านทั้งหลายกล่าวความเป็นธรรม ๒ อย่างคืออะไร. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นธรรม ๒ อย่างจึงตรัสคำมี

อาทิอย่างนี้ว่า อิท ทุกฺข นี้ทุกข์. ในบทนั้น ธรรมคืออริยสัจ ๔ เป็นธรรม

๒ ส่วน การพิจารณาเห็นเนืองๆ ด้วยการเห็นทุกข์พร้อมด้วยเหตุอันเป็นส่วน

หนึ่งของโลกิยะอย่างนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นข้อหนึ่ง. การพิจารณา

เห็นเนืองๆ ด้วยการเห็นนิโรธ (ความดับทุกข์) พร้อมด้วยอุบายอันเป็นส่วน

ที่สองของโลกุตระเป็นข้อที่สอง. อนึ่ง ในบทนี้ข้อที่หนึ่งสำเร็จได้ด้วยวิสุทธิ

ที่ ๓ ที่ ๔ ข้อที่สองสำเร็จได้ด้วยวิสุทธิที่ ๕. บทว่า เอว สมฺมา ทฺวยตา-

นุปสฺสิโน ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้

ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบตามนัยที่กล่าว

แล้วนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ เป็นผู้มีความเพียร เพราะ

มีความเพียรเผากิเลสทางกายและทางจิต เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เพราะหมดความ

เพ่งเล็งในกายและชีวิต. บทว่า ปาฏิกงฺข คือ พึงปรารถนา. บทว่า ทิฏฺเว

ธมฺเม อญฺา ได้แก่ อรหัตตผลในปัจจุบันนี้. บทว่า สติ วา อุปาทิ-

เสเส อนาคามิตา เมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ความว่า

ยังมีความยึดมั่นขันธ์เหลืออยู่ โดยเกิดอีก ท่านเรียกว่า อุปาทิเสส คือ

ยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ท่านแสดงว่า เมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่นั้น พึง

หวังความเป็นพระอนาคามี. ในบทนั้น แม้ผลเบื้องต่ำก็ยังมีแก่ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ อย่างนี้ ก็จริง ถึงดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดในผลเบื้องสูงจึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า อิทมโวจ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภาษิตนี้แล้วนี้ เป็นคำต้น

ของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย. ในบทเหล่านั้นบทว่า อิท เป็นคำชี้แจงถึงบท

ที่พระองค์ตรัสไว้แล้วว่า เย เต ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า เอต เป็นบทแสดงคาถา

ประพันธ์ที่พระองค์พึงกล่าวมีอาทิอย่างนี้ว่า เย ทุกฺข ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์

ดังนี้. อนึ่งคาถาเหล่านี้แสดงเนื้อความดังกล่าวแล้ว เพราะแสดงถึงอริยสัจ ๔.

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะแสดงถึงผู้ไม่เห็นแจ้งและผู้เห็นแจ้งแล้วแสดงถึงวัฏฏะ

วิวัฏฏะที่ตัดขาดและยังตัดไม่ขาดของท่านเหล่านั้นว่า ท่านกล่าวแสดงถึงเนื้อ-

ความที่ต่างกันเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ชอบใจคาถามาภายหลัง หวังอนุเคราะห์

เพราะไม่สามารถจะรู้มาก่อนได้ และแก่ผู้มีจิตฟุ้งซ่านมาก่อน เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวคาถานี้เพื่อแสดงเนื้อความต่างกันนั่นเอง. ในคาถาพจน์แม้นอก

จากนี้ก็มีนัยนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ ท่านแสดงถึงนิพพาน. เพราะทุกข์ย่อม

ดับไปในนิพพานโดยประการทั้งปวง ทุกข์ย่อมดับไปหมดทุกประการ ทุกข์

พร้อมด้วยเหตุย่อมดับ ทุกข์ย่อมดับไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตญฺจ มคฺค ได้แก่

มรรคมีองค์ ๘ นั้น. ในบทว่า เจโตวิมุตฺติหีนา เต อโถ ปญฺาวิมุตฺติยา

ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ พึงทราบว่า อรหัตตผล-

สมาธิ เป็นเจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ อริหัตผลปัญญา เป็นปัญญาวิมุตติ

เพราะสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง อรหัตตผลอันตัณหาจริตบุคคลข่มกิเลสทั้งหลายด้วยผล

แห่งอัปปนาฌานแล้วจึงบรรลุ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ.

อรหัตตผลทิฏฐิจริตบุคคลยังเพียงอุปจารฌานให้เกิด เห็นแจ้งแล้ว จึงบรรลุ

ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ

คือ กามราคะ. อรหัตตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาโดย

อาการทั้งปวง.

บทว่า อนฺตกิริยาย คือ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. บทว่า

ชาติชรูปคา ได้แก่ เข้าถึงชาติและชรา หรืออันชาติและชราเข้าถึง ย่อมไม่

พ้นจากชาติและชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือในคาถานี้

ปรากฏชัดแล้วตั้งแต่ต้น.

เมื่อคาถาจบลงภิกษุประมาณ ๖๐ รูป รับเทศนานั้นแล้วต่างเห็นแจ้ง

บรรลุพระอรหัต ณ อาสนะนั้นนั่นเอง. ในวาระทั้งหมดเหมือนในบทนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทวยตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็น

ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ ) เป็นอันมากโดยนัยมีอาทิว่า สิยา อญฺเนาปิ

ปริยาเยน จะพึงมีโดยปริยายอื่นบ้างไหมดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๒ นั้นต่อไป. บทว่า อุปธิปฺปจฺจยา

เพราะอุปธิเป็นปัจจัย คือเพราะกรรมมีอาสวะเป็นปัจจัย. จริงอยู่กรรมมี

อาสวะท่านประสงค์เอา อุปธิ ในที่นี้. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา ได้แก่

เพราะอุปธิทั้งหลายดับไปเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ หรือ เพราะอุปธิทั้งหลาย

ดับไป กล่าวคือสำรอกโดยไม่เหลือ. บทว่า อุปธินิทานา เพราะอุปธิเป็น

เหตุ คือเพราะกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี

ผู้พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์เนืองๆ คือพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อุปธิเป็น

เหตุเกิดแห่งวัฏทุกข์. บทที่เหลือในบทนี้มีความปรากฏชัดทั้งหมดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอริยสัจ ๔ แล้วตรัสวาระแม้นี้ด้วยธรรม

เป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนั้นแล. วาระทั้งหมดเหมือนวาระนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๓ นั้นต่อไป. บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะ

อวิชชาสะสมกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นปัจจัย. แต่ทุกข์ในที่ทั้งหมดเป็นวัฏทุกข์

เท่านั้น. บทว่า ชาติมรณสสาร ชาติมรณะสงสาร อธิบายว่า ชาติคือความ

เกิดแห่งขันธ์, มรณะ คือความแตกไปแห่งขันธ์, สงสาร คือความสืบต่อแห่ง

ขันธ์. บทว่า วชนฺติ ไป คือเข้าถึง. บทว่า อิตฺถภาวญฺถาภาว มีความเป็น

อย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น คือความเป็นมนุษย์นี้ และความเป็นหมู่อื่นที่

เหลือจากความเป็นมนุษย์นี้ . บทว่า คติ คือความเป็นปัจจัย. บทว่า อวิชฺชาหย

ตัดบทเป็น อวิชฺช หิ อย อวิชชานี้. บทว่า วิชฺชาคตา จ เย สตฺตา

สัตว์ทั้งหลายผู้ไปด้วยวิชชาเท่านั้น ความว่า สัตวว่ทั้งหลายผู้ทำลายกิเลสแล้ว

ไปด้วยวิชชา (ปัญญา) ในอรหัตตมรรค เป็นสัตว์ที่สิ้นอาสวะแล้ว. บทที่เหลือ

มีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๔. บทว่า สงฺขารปจฺจยา เพราะสังขาร

เป็นปัจจัย คือ เพราะปุญญาภิสังขาร (สภาพผู้ตกแต่งคือบุญ) อปุญญาภิสังขาร

(สภาพผู้ตกแต่งคือบาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพผู้ตกแต่งคือ ความไม่หวั่น

ไหว) . บทว่า เอตมาทีนว ญตฺวา รู้โทษนี้ คือรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้โทษ เพราะ

สังขารเป็นปัจจัย. บทว่า สพฺพสงฺขารสมถา เพราะความสงบแห่งสังขาร

ทั้งหมด คือ ชื่อว่า สงบสังขารทั้งหลายทั้งหมดดังได้กล่าวแล้วด้วยมรรคญาณ

อธิบายว่า เพื่อความกำจัด เพราะปรารถนาผล. บทว่า สญฺาน แห่งสัญญา

ทั้งหลาย คือเพราะสัญญามีกามสัญญาเป็นต้นดับด้วยมรรคนั่นเอง. บทว่า เอต

ตฺวา ยถาตถ คือรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นิโดยไม่วิปริต. บทว่า สมฺมทฺทสา

ผู้เห็นชอบ คือเห็นโดยชอบ. บทว่า สมฺมทญฺาย รู้โดยชอบ คือรู้สังขาร

ธรรมโดยเป็นของไม่เที่ยง และรู้อสังขตธรรมโดยความเป็นของเที่ยง. บทว่า

มารสโยค กิเลสเป็นเครื่องประกอบของมาร คือวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ