การรู้ว่าจิตกำลังคิดนึก

 
เอื้อมธรรม
วันที่  17 เม.ย. 2556
หมายเลข  22770
อ่าน  1,138

การรู้ว่าจิตกำลังคิดนึกก็เหมือนกับการที่รู้ว่าเสียงมากระทบหู เป็นลักษณะเดียวกัน (รูป-นาม) ใช่หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การรู้ว่าจิตกำลังคิดนึก ขณะที่จิตคิดนึกก็เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นทางใจ ซึ่งจะคิดนึกเป็นไปในกุศลจิตก็ได้ อกุศลจิตก็ได้ นี่ประเด็นหนึ่ง ส่วนการรู้ว่ากำลังคิดนึกอยู่ ก็เป็นจิตคิดนึกอีกเช่นกัน ที่รู้ว่ากำลังคิดนึก ซึ่งขณะที่รู้ว่ากำลังคิดนึกอยู่ ก็รู้ด้วยจิตที่เป็นกุศลจิตก็ได้ อกุศลจิตก็ได้ เช่นกัน

ส่วนการรู้ว่ามีเสียงมากระทบหูหรือที่เรียกว่าการได้ยิน คือ กำลังได้ยินเสียง ขณะนั้นก็เป็นจิตเช่นกัน เป็นจิตที่ได้ยิน เรียกว่า โสตวิญญาณจิต แต่ไม่ใช่กุศลจิต อกุศลจิต แต่เป็นเพียงผลของกรรมที่เป็นจิตชาติวิบาก หากเป็นผลของกรรมที่ดี ก็ได้ยินเสียงที่ดี ได้รู้เสียงที่ดีไพเราะ เป็นต้น แต่หากผลของกรรมที่ไม่ดีให้ผล อันเกิดจากอกุศลกรรมในอดีตให้ผล ก็ทำให้ได้ยินเสียงที่ไม่ดี มีเสียงที่ดังมากๆ ขณะนั้นก็กำลังรับรู้เสียงที่มากระทบที่หู ครับ

เพราะฉะนั้นทั้งสองอย่างคือ ขณะที่คิดนึก การรู้ว่ากำลังคิดนึกกับการได้ยินเสียงรู้เสียงในขณะนั้นที่เหมือนกัน คือ ต่างก็เป็นจิตที่เกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย โดยเป็นสภาพรู้ในขณะนั้น เพียงแต่สิ่งที่ถูกรู้แตกต่างกันไป จิตที่คิดนึกมีเรื่องราวเป็นอารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ส่วนการได้ยิน จิตที่ได้ยินมีเสียงเป็นอารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกจิตได้ยินรู้เหมือนกัน โดยเป็นจิตเช่นเดียวกัน ครับ

ส่วนที่แตกต่างกันระหว่างจิตที่คิดนึกหรือจิตที่รู้ว่ากำลังคิดนึกกับจิตที่ได้ยินเสียง คือ ประเภทของจิต จิตที่คิดนึกหรือรู้ว่ากำลังคิดนึกเป็นจิตที่เป็นเหตุ คือ กุศลจิตหรืออกุศลจิต ส่วนการได้ยินเป็นจิตที่ได้ยิน เป็นผล ไม่ใช่เหตุ คือ เป็นผลของกรรมที่เป็นจิตอีกประเภท ที่เรียกว่า จิตชาติวิบาก หรือ วิบากจิต ครับ

ที่ต่างกันอีกประการ คือ อารมณ์ของจิตคิดนึก กับ อารมณ์ของจิตได้ยินต่างกัน จิตที่คิดนึก มีบัญญัติเรื่องราวเป็นอารมณ์ ส่วนจิตได้ยินมีเสียงเป็นอารมณ์ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เอื้อมธรรม
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่จะมีการคิดไตร่ตรองถึงพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังก็เพราะว่ามีการฟังพระธรรม แต่ที่ไม่ควรลืม คือพระธรรมจะขาดการฟังไม่ได้ ต้องฟังบ่อยๆ เนืองๆ ด้วยความตั้งใจ และมีจุดประสงค์ที่ตรงด้วยว่าเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น และจากที่ได้ฟังพระธรรมไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่จะต้องศึกษานั้นไม่พ้นไปจากความเป็นธรรม ๒ อย่าง คือ นามธรรมกับรูปธรรม นามธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน คือ จิตกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ จิตมีหลากหลายมาก หลากหลายเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย หลากหลายเพราะอารมณ์ หลากหลายตามระดับขั้น เป็นต้น แต่แม้ว่าจะมีมากมายหลากหลายเพียงใด ลักษณะของจิตก็คือมีการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ (สิ่งที่จิตรู้) เท่านั้น มีลักษณะให้รู้ได้ ส่วนรูปธรรมก็มีจริงๆ เป็นธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้แต่มีจริงๆ สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้

การรู้จิตตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราเป็นกิจหน้าที่ของปัญญา ซึ่งจะต้องอาศัยการฟังพระธรรม ฟังในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ จึงจะมีเหตุปัจจัยให้ปัญญาเจริญขึ้นรู้ตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมใดปรากฏก็ตาม สำคัญที่การอบรมเจริญเหตุ คือ การอบรมเจริญปัญญา ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 17 เม.ย. 2556

จิตคิดนึก คิดถึงเรื่องราวต่างๆ ดับไปแล้ว จิตได้ยินก็เกิดขึ้นได้ยิน จิตคิดนึกเป็นนามธรรม จิตได้ยินก็เป็นนามธรรม แต่ทำหน้าที่ต่างกัน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Boonyavee
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 21 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ