เกี่ยวกับอิริยาบถ

 
gboy
วันที่  17 เม.ย. 2556
หมายเลข  22771
อ่าน  3,201

ขอเรียนถามเกี่ยวกับบทความที่ได้อ่านมา

๑. อัปปนาชวนจิตอุปถัมภ์อิริยาบถใหญ่ แต่ไม่อุปถัมภ์อิริยาบถน้อย

๒. โลกุตตรจิตไม่อุปถัมภ์อิริยาบถใด

ไม่ทราบข้อความข้างต้นมีความถูกต้องหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ส่วนอิริยาบถย่อย คือ เหยียด คู้ ก้ม เงย เป็นต้น ซึ่งการเคลื่อนไหวเป็นไปในอิริยาบถต่างๆ ต้องอาศัยสภาพธรรมที่ประชุมรวมกันจึงเกิดขึ้นได้ คือ เกิดการสมมติบัญญัติที่เรียกว่าอิริยาบถ แท้ที่จริงก็เป็นเพียงการทำหน้าที่ของนามธรรมและรูปธรรมที่เป็น จิต เจตสิก และรูป ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเกิดขึ้น ครับ ซึ่งการเคลื่อนไหวไปก็เพราะมีจิตที่ทำหน้าที่ มีจิตตวาโยธาตุ และอาศัยมหาภูตรูป และอาศัยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ซึ่งอิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ต้องอาศัยจิต คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ (อกุศล ๑๒ มหากุศล ๘ มหากิริยา ๘ หสิตุปปาทะ ๑) อภิญญาจิต ๒ (ของปุถุชน ๑ อริยบุคคล ๑) อัปปนาชวนจิต ๒๖ (จิตที่ได้ฌานแล้ว) ส่วนจิตที่ทำให้เคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อย เช่น ก้ม เงย เป็นต้น คือ เคลื่อนไหว อิริยาบถน้อย เป็นไปดังกล่าวแล้วมีจิต ๓๒ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ อภิญญาจิต ๒

ส่วนวิบากจิตไม่เป็นปัจจัยอุปถัมภ์ต่ออิริยาบถใด ครับ เพราะไม่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป ส่วนโลกุตตรจิตไม่ได้อุปถัมภ์อิริยาบถ คือ ทำให้เคลื่อนไหวไป แต่ก็ทรงไว้ซึ่งอิริยาบถในขณะนั้นได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
gboy
วันที่ 18 เม.ย. 2556

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
gboy
วันที่ 18 เม.ย. 2556

สรุปมหัคคตกุศล ๙ และมหัคคตกิริยา ๙ อุปถัมภ์อิริยาบถใหญ่ ส่วนมรรคจิตและผลจิตไม่อุปถัมภ์อิริยาบถ เพียงทรงอิริยาบถขณะนั้นได้

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Boonyavee
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ใฝ่รู้
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรมเป็นอย่างยิ่ง ที่แสดงถึงความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ทั้ง จิต เจตสิก รูป โดยนัยต่างๆ ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งผู้ที่ทรงตรัสรู้และทรงแสดงคือ พระสัมมาสัมสัมพุทธเจ้า ผู้ที่จะสามารถเข้าใจได้ก็ต้องเป็นผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาไตร่ตรองในความเป็นเหตุเป็นผลของธรรม และเข้าใจได้ในส่วนที่จะเข้าใจได้ ตามกำลังปัญญาของแต่ละคน ครับ

...ขอบพระคุณ อ. ผเดิม และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 22 เม.ย. 2556

เรียนสนทนาเพิ่มเติม จากที่สหายธรรมได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ในเรื่องโลกุตตรจิตนั้น อุปถัมภ์ ในส่วนของอิริยาบถด้วย ครับ ขออนุโมทนา คุณสัมภเวสี มา ณ ที่นี้ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
boonpoj
วันที่ 22 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ