กุศลจิตเกิดได้อย่างไร

 
email
วันที่  18 ต.ค. 2549
หมายเลข  2283
อ่าน  4,123
กุศลจิตเกิดได้อย่างไร ทำอย่างไรจะให้กุศลเกิดมากกว่าอกุศล

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 18 ต.ค. 2549

กุศลจิตเกิดได้ เพราะปัจจัย เช่น การคบสัตบุรุษ การฟังธรรม การตั้งตนไว้ชอบเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยของกุศลที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ยิ่งเจริญไพบูลย์ การจะทำให้กุศลจิตเกิดมากกว่าอกุศล เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะโดยมากสภาพจิต เป็นไปกับอกุศลเป็นส่วนมาก ในสมัยครั้งพุทธกาลผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนา จิตสงบถึงฌานขั้นต่างๆ ขณะนั้นเป็นไปกับกุศลเป็นส่วนมากหรือ ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา จนบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล กุศลจิตก็ควรจะเกิดมากกว่าอกุศลได้ เพราะท่านละโลภะที่ติดในกามคุณ และโทสะได้แล้ว ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มี อกุศลจิตและกุศลเลย มีเพียงกิริยาจิตและวิบากจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 18 ต.ค. 2549

ปุถุชน ในสมัยก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเห็นโทษของอกุศลที่เป็นไปในกาม (ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย) ก็ได้ สละบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ ออกบวช เป็น ฤาษี ดาบส เจริญสมถภาวนา จนกระทั่งฌานจิตเกิด เป็นฌานขั้นต่างๆ นั่นก็คือ ให้ กุศล เกิดมากกว่า อกุศล แต่ก็ไม่สามารถละอกุศลได้เด็ดขาด โดยเฉพาะ ฌานจิตนั้น ได้ยาก เสื่อมง่าย ไม่เหมือนผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค คือ อบรมเจริญวิปัสสนา จนกระทั่ง บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล แม้จะไม่ได้บวชเป็นเพศบรรพชิต แต่สภาพจิตของท่านไม่มีความยินดี พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ เพราะท่านละโทสะได้เด็ดขาดแม้ท่านจะไม่ได้บำเพ็ญฌาน แต่จิตของท่านในชีวิตประจำวัน ก็มีความสงบถึงขั้นฌานอยู่แล้ว กุศลย่อมเกิดมากกว่าอกุศลตายไปแล้ว ท่านย่อมเกิดในพรหมโลก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
กลมวิเชียร
วันที่ 27 ธ.ค. 2549

ต้องขอขอบคุณ ที่ท่าน email ได้เข้าไปช่วยตอบในกระทู้ของผม แต่คำถามจริงๆ ของผม คือ เมื่อจิตเป็นนามธรรม สภาพรู้ ผมอยากทราบว่า แล้ว อะไร คือ ตัวรู้ ครับ ถ้าจะกรุณาตอบให้ก็จะเป็นพระคุณ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ธ.ค. 2549

ในภาษาบาลี คำว่า จิตตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ ก็คือ "ใจ" ในภาษาไทย นั่นเอง ทุกคนรู้จักจิต โดยคำ แต่ยังไม่รู้ลักษณะของจิตจริงๆ ลักษณะของจิต คือ อารมฺมณ วิชานนลกฺขณํ

จิต เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตเกิดขึ้นจะต้องรู้อารมณ์อย่างหนึ่งอย่างใด จะมีจิตที่รู้โดยไม่มีสิ่งที่ถูก รู้ (อารมณ์) ไม่ได้ ฉะนั้น คนเป็นจึงต่างกับคนตาย เพราะคนตายไม่มีจิต แต่ก่อนตายนั้น เมื่อจิตขณะสุดท้ายเกิดขึ้น ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ดับไป ร่างกายของคนตายที่เหลืออยู่ จึงเป็นแต่เพียงรูปซึ่งปราศจากจิต ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก อีกต่อไป

เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของคนเป็น กับคนตาย ก็ทำให้เข้าใจ ลักษณะของจิตขณะนี้ได้ว่า สภาพเห็นที่กำลังเห็นขณะนี้ เป็นจิตชนิดหนึ่ง เพราะเป็นสภาพรู้ เป็นลักษณะรู้ เป็นอาการรู้ นี่คือ ลักษณะของจิต คือ เป็นสภาพที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ และจิตก็อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ธ.ค. 2549

คำว่า “อารัมมณะ” อีกคำหนึ่งในภาษาบาลี ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า “อารมณ์” ไม่เหมือนกับความหมายที่เราเข้าใจ เพราะว่าคนไทยเรา เอา ภาษาบาลีมาใช้ แต่ใช้ไม่ตรงกับความหมายในพระพุทธศาสนา เวลาที่เรา บอกว่า วันนี้อารมณ์ดี เพราะว่าเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี รู้สิ่งที่ กระทบสัมผัสดี คิดนึกเรื่องราวดีๆ ก็บอกว่า อารมณ์ดี

แต่คำว่า “อารัมมณะ” ต้องคู่กับคำว่า “จิต” เพราะว่า จิตเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เมื่อเกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ หรือว่าจิตกำลังรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็น “อารมณ์” เสียงในป่า เสียงนอกศาลา เสียงใดๆ ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการกระทบกันของของแข็ง แต่เสียงที่ไม่ปรากฏ ไม่ใช่ “อารัมมณะ” หรือ อารมณ์ เพราะว่า ขณะนั้น ไม่มีจิตที่รู้อารมณ์หรือเสียงนั้น เสียงนั้นเกิดแล้วก็ดับไปๆ แต่ขณะใดก็ตาม เสียงปรากฏ หมายความว่า เสียงปรากฏกับสภาพรู้ ที่กำลังได้ยินเสียง ขณะนี้มีจิตขณะหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 28 ธ.ค. 2549

บุญมี ๑๐ อย่างค่ะ .. ทาน ศีล การฟังธรรม การแสดงธรรม การช่วยเหลือกิจการงานที่เป็นกุศลการอุทิศกุศลที่ทำแล้วให้คนที่ล่วงลับไปแล้ว เห็นใครทำความดีก็อนุโมทนา การอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่การทำความเห็นให้ตรงเชื่อเรื่องบุญบาป เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 6 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chaweewanksyt
วันที่ 2 ก.ย. 2563

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 14 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ