ธรรมทาน
เห็นคนพิมพ์หนังสือสวดมนต์ ถวายแล้ว กล่าวเป็นธรรมทาน ความเห็นผมว่า การให้ธรรมทานนั้น ผู้ให้ต้องมีธรรมนั้น หรือเข้าใจในธรรมนั้นจึงสามารถ ให้ธรรมทานนั้นได้ ขอเรียนว่าความเห็นเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การให้ธรรมทาน คือ การให้ธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ตามที่พระพุทธ เจ้าทรงแสดง ซึ่งผู้ใดที่ให้ธรรมแบบใด ก็ต้องเข้าใจธรรมแบบนั้น ดังนั้น ถ้าเข้าใจธรรม ผิด ก็มีความเห็นผิดตามเรื่องราวธรรมนั้น ก็ให้หนังสือ หรือ สื่อ หรือ กล่าวคำพูดที่ผิด ให้ผู้อื่นฟังที่สำคัญว่าเป็นธรรมที่ถูก ก็ไม่ใช่ธรรมทาน เพราะตนเอง ไม่เข้าใจธรรม และ ให้สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม คือ เป็นคำสอนที่ไม่ตรงสัจจะ ความจริง หรือ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตาม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั่นเอง
ส่วนผู้ที่ให้ธรรมทาน ก็คือ ให้พระธรรม คำสอนที่เป็นสัจจะ ความจริง ตรงตามที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ผู้ที่ให้ความเห็นถูก แสดงว่า ตนเองก็มีความคิดไปในทาง ที่เห็นถูก จึงให้สื่อ มี หนังสือ เป็นต้น หรือ กล่าวธรรมให้ฟังในสิ่งที่ถูก ซึ่งผู้ที่จะให้ ธรรมทาน มี การกล่าวธรรมให้ฟัง ในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะต้องมาจากใจที่เข้าใจพระธรรม คือ มีความเห็นถูกเป็นสำคัญ จึงจะให้ธรรมทานได้ และ การให้ธรรมทานนั้นก็ด้วย จุดประสงค์ คือ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความจริง เข้าใจธรรม ไม่ใช่เพื่อตนเอง และ เพื่อ ลาภ สักการะ เป็นต้น ครับ
ส่วนผู้ที่ให้หนังสือธรรมที่ถูกต้อง แม้จะไม่ได้มีความเข้าใจถูกทั้งหมด เช่น ให้หนังสือ สวดมนต์ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดปัญญา เกิดกุศลจิต ในการอ่าน ข้อความในบทสวด ก็ถือ เป็นธรรมทานได้ เพราะอาศัยความเห็นถูกระดับหนึ่ง ในคำสอน จึงให้บทสวด เพื่อ ให้ผู้อื่นได้เกิดกุศลจิต ในการอ่านนั้น ครับ
ดังนั้น ที่ผู้ถาม กล่าวว่า ผู้ที่ให้ธรรมทาน จะต้องเข้าใจ ธรรมนั้น ท่านผู้ถามมีความเข้าใจถูกต้องแล้ว ครับ ข้อความที่แสดงว่า ผู้ที่มีความเข้าใจถูก แสดง ธรรมที่ถูกต้อง เป็นธรรมทาน
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 616
เชิญคลิกอ่านที่นี่
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ
ขอเรียนถาม ระหว่างการให้ธรรมเป็นทาน กับ อภัยทาน ธรรมใดมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ
ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง [คาถาธรรมบท]
ขออนุโมทนา
หลายวันก่อนได้ไปวัดสามง่าม นครปฐม เห็นแม่ค้าขาย ปลา และนก จึงได้ซื้อนก เพื่อคืนอิสระภาพให้มัน จิตขณะนั้นเกิดเมตตา กรุณาและสติระลึกรู้ ผมเคยได้ยิน หลายคนว่าไม่ควรสนับสนุนเพราะเดี๋ยวก็โดนจับอีก แม้กระทั่งคนที่ไปด้วยก็คิดแบบ นั้นเหมือนกัน ผมเลยกล่าวตอบว่ามิต้องคำนึงตรงนั้น แม้รู้ว่ามันถูกจับมาขายเพื่อปล่อย เพราะเมื่อเราเห็นมันถูกขังเราจะช่วยมันไหมล่ะ จากนั้นเขาเลย เข้าใจ จากนั้นได้เตือน แม่ค้า ถ้าเลิกได้ควรหาอาชีพใหม่เพราะเป็นกรรมไม่ดี จะถือเป็นการเจริญบารมีหรือไม่
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
บารมี คือธรรมที่ทำให้ถึงฝั่ง คือ การดับกิเลส โดยมีปัญญาเป็นสำคัญ ซึ่ง บารมี ก็จะ ต้องเป็นเรื่องของกุศลธรรม ซึ่ง หาก ผู้ที่ทำกุศล มีการปล่อยสัตว์ เป็นต้น เจตนา เพื่อช่วยสัตว์ ขณะนั้นเป็นกุศลจิต เป็น คุณความดี และ ทำความดี เพื่อขัดเกลากิเลส ของตนเอง เพื่อ ดับกิเลสในอนาคต ก็เป็น บารมีได้ ครับ ซึ่ง ขณะที่ช่วยสัตว์ ก็เป็น ทานบารมี โดยการให้ชีวิตได้ และ เป็นเมตตาบารมีได้ ที่มีเมตตากับสัตว์นั้น และ ขณะที่อธิบายให้ แม่ค้าเข้าใจถูก ให้เขาเห็นถูก งดเว้นจากบาป ก็ด้วยปัญญา ด้วย กุศลจิตก็ได้ ขออนุโมทนาในกุศลจิตด้วยเช่นกัน ครับ
ขอบคุณครับ คำถามเหล่านี้เป็นชีวิตประจำวัน ง่ายๆ ได้ประสพพบเห็นเรื่องราวมาก คราวหน้าจะได้หาเรื่องราวมาพูดคุยใหม่ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็น ครับ
-ธรรมทาน หมายถึง การให้ธรรมะ คือ การให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ ให้ความเห็นถูกในธรรมะ,บุคคลผู้ให้ธรรมะ อย่างสูงสุด คือ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่า สัตว์โลกที่ได้รับประโยชน์จากการแสดงพระธรรมของพระองค์มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งมนุษย์ เทวดา และพรหมบุคคลทั้งหลาย คุณความดีทั้งหมดจนกระทั่งสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นก็เพราะมาจากการให้ธรรมเป็นทานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงอุบัติขึ้นมาในโลกเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลกอย่างแท้จริง โดยไม่มีใครเสมอเหมือน ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระองค์ ทรงแสดง ก็ต้องเป็นผู้มีที่มีศรัทธาที่จะฟังที่จะศึกษาด้วยความละเอียด รอบคอบ มีจุด ประสงค์ที่ถูกต้องในการศึกษาว่า เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก
บุคคลผู้ที่จะเกื้อกูลผู้อื่นในทางธรรม ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาพระธรรม ให้มีความเข้าใจ อย่างถูกต้องได้ จึงจะสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นให้เข้าใจพระธรรมได้ สำคัญที่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ
เติมกุศลทุกขณะเพื่อชำระล้างอกุศล เพราะถ้าไม่คอยเติม (กุศล) อกุศลก็เพิ่มพูนเรื่อยๆ
อ้างอิงจาก ...
แบ่งปันสิ่งที่บันทึกจากชั่วโมงปฏิบัติธรรม ๕ พ.ค. ๒๕๕๖
-การขัดเกลากิเลส (เครื่องเศร้าหมองของจิต) ไม่เหมือนกับการทำความสะอาดวัตถุสิ่งของ เพราะเหตุว่าการขัดเกลากิเลสที่แต่ละบุคคลได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ต้องอาศัยการเจริญกุศล (ทำความดี) ทีละเล็กทีละน้อย บ่อยๆ เนืองๆ โอกาสใดที่จะเจริญกุศลได้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านใดๆ ก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะละเลยโอกาสนั้นไป เพราะโอกาสของการได้ทำความดี ในชีวิตประจำวันนั้น เป็นโอกาสที่หายาก และในวันหนึ่งๆ อกุศลจิตเกิดบ่อยมากเป็นปกติอยู่แล้ว ถ้าไม่มีโอกาสของกุศลจิตได้เกิดขึ้นบ้างเลย นับวันอกุศลก็จะสะสมพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ สังสารวัฏฏ์ยืดยาวต่อไปอีกอย่างไม่มีวันจบสิ้น ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...