พระทำผิดฆารวาสตักเตือนไม่ได้ จริงหรือเปล่า

 
เตรียมบุญ
วันที่  9 พ.ค. 2556
หมายเลข  22876
อ่าน  2,192

..เมื่อก่อนไม่ค่อยใส่ใจนัก..แต่ตอนนี้ก็ชักไม่แน่ใจ..ที่ว่าไม่ให้ฆารวาสตักเตือน ติเตียน พระภิกษุ น่าจะมีความหมายอื่นมากกว่า..คำว่าภิกษุที่เราเรียกกัน คงไม่ได้หมายถึง บุคคลที่โกนหัว ห่มผ้าเหลือง และถือบาตรหรอก เพราะถ้าเป็นแค่นั้นพระศาสนา คงสูญไปนานแล้ว...

การที่บุคคลปล่อยให้พระท่านทำในสิ่งโลกติเตียนต่อไป จะเป็นบาปหรือไม่ อาทิ เห็นพระนั่งดูละคร ร้องคาราโอเกะลั่นวัด ดื่มสุราเมามาย หนีเที่ยวยามวิกาล เล่น การพนันเอะอะ แถมบางวัดยังเลี้ยงปลาไว้ต้มกินอีก พอญาติโยมว่ากล่าว ก็ตำหนิ ติเตียนด้วยวาจาหยาบคาย อวดอ้างเป็นพระ ก็ให้วางเฉยอย่างนั้นหรือ..ถ้าแบบนั้น น่ากังวลว่า เมื่อความศรัทธาของมหาชนคงลดไปเรื่อยๆ ศาสนาอื่นคงแทนที่เป็นแน่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็น ครับ

คำว่า ภิกษุ มีหลายความหมาย หมายถึง ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ผู้มีปกติขอ ผู้ดับกิเลส ผู้ทำลายกิเลส เป็นต้น เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็สามารถจำแนกเป็น ๒ นัย คือ ภิกษุโดยเพศ หมายถึง ผู้ที่สละอาคารบ้านเรือน ออกบวชเป็นบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่สูงกว่า คฤหัสถ์และ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุโดยภาวะ คือ ถึงความเป็นภิกษุจริงๆ โดยสามารถ ดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นได้

ชอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

อยากทราบความหมายของคำว่าภิกษุและบรรพชิต แตกต่างกัน

สำหรับประเด็นที่กล่าวถึง คงจะหมายถึงภิกษุโดยเพศ เป็นปกติธรรมดาของผู้ที่ ยังมีกิเลสอยู่ ยังไม่สามารถดับกิเลสอะไรๆ ได้ ความประพฤติเป็นไปก็ย่อมมีส่วนที่ ไม่ดีอยู่บ้าง คล้อยไปตามอำนาจของกิเลส ไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดก็ตาม อกุศลย่อม เกิดขึ้นเป็นไปมากในแต่ละวัน แต่สำหรับผู้ที่ถือเพศเป็นภิกษุ ปฏิญาณตนว่าเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็จะต้องมีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม น้อม ประพฤติตามพระธรรม และพระวินัยบัญญัติซึ่งเป็นสิกขาบทต่างๆ ก็ควรที่จะ ศึกษาด้วย ซึ่งเมื่อได้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมจะเกื้อกูลให้ได้ประพฤติใน สิ่งที่ถูกต้อง งดเว้นในสิ่งที่ผิด ถ้าหากว่าพระภิกษุท่านไม่น้อมประพฤติตาม พระธรรมวินัย ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ก็สามารถกล่าวให้ท่านได้เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องได้ ตามพระธรรม ด้วยจิตเมตตาที่จะเกื้อกูลท่าน ไม่ใช่ด้วยความโกรธ ความไม่พอใจ และประเด็นที่สำคัญ คือ พระพุทธศาสนา ไม่ได้อยู่ที่พระภิกษุ หรือ ไม่ได้อยู่ที่สถานที่หนึ่งที่ใด แต่อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก ถ้าไม่ได้ฟัง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความเข้าใจก็จะไม่เกิดมีกับผู้นั้น กล่าวได้ว่า พระธรรมอันตรธานไปจากใจของผู้ที่ไม่ได้ศึกษา นั่นเอง

แต่ละคนก็มีการสะสมมาแตกต่างกัน พระภิกษุที่ท่านไม่น้อมประพฤติตาม พระธรรมวินัยก็เป็นเรื่องของแต่ละท่านจริงๆ เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตน เมื่อท่านไม่น้อมประพฤติตามพระธรรม ประพฤติ ไม่เหมาะสมกับความเป็นผู้ได้สละอาคารบ้านเรือนมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่ง ก็เป็นเรื่องของท่าน เป็นไปตามการสะสมของท่าน พระภิกษุท่านกระทำผิดแล้วคฤหัสถ์ จะตกนรก เพราะการกระทำผิดของท่านก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ความผิดไม่ได้อยู่ที่คฤหัสถ์ แต่อยู่ที่ตัวท่านเอง พระภิกษุผู้ประพฤติล่วงพระวินัยบัญญัติ ต้องอาบัติข้อต่างๆ ย่อมมีโทษ ถ้าหากว่าไม่กระทำคืนหรือแก้ไขให้ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย จะเป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรค ผลนิพพาน และกั้นการไป สู่สุคติภูมิด้วย ถ้าหากว่ามรณภาพลงในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ย่อมมีอบายภูมิเป็น ที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น ซึ่งย่อมจะปรากฏด้วยกรรมของตนเองจริงๆ เพราะฉะนั้น แทนที่จะไปคิดถึงความไม่ดีของคนอื่น ก็ย้อนกลับมาที่กิจที่ควรทำ สำหรับตนเองนั่นก็คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ สะสมความเข้าใจถูกเห็น ถูกไปตามลำดับ ซึ่งเมื่อเข้าใจอย่างถูกแล้ว ก็สามารถเกื้อกูลให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกเห็นถูกด้วย ตามกำลังความเข้าใจของแต่ละคน ต่างคนต่างก็ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนาด้วยการตั้งใจฟัง ตั้งใจศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับคำว่า ภิกษุ มีหลายความหมาย ดังนี้ ครับ

ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วย ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้

ดังนั้น ภิกษุ จึงหมายถึง ผู้บวชแล้วด้วย แม้แต่ว่า ท่านจะประพฤติตนอย่างไร ก็ชือ่ว่ ภิกษุ หากแต่ว่า ภิกษุที่แท้จริง อีกนัย หนึ่ง คือ ผู้ที่มีคุณธรรม สมกับเป็น เพศภิกษุ ครับ

ซึ่งในความเป็นจริง หากยังเป็นปุถุชน แม้ว่าจะบวชแล้ว แต่ การห่มผ้าเหลือง ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้กิเลสลดน้อยลงได้ด้วยการบวช แต่สำคัญที่การ ศึกษาพระธรรม อบรมปัญญา ปัญญาต่างหาก จะทำหน้าที่ละกิเลสประการต่างๆ ซึ่งแต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง สะสมอุปนิสัยมาแตกต่างกันไป แม้แต่ในสมัยพุทธกาล ก็ยังมีพระภิกษุประพฤติปฏฺบัติตนที่ไมดีเช่นกัน เพราะยังมีกิเลสอยู่มาก ซึ่ง สมัยนั้น พระพุทธเจ้า และ พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันก็ตักเตือน และ มาในสมัยปัจจุบัน ก็เป็น ธรรมดาที่ ความเสื่อมจากการเข้าใจพระธรรม ที่กำลังเข้าใกล้พระศาสนาอันตรธาน ก็ทำให้ พระภิกษุ บางรูป ที่ประพฤติไม่เหมาะสมมากขึ้น เมื่อเทียบกับสมัยพุทธกาล ซึ่ง การว่ากล่าวตักเตือน หน้าที่โดยตรงนั้น ควรเป็นของพระอุปัชฌาย์ และ อาจารย์ ที่เป็นเพศพระภิกษุด้วยกันเป็นสำคัญ ส่วน คฤหัสถ์ ไม่สมควรกล่าวตักเตือน พูดโดยตรง แต่ สามารถกล่าวเป็นธรรม โดยไม่ใช่การพูดเตือนโดยตรงได้ โดยให้ ท่านคิดพิจารณา แต่จะต้องด้วยเจตนาที่ดี มีเมตตา และ ไม่ใช่ว่าร้าย กล่าวโดยธรรม และ ดูกาละเทศะที่เหมาะสมเป็นสำคัญ ครับ

ที่สำคัญ พุทธบริษัท ที่ดี ไม่ได้วางเฉยกับปัญหานี้ แต่ รักษาพระธรรม ด้วย การรักษาใจของตนเอง ให้มีความเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้องจริงๆ และ มากขึ้น เพราะ ใจของตนเองที่เข้าใจพระธรรม ก็ชื่อว่า รักษาพระศาสนา เพราะศาสนาอยู่ ที่ใจของแต่ละคน ส่วนใจของคนอื่นก็แล้วแต่ใจของใคร ควรที่จะรักษาใจของ ตนเองเป็นสำคัญ

ผู้ที่เข้าใจพระธรรมจริงๆ ย่อมเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมดาของโลก ที่จะต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา ควรที่จะน้อมเข้ามาในตนที่จะไม่ประมาทในเวลาที่ เหลือน้อย และ พระธรรมที่ใกล้อันตรธาน ครับ ความเพิกเฉย ต่อพระศาสนา จึง ไม่ได้หมายถึง เพียงการไม่ตักเตือนพระภิกษุที่ทำไม่ดี แต่ การเพิกเฉยใน พระพุทธศาสนา คือ การไม่ตักเตือนใจของตนเอง คือ การไม่ศึกษาพระธรรม ฟัง พระธรรม ชื่อว่า เป็นการเพิกเฉยต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 10 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 10 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Rodngoen
วันที่ 11 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
A1ONE
วันที่ 12 พ.ค. 2556

พาลูกๆ หลานๆ มาศึกษาพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนาตั้งแต่เล็กๆ ฟังธรรมตั้งแต่เล็กๆ ทำความดี สะสมความเข้าใจถูก ความคิดที่ถูกต้อง ความเชื่อที่ถูกต้องฯลฯ ตั้งแต่เล็กๆ

ไม่คบคนพาล (ติดข้องในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คิดนึก เจริญมิจฉามรรค เป็นต้น) คบบัณฑิต บูชาผู้ที่ควรบูชา อยู่ในประเทศหรือสถานที่ที่สมควร และมงคลอื่นๆ ครับ

สิ่งสำคัญคือถ้าตนเองเข้าใจพระธรรม (เข้าใจมาก น้อย เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ) กายวาจาใจจะเป็นไปตามความเข้าใจธรรม (มาก น้อย และกำลังเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ) นั่นเองครับ ที่เขียนมานี้เป็นแบบคร่าวๆ แต่เพิ่มเติมหรืออธิบายให้ละเอียดกว่านี้ได้อีกนะครับ ตามความเข้าใจของตนเอง และขอเชิญศึกษา (ฟัง สนทนา สอบถาม) พระธรรมตามพระไตรปิฎกจากเว็ปไซต์นี้ หรือที่มูลนิธิเองก็ได้ (ดีกว่า) นะครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 13 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สุทธิ​ญ​า​โณ​
วันที่ 24 เม.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ