เริ่มต้นศึกษาพระไตรปิฏกอย่างไร
หากจะเริ่มต้นศึกษาพระไตรปิฎกจะเริ่มต้นอย่างไรดี เห็นหนังสือพระไตรปิฎกหลากหลาย บางเล่มเช่นพระสูตรก็มีคำอธิบายความขยายพระสูตรนั้นบางเล่มก็เป็นพระสูตรสั้นๆ ไม่มีคำอธิบายต่อ และที่บ้านธรรมะใช้พระไตรปิฎกของใครเรียบเรียงค ะจะได้ศึกษาตาม. บางครั้งได้ยินว่าอรรถกถา อรรถสาลินีแปลว่าอะไรคะ เนื้อความในรายละเอียดต่างกันเหรอคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งสำหรับผู้ต้องการความละเอียดในการศึกษา ก็จะศึกษาในพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มีทั้งหมด ๙๑ เล่ม เพราะจะมีอรรถกถา อธิบายเพิ่มเติมในพระสูตรแต่ละสูตรด้วย เพื่อความละเอียด เข้าใจมากขึ้น หากอ่านแล้วคิดเองย่อมผิด แต่เพราะมีพระอรรถกถาจารย์ ที่เป็นพระอริยบุคคล แตกฉานในพระธรรมอธิบายไว้ดี ขยายความย่อมจะทำให้เข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้น ครับ
- พระวินัยปิฎก ส่วนใหญ่เกี่ยวกับข้อประพฤติปฏิบัติ ที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิต
- พระสุตตันตปิฎก เป็นพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงที่ พระวิหารเชตวัน พระวิหารเวฬุวัน พระวิหารนิโครธาราม เป็นต้น และเมื่อเสด็จไปสู่ที่ต่างๆ สนทนาธรรมกับบุคคลต่างๆ ตามอุปนิสัยของผู้ฟัง
- พระอภิธรรมปิฎก เป็นส่วนที่กล่าวถึงธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง โดยสภาวะ ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แสดงให้เข้าใจถึงธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ ที่เป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ซึ่ง อรรถกถา ในความหมาย คือ อตฺถ (เนื้อความ, ความหมาย) + กถา (คำพูด)
คำพูดขยายเนื้อความ หมายถึงคัมภีร์ที่อรรถกถาจารย์แต่งขยายความบาลีพุทธพจน์ (พระไตรปิฎก) พระอรรถกถาจารย์ คือ ผู้ที่อธิบายขยายความคำสอนของพระผู้มีพระภาคในส่วนที่ยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
ในครั้งพุทธกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคยังดำรงพระชนม์อยู่ ก็มีพระอรรถกถาจารย์หลายท่าน ที่ช่วยขยายความพระธรรมที่ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย แต่ภิกษุเหล่านั้นยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง จึงได้ไปถามท่านพระเถระเหล่านั้น เช่น ท่านพระสารีบุตรเถระ ท่านพระอานนท์เถระ ท่านพระมหากัจจายนเถระเป็นต้น
หลังพุทธกาล ก็มีท่านพระอรรถกถาจารย์หลายท่าน ที่รจนาคัมภีร์อรรถกถาต่างๆ เพื่อเป็นหลักศึกษาค้นคว้า ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวางขึ้น
ส่วน อรรถกถา ก็มีหลายหมวด ที่อธิบายพระไตรปิฎก ในคำสอนแต่ละหมวด จึงมี ชื่อ อรรถกถาที่อธิบายแตกต่างกันไป เช่น
อรรถสาลินี ที่อธิบายพระอภิธรรมปิฎก
ปรมัตถทีปนี ที่อธิบายพระสูตร ส่วน ขุททกนิกาย เป็นต้น
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ดี อรรถกถา ย่อมเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาพระธรรม เพราะ คำใดก็ตามที่ทำให้ผู้อ่าน ผู้ศึกษาเข้าใจ ย่อมจะเป็นประโยชน์โดยประการทั้งปวง
ส่วน การจะเริ่มศึกษาพระไตรปิฎก ก็ควรเริ่มจากเล่มที่พออ่านได้ และ พอเข้าใจได้ เช่น คาถาธรรมบท ชาดก เป็นต้น หรือ สามารถอ่านเล่มใดก็ได้ ที่พออ่านแล้วเข้าใจ แต่อ่านแล้ว สำคัญ คือ ควรสอบถาม และ ไม่เผิน ที่สำคัญว่าเข้าใจแล้ว เพราะ พระธรรมละเอียดลึกซึ้งมาก และ ฟังธรรม ประกอบไปด้วย ก็จะทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้น
ซึ่งในความเป็นจริง ก็มีผู้ที่เข้าใจพระธรรมอย่างลึกซึ้ง ที่อธิบาย พระธรรมตามพระไตรปิฎกอยู่แล้ว ได้อธิบายให้ฟัง และ อธิบายให้เข้าใจ คือ ท่านอาจารย์ สุจินต์ เป็นต้น
ขณะที่ฟังพระธรรมตามพระไตรปิฎก ก็เหมือนกับได้อ่าน และ ก็ได้คำอธิบายที่ถูกต้องด้วย ครับ ซึ่ง สามารถหาฟังได้ที่นี่ ครับ เชิญคลิก
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
- การศึกษาพระธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง และเป็นสิ่งที่มีจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง นั้น ต้องมีการเริ่มต้น ถ้าไม่เริ่มต้นที่จะฟัง ที่จะศึกษาเลย ก็จะไม่สามารถเข้าใจพระธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งได้ แม้แต่การอ่านพระไตรปิฎก ก็เช่นเดียวกัน ทุกคำทุกพยัญชนะที่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงถึงสิ่งมีจริงทั้งหมด ก็จะต้องค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่กำลังอ่านเริ่มจากครั้งที่หนึ่ง ไปครั้งที่สอง ไปครั้งที่สาม ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง
เมื่อยังสงสัยยังไม่เข้าใจส่วนใด นั้น การสอบถาม การสนทนากับกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา ก็จะสามารถทำให้บรรเทาความสงสัยดังกล่าวและค่อยๆ เพิ่มพูนความเข้าใจไปตามลำดับ "การศึกษาพระธรรม เป็นการศึกษาที่ประเสริฐ" ครับ
- อรรถกถา ซึ่งอธิบายพระพุทธพจน์นั้น มีครบทั้งในส่วนของพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ซึ่งชื่อก็แตกต่างกันออกไป ประโยชน์จริงๆ คือ ที่ความเข้าใจถูก เห็นถูก เมื่อได้อ่าน ได้ฟัง ได้ศึกษา ด้วยความละเอียดรอบคอบ ครับ
ขอเชิญลองคลิกอ่านข้อความส่วนหนึ่งจากพระไตรปิฎก ได้ที่นี่ ครับ
ความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ... [กุรุงคมิคชาดก]
ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว [จุลลนันทิยชาดก]
การใช้ทรัพย์ 4 ประการ [ปัตตกัมมสูตร]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิิตของทุกๆ ท่านครับ...