ทางไปสวรรค์ชั้นยามา และนิมมานรดี

 
นิรมิต
วันที่  15 พ.ค. 2556
หมายเลข  22907
อ่าน  4,509

กราบสวัสดีท่านวิทยากรและมิตรธรรมที่เคารพทุกท่าน

ขออนุญาตกราบเรียนถามความสงสัยดังนี้ครับ

จากทานสูตรที่ว่า ผู้ให้ทานเพื่อไม่ให้เสียประเพณีอย่างที่ปู่ย่าตายายเคยทำมา

จักถึงความเป็นเทพชั้นยามา และ ผู้ให้ทานด้วยคิดว่าจะจำแนกแจกทานเหมือน

อย่างฤๅษีทั้งหลาย จักถึงความเป็นเทพชั้นนิมมานรดี

อยากทราบความหมายของการให้ทานโดยนัยทั้ง 2 นี้น่ะครับ ว่าหมายถึงอย่างไร

ในข้อก่อนๆ ยังพอเห็นได้ว่าเป็นกุศลจิตอย่างไร แต่สองข้อนี้อยากทราบว่า เป็น

กุศลจิตอย่างไร แบบไหนครับ

อนึ่ง ฤๅษีทั้งหลายที่มียกตัวอย่างเช่น ท่านอัฏฐกฤาษี ท่านวามฤาษี ท่านวามเทวฤาษี

ท่านเวสสามิตรฤาษี ท่านยมทัคคฤาษี ท่านอังคีรสฤาษี ท่านภารทวาชฤาษี ท่านวา

เสฏฐฤาษี ท่านกัสสปฤาษี ท่านภคุฤาษี

ไม่ทราบว่าท่านคือใคร และพระผู้มีพระภาคทรงแสดงตัวอย่างพระฤๅษีทั้งหลายเหล่านี้

ไว้ด้วยพระประสงค์อะไรครับ

กราบขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในพระสูตรที่ชื่อว่า ทานสูตรนั้น พระองค์ทรงแสดง เหตุของการให้ทานว่า ทาน

แบบใด มีผลมากมีอานิสงส์มาก ทานแบบใด มีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก เพราะ

ฉะนั้น การให้ทาน จึงเหตุหลายอย่าง ซึ่ง พระพุทธเจ้า ทรงแสดง การให้ทานที่

เป็นผู้ผูกพันในผล เช่น ให้ทาน เพราะเมื่อตายไปจะเกิดในสวรรค์ จึงให้ คือ มี

อกุศลจิตเกิดขึ้น ที่เป็นโลภะ แต่ ขณะที่ให้ ก็เป็นกุศลจิต กุศลกรรม ทำให้เกิดบน

สวรรค์ได้ แต่ เกิด บนสวรรค์ชั้นต้น คือ ชั้น จาตุมหาราชิกา เพราะ มีโลภะเกิดสลับ

ที่หวังผลของการให้ทาน ครับ นี่ก็เป็นการให้ทาน ในลักษณะหนึ่ง ซึ่ง การให้ทาน

ในลักษณะต่อๆ ไป เช่น ให้เพราะคิดว่า ทานเป็นสิ่งที่ดี จึงให้ ก็มี ก็เป็นกุศลจิตใน

ขณะที่ให้ และไม่ได้มีความหวังผลในการให้ทาน ก็เกิดสูงกว่า คือ เกิดในดาวดึงส์

เมื่อกุศลกรรมนี้ให้ผล แต่ก็ยังมี การให้ทาน คือ เหตุของการให้ทาน อีกประการหนึ่ง

ซึ่งมาสู่ในคำถาม คือ ให้ทาน เพราะ คิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยทำมา เรา

ก็ควรไม่ทำให้เสียประเพณี คำถาม คือ เป็นกุศลจิตอย่างไร และ ทำให้เกิดสูงกว่า

คือเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ที่สูงกว่า การให้ทานที่ให้เพราะ คิดว่าการให้ทานเป็นการ

ดี ด้วยเหตุผลที่ว่า การให้ทาน ขณะที่ให้ เพื่ออนุเคราะห์คนอื่น เป็นต้น เป็นกุศลจิต

และ เป็นกุศลกรรม แต่เหตุของการให้ก็แตกต่างกันไป ผู้ที่ให้ เพราะคิดว่า ปู่ย่า

ตา ยาย เคยให้กัน ผู้นั้น ก็ต้องทราบว่า หากเป็นสิ่งที่ดี ผู้ใหญ่ก็ต้องทำกัน ถ้าไม่ดี

ก็คงไม่ทำกัน สืบต่อกันมา ตั้งแต่รุ่นโบราณ สมัยปู่ย่า ผู้นั้นจึงให้เพราะ รู้ว่าเป็นสิ่งที่

ดีด้วย คือ ให้ทานเป็นสิ่งที่ดี และ การสืบต่อสิ่งที่ดี ก็เป็นสิ่งที่สมควร ก็สามารถเกิด

กุศลจิต รู้ว่าทานเป็นการดี ดังข้อต้น ที่ทำให้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และรู้ถูก เกิด

กุศลจิตอีกว่า ควรที่จะสืบต่อ กระทำต่อไปในสิ่งทีดี ก็ทำให้เกิดกุศลจิตมากกว่า

บุคคลที่ให้ทาน เพราะ คิดว่า การให้ทานเป็นการดี ทำให้เกิด บนสวรรค์ชั้นที่ 3 สูง

กว่าดาวดึงส์ ที่เป็นชั้นที่สอง ดังนั้น ก็สามารถเกิดกุศลจิตได้ ที่คิดว่าปู่ย่า ทำกันมา

เราก็ควรทำ เพราะว่า ทานเป็นการดีด้วย เป็นกุศลจิต และ ควรสืบต่อสิ่งที่ดีต่อไป

ก็เป็นกุศลจิต และ ขณะที่ให้ทานแล้ว ก็เป็นกุศลจิต จึงทำให้ครบองค์ สามารถเกิด

บนสวรรค์ชั้นที่ 3 ได้ ครับ

ส่วนข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง ในเรื่องของการให้ทาน ในข้อความที่ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 142

แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ

อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภาร

ทวาช-ฤาษี เวเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน

คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้นนิมมานวดี เขาสิ้นกรรม

สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

-------------------------------------

ข้อสงสัยว่า ให้ทาน อย่าง ฤาษีเหล่านั้น เป็นกุศลจิตอย่างไร

ซึ่ง หากอ่านให้ละเอียด ก็จะพบคำว่า บูชามหายัญ ซึ่งข้อความในอรรถกถามีว่า

บทว่า ตานิ มหายญฺานิ ความว่า มหาทานเหล่านั้น สำเร็จด้วยเนยใส เนยข้น

นมส้ม น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น.

--------------------------------------------------------- คือ การให้มหาทาน การจำแนกแจกทานอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่ง ฤาษี ที่มีคุณธรรม

สมัยก่อนๆ ที่มีความเข้าใจถูก ไม่ได้บูชายัญด้วยความเข้าใจผิด ดั่งคนสมัยนี้ ที่

นำสัตว์ไปบูชายัญ ฆ่าสัตว์ ทำบาป แต่ บูชายัญ ด้วย มหายัญ คือ การแจก จ่าย

ทานมากมาย ที่เป็น มหายัญ หรือ มหาทาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ศึกษา ได้เคย

ได้ยิน ผู้มีคุณธรรมในอดีต แจกจ่ายทานเช่นนี้ ที่รู้คุณของทานด้วย และ ก็ทำสืบ

ต่อกันมาด้วย ตนเองก็แจกจ่าย ทำอย่างนั้นเช่นกัน ก็เป็นกุศลจิตที่คิดทำตาม

ผู้มีคุณธรรม และขณะที่ให้ก็เป็นกุศลจิตด้วย ที่ทำในขณะนั้น ทำให้เกิดบนสวรรค์

ชั้นนิมมารนรดีได้ เพราะ กรรมนั้นครับ ซึ่งจะขอยกข้อความในพระไตรปิฎก ที่

แสดงชัดเจน ในเรื่อง การบูชายัญ ที่เป็นมหาทาน และ กล่าวถึง การทำตาม

มหาฤาษี ที่มี การทำตามฤาษีด้วย ครับ เชิญอ่านดังนี้พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 149๙. อุชชยสูตร มหายัญทั้งหลายที่มีการจะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะสัมมาปาสะ นิรัคคฬะ มหายัญเหล่านั้น หามีผลมากไม่. ในยัญใด มีแพะ โค และสัตว์ต่างชนิดถูกปลิดชีพ

ท่านผู้ดำเนินทางชอบ ท่านผู้มหาฤษี ไม่ข้องแวะยัญนั้น.

ส่วนยัญเหล่าใดไม่มีการอันจะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก ที่บูชาตามสกุลเป็นนิตย์ ซึ่งเป็นยัญที่ แพะ ใด และสัตว์ต่างชนิดไม่ถูกปลิดชีพ

ท่านผู้ดำเนินทางชอบท่านผู้เป็น มหาฤษี ย่อมสรรเสริญยัญนั้น.

ผู้มีปัญญาพึงบูชายัญอย่างนี้ ยัญนี้มีผลมาก เพราะเมื่อบุคคลบูชายัญอย่างนี้

ย่อมมีแต่ความดีไม่มีบาป ยัญก็มีผลไพบูลย์ ทั้งเทวดาก็เลื่อมใส.

--------------------------------- จากข้อความในพระไตรปิฎก แสดงว่า การบูชายัญที่สมควร คือ การบูชาด้วย

การให้ที่เป็นมหาทาน ไม่ใช่ด้วยการฆ่าสัตว์ที่เป็นบาป ซึ่ง ท่านผู้ดำเนินทางชอบ

คือ มหาฤาษี ย่อมสรรเสริญ คือ ผู้ที่มีคุณธรรม ก็สามารถเรียกว่า ฤาษี ท่านเหล่านั้น

ก็ทำด้วย ดำเนินทางชอบ และ ท่านก็สรรเสริญด้วย เพราะฉะนั้นจึงเป็นการตอบ

คำถามที่ผู้ให้ทานตามฤาษี ที่มีชื่อแต่ละท่าน ก็คือ ฤาษีที่มีคุณธรรม ทำตาม ด้วย

การบูชายัญ คือ การให้ มหาทานแจกจ่าย ครับ ทำให้เกิดในสวรรค์ชั้น นิมมานรดี

ด้วยกุศลจิต กุศลกรรมของผู้ที่ทำตาม ฤาษีผู้มีมีคุณธรรม ตนเองที่เชื่อก็มีความ

เข้าใจถูกด้วย เป็นกุศลด้วยเช่นกัน ครับ นี่ คือความละเอียดของพระธรรม

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 16 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 16 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของสภาพธรรมเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น

ไม่ได้ กุศล เป็น กุศล อกุศล เป็น อกุศล ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ กุศล

ที่ได้กระทำแล้ว เมื่อถึงคราวให้ผล ก็ย่อมให้ผล เป็นผลที่ดี ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับผลของอกุศลกรรมซึ่งเป็นกรรมที่ไม่ดีอย่างสิ้นเชิง

การให้ทาน เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความ

ตระหนี่ ถ้าเป็นผู้ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ก็จะทำให้เห็นอกุศลที่เกิดขึ้นตามความ

เป็นจริงแล้วเริ่มขัดเกลากิเลสของตนเอง และเป็นผู้ที่เข้าใจในเหตุในผลมากยิ่งขึ้น

เพราะได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าถ้ากุศลไม่เกิด ก็ย่อมเป็นโอกาสของอกุศลที่จะเกิดขึ้น

ทั้งหมดย่อมเป็นเพราะได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตาม

ลำดับ ครับ

...ขอบพระคุณ อ. ผเดิมและ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิรมิต
วันที่ 16 พ.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 16 พ.ค. 2556

ขณะที่คิดจะให้ กำลังให้ หลังจากให้แล้วไม่เสียดาย จิตเป็นกุศลที่มีกำลัง เพราะการให้ทานเป็นการสละกิเลส สละความตระหนี่ ถ้ากุศลขั้นทานยังสละไม่ได้ กิเลสที่เหนี่ยวแน่นที่ยึดถือว่าเป็นตัวตนสัตว์บุคคลยิ่งละยากกว่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nong
วันที่ 18 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ