อรรถกถาวิชยสูตร (๑)
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 481
อรรถกถาวิชยสูตร
วิชยสูตร (นันทสูตร) เริ่มต้นด้วยคาถาว่า จรํ วา ยทิวา ติฏฺฐํ ดังนี้ เรียกว่า กายวิจฉันทนิกสูตร ดังนี้บ้าง. มีอุบัติอย่างไร? ได้ยินว่า สูตรนี้ตรัสไว้ในฐานะ ๒ อย่าง เพราะ ฉะนั้น วิชยสูตรนั้น จึงมีอุบัติ ๒ อย่าง.
ในสูตรนั้น สตรีที่มีชื่อว่า นันทา มี ๓ นาง คือ นันทา ผู้เป็น น้องสาวของพระอานนทเถระ * อภิรูปนันทา พระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ นันทาผู้ชนบทกัลยาณี บรรพชาแล้ว ด้วยบรรพชาสำหรับมาตุคาม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงแนะนำเจ้าศากยะทั้งหลาย ทรงให้สตรีทั้งหลายมีนางนันทาเป็นต้นบรรพชาอนุญาตแล้ว ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี นางอภิรูปนันทา มีรูปสวยยิ่งนักน่าดู น่าเลื่อมใส ด้วยเหตุนั้น ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อนางว่า อภิรูปนันทา
ฝ่ายนางนันทาผู้ชนบทกัลยาณี ไม่เห็นสตรีที่มีรูปสวยเสมอกับตน นางทั้งสอง นั้นเมาแล้วด้วยความเมาในรูป คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน ทรง ครหารูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย จึงไม่ไปสู่ที่บำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งไม่ปรารถนาเพื่อจะเห็น. หากจะมีคำถามว่า นางไม่เลื่อมใสอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงบรรพชาเล่า?
๑. ยุ. นนฺทตฺเถรสฺส.
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 482
ตอบว่า สัจจกุมารผู้เป็นสามีของนางอภิรูปนันทาได้ทำกาละโดยปกติ ในวันหมั้นนั้นเทียว ด้วยเหตุนั้น มารดาและบิดาจึงให้นางผู้ไม่ประสงค์ บรรพชา.
ฝ่ายนางนันทาผู้ชนบทกัลยาณี เมื่อท่านพระนันทะบรรลุพระอรหัต แล้ว ก็หมดความหวังว่า สามีของเรา มหาปชาบดีพระมารดา และพระญาติ อื่นๆ บรรพชาแล้ว นางเว้นจากพระญาติทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ความสำ ราญใจ ในฆราวาสอันเป็นทุกข์จึงบรรพชา หาบรรพชาด้วยศรัทธาไม่. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความแก่รอบแห่งญาณของนาง ทั้งสองนั้น จึงตรัสสั่งพระนางมหาปชาบดีว่า ภิกษุณีแม้ทั้งหมดจงมารับโอวาท ตามลำดับ นางทั้งสองนั้น เมื่อถึงวาระของตน ก็สั่งภิกษุณีอื่นไปแทน แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมื่อถึงวาระตนเท่านั้น พึงมา ไม่พึงส่งภิกษุณี อื่นไปแทน อยู่มาวันหนึ่ง นางอภิรูปนันทาได้ไปรับโอวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยังนางให้สสดใจ ด้วยรูปที่ทรงเนรมิต ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต โดยลำดับ ด้วยคาถาในธรรมบทนี้ว่า กระทำสรีระให้เป็น นครแห่งกระดูก ทั้งหลาย และด้วยเถรีคาถาเหล่านี้ว่า
ดูก่อนนันทา เจ้าจงดูร่างกายอัน อาดูร ไม่สะอาด เปื่อยเน่า อันกระดูกยกขึ้น ไหลเข้า ไหลออก ที่พวกคนพาลปรารถนา ยิ่งนัก เจ้าจงเจริญอสุภนิมิต และจงละมานานุสัยเสีย ต่อแต่นั้น เพราะละมานะเสีย ได้ เจ้าจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 483
อยู่มาวันหนึ่ง ชาวกรุงสาวัตถีในปุเรภัตถวายทาน สมาทาน อุโบสถ นุ่งดี ห่มดีถือวัตถุมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวัน เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม ในเวลาจบการฟังธรรมไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้า สู่พระนคร แม้พระภิกษุณีสงฆ์ฟังธรรมกถาแล้ว ก็ไปสู่สำนักของนางภิกษุณี มนุษย์และภิกษุณีทั้งหลายในกรุงสาวัตถีนั้น ต่างก็สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ในโลกสันนิวาสมีประมาณ ๔ อย่าง บุคคลเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว ชื่อว่าไม่เลื่อมใส ไม่มี จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายผู้ถือรูปเป็นประมาณ เห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขจิตด้วยลักษณะ วิจิตรด้วยอนุพยัญชนะ มีพระเกตุมาลารุ่งเรือง มีพระรัศมีวาหนึ่งเปล่งออก ดุจอลังการอันมีประโยชน์ ที่งามพร้อม ซึ่งเกิดขึ้นแก่โลกฉะนั้น ย่อมเลื่อมใส.
ผู้ถือเสียงเป็นประมาณฟังเสียงกิตติศัพท์ในชาดกหลายร้อย ประกอบ ด้วยองค์แปด ทรงเปล่งออกอย่างอ่อนหวานดุจเสียนกกรวิก เหมือนเสียงแห่ง พรหม ย่อมเลื่อมใส.
ฝ่ายผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เห็นความเศร้าหมองด้วยจีวร เป็นต้น หรือ ความเศร้าหมองด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็ย่อมเลื่อมใส. ผู้ถือธรรมเป็นประมาณพิจารณาธรรมขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา ขันธ์ทั้งหลายมีสีลขันธ์เป็นต้น ย่อมเลื่อมใส เพราะฉะนั้นจึงกล่าวสรรเสริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าในที่ทั้งปวง.
นางนันทาผู้ชนบทกัลยณีแม้ถึงสำนักของภิกษุณีแล้วได้ฟังบุคคลเหล่านั้น กำลังกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยอเนกปริยาย ประสงค์จะเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีพานางไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้การมาของนางก่อนทีเดียว ทรงเนรมิตสตรี ที่มีอายุน่าดูยิ่งนัก ประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี ยืนถวายงานพัดอยู่ข้าง ด้วยกำลังฤทธิ์ของพระองค์ เพื่อทรงกำจัดความเมาในรูป ด้วยรูปนั่นเทียว ดุจบุรุษต้องการบ่งหนามด้วยหนาม และต้องการถอนลิ่มด้วยลิ่มฉะนั้น นาง นันทาเข้าไปเฝ้าพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งใน ระหว่างภิกษุสงฆ์ เห็นพระรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่พื้นพระบาท จนถึงปลายพระเกสา และเห็นรูปเนรมิตนั้น ซึ่งยืนข้างพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก คิดว่า โอ ! สตรีนี้รูปสวย ละความเมาในรูปของตน มีอัตภาพอันยินดียิ่งใน รูปของสตรีนั้น.
แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสตรีนั้นทำให้มีอายุประมาณ ๒๐ ปี ด้วยว่า มาตุคามมีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ย่อมสวยงาม เกินนั้นไปย่อมไม่สวยงาม ลำดับนั้น นางนันทาเห็นความเสื่อมแห่งรูปของสตรีนั้น ก็มีฉันทราคะในรูป นั้น ลดน้อย แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสตรีอย่างนี้ คือ สตรียัง ไม่คลอด สตรีคลอดครั้งเดียว สตรีกลางคน สตรีแก่ จนถึงสตรีมีอายุ ๑๐๐ ปี หลังโก่ง ถือไม้เท้า มีตัวตกกระแล้วทรงแสดงการตายของสตรีนั้น อันต่าง ด้วยซากศพพองขึ้นเป็นต้น อันสัตว์ทั้งหลายมีกาเป็นต้น รุมจิกกิน และมี กลิ่นเหม็น น่าเกลียด น่าปฏิกูลแก่นางนันทา ผู้แลดูอยู่นั่นเทียว นางนันทา เห็นมาตุคามนั้น ก็มีอนิจจสัญญาปรากฏขึ้นว่า * กายนี้ทั่วไปทั้งหมด ทั้งแก่เรา ทั้งแก่คนอื่น อย่างนี้นั่นแล แม้ทุกขสัญญาและอนัตตสัญญาก็ปรากฏขึ้น โดยทำนองอนิจจสัญญานั้น ภพทั้ง ๓ ปรากฏขึ้นไม่เป็นที่พึ่งอาศัย ดุจเรือนถูก ไฟไหม้ฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า จิตของนางนันทาแล่นไปใน กรรมฐาน จึงตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจแห่งสัปปายะแก่นางว่า ดูก่อนนันทา เจ้าจงดูร่างกายนี้ อัน อาดูร ไม่สะอาด เปื่อยเน่า อันกระดูกยก ขึ้นเป็นโครง ไหลเข้าไหลออก ที่พวกคน พาลปรารถนากันยิ่งนัก สรีระของหญิงนี้ เป็นฉันใด สรีระของเธอนี้ก็จักฉันนั้น สรีระ ของเธอนั้นฉันใด สรีระของหญิงนี้ก็ฉันนั้น เธอจงดูธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ จงอย่ากลับมาสู่โลกนี้อีกเลย จงสำรอกความ พอใจในภพเสีย แล้วจักเป็นผู้สงบระงับ เที่ยวไป ดังนี้.
ในเวลาจบคาถา นางนันทาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีสุญญตาเป็นบริวาร เพื่อ บรรลุมรรคเบื้องบนแก่นาง จึงตรัสพระสูตรนี้ นี้เป็นอุบัติหนึ่งของสูตรนั้นก่อน
* ยุ. กโม.