อรรถกถาวิชยสูตร (๒).. อุบัติที่ ๒

 
pirmsombat
วันที่  23 พ.ค. 2556
หมายเลข  22946
อ่าน  1,156

อุบัติที่ ๒.

อุบัติที่ ๒ ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของคาถาธรรมบทว่า ก็เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ธิดาของนางสาลวดี คณิกา ซึ่งมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 486

สมุฏฐานได้กล่าวแล้วโดยพิสดาร ในจีวรขันธกะ ชื่อว่า สิริมา ซึ่งเป็นน้องสาว

ของชีวกนั้นใด ได้ตำแหน่งนั้น โดยกาลล่วงไปแห่งมารดา ดูหมิ่นปุณณเศรษฐี

ธิดา ในเรื่องแห่งคาถานี้ว่า พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ ขมา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังพระธรรมเทศนา ได้เป็นโสดาบัน ยังนิจภัตร ๘ อย่าง

ให้เป็นไปแล้ว ภิกษุผู้รับนิจภัตรรูปหนึ่ง ปรารภถึงสิริมาธิดานั้น ก็เกิดราคะ

และไม่อาจเพื่อทำแม้อาหารกิจ นอนปราศจากอาหาร. ครั้นภิกษุนั้นนอนอย่าง

นั้นแล นางสิริมาตายไปเป็นเทวีของท้าวสุยาม ในยามภพ.

ในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว พา

ภิกษุแม้นั้น เสด็จไปดูสรีระของนางสิริมานั้น ซึ่งพระราชาทรงห้ามการเผาศพ

ของนางแล้วให้เก็บไว้ ณ ป่าช้าผีดิบ มหาชนและพระราชาก็ไปดูอย่างนั้น ใน

ชนจำนวนนั้น มนุษย์ทั้งหลายพูดกันว่า ในกาลก่อน การดูนางสิริมาด้วยทรัพย์

๑,๐๐๘ ก็ได้ยาก บัดนี้ในวันนี้ผู้ที่ใคร่จะดูนางแม้ด้วยหนึ่งกากณิก ก็ไม่มี ฝ่าย

สิริมาเทพกัญญา อันรถ ๕๐๐ คันแวดล้อมแล้วไป ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสสูตรนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ชนทั้งหลายที่ประชุม ณ ที่แม้นั้น และคาถา

ในธรรมบทนี้ว่า เธอจงดูร่างกายอันทำวิจิตร เพื่อทรงโอวาทแก่ภิกษุนั้น.

นี้เป็นอุบัติที่ ๒ แห่งสูตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรํ วา ความว่า ไปด้วยการนำรูปกาย

ทั้งสิ้นไป โดยมุ่งหน้าต่อทิศที่จะพึงไป. บท ยทิ วา ติฏฺฐํ ความว่า ยืนอยู่

โดยไม่มีการยกรูปกายนั้นนั่นเทียว. บทว่า นิสินฺโน อุท วา สยํ ความว่า

นั่งโดยความที่รูปกายนั้นแลคู้ส่วนเบื้องต่ำ และยกขึ้นซึ่งส่วนเบื้องสูง หรือนอน

โดยเหยียดไปทางขวาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 487

บทว่า สมฺมิญฺเชติ ปสาเสติ ความว่า คู้เข้าและเหยียดออก ซึ่ง

ข้อต่อนั้นๆ . บทว่า เอสา กายสฺส อิญฺชนา ความว่า นั่นแม้ทั้งหมดเป็น

ความเคลื่อนไหว ได้แก่ความไหว ความเคลื่อนไปของกายที่มีวิญญาณนี้

นั่นเทียว. ใครอื่นที่ชื่อว่า เที่ยวไปอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ในที่นี้ หามีไม่

อนึ่งแล เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะไปเที่ยว วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย กายนั้นก็มีการนำไปมุ่งหน้าต่อทิศที่จะพึงไป คือความเกิด

ขึ้นในระหว่างส่วน * ก็ย่อมมีด้วยจิตนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า จรํ เที่ยวไป.

อนึ่ง เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เรายืน วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ก็ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย ร่างกายนั้นก็มีการยกขึ้น คือ ความปรากฏแห่งรูป โดย

ฐานเบื้องสูง ก็ย่อมมีด้วยจิตนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ติฏฺฐํ ยืนอยู่.

อนึ่ง เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย ร่างกายนั้นก็จะมีการคู้เข้าซึ่งส่วนเบื้องต่ำ และการยกขึ้น

ซึ่งส่วนเบื้องสูง ด้วยจิตนั้น คือ ความปรากฏแห่งรูปย่อมมีโดยภาวะอย่างนั้น

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า นิสินฺโน นั่งแล้ว.

อนึ่ง เมื่อมีจิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย ร่างกายนั้นก็ย่อมมีการเหยียดออกตามขวาง ด้วยจิตนั้น คือ

ความปรากฏแห่งรูปใด ภาวะอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สยํ นอน.

ก็ท่านผู้มีอายุนี้ รูปใดรูปหนึ่งหนึ่ง ที่มีชื่ออย่างนี้ เที่ยวไป ยืนอยู่ นั่ง หรือ

นอน อย่างนี้ ซึ่งเรียกว่า คู้เข้า เหยียดออก ด้วยอำนาจแห่งการคู้เข้าและเหยียด

ออกซึ่งข้อต่อเหล่านั้นๆ ในอิริยาบถนั้นๆ เพราะเมื่อจิตจะคู้เข้า หรือเหยียด

* ยุ. เทสนฺตเร รปนฺตรปาตภาโว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 488

ออกเกิดขึ้นอยู่ การเคลื่อนไหวแม้นั้นย่อมมีโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล

เพราะฉะนั้น นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย ใครๆ อื่นในที่นี้หามีไม่ นี้สูญ

จากสัตว์หรือบุคคลไรๆ ซึ่งเที่ยวไปอยู่ หรือ เหยียดออก แต่ในที่นี้ มีปรมัตถ์

อย่างเดียวนี้ คือ

ความที่วาโยธาตุต่างกัน ย่อมมีเพราะ

อาศัยความที่จิตต่างกัน ความเคลื่อนไหวของ

กาย ย่อมมีต่างๆ เพราะความที่วาโยธาตุ

ต่างกัน ดังนี้.

ด้วยคาถานี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอิริยาบถหนึ่ง การ

เบียดเบียนกายก็มีด้วยการประกอบ และเพื่อกำจัดความเบียดเบียนกายนั้น

พระองค์จึงทรงกระทำ การสับเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงทุกข-

ลักษณะ อันอิริยาบถปกปิดไว้ ด้วยบทว่า จรํ วา เป็นต้นด้วยประการดังนี้

ในกาลเที่ยวไปก็อย่างนั้น เมื่อจะตรัสประเภทแห่งการเที่ยวไปเป็นต้น นั่น

ทั้งหมด เพราะไม่มีการยืนเป็นต้นว่า นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย ชื่อว่า

ทรงแสดงอนิจจลักษณะ ซึ่งสันตติปกปิดไว้ และเมื่อความสามัคคีนั้นเป็นไป

แล้ว ก็ตรัสโดยปฏิเสธสัตว์ว่า นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย ชื่อว่า ทรง

แสดงอนัตตลักษณะ ซึ่งอัตตสัญญาและความเป็นก้อนปกปิดไว้.

ครั้นตรัสสุญญตากรรมฐาน โดยการแสดงไตรลักษณ์อย่างนี้แล้ว จึง

ทรงปรารภอีกว่า กายประกอบแล้วด้วยกระดูกและเอ็น เพื่อทรงแสดงอสุภะ

ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 489

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ก็นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกายใด กายนี้

นั้น ประกอบแล้วด้วยกระดูกและเอ็น เพราะความที่กายนี้ประกอบแล้วด้วย

กระดูกเกิน ๓๐๐ ท่อน และด้วยเอ็น ๙๐๐ เส้น ซึ่งข้าพเจ้าประกาศแล้ว โดย

ประเภทแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และ การกำหนด และโดยอัพยาปารนัย ใน

การพรรณนาถึงอาการ ๓๒ อย่าง ในวิสุทธิมรรค เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึง

ทราบว่า ฉาบด้วยหนังและเนื้อ เพราะความที่กายนี้ ฉาบแล้วด้วยหนัง มีหนัง

ปลายเท้าและหนังนิ้วมือเป็นต้น และด้วยเนื้ออันต่างด้วยชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น ที่

ข้าพเจ้าประกาศไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรคนั้นแล มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดปฏิกูล

อย่างยิ่ง.

ในกายนั่น ผู้ศึกษาจะพึงทราบอย่างไร ถ้ากายนี้ไม่พึงปกปิดด้วยผิว

ละเอียดดุจปีกแมลงวัน ซึ่งลอกจากร่างกายทั้งสิ้นของคนปานกลางก็จะมีประมาณ

เท่าเม็ดพุทรา ดุจฝาเรือนไม่ปกปิดด้วยรงค์มีสีเขียว เป็นต้นไซร้ กายนี้ปกปิด

ด้วยผิวแม้ละเอียดอย่างนั้น อันปุถุชนผู้เป็นพาล ปราศจากจักษุ คือ ปัญญา

ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง.

ก็หนังของร่างกายนั้น อันเขาประเทืองด้วยเครื่องประทินผิว นับว่า

น่าเกลียดและปฏิกูลอย่างยิ่งก็ดี

เนื้อร้อยชิ้นที่กล่าวแล้วว่า

เนื้อมี ๙๐๐ ชิ้น ฉาบแล้วในร่างกาย

เป็นของเปื่อยเน่า ดุจส้วมอันเกลื่อนกล่น

ด้วยหมู่หนอน ฉะนั้น

โดยประเภท อันหนังหุ้มห่อก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 490

เอ็น ๙๐๐ เส้น อยู่ในร่างกายมีประ-

มาณหนึ่งวา รึงรัดโครงกระดูกไว้ ดุจเรือน

รึงรัดด้วยเถาวัล ฉะนั้น

ฉาบด้วยเนื้อก็ดี

กระดูก ๓๐๐ ท่อน ที่เอ็นรึงรัดไว้ ตั้งเรียงตามลำดับ เป็นของเน่า

มีกลิ่นเหม็นก็ดี อันปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง.

เพราะบัณฑิตไม่ยึดถือผิวเป็นต้นนั้น ใช้จักษุคือปัญญาแทงตลอด ซึ่ง

ซากศพในภายใน และของไม่สะอาด กลิ่นเหม็น น่าเกลียดและปฏิกูลอย่างยิ่ง

มีประการต่างๆ ไม่ปรากฏแก่โลกทั้งหมด เพราะความที่กายปกปิดด้วยผิว

ละเอียดดุจปีกแมลงวัน ถูกหุ้มห่อไว้ด้วยหนังที่ประเทืองแล้วด้วยเครื่องประทิน

ผิว พึงเห็นกายอย่างนี้ว่า เต็มด้วยไส้ อาหาร ฯลฯ ดี เปลวมัน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น กายเต็มด้วยไส้ ชื่อว่า อนฺตปูโร เต็มด้วย

อาหาร ชื่อว่า อุทรปูโร. ก็คำว่า อุทรํ นั่น เป็นชื่อของอาหารใหม่ จริงอยู่

อาหารใหม่นั้น เรียกว่า อุทรํ โดยชื่อของฐานะ. บทว่า ยกเปฬสฺส ได้แก่

มีก้อนตับ. บทว่า วตฺถิโน ได้แก่มูตร. ก็มูตรนั่น เรียกว่า วตฺถิ โดยมุ่งถึง

ฐานะ. บทว่า ปูโร ได้แก่ กระทำอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้น พึงประกอบอย่างนี้

ว่า เต็มด้วยก้อนตับ เต็มด้วยมูตร. ในหัวใจเป็นต้น ก็นัยนี้. ก็บทว่าไส้

เป็นต้นแม้นั่นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบ ด้วยอำนาจแห่งคำที่กล่าวไว้แล้ว ใน

วิสุทธิมรรค ด้วยประเภทแห่ง สี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท และด้วย

อัพยาปารนัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 491

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงซากศพในภายในว่า ในกายนี้ สิ่งที่

ควรถือเอาเช่นกับแก้วมุกดาและแก้วมณีแม้อย่างหนึ่งก็ไม่มีเลย และกายนี้เต็ม

ด้วยของไม่สะอาดทั้งนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงซากศพในภายในนั้นแล ทำให้

ปรากฏด้วยซากศพที่ออกไปในภายนอก จึงสงเคราะห์สิ่งที่ตรัสแล้วในกาลก่อน

และที่ยังไม่ตรัสเข้าด้วยกัน จึงตรัสสองคาถาว่า อถสฺส นวหิ โสเตหิ แปลว่า

อนึ่ง ของอันไม่สะอาดย่อมไหลออกจากช่องทั้งเก้าของกายนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ เป็นการแสดงขยายปริยายอื่น. มีอธิบาย

ว่า ท่านจงดูความไม่สะอาด โดยปริยายแม้อื่นอีก. บทว่า อสฺส ได้แก่กายนี้.

บทว่า นวหิ โสเตหิ ได้แก่ ช่องตา ๒ ช่องหู ๒ ช่องจมูก ๒ ปาก วัจจมรรค

และปัสสาวมรรค. บทว่า อสุจี สวติ ความว่า ของอันไม่สะอาด คือ กลิ่น-

เหม็น และน่าเกลียดอย่างยิ่ง มีประการต่างๆ ปรากฏแล้วแก่โลกทั่วไป ย่อม

ไหลออก คือ ย่อมหลั่งออก ย่อมไหลออกไป คันธชาตมีกฤษณาและจันทน์

เป็นต้น หรือ รัตนชาต มีแก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น อื่นไรๆ หาไหลออกไม่.

บทว่า สพฺพทา ความว่า ก็ของอันไม่สะอาดนั้นแล ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้

ยืนอยู่ก็ตาม ไปอยู่ก็ตาม ทุกเมื่อ คือ ในกลางคืนบ้าง กลางวันบ้าง เวลาเช้า

บ้าง เวลาเย็นบ้าง.

หากมีคำถามว่า ของอันไม่สะอาดนั้น คืออะไร? ตอบว่า คือขี้ตา

จากตาเป็นต้น. จริงอยู่ ขี้ตาเช่นกับเนื้อที่ลอกหนังออกแล้ว ย่อมไหลออกจาก

ช่องตาทั้งสองของกายนั้น ขี้หูเช่นกับก้อนธุลี ย่อมไหลออกจากช่องหูทั้งสอง

ขี้มูกเช่นกับน้ำหนองย่อมไหลออกจากช่องจมูกทั้งสอง บุคคลย่อมสำรอกออกจาก

ปาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 492

หากมีคำถามว่า สำรอกอะไร? ตอบว่า บางคราวย่อมสำรอกน้ำดี

ที่อธิบายว่า ในกาลใด น้ำดีไม่เป็นก้อนกำเริบ ย่อมสำรอกน้ำดีในกาลนั้น.

บทว่า เสมฺหํ จ ความว่า ย่อมสำรอกน้ำดีอย่างเดียวหามิได้ แม้

น้ำเสมหะที่เป็นก้อน ซึ่งมีประมาณเต็มบาตรหนึ่งนั้นแม้ใด ตั้งอยู่ในช่องท้อง

ย่อมสำรอกน้ำเสมหะแม้นั้น ในกาลบางคราว ก็เสมหะนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่

กล่าวแล้ว ในวิสุทธิมรรค โดยสีเป็นต้น ด้วย ศัพท์ว่า เสมฺหํ จ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ย่อมสำรอกเสมหะและของอันไม่สะอาดอย่างอื่น

มีอาหารใหม่และโลหิตเป็นต้น เห็นปานนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกาลัญญู ปุคคลัญญู และปริสัญญู ครั้น

ทรงแสดงการสำรอกของอันไม่สะอาดออกจากทวารทั้งเจ็ดอย่างนี้แล้วต่อจากนั้น

ไม่ทรงแตะต้องทวารทั้งสอง ด้วยพระดำรัสพิเศษ เมื่อจะทรงแสดงการสำรอก

ของอันไม่สะอาดออกจากกายแม้ทั้งหมด โดยปริยายอื่นอีก จึงตรัสว่า กายมฺหา

เสทชลฺลิกา เหงื่อและหนองฝีซึมออกจากกาย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสทชลฺลิกา สัมพันธ์กับบทนี้ว่าเหงื่อ

และน้ำเค็มอันต่างด้วยแผ่นเกลือและเหงื่อไคลของร่างกายนั้น ย่อมซึมออก

ทุกเมื่อ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่กายนี้เป็นของอันไม่สะอาด

ด้วยอำนาจแห่งมลทินจากอาหารที่กินและดื่มเป็นต้น เมื่ออาหารที่กินและดื่ม

เป็นต้น หุงต้มด้วยไฟอันเกิดจากกรรม ก็ปรากฏขึ้นไหลออก โดยประเภทมี

อาทิว่า ขี้ตาจากตา แล้วเปื้อนอวัยวะมีตาเป็นต้น แล้วติดอยู่ข้างนอกเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 493

เมื่อหุงต้มภัต คราบข้าวสารและคราบน้ำก็ปรากฏขึ้นกับฟองน้ำแล้ว เปื้อนปาก

หม้อข้าว ติดอยู่ข้างนอกฉะนั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่

กายนั้นเป็นของไม่สะอาด เพราะความที่ศีรษะที่สมมติว่าเป็นอุดมมงคลในโลก

ซึ่งคนทั้งหลายถือโดยความเป็นของประเสริฐอย่างยิ่ง ไม่ทำการไหว้แม้แก่บุคคล

ที่ควรไหว้ทั้งหลายแม้นั้นเป็นของไม่มีแก่นสาร และความเป็นของอันไม่สะอาด

จึงตรัสคาถานี้ว่า อถสฺส สุสิรํ สีสํ อนึ่ง อวัยวะเบื้องสูงของกายนี้เป็น

โพรง ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุสิรํ ได้แก่ ช่อง. บทว่า มตฺถลุงฺคสฺส

ปูรตํ ความว่า เต็มด้วยมันสมอง ดุจน้ำเต้าเต็มด้วยนมส้ม ฉะนั้น ก็มันสมอง

นี้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล.

บทว่า สุภโต นํ มญฺติ พาโล ความว่า คนพาลชอบคิดสิ่งที่

คิดชั่วย่อมสำคัญแม้กายนี้นั้น ซึ่งเต็มด้วยซากศพมีอย่างต่างๆ อย่างนี้ คือ

ย่อมสำคัญด้วยด้วยความสำคัญ คือ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ แม้ทั้งสามว่า สวย สะอาด

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ. เพราะเหตุไร เพราะคนพาลถูกอวิชชา

หุ้มห่อแล้ว คือ ถูกโมหะอันปกปิดสัจจะทั้งสี่หุ้มห่อแล้ว คือ เตือนแล้ว ให้

เป็นไปแล้ว ให้ยึดถือแล้วว่า เจ้าจงถืออย่างนี้ ยึดอย่างนี้ สำคัญอย่างนี้

อธิบายว่า เจ้าจงดูตลอดอวิชชาอันเป็นเหตุไม่น่าปรารถนา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอสุภะ ด้วยอำนาจแห่งกายมีวิญญาณ

ครองอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอสุภะ ด้วยอำนาจแห่งกายไม่มีวิญญาณ

ครอง หรือ เพราะกายแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิก็เต็มด้วยซากศพตามที่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 494

แล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงอสุภะในสมบัติภพ โดยประการ

ทั้งปวงแล้ว ทรงแสดงในวิบัติภพในบัดนี้ จึงตรัสคาถาว่า ยทา จ โส

มโต เสติ แปลว่า ก็เมื่อใด เขาตายนอนอยู่.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า กายมีอย่างนี้นั่นแล เมื่อใด เขาตายเพราะ

ปราศจากอายุ ไออุ่น และวิญญาณ ขึ้นพองดุจสูบเต็มด้วยลมฉะนั้น มีสีเขียว

เพราะสีแตกสลาย ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เพราะถูกทิ้งไว้ดุจท่อนไม้ไร้ประโยชน์

ฉะนั้น นอนอยู่ ในกาลนั้น ญาติทั้งหลายย่อมไม่ห่วงใยโดยส่วนเดียวว่าบัดนี้

เขาจักไม่ลุกขึ้นอีก.

ในคาถานั้น ทรงแสดงความไม่เที่ยง ด้วยบทว่า มโต ทรงแสดง

ความที่กายไม่ลุกขึ้น ด้วยบทว่า เสติ และทรงประกอบไว้ในการละความ

มัวเมาในชีวิตและกำลัง ด้วยบททั้งสองนั้น ทรงแสดงวิบัติในสัณฐาน ด้วย

บทว่า อุทฺธุมาตโก ทรงแสดงวิบัติในเครื่องประทินผิว ด้วยบทว่า วินีลโก

และทรงประกอบในการละความมัวเมาในรูป และในการละมานะ เพราะอาศัย

ความงามแห่งผิวพรรณด้วยบททั้งสองนั้น ทรงแสดงความไม่มีของที่จะพึงถือเอา

ด้วยบทว่า อปวิฏฺโฐ ทรงแสดงความเป็นกายอันน่าพึงเกลียด อันไม่ควรเพื่อ

ให้อยู่ในภายใน ด้วยบทว่า สุสานสฺมึ ทรงประกอบในการละความยึดถือว่า

ของเรา และในการละสุภสัญญา ด้วยบทแม้ทั้งสองนั้น ทรงแสดงความไม่มี

กิริยาโต้ตอบ ด้วยบทว่า อนเปกฺขา โหนฺติ ญาตโย ทรงประกอบใน

การละความมัวเมาในบริวาร ด้วยบทนั้น.

ครั้นทรงแสดงอสุภะด้วยอำนาจกายอันไม่มีวิญญาณครอง ยังไม่แตก-

สลาย ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดง แม้ด้วยอำนาจแห่งกาย

แตกสลาย จึงตรัสคาถาว่า ขาทนฺติ นํ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 495

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย จญฺเญ ความว่า สัตว์ทั้งหลายที่

กินซากศพแม้เหล่าอื่นมีกาและพังพอนเป็นต้น ย่อมกัดกินกายนั้น. บทที่เหลือ

ตื้นทั้งนั้นแล.

ครั้นทรงแสดงกาย ด้วยอำนาจแห่งสุญญตากรรมฐาน โดยนัยมีอาทิ

ว่า จรํ วา ด้วยอำนาจแห่งอสุภะสำหรับกายที่มีวิญญาณครอง โดยนัยมีอาทิว่า

กายประกอบแล้วด้วยกระดูกและเอ็น ด้วยอำนาจแห่งอสุภะ สำหรับกายที่ไม่มี

วิญญาณครอง โดยนัยมีอาทิว่า ก็เมื่อใด เขาตาย อย่างนี้แล้วทรงประกาศ

ความประพฤติของปุถุชนผู้เป็นพาล และทรงแสดงวัฏฏะ โดยมีอวิชชาเป็น

ประธาน ด้วยบทนี้ว่า คนพาลถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมสำคัญกายนั้น

โดยความเป็นของสวยงาม ในกายนี้ อันสูญจากความเที่ยง ความสุขและตัวตน

และแม้อันไม่สวยงามโดยส่วนเดียวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงความ

ประพฤติของบัณฑิตในกายนั้น และวิวัฏฏะ โดยมีปริญญาเป็นประธาน จึงทรง

ปรารภว่า สุตฺวาน พุทฺธวจนํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวาน ได้แก่ พิจารณาโดยแยบคาย.

บทว่า พุทฺธวจนํ ได้แก่ พุทธพจน์อันทำการกำหนดรู้กาย. บทว่า ภิกฺขุ

ได้แก่ พระเสกขะ หรือปุถุชน.

บทว่า ปญฺญาณวา ความว่า วิปัสสนา เรียกว่า ปัญญาณ

ผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนานั้น เพราะความเป็นผู้เป็นไปแล้วในประการมี

ความไม่เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า อิธ คือ ในศาสนา. บทว่า โส โข นํ ปริชานาติ

ความว่า ภิกษุนั้นกำหนดรู้กายนี้ ด้วยปริญญา ๓. อย่างไร คือ เหมือนพ่อค้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 496

ผู้ฉลาดแลดูสินค้าว่า นี้และนี้แล้ว เปรียบเทียบว่า เมื่อซื้อสินค้าด้วยทรัพย์

เท่านี้แล จักมีกำไรเท่านี้ ครั้นทำอย่างนั้นแล้ว ถือเอาต้นทุนกับกำไรอีก

ทิ้งสินค้านั้น ชื่อฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อแลดูด้วยจักษุคือญาณว่า

ส่วนเหล่านี้มีกระดูกและเอ็นเป็นต้น และมีผม ขนเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดรู้

ด้วยญาตปริญญา เมื่อเทียบเคียงว่า ธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

อนัตตา ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา ครั้นเทียบเคียงอย่างนี้แล้ว

ถึงอยู่ซึ่งอริยมรรค ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยปหานปริญญา เพราะละฉันทราคะ

ในกายนั้น หรือเมื่อเห็นด้วยอำนาจแห่งอสุภะของกายที่มีวิญญาณครอง หรือ

ไม่มีวิญญาณครอง ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยญาตปริญญา เมื่อเห็นด้วยอำนาจ

แห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา คือฉันทราคะ

ออกจากกายนั้น ละกายนั้นด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยปหานปริญญา.

หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นย่อมกำหนดรู้อย่างนี้.

ตอบว่า เพราะย่อมเห็นตามความเป็นจริง อธิบายว่า เพราะเห็น

ความจริง ก็เมื่อประโยชน์นั่นสำเร็จ ด้วยบทว่า ปญฺญาณวา เป็นต้นนั่นเทียว

เพราะปัญญาณวัตรย่อมมีแก่ภิกษุนั้น เพราะฟังพุทธพจน์ และเพราะกายนี้

แม้ปรากฏแก่ชนทั้งปวง อันภิกษุไม่ฟังพุทธพจน์แล้ว ก็ไม่อาจเพื่อกำหนดรู้ได้

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงเหตุแห่งญาณของภิกษุนั้นและ

ความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อเห็นรูปภายนอกทั้งหลายจากกายนี้ อย่างนี้

แล้ว จึงตรัสว่า สุตฺวาน พุทฺธวจนํ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภนันทภิกษุณี และภิกษุผู้มีจิตวิปลาส

แล้วนั้น จึงตรัสว่า ภิกฺขุ โดยยังเทศนาให้เป็นไป โดยเป็นบริษัทที่เลิศ

และโดยแสดงภิกษุภาวะ แก่ชนทั้งหลายผู้ถึงการปฏิบัติในกายนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 497

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงประการที่ภิกษุเมื่อเห็นอยู่ ย่อมเห็นตามความ

เป็นจริง ในบาทคาถานี้ว่า ยถาภูตญฺหิ ปสฺสติ แปลว่า เพราะเห็นตาม

ความเป็นจริง ดังนี้ จึงตรัสว่า สรีระที่มีวิญญาณนี้ เหมือนสรีระที่ตายแล้ว

นั่น สรีระที่ตายแล้วนั้น เหมือนสรีระที่มีวิญญาณนี้ ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า สรีระนี้มีวิญญาณครองและเป็นของอันไม่

สวยงาม ย่อมเดิน ย่อมยืน ย่อมนั่ง ย่อมนอน เพราะยังไม่ปราศจากอายุ

ไออุ่น และวิญญาณ ฉันใด สรีระแม้ไม่มีวิญญาณครองนั่นนอนอยู่ในป่าช้า

ในบัดนี้ ในกาลก่อนก็มีแล้ว เพราะไม่ปราศจากธรรมเหล่านั้น ก็ฉันนั้น.

อนึ่ง สรีระของคนที่ตายแล้วในบัดนี้นั่น ย่อมไม่เดิน ย่อมไม่ยืน

ย่อมไม่นั่ง ย่อมไม่สำเร็จการนอน เพราะปราศจากธรรมเหล่านั้น ฉันใด

สรีระแม้มีวิญญาณครองนี้ เพราะปราศจากธรรมเหล่านั้นจักเป็นฉันนั้น.

อนึ่ง สรีระมีวิญญาณครองนี้ ยังไม่นอนตายในป่าช้าในบัดนี้ ยังไม่

ถึงความเป็นของที่พองขึ้นเป็นต้น ฉันใด แม้สรีระของคนตายแล้วในบัดนี้นั้น

ในกาลก่อนก็ได้เป็นแล้วฉันนั้น.

อนึ่ง สรีระที่ตายแล้ว ไม่มีวิญญาณครอง และเป็นของไม่สวยงาม

นอนอยู่ในป่าช้า และถึงความเป็นของพองขึ้นเป็นต้น ฉันใด สรีระแม้มีวิญญาณ

ครองนี้ ก็จักถึงฉันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยถา อิทํ ตถา เอตํ ความว่า ภิกษุเมื่อ

ทำความที่สรีระที่ตายแล้ว เป็นของเสมอกับตน ย่อมละโทษในภายนอกได้.

บทว่า ยถา เอตํ ตถา อิทํ ความว่า เมื่อทำความที่ตนเป็นผู้เสมอด้วยสรีระที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 498

ตายแล้ว ย่อมละความกำหนัดในภายในได้ คือ เมื่อรู้ชัดซึ่งอาการที่ทำสรีระ

ทั้งสองให้เสมอกัน ย่อมละโมหะในสรีระทั้งสองนั้นได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระการละอกุศลมูลในส่วนเบื้องต้นนั่นแล

ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว เพราะภิกษุปฏิบัติในการละอกุศลมูล

นั้น ย่อมเป็นผู้สามารถ เพื่อบรรลุอรหัตตมรรคสำรอกฉันทราคะทั้งปวง โดย

ลำดับ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุพึงคลายความพอใจในกายเสียทั้งภายใน

และภายนอก ดังนี้ บาลีที่เหลือว่า เอวํ ปฏิปนฺโน ภิกฺขุ อนุปุพฺเพน

แปลว่า ภิกษุปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมสำรอกความพอใจในกายเสียทั้งภายในและ

ภายนอก โดยลำดับ ดังนี้.

ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอเสกขภูมิ

จึงตรัสว่า ฉนฺทราควิรตฺโต โส ภิกษุนั้นไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ภิกษุนั้นมีความรู้ชัดด้วยอรหัตตมรรคญาณ ย่อม

บรรลุผลในลำดับแห่งมรรค ในกาลนั้น เรียกว่า ไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ

เพราะความที่ฉันทราคะอันภิกษุนั้นละแล้วโดยประการทั้งปวง และเรียกว่า ได้

บรรลุบทที่ทรงพรรณนาแล้วว่า ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตาย หรือ

เพราะอรรถว่าประณีต ชื่อว่า สันติ เพราะสงบจากสังขารทั้งปวง ชื่อว่า

นิพพาน เพราะไม่มีเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา ชื่อว่า ไม่จุติ เพราะไม่มี

การเคลื่อนไป.

อนึ่ง ภิกษุนั้นมีความรู้ชัดด้วยอรหัตตมรรคญาณ ดำรงอยู่ในผล ใน

ลำดับแห่งมรรค พึงทราบว่า ไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ และได้บรรลุบทมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 499

ประการที่กล่าวแล้ว ด้วยบทว่า อชฺฌคา นั้น ทรงแสดงว่า ฉันทราคะนี้

อันภิกษุนั้นละได้แล้ว และนิพพานนี้อันภิกษุนี้ได้แล้ว ดังนี้.

ครั้นตรัสอสุภกรรมฐานพร้อมกับความสำเร็จ ด้วยอำนาจแห่งกายมี

วิญญาณครอง และไม่มีวิญญาณครองอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงติเตียนการอยู่

ด้วยความประมาท ซึ่งทำอันตรายแก่อานิสงส์มากมายอย่างนี้ ด้วยการทรง

แสดงโดยย่ออีก จึงตรัสสองคาถาว่า ทิปาทโกยํ.

ในคาถานั้น กายทั้งหลายแม้ไม่มีเท้าเป็นต้น เป็นของไม่สะอาดทีเดียว

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้ ด้วยอำนาจแห่งการกระทำยิ่งหรือ ด้วยอำนาจ

แห่งการกำหนดอย่างสูง หรือเพราะกายเหล่าอื่นแม้เป็นของไม่สะอาด แต่บุคคล

ปรุงด้วยรสเค็มและรสเปรี้ยวเป็นต้นแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารของมนุษย์ทั้ง-

หลายได้ ส่วนกายของมนุษย์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะฉะนั้น แม้เมื่อจะทรง

แสดงมนุษย์ซึ่งมีภาวะอันไม่สะอาดยิ่งนัก จึงตรัสว่า ทิปาทโก มีสองเท้า

ดังนี้.

บทว่า อยํ ได้แก่ ทรงแสดงกายมนุษย์. บทว่า ทุคฺคนฺโธ ความว่า

กายนี้มีกลิ่นเหม็น อันบุคคลปรุงแต่งด้วยดอกไม้และของหอมทั้งหลาย บริหาร

อยู่. บทว่า นานากุณปริปูโร ได้แก่ เต็มไปด้วยซากศพอเนกประการ มี

เส้นผมเป็นต้น.

บทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต ความว่า หลั่งออกอยู่ซึ่งของไม่

สะอาดทั้งหลายมีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น จากทวารทั้งเก้า และคราบเหงื่อจาก

ขุมขนทั้งหลาย กระทำความพยายามของคนทั้งหลาย แม้จะพยายามเพื่อปกปิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 500

ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นให้ไร้ผล. บัดนี้ท่านจงดูในกายนั้นว่า ด้วยกาย

เช่นนี้ คนพาลไรๆ จะเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม พึงสำคัญเพื่อยกย่องตัว

เอง คือ พึงสำคัญยกย่องตัวเองด้วยความสำคัญ คือ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ

โดยนัยมีอาทิว่า เรา ว่า ของเรา หรือว่า เที่ยง หรือ ตั้งตนไว้ในฐานะสูง

พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยชาติเป็นต้น จักมีอะไรนอกจากการไม่เห็นอริยสัจจะ คือ

เว้นจากความไม่เห็นอริยสัจจะด้วยอริยมรรคแล้ว จักมีอะไรอื่น คือพึงมีแต่

การยกย่องตนและการดูหมิ่นผู้อื่นอย่างนี้ สำหรับผู้นั้น.

ในเวลาจบเทศนา นางนันทาภิกษุณีได้ถึงความสังเวชว่า โอหนอ !

เราช่างพาลเสียกระไร ที่ปรารภเราเท่านั้น ไม่ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้ทรงยังพระธรรมเทศนาอย่างต่างๆ ให้เป็นไปอย่างนี้ และสังเวชอย่างนี้

แล้ว พิจารณาพระธรรมเทศนานั้นนั่นเทียวได้กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ในภาย

ใน ๒-๓ วัน ด้วยกรรมฐานนั้นนั่นแล.

ได้ยินว่า แม้ในฐานะที่สอง ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้

ธรรมาภิสมัย สิริมาเทพกัญญาได้บรรลุอนาคามิผล ส่วนภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล แล.

จบอรรถกถาวิชยสูตร * แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kinder
วันที่ 24 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ