ทำยังไงดีครับ

 
tagobeer
วันที่  23 พ.ค. 2556
หมายเลข  22948
อ่าน  10,845

เนื่องจากตอนที่ผมบวชผมได้ผิดอาบัติสังฆาทิเสส แต่ไม่ได้อยู่กรรม เพราะได้ฤกษ์สึกแล้ว ตอนนี้ผมได้สึกออกมาจากการเป็นพระภิกษุแล้วครับ สามารถทำอย่างไรให้ผมหลุดออกจากอาบัติสังฆาทิเสสได้บ้างครับ รู้สึกไม่ดีเลย แล้วอาบัตินั้นจะติดตัวผมทำให้ชีวิตไม่ดี ไม่เจริญรุ่งเรืองหรือเปล่าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความไม่สบายใจ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ จากประเด็นคำถาม ก็ขอให้ได้เข้าใจว่า อาบัติทุกข้อ จะมีเฉพาะในขณะที่ปฏิญานตนว่าเป็นพระภิกษุ เท่านั้น และเป็นเครื่องกั้นมรรคผลนิพพาน ตลอดจนถึงกั้นการเกิดในสุคติภูมิ ด้วย ถ้ามรณภาพลงในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่โดยที่ไม่ได้แก้ไข อาบัติที่ตนเองต้อง ให้เป็นไปตามพระวินัย ก็จะเป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า นี้

คือ กล่าวถึงในขณะที่ปฏิญญญาณว่าเป็นพระภิกษุอยู่ แต่ถ้าได้ลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์แล้ว ก็ไม่มีอาบัติติดตัวอีกต่อไป รวมถึงอาบัติสังฆาทิเสสด้วย ไม่มีอาบัติในเพศคฤหัสถ์ ในเมื่อไม่มีอาบัติแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปบวชใหม่เพื่อที่จะทำให้ตนเองพ้นจากอาบัติ แต่ถ้าบวชใหม่เมื่อใด อาบัติที่ต้องไว้เมื่อคราวบวชครั้งแรก ก็มาทั้งหมด เพราะฉะนั้นแล้วก็ขอให้ตั้งใจเป็นคฤหัสถ์ที่ดี มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พร้อมทั้งไม่ละเลยโอกาสของการเจริญกุศลประการต่างๆ ในขีวิตประจำวันต่อไป

ชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง ไม่ใช่อยู่ที่ทรัพย์สินเงินทอง แต่อยู่ที่คุณความดีที่ค่อยๆ เจริญขึ้น นี้แหละคือ สิ่งที่สำคัญ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่

เรื่องอาบัติสังฆาทิเสส

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า ไ่ม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผ่านไปแล้ว ไม่ควรคำนึง ถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด ให้อยู่กับปัจจุบัน และ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็เป็นผู้มีราตรีหนึ่งเจริญค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับเพศพระภิกษุย่อมจะต้องมีข้อห้าม ข้อบัญญัติของพระพุทธเจ้า เพราะ ประโยชน์ในการละกิเลส และ สำรวมระวังในเพศบรรพชิต เพื่อประโยชน์ตน และ ประโยชน์ต่อผู้อื่น และ สังคมโดยรวม เพราะฉะนั้น เมื่อมีการทำผิดพระวินัยในเพศ บรรพชิต ก็สามารถ แก้อาบัติตามสมควรแก่อาบัติได้ ยกเว้นแต่ อาบัติปาราชิกที่ไม่ สามารถแก้ได้แต่ หากว่า ทำผิดพระวินัยแล้ว มีอาบัติอยู่ แต่ถ้าเปลี่ยนเพศมาเป็น ฆราวาสแล้ว อาบัติย่อมไม่มีผลต่อชีวิต คือ ไม่ติดตัวมาที่จะทำอันตรายกับผู้ที่เป็น เพศคฤหัสถ์ได้เลย เพียงแต่ว่า สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ไม่ใช่กลัวที่จะได้รับโทษ แต่ สิ่งที่ควรพิจารณา คือ การที่จะเห็นโทษในกิเลส ไม่ว่าจะอยู่ในเพศบรรพชิต และ เพศคฤหัสถ์ เมื่อเป็นเพศคฤหัสถ์แล้ว ก็ใช้ชีวิตให้เหมาะสม ถูกต้องตามเพศ ด้วย การทำดีและศึกษาพระธรรม เป็นสำคัญ เพราะ ชีวิตไม่ใช่มีเพียงแค่ผล ที่เป็นวิบาก ที่จะได้รับสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี แต่ ชีวิตยังมีในส่วนที่เป็นเหตุ ที่จะสะสมต่อไปเป็น อุปนิสัยที่ดีและไม่ดี รวมทั้งเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลที่ดี และไม่ดีด้วย เพราะฉะนั้น การได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม จะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา ปัญญา ความเห็นถูก จะทำให้เกิด กุศลจิต กุศลกรรม สิ่งที่ดี และจะทำให้คิดถูก ไม่กระทำผิด ในสิ่งที่ไม่ สมควร ทั้งในเพศบรรพชิต และคฤหัสถ์ ครับ เพราะฉะนั้น แทนที่จะกังวลในสิ่งที่ ล่วงไปแล้ว ก็อยู่กับปัจจุบัน ด้วยการทำดี และ ศึกษาพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tagobeer
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ผมจะหมั่นสวดมนต์ ทำความดี ทำให้เกิดกุศลที่ดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
tagobeer
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tagobeer
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ถ้าตามที่ผมเข้าใจ ถ้าอยู่ในเพศคฤหัสถ์ อาบัติสังฆาทิเสส ก็ไม่ใช่เครื่องกีดกันสู่สวรรค์ ใช่ไหมครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 23 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที 6 ครับ

ถูกต้อง ครับ หากเป็นเพศฆราวาสแล้ว อาบัติทุกข้อ รวมทั้งอาบัติสังฆาทิเสส ไม่เป็นเครื่องกั้นไปสวรรค์ ครับ เว้นแต่ว่า อาบัติที่ทำนั้น เป็นอาบัติที่เป็นการทำ บาปที่เป็นอนันตริยกรรม คือ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ทำสงฆ์ให้แตกกัน แม้สึกเป็นเพศฆราวาสแล้ว ก็ไม่สามารถไปสวรรค์ได้ ครับ ต้องไปนรก ครับ แต่ ถ้า ไม่ได้ทำบาปถึงขนาดนั้น อาบัติทั่วไป อาบัติสังฆาทิเสส ก็ไม่กั้นสวรรค์ เมื่อเป็น เพศฆราวาส ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tagobeer
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ตอนนี้จิตผมดีขึ้นมาแล้วครับ ผมจะหมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ บริสุทธ์ตามที่พระพุทธเจ้าสอนครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
tagobeer
วันที่ 24 พ.ค. 2556

ขอถามอีกคำถามนึงคับ

แม้อาบัติจะไม่ติดตัวเรา แต่บาปจากการทำผิดวินัยก็จะติดตัวเราไปตลอดใช่ไหมครับ ถ้าติดตัวเราไปตลอด จะมีทางแก้ไหมครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 24 พ.ค. 2556

เรียน ความคิดเห็นที่ ๙ ครับ

ก็ต้องเข้าใจว่า อาบัติที่ต้องในขณะที่เป็นพระภิกษุนั้น เป็นการกระทำอกุศลกรรมบถ หรือไม่ เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ เป็นต้น อย่างนี้เป็นอกุศลกรรมด้วย เป็น อาบัติด้วย ซึ่งเมื่อลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์แล้ว แม้จะไม่มีอาบัติ แต่ถ้าการล่วงละเมิด พระวินัยนั้น เป็นอกุศลกรรม อกุศลกรรมที่ได้กระทำ ก็สะสมสืบต่อ ไม่สูญหายไป ไหน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดีได้ เพราะเป็นเหตุที่ไม่ดี ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
tagobeer
วันที่ 24 พ.ค. 2556

ขอขอบคุณครับ

แล้วเป็นอกุศลกรรมที่หนักไหมครับ ถ้าหนักผมใช้การกระทำดีผ่อนหนักให้เป็นเบา ได้ไหมครับ เพราะโอกาสที่ผมจะกลับไปบวชเพื่อปลงอาบัติยังไม่มีโอกาสครับ เนื่องจากภาระ หน้าที่ของผม

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

ถ้าเป็นการทำผิดพระวินัย ที่ไม่ถึงขนาด ทำอกุศลกรรมบถ เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น อย่างนี้ แม้ต้องอาบัติอยู่ในข้ออื่นๆ และ เมื่อสึกเป็นเพศ คฤหัสถ์แล้ว อาบัติเหล่านั้น ไม่มีผลอะไรกับเพศคฤหัสถ์เลย ครับ แม้จะไม่ได้กลับไป บวชแล้วก็ตาม ส่วนการดีในเพศคฤหัสถ์ก็ควรกระทำอยู่แล้ว แม้จะเคยเป็นผู้ทำบาป หรือ ไม่ได้ทำในเพศพระภิกษุก็ตาม เพราะ ความดีเป็นสิ่งที่ควรกระทำ

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
tagobeer
วันที่ 24 พ.ค. 2556

ขอบคุณครับ คือผมทำผิดสังฆาทิเสสข้อ 1 คือทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน อย่างนี้เป็นอกุศลกรรมบท หรือเปล่าคับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

ไม่ได้เป็นอกุศลกรรมบถ ครับ เพราะ ไม่ได้ล่วงศีล ข้อกามเมสุมิจฉาจาร ที่จะต้องมี การเสพเมถุนธรรม กับ สตรีเพศ แต่ การกระทำเช่นนี้ ไม่เป็นอกุศกลรรมและไม่มีผล ทำให้เกิด วิบากที่ไม่ดี เมื่อเป็นเพศพระภิกษอยู่ ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่เมื่อสึก ออกมาแล้ว อาบัตินั้น ในข้อที่ล่วงที่ผู้ถามได้กล่าวนั้น ก็ไม่มีผลอะไรกับเพศคฤหัสถ์ ครับ และ ไม่มีวิบากที่ไม่ดี ด้วย สบายใจได้ ครับ ดังนั้น ตอนนี้อยู่ในเพศคฤหัสถ์ ก็ศึกษาพระธรรม เจริญกุศลต่อไป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
tagobeer
วันที่ 24 พ.ค. 2556

ครับ ผมคิดว่าบาปจากการผิดพระวินัยข้อนั้นจะติดตัวผมมา เพราะผมเห็นว่าเป็นการผิดวินัย ร้ายแรง ทำให้เกิดบาป ติดตัว แม้อาบัติจะไม่ติดตัวมาก็ตามแต่ก็ยังมีบาปติดตัวมาอยู่ดี ไม่ใช่หรอครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

บาปจะติดตัวมา คือ ให้ผลหรือไม่นั้น กรรมนั้นจะต้องสำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถ มี การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เพราะฉะนั้น เป็นการผิดพระวินัยร้ายแรง เพราะว่า เป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงปรับอาบัติ เพื่อให้ปลง อาบัติและสำรวมระวังต่อไป แต่ การทำผิดดังที่กล่าวมาไม่เป็นอกุศลกรรมบถ จึง ไม่ติดตัวมาที่จะให้ผล ครับ ดังนั้น เราจะต้องแยกเพศระหว่างบรรพชิต กับ คฤหัสถ์ ว่าแตกต่างกัน ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
tagobeer
วันที่ 24 พ.ค. 2556

ตามความเห็นที่ 9

ท่านได้บอกว่าการผิดวินัยเป็นอกุศลกรรม ฉะนั้นก็ต้องติดตัวมาแม้ในเพศบรรพชิต หรือในเพศคฤหัสห์ไม่ใช่หรือครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 17 ครับ

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่า อกุศลกรรมให้ถูกต้องกันก่อนครับ ก็จะเคลียร์ประเด็นนี้ อกุศล บาป มีหลายระดับ บาปที่เป็นเพียงอกุศลจิตก็มี เช่น โกรธ แต่ไม่ได้แสดง ออก ชอบ แต่ไม่พูด ไม่แสดงออกมาทางกาย วาจา เป็นอกุศล เป็นบาป แต่ ไม่มี กำลังที่เป็นอกุศลกรรม ส่วน บาปที่มีกำลัง ที่เรียกว่า อกุศลกรรม คือ การกระทำ ทางกาย วาจาด้วยอกุศลจิต และ ถึงขนาดครบองค์กรรมบถ เช่น มีการฆ่าสัตว์ ที่ กระทำทางกาย วาจา หากมีความพยายามฆ่า แต่ สัตว์นั้นไม่ตาย ก็ไม่เป็นอกุศล กรรมบถ คือ ไม่เป็นอกุศลกรรม ที่จะให้ผล ติดตัวไป แม้ อยู่ในเพศคฤหัสถ์ เพราะ ไม่ครบองค์ แต่ ถ้าสัตว์นั้นตาย เพราะ มีเจตนาฆ่า และ ได้ทำการฆ่า กรรม บาปนั้น มีกำลัง ครบกรรมบถ เรียกว่า อกุศลกรรม สามารถให้ผลเป็นวิบากได้ ครับ ส่วนการ กระทำที่ไม่ถึงกรรมบถ เช่น ทำอสุจิให้เคลื่อน ไม่เป็นกรรมบถ ที่เป็นอกุศลกรรมที่ จะให้ผล เพราะฉะนั้น จึงไม่ให้ผล แม้เป็นเพศคฤหัสถ์แล้ว หรือจะเพศอะไรก็ตาม ดังนั้น เราจะต้องดูด้วยครับว่า ข้อที่ผิดพระวินัย ถึงอกุศลกรรม หรือไม่ ถ้าไม่เป็น อกุศลกรรม ก็ไม่ให้ผล ไม่มีผลต่อเพศคฤหัสถ์ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
tagobeer
วันที่ 24 พ.ค. 2556

เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากคับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
Rodngoen
วันที่ 25 พ.ค. 2556

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
tagobeer
วันที่ 25 พ.ค. 2556

ตามความเห็นที่10

แต่ถ้าการล่วงละเมิดพระวินัย นั้น เป็นอกุศลกรรม อกุศลกรรมที่ได้กระทำ ก็สะสมสืบต่อ ไม่สูญหายไปไหน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดผล ที่ไม่ดี ได้ เพราะเป็นเหตุที่ไม่ดี ครับ ตามความเห็นนี้ผมคิดว่าสิ่งที่กระผมทำน่าจะเป็นอกุศลกรรมนะครับ ใช่ไหมครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 21 ครับ

คิดได้ครับว่า เป็น แต่ความจริงไม่เป็นครับ ซึ่ง องค์กรรมบถ ที่จะเป็นอกุศลกรรม ในเรื่องนี้ ในข้อกาเม มีดังนี้ ครับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป คำว่า กาเมสุ ได้แก่การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง ที่เป็นไปทางกายทวารโดย

ประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร. กาเมสุ มิจฉาจารนั้นมี

(องค์) ๔ คือ ๑. อคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง) ๒. ตสมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น) ๓. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ) ๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึงมรรค)

จะเห็นนะครับว่า เพียงการทำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ได้มีวัตถุ คือ สตรีเพศ และ ไม่มีการเสพเมถุน จึงไม่เป็นกรรมบถ เพราะฉะนั้น การพิจารณาเรื่องใด ต้อง พิจารณาตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ใช่การคิดเอง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
tagobeer
วันที่ 25 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
A1ONE
วันที่ 26 พ.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
Nipuno
วันที่ 19 มี.ค. 2557

อนุโมทนาสาธุครับ!! เพราะเป็นประเด็นที่ผมเครียดมากในตอนนี้ ขอถามอะไรอีกอย่างครับว่า ญาติพี่น้องจะได้รับผลบุญที่เราทำในตอนบวชนั้นไหมครับ ในเมื่อเราทำผิดอาบัตินะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
ของสมสุด
วันที่ 19 มี.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ