คุณธรรมของคนเป็นครู (ทางโลก) และความกตัญญูต่อครู

 
ดรุณี
วันที่  26 พ.ค. 2556
หมายเลข  22959
อ่าน  4,286

อยากขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายอย่างละเอียดถึง คุณธรรมของคนเป็นครู ที่สอนเรื่องทางโลก และการแสดงความกตัญญูต่อครูรุ่นก่อนทีน่ะค่ะ ในทางธรรม ทราบว่าการปฏิบัติบูชาคือการบูชาพระคุณของครูทางธรรมที่ดีที่สุด แล้วครูในทางโลกล่ะคะ ถ้าหากเรากลายเป็นครูรุ่นต่อมา แต่กลับมีหลักวิชาขัดแย้ง กับครูของเรา เราจะทำอย่างไรดี เนื่องจากทฤษฎีทางโลกเป็นสิ่งที่พลิกแพลงได้ไม่ เหมือนทางธรรม เพราะหลักธรรมเป็นความจริงแท้ จึงไม่สามารถพลิกแพลงได้ (เพราะ ไม่งั้นจะเป็นการกล่าวตู่,หมิ่นพระปัญญาหรือบิดเบือนความจริงแท้) ครูทางธรรมจึง สอนความจริงแท้ (สัจจะ) ที่ทำให้พ้นทุกข์ แต่ถ้าเรามีอาชีพเป็นครูทางโลก สอนเรื่อง โลก แล้วพลิกแพลงสร้างทฤษฎีใหม่ได้ เราจะไม่ขัดแย้งกับครูรุ่นก่อนที่สอนเราได้ อย่างไร ซึ่งตามหลักทางโลก หากศิษย์ตั้งตนเป็นอาจารย์ แล้วสอนขัดกับครูของตน จะถูกตำหนิต่อว่า หาว่าอกตัญญูหรือล้างครูได้ ถ้าสมมติว่าดิฉันค้นพบและคิดค้นวิธี หรือทฤษฏีบางอย่างขึ้นใหม่ โดยอาศัยความรู้จากครูรุ่นก่อนๆ หากเราจะกล่าวสดุดีถึง ครูบาอาจารย์เพื่อระลึกถึงพระคุณ บูชาพระคุณ และให้เกียรติยกย่องท่าน ก็จะโดน บรรดาศิษย์ของครูเหล่านั้นด่าทอได้ เพราะเหตุจากดิฉันมีความรู้แปลกใหม่เสริม เข้าไปและอาจจะขัดแย้งบ้างในหลายจุด ครั้นจะไม่กล่าวถึงชื่อครูบาอาจารย์ ก็จะ โดนกล่าวหาหรือหมิ่นประมาทอีกว่าไม่มีครูหรืออกตัญญูไม่ให้เกียรติครู ถ้าเป็นเพื่อนๆ จะทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ดิฉันคิดค้นวิชาบางอย่างได้ เป็นวิชาทางโลกค่ะ และคิดจะ เผยแพร่ความรู้นี้เป็นหลักวิชาเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ต่อไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่าจะเป็นครูทางโลก หรือ ครูทางธรรม สภาพธรรมที่เหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน เลย คือ จะต้องมี จิต เจตสิกเกิดขึ้น ที่เป็นกุศล และ อกุศล ส่วน ความจริง ก็มี 2 อย่าง คือ จริงโดยสมมติทางโลก และ จริงโดยปรมัตถ ที่เป็นสภาพธรรม ซึ่ง ใน สมัยพุทธกาล ท่านพระสารีบุตร และ ท่านพระมหาโมคคัลานะ เมื่อครั้งยังไม่ได้พบ พระพุทธศาสนา ยัง บวช ในสำนักครู ที่ชื่อ สัญชัยที่มีความเห็นผิด แต่เมื่อท่านได้ พบกับท่านพระอัสสชิแล้ว ได้ฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ก็เปลี่ยนจากความเห็นผิด เป็น ความเห็นถูก ทั้งสองท่าน จึงไปบอกอาจารย์สัญชัย ว่า ให้เปลี่ยนความคิดของตน และ มาฟังพระธรรมที่พระพุทธเจ้า แต่ อาจารย์สัญชัยก็ไม่ยอม ท่านพระสารีบุตร และ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงแยกตัวออกไป และ ก็ได้เผยแพร่พระธรรมที่ ถูกต้อง ครับ

จากตัวอย่างนี้แสดงชัดเจนว่า แม้จะเคยเป็นครูกัน แต่ เมื่อ ครูมีความเข้าใจผิด แต่ศิษย์ก็มีจิตเมตตาได้ ที่จะแนะนำ แต่ เมื่อไม่ฟัง ศิษย์ก็สามารถที่จะเผยแพร่ใน สิ่งที่ถูกต้องได้ ที่สำคัญ การเผยแพร่ในสิ่งที่ถูกต้องนั้นด้วยเจตนาที่ดี ไม่ได้มี เจตนาที่จะทำร้าย บิดเบือน และ ทำให้ ครูเก่า เสียหายเลย แต่ เพื่อประโยชน์กับ คนอื่นเป็นสำคัญ

เช่นเดียวกับ ความรู้ทางโลก หาก พบ ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ประโยชน์ คือ ให้ผู้อื่นได้ความรู้และประโยชน์นั้น เจตนาด้วยความหวังดี ด้วย กุศลจิต ไม่มีเจตนาร้าย ที่จะไปลบหลู่ อาจารย์ ครูเก่าแต่อย่างไร ก็ไม่ได้ผิดอะไร สามารถทำได้ โดยจะต้องพิจารณาเนื้อหา ของความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น ว่า เป็นจริง และ เป็นประโยชน์กับคนโดยมากด้วย ครับ ดังนั้น ที่สมควร คือพิจารณา สอบถาม จากผู้รู้ในศาสตร์วิชานั้น อย่างละเอียดถี่ถ้วน จากคนอื่นๆ แล้ว ว่า เนื้อหาที่ตนเอง คิดได้ถูกต้องหรือไม่อย่างไร เมื่อได้คำตอบว่าถูกต้องแล้ว ก็สามารถเสนอ แนะนำ เผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้ แม้ ความรู้ใหม่ทางโลกนั้น อาจจะขัดกับทฤษฎีเดิม ตามที่ ครู อาจารย์รุ่นก่อนเคยสอนก็ตาม แต่ ความรู้ใหม่ได้ ถูกต้องกว่า ก็สมควรที่จะเผยพร่ ครับ อันเกิดจากเจตนาดี ไม่ได้มีเจตนาร้ายอะไร ครับ

ความกตัญญูกับครู และ บุคคลอื่น จึงไม่ใช่การตามใจ เห็นตามในความเห็นที่ผิด แต่เป็นผู้ที่หวังดีกับครู ในทุกสถาน ทั้ง การช่วยเหลือกิจการงาน การให้ทาน ตอบ แทน และ การแนะนำในสิ่งที่ดี และ สามารถถระลึกถึงคุณของท่านได้ ที่ท่านให้ ความหวังดี มีเมตตากับตนเอง ซึ่ง การให้ความรู้ในสิ่งที่ไม่เหมือนครู แต่ เป็นความรู้ ที่ถูกต้อง จึงไม่ชื่อว่า อกตัญญู แต่เป็นผู้กตัญญู ต่อ คุณความดี แต่ การให้ความรู้ที่ ผิด เห็นตามในสิ่งที่ผิด ชื่อว่า อกตัญญู ต่อ ความดี ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 27 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่จะเป็นผู้มีความชำนาญในศาสตร์สาขาต่างๆ ก็ต้องอาศัยการถ่ายทอดหรือ การแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์สาขานั้นๆ สำหรับการศึกษาเล่าเรียน ในศาสตร์สาขาทางโลกนั้น ถ้ามีความเอาใจใส่ คิดค้นคว้า ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ความเชี่ยวชาญก็ย่อมเกิดขึ้น แต่ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่ตรง ก็สามารถที่จะปฏิเสธ ไม่รับในความคิดเห็นนั้นได้ พร้อมกับแสดงในสิ่งที่ถูก ที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้นั้น แต่ไม่ใช่ด้วยความดูถูก ดูหมิ่นว่า ของเราถูก แต่ของเขาผิด เพราะเหตุว่าแม้ที่กล่าว ว่า "ทางโลก" ก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมเลย ถ้ามีความเข้าใจ ธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ก็จะเข้าใจผู้อื่นได้ดี กุศลจิตสามารถเกิดขึ้นได้ แม้ในขณะที่ ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ด้วยความเป็นมิตร หวังดีต่อผู้อื่น เพราะคนดี ก็ย่อมเป็นคนดี ได้ในทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ นี้แหละคือ สิ่งที่ถูกต้อง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ค. 2556

เรื่องของความกตัญญูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องความเห็นถูก เรื่องของวิชาการ ทางโลกก็คนละส่วนกัน อยู่ในหน้าที่ไหนก็ทำหน้าที่นั้นให้เหมาะสมดีที่สุด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jaturong
วันที่ 29 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ