ความกลัว ถูกจัดลงในเจตสิกข้อใดครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความกลัวเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ขณะนั้น มีความรู้สึก เวทนาเจตสิก ที่ไม่สบายใจ
ที่เป็นโทมนัสเวทนา ซึ่ง โทมนัสเวทนา เกิดกับจิตที่เป็นโทสมูลจิตเท่านั้น อัน
มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ขณะที่กลัว จึงกล่าวได้ว่า เป็นโทสมูลจิต
จิตที่เป็นโทสะ ที่มี โทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย
องค์ธรรมของความกลัว จึงเป็น โทสเจตสิก ครับ
ขออนุโมทนา
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
โมหมูลจิตเกิดกับ อุเบกขาเวทนาเท่านั้น ครับ
โทสเจตสิก ในลักษณะความโกรธเคืองทำไมถึงระงับความกลัวได้คะ
(สังเกตจากคนทั่วไปและตัวเองค่ะ)
อย่างเช่น คนที่กลัวสุนัขขู่ แต่อยู่ๆ รู้สึกโกรธสุนัขขึ้นมา กลายเป็นไม่กลัว เดินดุ่มๆ ไปหาสุนัขที่กำลังขู่ จะเอาอะไรขว้าง จนสุนัขกลัววิ่งหนีไปเลย
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
สภาพธรรมที่เป็นโทสะ แสดงออกมาได้หลายลักษณะ ครับ ขณะที่กลัว ขณะนั้น
ก็เป็นโทสเจตสิก ที่เป็นโทสมูลจิตในขณะนั้น แต่ ขณะที่โกรธ ที่เป็นลักาณะของ
โทสเจตสิก ขณะนั้นก็มีลักษณะ ขุ่นใจ ไม่สบายใจ โดยไม่ต้องกลัว แต่ การไม่กลัว
ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ใช่โทสะ เพราะ ขณะที่โกรธ จะทำร้ายสุนัข ขณะนั้นขุ่นใจ
โดยไม่ต้องกลัวก็ได้ ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม โดยที่ไม่ได้อยู่ในตำราเลยแต่มีจริงๆ
ในชีวิตประจำวัน แม้แต่ที่กล่าวถึงความกลัว ก็มีจริงๆ ซึ่งปกติส่วนใหญ่ก็มีความกลัว ตลอด
จนถึง ตกใจหวาดสะดุ้ง อยู่แล้วมากบ้างน้อยบ้าง ตามความเป็นไปของแต่ละคนซึ่งเป็นแต่
ละหนึ่ง แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่า นี้คือธรรม จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดง ขณะที่เกิดความกลัว นั้น ไม่สบายใจ ไม่พอใจไม่มีความแช่มชื่นแห่งจิต
ความเป็นจริงนี้ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่าง นั้น เพราะฉะนั้น
แล้วขณะที่กลัวจึงเป็นความเกิดขึ้นแห่งอกุศลจิตประเภทที่มีโทสะเกิดร่วมด้วยนันเอง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...