ความกตัญญูและความอกตัญญู

 
fouron
วันที่  30 พ.ค. 2556
หมายเลข  22978
อ่าน  9,048

ความกตัญญูและความอกตัญญู คือ อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความกตัญญู คือ ความเป็นผู้รู้คุณของผู้อื่นและกระทำตอบแทน ส่วน บุพพการี คือ

ผู้ที่อนุเคราะห์ผู้อื่นก่อน มี มารดา บิดา เป็นต้น ซึ่งทั้ง ผู้ที่เป็นบุพพการี และผู้ที่กตัญญู

กตเวทีหาได้ยากในโลกครับ

ส่วน ความอกตัญญู คือ การไม่รู้คุณของผู้อื่น และ ไม่กระทำการตอบแทนพระคุณ

คือ ไม่เลี้ยงดู มารดา บิดา เป็นต้น

ในความละเอียดของความกตัญญูนั้น ขอยกตัวอย่าง ที่ เป็นลักษณะของความกตัญญู

กับ บิดา มารดา ที่เป็นผู้มีพระคุณ ซึ่ง เมื่อทราบลักษณะการกระทำที่มีความกตัญญู

แล้ว สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นการกระทำที่กตัญญู ก็เป็น ลักษณะของความ

อกตัญญู ครับ

ซึ่งสำหรับหน้าที่ของบุตรที่มีต่อ บิดา มารดา ที่เป็นลักษณะของความอกตัญญู

ขอนำพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดังนี้ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 88 [๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรธิดาพึงบำรุง

ด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจ

ของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑

เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ๑.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ บิดา มารดา มีพระคุณกับผู้เป็นบุตรหา

ประมาณมิได้ ท่านเลี้ยงเรามาตั้งแต่เด็ก ลำบากมากมาย ผู้เป็นบุตร จึงควรตอบแทน

พระคุณท่านเพราะความเป็นผู้รู้คุณ เริ่มจากเดี๋ยวนี้ คือ ดูแลท่าน ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ปลา

อาหาร การช่วยเหลืองานบ้านต่างๆ แทนที่ท่านจะทำ ก็ช่วยแบ่งเบาภาระ ตามความ

สามารถของตนที่จะมีในเรื่องนั้นครับ

จักรับทำกิจของท่าน สิ่งใดที่เป็นงานของท่าน ทั้งในบ้านและนอกบ้าน คือ การงาน

ของท่าน หากเราพอมีความสามารถ แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นผู้ ยินดี อาสาที่จะช่วยท่าน

เพื่อแบ่งเบาภาระ ของผู้เป็น บิดา มารดาที่มีภาระมากและได้เลี้ยงดูเรามาครับ ไม่ใช่ว่า

จะทำกิจของตนคือเรียนหนังสือ หรือ ทำงานของตนเท่านั้นครับ

จักดำรงวงศ์ตระกูล การดำรงวงศ์ตระกูลของบุตร คือ การประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี

รักษาวงศ์ตระกูล เมื่อเป็นคนดี รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร ย่อมรักษา ทรัพย์สิน เงินทอง

ของบิดา มารดา ไม่ทำให้ทรัพย์สิน เงินทองของท่านให้พินาศ ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ย สุร่าย

เพราะนั่นเป็นทรัพย์สมบัติของท่านที่หามาได้ด้วยแรงกาย แรงใจของท่านครับ การไม่

ตั้งใจเรียน เกเรก็ย่อมชื่อว่าไม่รักษาวงศ์ตระกูล เมื่อรักษาทรัพย์ได้ รู้จักปฏิบัตตนให้

เหมาะสม ตั้งใจเรียน ไม่เกเร ก็ชื่อว่ารักษาวงศ์ตระกูลได้ ไม่ทำให้วงศ์ตระกูลเสียหาย

ทั้งชื่อเสียงและทรัพย์สินครับ แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ก็ทำลายวงศ์ตระกุล ทั้ง

ชื่อเสียง คำว่าร้ายจากคนอื่นที่มีต่อ บิดา มารดาและวงศ์ตระกูลเรา

การรักษาวงศ์ตระกูลที่ประเสริฐสูงสุด คือ ให้บิดา มารดา ออกจากวงศ์คือ อธรรม คือ

ความไม่ดี ออกจากอกุศล มีความเห็นผิด ให้ตั้งอยู่ในวงศ์ คือ วงศ์ของธรรม วงศ์ของ

ความดี ที่ถูกด้วยการให้ความเข้าใจพระธรรม ชื่อว่าเป็น บุตรที่ดำรงศ์วงศ์ตระกูลไว้ได้

อย่างสูงสุดครับ

จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก บุตรที่ทำตัวไม่ดี หรือ ไม่กตัญญู

บิดามารดา ก็ไม่ชื่อว่าสมควรรับมรดกจาก บิดา มารดา แต่การทำตนเป็นคนดี ตั้งใจ

เรียน ไม่เกเรรู้จักใช้จ่าย เป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้สมควรรับมรดกจากมารดา บิดาครับ เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ผู้เป็นบุตรที่ดี คือ ต้องมีความกตัญญู

รู้คุณของท่านไม่ว่าท่านจะมีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว เพราะเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว

สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ก็คือ การทำบุญและอุทิศส่วนกุศลไปให้ครับ

เพราะสัตว์ที่จากโลกนี้ไปแล้ว หากอยู่ในฐานะที่เป็นเปรต อาหารของสัตว์เหล่านั้น คือ

การอุทิศส่วนกุศลของเหล่าญาติครับ

การศึกษาพระธรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ปัญญาเจริญ เมื่อปัญญาเจริญขึ้นก็ย่อม

เป็นผู้รู้สิ่งที่ควร ไม่ควร รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้มีคุณและก็จะปฏิบัตตนให้เหมาะสมตามฐานะของ

ตนผู้เป็นบุตร ไม่ว่าจะเป็นคนดี ตั้งใจเรียน เป็นต้นและทำหน้าที่ของบุตรตามที่กล่าวมา

ครับขออนุโมทนาที่เป็นผู้รู้คุณและตั้งใจถามในสิ่งที่เหมาะสม คือ ความกตัญญูครับ

จากที่กล่าวมา เป็นลักษณะของผู้มีความกตัญญู ต่อ บิดา มารดา ส่วนผู้ที่ไม่ได้

ทำกิจ ทำหน้าที่ตามที่กล่าวมา เพราะ ความไม่รู้คุณของ มารดา บิดา ก็ชื่อ ความ

อกตัญญู

แต่ในความละเอียดของความกตัญญู ยังมีความละเอียดลึกลงไป ที่ไม่ใช่เพียง

กับ บิดา มารดาเท่านั้น ผู้ใดที่มีพระคุณ และ ระลึกได้ และ กระทำการตอบแทนนั้น

ก็ชื่อ กตัญญู ผู้ที่ไม่กระทำการตอบแทน ไม่ระลึกถึงพระคุณ ก็ชื่อว่า อกตัญญู มี

พี่ชาย ญาติทั้งหลาย ที่มีพระคุณ เป็นต้น ครับ

และ ที่ละเอียดลงไปกว่านั้น พระพุทธเจ้า เป็นบุพพการีสูงสุด คือ ทรงเป็นผู้ให้ก่อน

มีพระคุณสูงสุด ผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม แล้ว น้อมประพฤติปฏิบัติตาม

คำสอน ชื่อว่า กตัญญู แต่ ผู้ที่ฟังแล้ว ไม่น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม ชื่อว่า

เป็นผู้อกตัญญู ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กตัญญู (บุคคลผู้รู้คุณที่คนอื่นกระทำแล้วแก่ตน) อกตัญญู (บุคคลผู้ไม่รู้คุณที่คนอื่น

กระทำแล้วแก่ตน) ทั้งสองบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อว่าโดยสภาพธรรม

แล้ว ก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมเลย ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่

ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป เพราะมีกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไปรู้คุณที่บุคคลอื่นกระทำแล้ว

จึงเป็นคนกตัญญู ในทางตรงกันข้าม เพราะอกุศลธรรมเกิดขึ้นครอบงำ ไม่รู้คุณความดีที่

ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ก็เป็นคนอกตัญญู

ดังเรื่องต่อไปนี้

พระโอรส งู หนู และนกแขกเต้า สี่ชีวิตเกาะขอนไม้ท่อนหนึ่ง เมื่อคราวที่ฝนตก

หนัก ล่องลอยไปในห้วงน้ำแห่งหนึ่ง พระโอรสร้องขอความช่วยเหลือ พระโพธิสัตว์ได้

เข้ามาช่วยเหลือ โดยได้ช่วยเหลือสัตว์ ๓ ชนิดก่อน เพราะเห็นว่าอ่อนแอกว่าพระโอรส

ในขณะนั้นพระโอรสก็โกรธต่อพระโพธิสัตว์แล้วที่เห็นสัตว์ดิรัจฉานสำคัญกว่าตน เมื่อพระ

โพธิสัตว์ได้ช่วยเหลือสัตว์แล้วก็ช่วยเหลือพระโอรสเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อทั้งหมดได้รับ

การช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์จนปลอดภัยแล้ว ก็ขอลากลับยังที่อยู่ของตนๆ โดยสัตว์ ๓

ชนิดแสดงถึงความเป็นผู้รุ้คุณคนและรู้จักคิดตอบแทน ส่วนพระโอรสก็ทำเป็นพูดดีกับ

พระโพธิสัตว์ว่าเมื่อตนเองได้ครองราชย์แล้วจะตอบแทนบุญคุณของพระโพธิสัตว์ที่ได้ช่วย

เหลือตน แต่แท้ที่จริงแล้วมีแต่ความคิดร้ายต่อพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์คิดจะลองใจ ในสัตว์และบุคคล เหล่านั้น จึงไปหางู หนู และนกแขกเต้า

ตามลำดับ ต่างก็ออกมาทักทายปราศัยกับพระโพธิสัตว์ด้วยจิตใจที่ดีงาม โดยที่งู และ

หนู จะนำเอาสมบัติที่ตนเฝ้าไว้ มาให้ และ นกแขกเต้าก็จะพาพรรคพวกขนข้าวมาให้ แต่

พระโพธิสัตว์ บอกว่า ถ้าต้องการเมื่อไหร่ ก็จะบอกในภายหลัง

ต่อจากนั้นพระโพธิสัตว์จึงเข้าไปเฝ้าพระโอรส ซึ่งขณะนั้นได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชา

แล้ว พระโอรสประทับอยู่บนหลังช้าง พอทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น ก็ตรัสสั่ง

ให้ราชบุรุษจับมัดพระโพธิสัตว์ และให้เฆี่ยนตีพร้อมกับนำไปสู่ที่ประหาร พระโพธิสัตว์ไม่

กล่าวคำอะไรเลย นอกจากคำว่า ไม้ลอยน้ำยังประเสริฐกว่า แต่คนบางคนไม่

ประเสริฐเลย กล่าวประโยคนี้ซ้ำๆ กันอยู่ตลอด นำมาซึ่งความแปลกใจกับพวกราชบุรุษ

ที่ทำการเฆี่ยนตี จึงได้ถามพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังตั้งแต่ต้น

ทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้ทราบความจริงว่าพระราชาของตนเป็นคนอกตัญญู เนรคุณต่อ

ผู้มีพระคุณ จึงได้ทำร้ายพระราชาผู้อกตัญญูทั้งๆ ที่ประทับอยู่บนหลังช้างจนสิ้นพระชนม์

พร้อมกับอภิเษกให้พระโพธิสัตว์ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาองค์ใหม่ทันที เมื่อพระโพธิ

สัตว์ได้เป็นพระราชาแล้ว ก็ทรงนำสัตว์ ๓ ประเภท มาอยู่ในพระราชวังด้วย พร้อมกับจัด

ทำที่อยู่ที่เหมาะควรให้แก่สัตว์เหล่านั้น

ข้อความโดยสรุปจาก สังจังกิรชาดก ก็พอจะเห็นถึงความเป็นไปของความเป็นผู้กตัญญู

กับ คนอกตัญญู ได้

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความทั้งหมดจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้ที่นี่ ครับ

กตัญญู กับ อกตัญญู [สัจจังกิรชาดก]

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี คนที่มีพระคุณกับเรา ช่วยเหลือเรา เลี้ยงดูเรามา

เป็นต้น ก็สำนึกในพระคุณ มีโอกาสก็ตอบแทนพระคุณ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 31 พ.ค. 2556
๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ ๓๖๔ [๑๐๖๙] ผู้ใดที่ผู้อันทำความดีให้ก่อน สำเร็จประ- โยชน์ที่ต้องการแล้วย่อมไม่รู้คุณ ประโยชน์ ทั้งหลายที่เขาปรารถนา แล้วของผู้นั้นจะเสื่อม สลายไป. [๑๐๖๖] ส่วนผู้ใด ที่คนอื่นทำความดีให้แล้ว สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้วยังรู้คุณ ประ โยชน์ทั้งหลายที่เขาปรารถนา ของผู้นั้นจะ เพิ่มพูนขึ้น. [๑๐๗๑] เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้ง- หลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย มี จำนวนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี่ ขอท่านทุกคน จงเป็นผู้รู้คุณที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน ท่านทั้ง- หลายจะสถิตอยู่ในสวรรค์ ตลอดกาลนาน. จบ ทัฬหธัมมชาดกที่ ๔

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jaturong
วันที่ 4 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผิน
วันที่ 4 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
fouron
วันที่ 10 มิ.ย. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
fouron
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 29 ธ.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ