วิปัลลาสกถา ว่าด้วยวิปลาส ๔

 
khampan.a
วันที่  31 พ.ค. 2556
หมายเลข  22986
อ่าน  2,201

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒- หน้าที่ ๔๒๓

มหาวรรค

วิปัลลาสกถา

(ว่าด้วยวิปลาส ๔)

[๕๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส

นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญผิด

(แปรปรวน) ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพ

ที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล.

[๕๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิ

ไม่วิปลาสนี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

สำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง

ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่ามิใช่ตัวตน ในสภาพ

ที่ไม่งามว่าไม่งาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิ

ไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล.

สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในสภาพที่ไม่เที่ยงว่า

เที่ยง มีความสำคัญในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข มี

ความสำคัญในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความ

สำคัญในสภาพที่ไม่งามว่างาม ถูกความเห็นผิดนำไป

มีจิตกวัดแกว่ง มีสัญญาผิด สัตว์เหล่านั้นติดอยู่ในบ่วง

ของมาร เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส ต้อง

ไปสู่สงสาร เป็นผู้ถึงชาติและมรณะเมื่อใด พระพุทธ

เจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงส่องแสงสว่าง

พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงประกาศธรรมนี้ อันให้ถึง

ความสงบระงับทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา

ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วกลับได้

ความคิดชอบ เห็นสภาพที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพ

ไม่เที่ยง เห็นสภาพที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เห็น

สภาพที่มิใช่ตัวตน โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตนและ

เห็นสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ

ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ฉะนี้แล.

วิปลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว ละทั่วแล้ว

วิปลาสเหล่าใดละได้แล้ว เหล่าใดละทั่วแล้ว ความสำคัญผิด ความคิดผิด

ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดใน

สภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปลาสละได้แล้ว ความสำคัญผิด

ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ละได้แล้ว ความ

สำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปลาสละได้แล้ว วิปลาส

๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๔

ละทั่วแล้ว และวิปลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่วแล้ว.

จบวิปัลลาสกถา

อรรถกถาวิปัลลาสกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิปัลลาส-

กถา อันมีพระสูตรเป็นบทนำ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในวิปัลลาสะ

อันเป็นปัจจัยของกรรมนั้นกล่าวแล้ว. พึงทราบความในพระสูตรก่อน. บทว่า

สญฺญาวิปลฺลาสา คือมีความสำคัญคลาดเคลื่อนเป็นสภาวะ อธิบายว่ามี

สัญญาวิปริต. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัญญาวิปลาสย่อม

ปรากฏในกาลแห่งกิจของตนมีกำลัง ด้วยอกุศลสัญญาปราศจากทิฏฐิในฐานะ

แห่งกิจของจิตมีกำลังอ่อน.

จิตวิปลาส ย่อมเป็นไปในกาลแห่งกิจของตนเป็นอกุศลจิตปราศจาก

ทิฏฐิมีกำลัง. ทิฏฐิวิปลาสย่อมเป็นไปในจิตอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ.

เพราะฉะนั้น สัญญาวิปลาสมีกำลังอ่อนกว่าทั้งหมด. จิตวิปลาสมี

กำลังมากกว่าสัญญาวิปลาสนั้น. ทิฏฐิวิปลาสมีกำลังมากกว่าทั้งหมด. จริงอยู่

ชื่อว่าความสำคัญเพราะถือเอาเพียงอาการปรากฏแห่งอารมณ์ ดุจการเห็นกหา-

ปณะของทารกที่ยังไม่รู้เดียงสา. ชื่อว่าความคิดเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ

ดุจการเห็นกหาปณะของคนชาวบ้าน. ชื่อว่าความเห็นเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ

ดุจการจับเหล็กด้วยคีมใหญ่ของช่างเหล็ก.

บทว่า อนิจฺเจ นิจฺจนฺติ สญฺาวิปลฺลาโส ความสำคัญผิดใน

สภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง คือความสำคัญอันเกิดขึ้น เพราะถือเอาในวัตถุไม่เที่ยง

ว่านี้เที่ยง ชื่อว่า สัญญาวิปลาส. พึงทราบความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.

บทว่า น สญฺาวิปลฺลาโส น จิตฺตวิปลฺลาโส น ทิฏฺิวิปลฺ-

ลาโส ความสำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ท่านกล่าวถึง

การถือเอาตามความเป็นจริง เพราะไม่มีการถือผิด ๑๒ อย่างในวัตถุ ๔ อย่าง.

พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา

คือมีความสำคัญอย่างนี้ว่า ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน. บทว่า มิจฺฉา-

ทิฏฺิหตา ถูกความเห็นผิดนำไป คือ ไม่เพียงมีความสำคัญอย่างเดียวเท่านั้น

ยังถูกความเห็นผิดอันเกิดขึ้นดุจด้วยสัญญานำไป. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา มีจิต

กวัดแกว่ง คือ ประกอบด้วยจิตกวัดแกว่ง หมุนไปอันเกิดขึ้นดุจด้วยสัญญาและ

ทิฏฐิ. บทว่า วิสญฺิโน มีสัญญาผิดนี้เป็นเพียงเทศนา. ความว่า มีความ

สำคัญ ความคิดและความเห็นวิปริต.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัญญาเป็นตัวนำท่านจึงกล่าว สัญญาวิปลาสด้วย

บท ๔ แห่งทิฏฐิก่อน แต่นั้นจึงกล่าวบทว่า มิจฺฉาทิฏฺิหตา ถูกมิจฉาทิฏฐิ

นำไป เป็นทิฏฐิวิปลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา จิตกวัดแกว่งเป็นจิตวิปลาส.

บทว่า วิสญฺิโน มีสัญญาผิด คือถึงโมหะปราศจากสัญญาปกติด้วยการ

ถือวิปลาส ๓ ดุจในบทนี้ว่า สลบเพราะกำลังพิษ ถึงวิสัญญี (หมดความรู้สึก) .

บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส คือสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า คิดอยู่ในบ่วงของ

มาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส คือ

ไม่บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ คือ จัญไร ๔. บทว่า สตฺตา

คจฺฉนฺติ สสาร สัตว์ทั้งหลายต้องไปสู่สงสาร คือ บุคคลเหล่านั้นแหละ

ต้องท่องเที่ยวไปสู่สงสาร. เป็นอย่างไร. เพราะสัตว์เหล่านั้นต้องไปสู่ชาติและ

มรณะ ฉะนั้น จึงต้องท่องเที่ยวไป. บทว่า พุทฺธา คือ พระสัพพัญญูผู้ตรัสรู้

อริยสัจ ๔ เป็นพหุวจนะด้วยสามารถทั่วไปใน ๓ กาล. บทว่า โลกสฺมึ คือ

ในโอกาสโลก. บทว่า ปภงฺกรา ส่องแสงสว่าง คือทำโลกให้สว่างด้วยปัญญา.

บทว่า อิม ธมฺม ปกาเสนฺติ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประกาศพระธรรม

คือทรงแสดงธรรมละความวิปลาส. บทว่า ทุกฺขปสมคามิน อันให้ถึงความ

สงบระงับทุกข์ คือถึงนิพพานอันเป็นความสงบระงับทุกข์. บทว่า เตส สุตฺวาน

คือ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า สปฺปญฺา ผู้มีปัญญา คือ

มีปัญญาอันเป็นความสมควร. บทว่า สจิตฺต ปจฺจลทฺธุ กลับได้ความคิด

คือกลับได้ความคิดของตนเว้นความวิปลาส. ตัดบทเป็น ปฏิอลทฺธุ. อีกอย่าง

หนึ่ง ตัดบทเป็น ปฏิลภึสุ ปฏิอลทธุ. บทว่า อนิจฺจโต ทกฺขุ ได้เห็น

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือได้เห็นด้วยสามารถแห่งความเป็นสภาพไม่เที่ยง

นั่นเอง. บทว่า อตฺตนิ อนตฺตา เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดยความเป็นสภาพ

มิใช่ตัวตน คือได้เห็นว่า ความไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นความไม่ใช่ตัวตน อีก

อย่างหนึ่ง ได้เห็นสภาพมิใช่ตัวตนว่า ตัวตนไม่มีในวัตถุ. บทว่า สมฺมาทิฏฺิ-

สมาทานา เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ คือถือความเห็นชอบ. บทว่า สพฺพทุกฺข

อปจฺจคุ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง. คือก้าวล่วงวัฏทุกข์ทั้งสิ้น. บทว่า ทิฏฺิ-

สมฺปนฺนสฺส ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิแห่งคำถามละแล้ว และละทั่วแล้ว คือ

พระโสดาบัน. บทว่า ทุกฺเข สุขนฺติ สญฺา อุปฺปชฺชติ จิตฺต อุปฺปชฺชติ

ความสำคัญ ความคิดในความทุกข์ว่า เป็นความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ เพียงความ

สำคัญ หรือเพียงความคิดย่อมเกิดขึ้น เพราะยังละความสะสมโมหกาลไม่ได้

ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่พระอนาคามี ไม่ต้องพูดถึงแก่พระโสดาบัน. วิปลาสทั้งสองนี้

พระอรหันต์เท่านั้นจึงละได้.

บทว่า อสุเภ สุภนฺติ สญฺา อุปฺปชฺชติ จิตฺต อุปฺปชฺชติ

ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแม้แก่พระ-

สกทาคามี ไม่ต้องพูดถึงแก่พระโสดาบัน. วิปลาสทั้งสองนี้ พระอนาคามีจึง

ละได้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

ทั้งสองนี้ ท่านกล่าวหมายถึงพระโสดาบันและพระสกทาคามี. เพราะพระ-

อนาคามีละกามราคะได้แล้ว พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละความสำคัญผิด

ความคิดผิดในสภาพไม่งามว่างาม. ด้วยบทว่า ทฺวีสุ วตฺถูสุ เป็นอาทิ

ท่านแสดงสรุปถึงการละและการละทั่ว. ในบทนั้น เป็นอันละวิปลาส ๖ ใน

วัตถุ ๒ เหล่านี้ คือ ในสภาพไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพมิใช่ตัวตนว่าตัวตน

เป็นอันละทิฏฐิวิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ เหล่านี้ คือ ในสภาพเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

ในสภาพไม่งามว่างาม. ในคัมภีร์บางคัมภีร์ท่านเขียน บทว่า เทฺว ก่อน.

เขียนบทว่า ในภายหลัง. บทว่า จตูสุ วตฺถูสุ ท่านกล่าวทำวิปลาส ๔

รวมเป็น ๑. บทว่า อฏฺ ได้แก่ วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒

รวมเป็นวิปลาส ๘. บทว่า จตฺตาโร คือ วิปลาส ๔ ได้แก่ สัญญาวิปลาส

และจิตวิปลาสอย่างละ ๒ ในวัตถุหนึ่งๆ ในบรรดาวัตถุที่เป็นทุกข์และไม่งาม

ในคัมภีร์บางคัมภีร์ท่านเขียนไว้อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในที่ที่ท่านกล่าวว่า

ฉ ทฺวีสุ วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาวิปัลลาสกถา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Pailinsri
วันที่ 1 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขออนุโมทนาและขอบพระคุณ อาจารย์คำปั่น ที่นำพระธรรม และคำอธิบายความ มาบันทึกแทรกไว้ ทำให้สามารถเชื่อมโยงค้นคว้าศึกษาได้ง่ายและสะดวกดีมากค่ะ และขอขอบคุณท่านผู้ต้ังกระทู้ธรรมด้วยค่ะ

อนุโมทนา สาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ