อุรคสูตรที่ ๑.. การกำจัดความชั่วเหมือนพิษงู
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อุรควรรคที่ ๑ สุตตนิบาต
อุรคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการกำจัดความชั่วเหมือนพิษงู
[๒๙๔] ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความ
โกรธที่เกิดขึ้นแล้ว เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่
ซ่านไปแล้วด้วยโอสถ ฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือน
งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดตัดราคะได้ขาด พร้อมทั้ง
อนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลลงไป
ตัดดอกปทุมซึ่งงอกขึ้นในสระฉะนั้น ภิกษุ
นั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดยังตัณหาให้เหือดแห้งไปทีละ
น้อยๆ แล้วตัดเสียให้ขาดโดยไม่เหลือ ภิกษุ
นั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดถอนมานะพร้อมทั้งอนุสัย
ไม่มีส่วนเหลือ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ถอน-
สะพานไม้อ้อที่ทุรพลฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงู
ละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดค้นคว้าอยู่ (ด้วยปัญญา) ไม่
ประสบอัตภาพอันเป็นสาระในภพทั้งหลาย
เหมือนพราหมณ์ค้นคว้าอยู่ ไม่ประสบดอก
ที่ต้นมะเดื่อฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง
ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ
เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
กิเลสเป็นเครื่องให้กำเริบ ย่อมไม่มี
ภายในจิตของภิกษุใด และภิกษุใดล่วงเสีย
ได้แล้ว ซึ่งความเจริญและความเสื่อมอย่างนี้
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก
เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว
ฉะนั้น.
ภิกษุใดกำจัดวิตกได้แล้ว ปราบปราม
ดีแล้ว ในภายใน ไม่มีส่วนเหลือ ภิกษุนั้น
ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้เหมือน
งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่
ล่วงกิเลสเป็นเครื่องให้เนิ่นช้ามิได้หมดแล้ว
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ไม่แล่นเลยไป
ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง
ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ
เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ปราศจาก
ความโลภ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก
เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว
ฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากราคะ
ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น
ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโทสะ
ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น
ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโมหะ
ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น
ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดไม่มีอนุสัยอะไรๆ ถอน
อกุศลมูลได้แล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละฝั่งใน
และฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่
คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ความ
กระวนกระวายอะไรๆ อันเป็นปัจจัยเพื่อมา
สู่ฝั่งใน ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่ง
นอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า
แล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ตัณหา
ดุจป่าอะไรๆ อันเป็นเหตุเพื่อความผูกพัน
เพื่อความเกิด ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งใน
และฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่
คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ไม่มี
ทุกข์ ข้ามความสงสัยได้แล้ว มีลูกศรปราศ
ไปแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่ง
นอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า
แล้วฉะนั้น.
จบอุรคสูตรที่๑