เหตุแห่งทุกข์

 
bwssk
วันที่  8 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23018
อ่าน  7,662

พอจะกล่าวได้หรือไม่ว่า ความเห็นผิดที่เห็นว่ามีตัวตน เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเห็นผิด เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่ยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคลตัวตน หรือ เป็นการ

ยึดถือผิด เช่น ไม่เชื่อกรรม และ ผลของกรรม เป็นต้น ซึ่ง ความเห็นผิด สามารถ

ดับได้ เมื่อเป็นพระโสดาบัน ซึ่ง เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ในความเป็นจริงแล้ว

พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า คือ ตัณหา ความติดข้อง และ อวิชชา ความไม่รู้ ที่เป็น

เหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อยังมีตัณหา และ อวิชชาอยู่ ย่อมเป็น

ปัจจัยให้มีการเกิด เมื่อมีการเกิด ก็นำมาซึ่งทุกข์ประการต่างๆ เพราะฉะนั้น เหตุ

แห่งทุกข์ ทั้งปวง จึงเป็น ตัณหา และอวิชชา ส่วนความเห็นผิด ไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์

ทั้งปวง ด้วยเหตุผลที่ว่า ความเห็นผิด พระโสดาบันก็ดับได้แล้ว แต่ พระโสดาบันก็

ยังมีตัณหา และ อวิชชาที่เป็นเหตุแห่งทุกข์กาย และ ทุกข์ใจอยู่ แม้จะดับความเห็น

ผิดแล้ว เมื่อเป็นพระโสดาบัน แต่ก็ย้งมีทุกข์ เพราะ ทุกข์มาจากกิเลสอื่นๆ คือ

ตัณหา และ อวิชชา ที่เป็นหัวหน้าของอกุศล หัวหน้าของกิเลสประการต่างๆ เพราะ

มีอวิชชา และ ตัณหา ความเห็นผิดจึงมีได้ เมื่อหมด ตัณหา และอวิชชา ก็หมดทุกข์

เพราะ ไม่มีเหตุให้ทุกข์ คือ กิเลสประการต่างๆ ครับ

นางวิสาขา ผู้เป็นพระโสดาบัน เมื่อหลานสิ้นชีวิต แม้ท่านจะดับความเห็นผิดแล้ว

แต่ก็ต้องทุกข์ใจ เสียใจ เพราะยังมี ตัณหา โลภะ และ อวิชชา อยู่อันเป็นเหตุแห่ง

ทุกข์ทั้งปวง และ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อลูกสาวสิ้นชีวิต ก็โศกเศร้าเสียใจ

เป็นทุกข์ แม้จะดับความเห็นผิดหมดแล้วก็ตาม แต่เพราะมีตัณหา และ อวิชชา อัน

เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ครับ

แสดงให้เห็นว่า ความเห็นผิด ไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง แต่ อวิชชา และ ตัณหา

เป็นกิเลสที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง เพราะนำมาซึ่งการเกิด ทุกข์กาย และ ทุกข์ใจ

ซึ่งหนทางการเจริญอบรมปัญญา ก็จะต้องเริ่จากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม

แต่ กิเลสที่จะละอันดับแรก ไม่ใช่ ตัณหาและอวิชชา แต่เป็นกิเลส คือ ความเห็นผิด

ที่ยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์บุคคล และ เมื่อปัญญาเจริญตามลำดับ ก็สามารถละกิเลสได้

ตามลำดับ จนในที่สุด ดับตัณหา และอวิชชาได้หมดสิ้น ก็เป็นการหมดทุกข์ทั้งปวง

ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
mon-pat
วันที่ 9 มิ.ย. 2556

กิเลสที่จะละอันดับแรก ไม่ใช่ ตัณหา และ อวิชชา แต่เป็นกิเลส คือ ความเห็นผิด

ที่ยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์บุคคล และ เมื่อปัญญาเจริญตามลำดับ ก็สามารถละกิเลสได้

ตามลำดับ จนในที่สุด ดับ ตัณหา และ อวิชชาได้หมดสิ้น

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ อกุศลเป็นอกุศล เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ไม่นำมาซึ่งคุณประโยชน์

โดยประการทั้งปวง ความเห็นผิด ก็ไม่ดี เป็นความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็น

จริง เป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เมื่อมีความเห็นผิดแล้ว กาย วาจา ใจ

ย่อมเป็นไปในทางที่ผิด ด้วย ในพระไตรปิฎก มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน

ว่ากาย วาจา ใจ ที่คล้อยตามความเห็นผิดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุว่าเป็นอกุศลธรรม นำมาซึ่งทุกข์

เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนกับ เมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้า

ขมก็ดี ที่บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไป

เพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน เพื่อไม่น่ายินดี เท่านั้น

ความเห็นผิดทุกประเภทดับได้ เมื่อได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระโสดาบัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับความเห็นผิดได้ ยังมีเชื้อที่จะให้ความเห็น

ผิดเกิดขึ้นเป็นไปได้ ซึ่งจะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว และแม้จะดับความเห็นผิดได้

แล้วเมื่อเป็นพระโสดาบัน แต่อย่างไร ก็ตาม ถ้ายังไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึง

ความเป็นพระอรหันต์แล้ว ยังไม่พ้นจากทุกข์ เพราะยังมีกิเลส ยังมีทุกข์ ต่อเมื่อใด

ที่ดับเหตุที่จะให้มีการเกิดได้แล้ว ก็จะไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ นั่นก็คือ ดับ

โลภะ และ อวิชชา ซึ่งเมื่อกล่าวถึงโลภะ กับ อวิชชา แล้ว ก็ต้องกล่าวหมายรวม

กิเลสที่อยู่ในฐานะเดียวกันทั้งหมด มีความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว ความไม่

สงบแห่งจิต เป็นต้น ทั้งหมดดับได้อย่างหมดสิ้น เมื่อได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึง

ความเป็นพระอรหันต์ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 9 มิ.ย. 2556

เหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง คือกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 12 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 6 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ