แบ่งปันสิ่งที่บันทึกจากชั่วโมงสนทนาพระสูตร ๘ มิ.ย. ๒๕๕๖

 
wittawat
วันที่  12 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23042
อ่าน  1,321

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

วันเสาร์ที่ 8 มิ.ย. 2556 กระผมจดบันทึกข้อความจากชั่วโมงพระสูตร และก็ขอโอกาสในการแบ่งปันเป็นเนื้อความสรุปสั้นๆ ตามกำลังความเข้าใจครับ (ต้องขอประทานโทษที่เนื้อหาอาจไม่ครบทั้งหมด เพราะฟังจากถ่ายทอดสด ซึ่งสัญญานที่ได้รับบางครั้งอาจขาดหายบ้างครับ)

-“ความหวั่นไหว”ความหวั่นไหวมี เมื่อขณะใดก็ตามที่จิตไม่สงบ ไม่ได้เป็นไปในกุศลถ้าไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่หวั่นไหว เช่น มีคนพูดไม่ดี คำแรง ตกใจ กลัว เป็นต้น จึงหวั่นไหว

-ลักษณะที่ไม่สงบทั้งหมด คือ อุทธัจจะ โมหะ โลภะ เป็นต้น หวั่นไหวไปจากกุศล เพราะมีอหิริกะ อโนตตัปปะ โมหะ อุททัจจะ เป็นต้น

-กำลังหวั่นไหวอยู่หรือไม่? (เพราะไม่ได้สงบด้วย โลภะ ทิฏฐิ อวิชชาอหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นต้น)

-ฟังธรรม เข้าใจเพียงขั้นหนึ่งตามที่ได้ศึกษาว่า ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล เช่น “เห็น” มีเจตสิกทั้งหมด ๗ ประเภท เมื่อหวั่นไหว เจตสิกเกิน ๗ ประเภทแล้ว เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่หวั่นไหวอยู่ก็ไม่รู้ เพียงแต่กำลังฟัง เรื่องของความหวั่นไหว กำลังฟังเรื่องของสิ่งที่มีจริง ซึ่งยากแสนยากที่จะเข้าใจถูกต้อง

-การฟังขณะนี้ เพื่อเข้าใจลักษณะของธรรม ซึ่งเดี๋ยวนี้กำลังมีความจริงที่กำลังเกิดขึ้นและดับไป ซึ่งจะเข้าใจขึ้นได้ต้องฟังธรรม

-ในบรรดาสิ่งที่มีจริง มีธรรมที่เป็นกุศล และธรรมเป็นอกุศล ซึ่งตรงข้ามกับกุศล ไม่ใช่เพื่อเรียกชื่อ แต่เพื่อเข้าใจความจริง เช่น กุศล มีอโลภะมีสิ่งที่น่าพอใจ แต่ไม่หวั่นไหวไปอยากได้ เป็นต้น

-การศึกษาธรรม ไม่ใช่เพื่อคิดเอง แต่เพื่อการเข้าใจธรรมถูกต้อง ตามที่ทรงตรัสรู้

-แม้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่ใครๆ ก็ติดข้อง แต่ผู้ที่สะสมมาที่กุศลเกิดได้ขณะนั้นก็ไม่หวั่นไหว

-แม้ฟังพระธรรมเข้าใจ ก็ยังไม่รู้ว่าขณะนี้หวั่นไหว หรือไม่หวั่นไหวจะรู้ก็ต่อเมื่อหวั่นไหวไปแล้วด้วย โลภะ มานะ ทิฏฐิ บ้าง

-ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นไม่หวั่นไหว

-“ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้มีตัณหา ทิฏฐิ มานะ” ดิ้นรนทุกวัน ไม่มีใครบังคับ เพราะเกิดแล้วตามปัจจัย คือ ตามการสะสมมา ถ้าไม่มี “ความหวั่นไหวในรูปแล้ว จะดิ้นรนหรือไม่”

-ดิ้นรนเพื่อรูปที่ปรากฏ เช่น ดิ้นรนเพื่อให้มีรูปมากมายในจาน ดิ้นรนให้มีรูปกุหลายสวยๆ ดิ้นรนให้ดูงามขึ้นในสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นตัวเราดิ้นรนในเวทนา คือ ไม่อยากให้ทุกข์เกิด แค่ไม่พอใจในเสื้อผ้านั้นก็แก้ทั้งคืน ดิ้นรนไหม?

-หวั่นไหวไปด้วยอกุศลโดยที่ไม่รู้เลย ก็ดิ้นรน ต้องพากเพียร ดิ้นรนเพื่อความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

-สัญญาจำได้ว่าอาหารอร่อยอยู่ที่ใด จำได้ว่าอยู่ที่ไหน จำไม่ถูก ก็ถามผู้รู้ พากเพียรจนกระทั่งไปถึง นี้คือความหวั่นไหวไปในสัญญาขันธ์

-เพราะฉะนั้นกว่าที่จะเข้าใจความจริงมั่นคงได้ ปัญญาเท่านี้ยังไม่พอเพราะแม้ฟังธรรม ก็ไม่สนใจความเข้าใจ แต่หวั่นไหวไปเพื่อหาวิธีเข้าใจ ผู้ที่ศึกษา ไม่ใช่เพื่อหวั่นไหวอยากได้ หรือเพิ่มความสงสัยในพระธรรม แต่เพื่อเข้าใจ ไตร่ตรองความละเอียดของกุศล อกุศล และเข้าใจความจริงลึกซึ้งยิ่งขึ้น

-ประโยชน์ของพระสูตร คือ ให้ทราบว่า ผู้ที่กิเลสมีมากขนาดนั้นจะละได้อย่างไร ถ้าปัญญาไม่พอ เพราะฉะนั้นฟังธรรม เพื่อเข้าใจธรรม และเห็นถูก ธรรมเหมือนยารักษาโรค ให้เข้าใจถูก ให้รู้จักธรรมที่ปรากฏ ไม่ประมาทอกุศลที่มีมากด้วยความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น

-การฟังธรรมเข้าใจมั่นคง เป็นประโยชน์เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม

-ต้องเป็นผู้ที่อดทนอย่างยิ่ง ผู้ที่อดทน และไม่อดทนต่างกันหรือไม่ อดทนแม้เล็กน้อยก็เป็นประโยชน์ จนกว่าจะอดทนเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีขณะนี้ จนกระทั่งอดทนเป็นปรกติ

-“ชาวโลกเห็นนามรูปเป็นจริง พระอริยบุคคลเห็นนามรูปเป็นเท็จ ชาวโลกเห็นนิพพานเป็นเท็จ พระอริยบุคคลเห็นนิพพานเป็นจริง”

-ชาวโลกเห็นดอกไม้จริง (คิดว่าไม่เกิด ไม่ดับ ไม่เข้าใจว่าเป็นนามรูป) แต่พระอริยบุคคลเห็นตรงข้ามกับชาวโลก แม้พระนิพพานมีจริง แต่เมื่อชาวโลกไม่ประจักษ์ ก็เหมือนพูดเรื่องเท็จหลอกลวงจากความเป็นชาวโลก ถึงพระอริยบุคคลด้วยอะไร? (ปัญญา)

-นามรูป เป็น เท็จ เพราะแค่เพียงปรากฏแล้วหายไป ลวงให้เห็นว่ามีจริง หลงว่าเที่ยง แต่ความจริงแล้วเท็จ เพราะไม่เที่ยง แต่หลงว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

-ถ้าหลงไปว่าเป็นโลกที่รวมกันหลายๆ อย่าง ก็ทำลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนไม่ได้ จนกว่าสิ่งเดียวจะปรากฏ เช่น ธาตุที่รู้เฉพาะแข็งปรากฏ เป็นต้น นี้คือ หนทางการละความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เมื่อสภาพธรรมปรากฏกับปัญญา

-ขณะนี้ขั้นฟัง ให้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้น เพื่อเข้าใจความจริง จนกว่าถึงความเป็นพระอริยบุคคลที่ถึงความเข้าใจสิ่งที่มีจริง (คือนิพพาน) แต่ชาวโลกว่าเป็นเท็จ

-ถ้าไม่มีอะไรเกิดสักอย่างจะมีคน ต้นไม้ เก้าอี้ไม่ได้ (ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เกิดขึ้น กระทบจักขุปสาทรูป จิตเห็นเกิดไม่ได้) แต่พอมีแล้ว ไม่รู้ เริ่มจำ (จำ เป็นนามธรรมที่เกิดกับธาตุรู้ เพราะจิตเกิดโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีสภาพจำเกิดด้วย) จำแล้วโดยเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

-แต่จริงๆ แล้วเป็นธรรม ปรมัตถธรรม คือ แม้ไม่ได้เรียกชื่อ (คิด หรือ เปล่งเสียง เพราะคุ้นตามความหมายของเสียงนั้นเพราะมีสภาพจำ) แต่ก็เปลี่ยนแปลงความจริงนั้นๆ ไม่ได้

ขออนุโมทนาท่านอาจารย์ อาจารย์วิทยากร และผู้ร่วมสนทนาทุกท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เข้าใจ
วันที่ 12 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 12 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์ของพระสูตร คือ ให้ทราบว่า ผู้ที่กิเลสมีมากขนาดนั้น จะละได้อย่างไร ถ้าปัญญาไม่พอ เพราะฉะนั้นฟังธรรม เพื่อเข้าใจ ธรรม และเห็นถูก ธรรมเหมือนยารักษาโรค ให้เข้าใจถูก ให้รู้จัก ธรรมที่ปรากฏ ไม่ประมาทอกุศลที่มีมากด้วยความเข้าใจธรรม เพิ่มขึ้น

...ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณwittawat ด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Noparat
วันที่ 12 มิ.ย. 2556

การศึกษาธรรม ไม่ใช่เพื่อคิดเอง แต่เพื่อการเข้าใจธรรมถูกต้อง ตามที่ทรงตรัสรู้

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mon-pat
วันที่ 13 มิ.ย. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natural
วันที่ 13 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
raynu.p
วันที่ 14 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เฉลิมพร
วันที่ 23 ก.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ธ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ