อวิชชา ตัณหา กรรม และอาหาร เป็นปัจจัยให้เกิดรูปขันธ์

 
govit2553
วันที่  17 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23056
อ่าน  1,704

[๑๐๖] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดรูปจึงเกิด เพราะ กรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ แห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ

แต่ที่ได้ยินได้ฟังมาตลอด จากอภิธรรม คือ รูป เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหารเมื่อเป็น อย่างนี้แล้ว พอจะอธิบาย แก้ต่าง ได้อย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ละเอียดลึกซึ้ง และ มีหลากหลายนัย เพื่อประโยชน์

ให้สัตว์โลกที่สะสมอุปนิสัยที่แตกต่างกันไป เข้าใจตามนัย แต่ละอย่าง ตามการสะสม

มาที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่การเกิดขึ้นของสภาพธรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดง ว่า จะ

ต้องอาศัย ปัจจัยต่างๆ เกิดขึ้น ซึ่ง การเกิดขึ้นของสภาพธรรมไม่ใช่เพียงอาศับปัจจัย

เดียว แต่ อาศัยหลายๆ ปัจจัย เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดง ความเป็นปัจจัย

ทั้งหมด มี 24 ปัจจัย ดังนั้น การเกิดขึ้นของสภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาศัย

เหตุปัจจัยหลายๆ ประการ

การเกิดขึ้นของรูปธรรมก็เช่นกัน อาศัยปัจจัยหลายประการ ไม่ใช่ปัจจัยเดียว

เช่น การเกิดขึ้นของรูปในขณะนี้ ก็อาศัย กรรมปัจจัย คือ กรรมก็ได้ คือ เพราะ มี

กรรมในอดีต ก็เป็นปัจจัยให้เกิด กัมมชรูปที่เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา ที่เป็น ตา หู

จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น และ รูปอย่างอื่นก็อาศับ อาหาร เช่น โอชารูป และ โดยนัย

ปัจจัยอื่นๆ เช่น สหชาตปัจจัย โดยการเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เพราะ มีกาเรกิดขึ้นของ

จิตก็มีรูปเกิดขึ้นด้วย โดยนัยปัจจัยการเกิดขึ้นพร้อมกัน และ เพราะ อาศัย ความเย็น

ความร้อน อุตุก็เป็นปัจจัยให้เกิด รูปได้อีกเช่นกัน แต่ ตามที่กล่าวแล้ว ปัจจัยให้

เกิดรูป สามารถกล่าวได้หลากหลายนัย เพราะ ปัจจัยมีหลายประการ และ พระองค์

ก็ทรงแสดง หลากหลายนัย ตามปัจจัยต่างๆ อย่างข้อความที่ยกมานั้น ก็แสดงว่า

เพราะ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร เป็นต้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูป ซึ่ง อวิชชา ใน

อดีต ก็เป็นปัจจัยให้เกิด รูปได้ เพราะ เมื่อมีอวิชชา ก็จะต้องมีการทำกุศล อกุศล

ทำกรรมประการต่างๆ คือ อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร และ เมื่อมีการทำกรรม

ที่เป็นสังขาร ก็เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ คือ ปฏิสนธิจิต เป็นต้น และ ก็เกิด นาม

และ รูป ดังนั้น เมื่อมีอวิชชา จึงทำให้มีการเกิดขึ้นของนาม และ รูป รูปประกาต่างๆ

เพราะฉะนั้น อวิชชา ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้ ครับ โดยนัยเดียวกัน ตัณหา ที่เป็น

สมุทัย อริยสัจจะ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้ เพราะ สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ก็

เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นของรูปได้ เพราะเมื่อยังมีตัณหา หรือ โลภะ ก็ยังจะต้อง

เกิด และ เมื่อมีกาเรกิด ก็คือ การเกิดขึ้นของนาม และ รูปนั่นเอง และ ว่าโดย

ละเอียด ตัณหา หรือ โลภะ ในขณะนี้ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูป โดยนัยที่เป็นการเกิดขึ้น

พร้อมกัน คือ สหชาตปัจจัย คือ โลภเจตสิกเมื่อเกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิด รูปที่

เกิดเพร้อมกันในขณะนั้นได้ ครับ

จะเห็นนะครับว่า พระธรรม มีหลายหลายนัย เพราะ ปัจจัยไม่ใช่มีปัจจัยเดียว

พระองค์จึงทรงแสดงพระธรรม ตามนัยต่างๆ เมื่อได้อ่าน เข้าใจแล้ว ก็จะรู้ว่า ทรง

แสดงโดยนัยปัจจัยได้ ซึ่งก็ไม่คัดค้านกันเลย เพราะพระธรรมของพระพุทธเจ้า

เป็นวาจาสัจจะ ที่เที่ยง ตรง เป็นความจริง ไม่เปลี่ยนแปลง ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 17 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 17 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยจริง ไม่ว่าจะกล่าว

ถึงสภาพธรรมใดๆ ก็ตามที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ คือ จิต เจตสิก และ รูป ล้วนเกิดจาก

เหตุปัจจัยทั้งสิ้น แม้รูปธรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองลอยๆ แต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย

แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจ

บังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

...ขอบพระคุณ อ. ผเดิม และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 17 มิ.ย. 2556

โลภะเป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้ เช่น รูปที่แสดงอาการดีใจ หรือ รูปที่แสดง

อาการอยากได้อาหารที่อร่อย หรือ อยากได้เสื้อผ้าที่สวย เป็นต้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
daris
วันที่ 18 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ