พุทธวจนะเท่านั้น แสดงว่าเข้าถึงธรรมจริงหรือ?

 
kanchana.c
วันที่  19 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23064
อ่าน  2,694

เดี๋ยวนี้ไปไหนๆ ก็จะเห็นหรือได้ยินคำว่า “พุทธวจนะ” เสมอๆ ถามผู้ที่เคยไป

ฟังธรรมจากผู้แสดงว่า พุทธวจนะเท่านั้นที่จริง ที่ควรศึกษา อย่างอื่นไม่สมควรศึกษา

แม้แต่คำสอนของพระอริยสาวกในครั้งพุทธกาล ไม่ต้องกล่าวถึงอรรถกถาที่อธิบาย

ความหมายที่ลึกซึ้งของพระไตรปิฎก ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ โดยพระอริยสาวกใน

ภายหลัง

คิดเอาเองว่า อย่างนี้คำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ ก็คงขาดไปมาก เพราะ

ต้องตัดเถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น ซึ่งเป็นคำพูดของพระอริยสาวกที่เป็นพระเถระ

และพระเถรีที่แสดงเมื่อท่านได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยบุคคลทั้งหมด และขณะ

จิตที่ไม่เคารพนับถือบุคคลผู้ควรบูชาอย่างพระอริยสาวกก็ไม่เป็นมงคลในมงคล

38 คือ บูชาบุคคลที่ควรบูชา ขณะนั้นจิตก็เป็นอกุศล ไม่ต้องกล่าวถึงการเข้าถึงธรรม

คือ การเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมะที่ปรากฏตามความเป็นจริง เพราะยังไม่เห็น

ความต่างกันของแม้แต่อกุศลจิตกับกุศลจิต

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มิ.ย. 56 ได้ชมรายการสนทนาธรรมในวันอาทิตย์ที่ 16 มิ.ย.

56 ย้อนหลังจาก www.dhammahome.com/live (ต้องขออนุโมทนาทีมงาน

ถ่ายทอดสดทุกท่าน โดยเฉพาะคุณชาลี วงศ์เสริมสิน ผู้อุปถัมภ์ทำให้การถ่ายทอด

สดและดูย้อนหลังสะดวกราบรื่นขึ้น ทำให้ผู้ที่ยังมีกิจหน้าที่ไม่สามารถไปฟังด้วย

ตนเองที่มูลนิธิฯ ได้ติดตามฟังทุกครั้งที่มีการสนทนาธรรม) ได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์

บริหารวนเขตต์ ตอบปัญหาเรื่องนี้ว่า พระอริยสาวกคือผู้ตรัสรู้ตามพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร ตรัสรู้อริยสัจธรรม อริยสัจธรรมคือความจริงอันประเสริฐ

เมื่อท่านรู้ความจริง สิ่งที่ท่านพูดจะไม่ใช่ความจริงหรือ เมื่อสิ่งที่ท่านพูดเป็นความจริง

แล้วจะไม่ฟังความจริงหรือ ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจะพิจารณาด้วยตนเอง

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ กราบเท้าขอบพระคุณอย่างสูงสุดที่ใช้ปฏิภาณ

ในการตอบปัญหาให้กระจ่างแจ้งเมื่อฟังจบ เข้าใจแล้วค่ะว่า ธรรมะคือสิ่งที่มีจริง เมื่อ

ท่านรู้ความจริงก็ต้องกล่าวความจริง สิ่งที่ควรฟังก็คือความจริงนั่นเอง ไม่ว่าผู้กล่าว

จะเป็นพระอริยสงฆ์ สมมติสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ก็ล้วนเป็นความจริงหรือสัจจวาจา

ที่ได้จากการฟังธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่คิดเอาเอง แต่

ถ้าอ้างว่า กล่าวแต่พุทธวจนะ แต่จำผิด หรือเข้าใจผิด ก็ไม่ใช่ความจริงจากการตรัส

รู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำกล่าวนั้นก็ไม่ใช่สัจวาจา ซึ่งสามารถตัดสินได้

ว่า เป็นสัจจวาจาหรือไม่ โดยถ้าคำกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อละกิเลส เริ่มต้นด้วยละความ

ไม่รู้เป็นต้น ก็เป็นสัจจวาจา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
govit2553
วันที่ 19 มิ.ย. 2556

ให้แน่จริงเถอะนะ ว่าจะศึกษา แต่พุทธวจนะ

มีมากมาย ที่พุทธวจนะ กล่าวเอาไว้สั้นๆ

แล้วก็ต้องอาศัย อรรถกา ตีความ ขยายความเอาไว้ให้

เมื่อไม่เอาอรรถกา

แล้วคนที่เอาแต่พุทธวจนะ จะเอาอะไรมาตีความ มาขยายความ

นอกจากความคิดของตัวเอง

แล้วแน่ใจได้อย่างไร ว่าความคิดนั้นถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 19 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Lamphun
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

เห็นด้วยกับพี่แดง และคุณgovit2553 ครับ เพราะเจอมากับตัวแล้ว

เป็นเรื่องยากแน่ๆ ถ้าไม่อาศัยอ่านจากอรรถกถา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
guy
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
panasda
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Boonyavee
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

กราบเท้าท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพสูงสุด

และขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณแม่แดง

การฟังพระธรรมนั้นมีแต่ประโยชน์ เพราะการศึกษาอรรถกถาด้วยความเคารพและละเอียดลึกซึ้งจะเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้สติระลึกถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ เมื่อสภาพธรรมนั้นปรากฎขึ้นจริง พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จึงล้ำค่ายิ่งนัก และหากไม่มีพระอริยสาวก พระอริยสงฆ์ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ละแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวงเป็นผู้จดจำอรรถกถาจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและทำสังคายนาพระไตรปิฎกไว้ให้บุคคลเบื้องหลังได้ศึกษาความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรมเพื่อเอื้อต่ออุปนิสัยที่แตกต่างกันออกไปแล้วนั้น หนทางหลุดพ้นของการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฎนี้อาจยิ่งยาวไกลขึ้น ดังนั้นพระคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ นั้นมากอย่างหาที่เปรียบไม่ได้และไม่อาจแยกขาดได้พุทธศาสนิกชนจึงควรเคารพพระรัตนตรัย ไว้สูงสุด

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ควรมองไปที่หลักการ ไม่ใช่เรื่องของนาย ก. นาย ข.

การคาดการณ์ก็คือการคาดการณ์

เรื่องของตัวเราเองต่างหากที่แน่นอน

มันไม่ใช่เรื่องของใครแน่ใครไม่แน่

แน่ไม่แน่ ก็เป็นไปตามกรรมเหมือนกัน

เป็นเพียงนามและรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เปรียบเหมือนเทวดาที่มีทรัพย์อันเป็นทิพย์

ถ้ามีมนุษย์ชักชวนเทวดามาเสพกามของมนุษย์

เทวดาย่อมไม่หวั่นไหว เพราะเทวดารู้แจ้งว่า

กามของมนุษย์เป็นของหยาบ มีกลิ่นเหม็นสำหรับเทวดา

เทวดาย่อมไม่เดือดร้อน ถ้าคนกล่าวหาว่าเทวดานี่โง่จริงไม่รู้จักของดี

และโฆษณาด้วยประการต่างๆ ของกามคุณของมนุษย์

สำคัญที่จิตเจตสิกขณะนี้ที่กำลังปรากฏเป็นอย่างไร

และ อุชุ ความเป็นผู้ตรงสำคัญมาก

รู้ ก็ต้องรู้ว่ารู้ เชื่อ ก็ต้องรู้ว่าเชื่อ เป็นกุศล ก็ต้องรู้ว่าเป็นกุศล และโดยนัยตรงข้าม

ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา สำหรับคนที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
sangob
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาที่ชาวพุทธยึดมั่นในพุทธวจนะ คือ พระธรรมวินัยซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติตามลำดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

เป็นที่ทราบกันดีว่า พระธรรมวินัย คือ พระพุทธวจนะนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง จึงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ ส่วนพุทธบริษัทเป็นอนุพุทธะ หรือ สุตตพุทธะ ไม่ใช่เจ้าของพระธรรมวินัย แต่เป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติตาม แล้วนำไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นให้ได้รับประโยชน์อย่างที่ตนได้รับแล้ว

ในสมัยพุทธกาล พระสาวกผู้ได้สดับพระพุทธวจนะจากพระโอษฐ์แล้วบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลเป็นจำนวนมาก และได้ฟังจากพระอริยสาวกแล้วบรรลุธรรมก็มีมิใช่น้อย เช่น ท่านอุปติสสปริพาชกได้ฟังธรรมจากท่านพระอัสชิ และพระอานนท์ซึ่งได้ฟังโอวาทจากท่านพระปุณณมันตานีบุตร แล้วบรรลุธรรมเป็นต้น ธรรมะที่พระเถระท่านแสดงอธิบายเนื้อความก็เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้เข้าใจแล้ว แต่อธิบายพระพุทธวจนะให้ผู้ฟังได้เข้าใจหลากหลายนัย มิใช่ท่านตรัสรู้เอง

แม้ในปัจจุบันนี้มีใครบ้างที่ได้ฟังพระพุทธวจนะจากพระโอษฐ์โดยตรง มีแต่ศึกษาโดยเชื่อในพระพุทธวจนะที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา พระธรรมวินัยจึงเปรียบเสมือนพระองค์เอง พระธรรมวินัยที่ว่านี้ ปัจจุบันมีจารึกเป็นหลักฐานอยู่ที่ไหน ก็ตอบได้ตรงกันวา มีจารึกในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่จารึกนั้นก็มีตามลำดับชั้น ประกอบไปด้วย

1. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้นที่ 1 เรียกว่า บาลี

2. คำอธิบายพระไตรปิฎก หลักฐานชั้นที่ 2 เรียกว่า อรรถกถา หรือวัณณนา

3. ตำอธิบายอรรถกถา หลักฐานชั้นที่ 3 เรียกว่า ฎีกา

4. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้นที่ 4 เรียกว่า อนุฎีกา

5. คำอธิบายของเกจิอาจารย์ หมายถึงผู้รู้คนใดคนหนึ่ง

คำว่า "อธิบาย" ข้างต้นนี้ หมายถึงอธิบายอะไร ตอบว่า หมายถึงอธิบายพระพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัยนั่นเอง

ถ้าจะถือว่า พระไตรปิฎกเท่านัันจึงจะเป็นพุทธวจนะ คำอธิบายพระไตรปิฎก คือ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เกจิอาจารย์ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจพุทธวจนะอย่างถ่องแท้ แจ่มกระจ่างมากขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรเชื่อถือ ก็ออกจะตีความแคบและตีกรอบอย่างเคร่งครัดเกินเหตุไปหน่อย ถ้าเช่นนั้นพระอริยสาวกในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์ทรงส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่ออนุเคราะห์แก่มหาชน ก็ไม่มีสิทธิ์อธิบายพระพุทธวจนะให้ผู้ฟังกระจ่างได้ แม้พระสงฆ์ หรืออุบาสก อุบาสิกาที่แสดงธรรมในปัจจุบันมีสิทธ์ทำได้ก็เพียงแต่ยกหัวข้อธรรมตามพระพุทธวจนะที่ีทรงแสดงไว้ เช่น อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 และอ่านพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎกให้สาธุชนทั้งหลายฟัง ห้ามอธิบาย เพราะถ้าอธิบาย นั่นหมายถึงไม่ใช่พระพุทธวจนะ แต่เป็นคำพูดของผู้แสดงเอง เพราะคำอธิบายนั้นก็ไม่น่าเชื่อเช่นกัน เพราะไม่ใช่พุทธวจนะ

อย่างไรก็ตามพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ทรงสอนให้พิจารณาเหตุผลตามความเป็นจริง ให้ตรวจสอบไตร่ตรองให้ประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ด้วยจิตใจที่กว้างขวาง ไม่ผูกขาดความห็นของตนเองเป็นใหญ่ ตามหลักการในเกสปุตตสูตร หรือที่รู้จักกันในชื่อ กาลามสูตร ที่ว่า อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะพระไตรปิฎกและอรรถกถา หลังจากได้จารึกเป็นตัวอักษรในคราวสังคายนาครั้งที่ 5 แล้ว ก็ยังมีเส้นทางแห่งการสังคายนาและชำระอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน เช่น ครั้งที่ 6 พ.ศ. 956 และครั้งที่ 7 พ.ศ. 1587 ในศรีลังกา ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2020 ที่ประเทศไทย โดยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 ที่ประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 ยังมีการอ้างที่มาในการสังคายนาในประเทศพม่าอีก เมื่อมีเส้นทางยาวไกลเช่นนี้ บางยุคบางสมัยพระไตรปิฎกและอรรถกถาสูญหายไปบ้างด้วยภัยสงคราม และมีการเจือปนด้วยคำสอนจากลัทธิต่างๆ บ้าง อาจจะมีส่วนขาดและส่วนเกินอยู่บ้าง จำเป็นต้องพิจารณาด้วยเหตุผลในหลักการที่พระพุทธองค์ทรงประทานไว้ ที่เรียกว่า หลักการตัดสินพระธรรมวินัย (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่มที่ 22 หน้า 288) ว่า

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ 1 เป็นไปเพื่อความประกอบด้วยทุกข์ 1 เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส 1 เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ 1 เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือ มีนี่แล้่วอยากได้นั่น 1 เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 1 เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน 1 เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก 1 ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด 1 เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ 1 เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส 1 เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย 1 เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ 1 เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่ 1 เป็นไปเพื่อความเพียร 1 เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 1 ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

ดังนั้นไม่ว่าคำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เกจิอาจารย์ ถ้าตรงกับพระธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือพุทธวจนะ ถ้าไม่ตรงกับพระธรรม คำสอนของพระองค์ ก็เป็นการ "บิดพระพุทธวจนะ" เป็นสัทธรรมปฏิรูป (พระสัทธรรมปลอม) หาใช่พุทธวจนะไม่ ดูเหมือนว่าการยึดพระพุทธวจนะอย่างเคร่งครัดก็เป็นสิ่งที่ทำ

ให้พระพุทธศาสนามั่นคง เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ แต่พระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า

ที่ทรงตรัสรู้นั้นสุขุมลุ่มลึก ยากอย่างยิ่งที่จะเข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอดได้ จนพระองค์ทรง

ปริวิตกเมื่อทรงตรัสรู้แล้วว่า จะไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจตามได้ แต่ด้วยพระมหากรุณาได้

ทรงพิจารณาเห็นว่า ผู้มีกิเลสน้อยและสะสมปัญญาบารมีมาที่รู้ตามมีอยู่ จึงทรงแสดง

ธรรม แต่ในยุคนี้ถ้าหากฟังพระพุทธวจนะแล้วเข้าใจตรงตามความเป็นจริงตามพระพุทธ

วจะได้ ก็เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายความหมาย (อรรถกถา ฯลฯ) แต่ถ้า

แสดงแต่พุทธวจนะ โดยไม่มีคำอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ และปฏิเสธคำอธิบายไว้ตามนัย

แห่งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เกจิอาจารย์ ต่างคนก็คิดเข้าใจเอาเองตามการสะสม แล้ว

เห็นว่า ความเข้าใจของตนเองถูกต้องแล้ว ทำให้เกิดลัทธิต่างๆ ตามความเห็นของตัว

เองอย่างที่เป็นอยู่เมื่อพุทธศาสนามีอายุ ๒,๖๐๐ กว่าปี อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ก็เป็นอันตราย

ต่อพระพุทธศาสนา เป็นการทำให้พระพุทธวจนะสูญสิ้นไป เสื่อมไปจากความเข้าใจ

เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาให้อันตรธานโดยเร็วเช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
WS202398
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอโพสซ้ำครับเพราะโพสแล้วไม่เห็นขึ้นเลย

##########

ให้แน่จริงเถอะนะ ว่าจะศึกษา แต่พุทธวจนะ

มีมากมาย ที่พุทธวจนะ กล่าวเอาไว้สั้นๆ

แล้วก็ต้องอาศัย อรรถกา ตีความ ขยายความเอาไว้ให้

เมื่อไม่เอาอรรถกา

แล้วคนที่เอาแต่พุทธวจนะ จะเอาอะไรมาตีความ มาขยายความ

นอกจากความคิดของตัวเอง

แล้วแน่ใจได้อย่างไร ว่าความคิดนั้นถูกต้อง

####################

ควรมองไปที่หลักการ ไม่ใช่เรื่องของนาย ก. นาย ข.

การคาดการณ์ก็คือการคาดการณ์

เรื่องของตัวเราเองต่างหากที่แน่นอน

มันไม่ใช่เรื่องของใครแน่ใครไม่แน่

แน่ไม่แน่ ก็เป็นไปตามกรรมเหมือนกัน

เป็นเพียงนามและรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เปรียบเหมือนเทวดาที่มีทรัพย์อันเป็นทิพย์

ถ้ามีมนุษย์ชักชวนเทวดามาเสพกามของมนุษย์

เทวดาย่อมไม่หวั่นไหว เพราะเทวดารู้แจ้งว่า

กามของมนุษย์เป็นของหยาบ มีกลิ่นเหม็นสำหรับเทวดา

เทวดาย่อมไม่เดือดร้อน ถ้าคนกล่าวหาว่าเทวดานี่โง่จริงไม่รู้จักของดี

และโฆษณาด้วยประการต่างๆ ของกามคุณของมนุษย์

สำคัญที่จิตเจตสิกขณะนี้ที่กำลังปรากฏเป็นอย่างไร

และ อุชุ ความเป็นผู้ตรงสำคัญมาก

รู้ ก็ต้องรู้ว่ารู้ เชื่อ ก็ต้องรู้ว่าเชื่อ เป็นกุศล ก็ต้องรู้ว่าเป็นกุศล และโดยนัยตรงข้าม

ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา สำหรับคนที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
natural
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wittawat
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

กระผม เข้าใจว่าประโยชน์ของการศึกษาธรรม ศึกษาพระพุทธศาสนา

คือ การเข้าใจตัวธรรม เรื่องอื่นๆ เล็กนิดเดียว แต่ทำให้ใหญ่เพราะคิดเยอะ

และก็ไม่ได้รู้ด้วยว่าคิดก็เป็นความจริงประเภทหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wittawat
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

กระผม ทราบว่ามีคนบางประเภท เดือดร้อนมาก เมื่อเห็นคนอื่น

ไม่ได้คิดตามที่ตัวเองคิด รู้หรือเปล่าครับว่า เดือดร้อนก็เป็นความจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
WS202398
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอขอบพระคุณความเห็นที่10 ขออนุโมทนาครับ

กระผมต้องการความถูกต้อง ไม่ได้ยึดติดกับความเห็นของตน หากเห็นว่าผิดก็พร้อมเปลี่ยนเสมอ เพราะยกสัจจะ ความจริง เป็นใหญ่ เพราะเห็นว่าความจริงเท่านั้น ที่เป็นคุณ ความเท็จหาคุณอะไรไม่ได้ มีแต่โทษ

เวลากระผมถามกลุ่มความเห็นหนึ่ง ถามว่าอย่างนี้ๆ ก็หาว่ากระผมไม่พยายามเข้าใจหรือตั้งใจจะไม่เข้าใจ แล้วก็บอกให้เลือกเอาเอง ซึ่งก็ถูกของท่านกระผมต้องเลือกเอาเอง แต่ก็เสียใจที่ท่านไม่ได้ตอบคำถามให้ตรงประเด็นที่ถาม

พอกระผมไปถามอีกกลุ่มหนึ่ง ถามว่าอย่างนี้ๆ ก็หาว่ากระผมศึกษามาไม่ดี สะสมมาไม่ดี มันก็อาจจะจริงของท่านอีกเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้ตอบตรงประเด็นคำถามที่สงสัยเหมือนกัน

จึงขอขอบพระคุณความเห็นที่10ที่ให้คำตอบและแง่คิดเพื่อใช้ไตร่ตรองต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
wittawat
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

อะไร คือ ความถูกต้อง ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏ และพิสูจน์ความจริงที่กำลังมีได้

เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ อะไร อยากให้คนอื่นเข้าใจอย่างที่ตัวเองคิด

หรือเข้าใจความจริงที่มีขณะนี้ เพราะฉะนั้น ผมไม่เดือดร้อน เรื่อง "คำนี้ต้องเป็น

พุทธพจน์เท่านั้นที่ควรค่า แก่การจดจำ" ไม่ได้มานั่งคิด ทั้งวันทั้งคืน รณรงค์

อะไรต่ออะไร คำใดที่ทำให้เข้าใจความจริงขณะนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ไม่เดือดร้อน

และก็ไม่ได้สนใจด้วยครับ อันนี้คือความจริงใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
papon
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
WS202398
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

ความแปลกแยกมากมาย น่าจะมีหลายเหตุปัจจัย ไม่ได้มีปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียว เพราะแม้สมัยพุทธกาลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ก็มีภิกษุผู้เห็นผิดทั้งที่ได้รับฟังคำสอนจากพระโอษฐ์โดยตรง

////////////////////////////////////////////

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๔

........ฯ [๔] ดูกรภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมแห่งชาวถูลูชื่ออุตตรกาในถูลู ชนบทครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนัก ขัตตะเป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปบิณฑบาตที่อุตตรกานิคม สมัยนั้น มีอเจลกคน หนึ่งชื่อโกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัขเดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่ กองบนพื้นด้วยปาก ดูกรภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อ

หน้าที่ ๕

สุนักขัตตะ ได้เห็นแล้วจึงคิดว่าเขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง ครั้งนั้น เราได้ทราบความคิดในใจของโอรส เจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะด้วยใจแล้ว จึงกล่าวกะเขาว่า ดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรโมฆบุรุษ
แม้คนเช่นเธอ ก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เธอได้เห็นโกรักขัตติยอเจลกคนนี้ ซึ่งประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก แล้วเธอจึงได้คิดต่อไปว่า เขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่งมิใช่หรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคยังทรงหวง พระอรหันต์อยู่หรือ ฯ
ดูกรโมฆบุรุษ เรามิได้หวงพระอรหันต์ แต่ว่า เธอได้เกิดทิฏฐิลามกขึ้น เธอจงละ
มันเสีย ทิฏฐิลามกนั้นอย่าได้มีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ฯ......

//////////////////////////////////////////////////////

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๓๒

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆ
บุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น
[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ
สำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า
ซบเซา หมดปฏิภาณ.

///////////////////////////////////////////////////

ในปัจจุบันเหตุที่ใหญ่ที่สุดน่าจะอยู่ที่ผู้ที่ไม่ีได้ศึกษาเลย หรือไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาปริยัติ หรือศึกษาก็ศึกษาจากตำราชั้นเกจิอาจารย์และชั้นที่ไกลกว่าเกจิอาจารย์ ซึ่งมีสิ่งที่ไม่ตรงกับพระไตรปิฎา ซึ่งมีมากมายตามท้องตลาด ซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็จะเชื่อ และเห็นตามที่สืบๆ กันมา แต่จริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้จริงจังกับความเชื่อความเห็นของเขามากนัก เมื่อเทียบกับความพยายามในการหาทรัพย์ ลาภ ยศ ทางโลก ซึ่งต้องศึกษาหลักวิชาทางโลกกันอย่างเข้มข้น และถ้าศึกษาผิดเขาก็จะไม่ได้ทรัพย์ ลาภ และยศ การให้ความสำคัญก็ชัดเจนในตัวเอง และผลก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่

แต่สำหรับผู้ที่ตั้งใจศึกษาทั้งปริยัติปฏิบัติปฏิเวธ หากมีข้อสงสัยในธรรม เขานั้นย่อมสืบค้น เพียรศึกษาจากผู้รู้ จากพระไตรปิฎก และจากการศึกษาด้วยการน้อมมาในตนเพื่อเทียบสัจจะความจริง และความที่ผู้นั้นเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ เป็นคนตรง เมื่อเขาไม่รู้ ก็รุ้ว่ายังไม่รู้ ถ้ายังไม่เห็นจริงตามปริยัติเพียงแต่รู้ในขั้นจำได้หมายรู้ตริตรึก ก็รู้ว่าตนรู้ในระดับนั้นๆ หาได้รู้ตามจริงไม่ จึงไม่ยึดติดกับความเห็นด้วยอุปาทานอย่างหนาแน่น เขานั้นเป็นผู้ตามรักษาความจริง

//////////////////////////////////////////////

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๔๕๓

...ฯ พยากรณ์การรักษาสัจจะ
๖๕๖] พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริงสิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ ... มีการฟังตามกัน ... มีความตรึกตามอาการ ... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ เขากล่าวว่า การทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน. ฯลฯ..........

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
wittawat
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการให้คนอื่นคิดตาม กับผู้ที่ต้องการเข้าใจความจริง

ก็ไม่มีวัน พูดเรื่องเดียวกัน ศึกษาพุทธพจน์ หรือสัจจวาจา เป็นสิ่งที่ประเสริฐ

แต่เข้าใจความจริงที่ทรงแสดงหรือไม่ เพราะบางคนศึกษา เพื่อใช้บอกคนอื่น

ว่าต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ ตามที่ตนคิด แล้วสิ่งนั้นคืออะไร ก็ไม่ทราบ

เพราะเป็นผู้ที่สนใจต่างกัน เค้าไม่ได้สนใจที่จะเข้าใจความจริง

เค้าก็นำพุทธพจน์ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อประกอบกับหลักการใช้เหตุผลทางวิชาการ

เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการที่ทรงแสดงธรรม คืออะไร?

แม้ที่จะเข้าใจความละเอียดเพียงคำๆ เดียว ว่า ธรรม คือ อะไร?

บางคนก็ไม่ได้เห็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ

เพราะฉะนั้นก็คือ เป็นผู้ที่มีทางแตกต่างกัน เพราะมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน

เพราะฉะนั้นปริยัติ คือ อะไร? ประโยชน์เพื่ออะไร?

ปฏิบัติ คือ อะไร? ถึงเฉพาะอะไร? ลักษณะของอะไร?

หรือว่า ประโยชน์ที่ทรงแสดงธรรมทั้งหมด เพื่อ เข้าใจความจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 มิ.ย. 2556

ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย

ธรรมที่ควรรู้ยิ่งคือสิ่งที่มีจริงจริงเดี๋ยวนี้ขณะนี้

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ