ลักษณะของคนดี

 
บรรดลอดทน
วันที่  19 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23067
อ่าน  13,979

อยากทราบว่าลักษณะของคนดีเป็นเช่นไรครับผม และมีอยู่ในพระไตรปิฎก

หรือเปล่าครับผม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้วมีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.

ลักษณะของคนดี หรือ สัตบุรุษ ในความเป็นจริง ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่ธรรมที่เป็นไป

เพราะฉะนั้นคนดี ก็คือ ลักษณะของจิตที่ดีคือ กุศลจิต จิตที่ดีเกิดขึ้น ในขณะนั้นก็

เรียกว่า คนดีได้ ในขณะที่จิตที่ดีประการใดประการหนึ่งเกิดขึ้น คนดีในพระไตรปิฎก

ก็แสดงไว้หลายระดับ ทั้งคนดี เพราะมีกุศลธรรมเกิดขึ้น คือ เป็นผู้มีคุณธรรม คือ มี

ศรัทธา ศีล สุตะ (การฟัง) จาคะ (การสละ) และมีปัญญา ซึ่งการเป็นผู้มีปัญญา มีความ

เห็นถูก ที่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อมีความเห็นถูก การคิดก็ถูกต้อง คิดดี การกระทำทางกาย

วาจาก็ดีตามไปด้วย จึงชื่อว่าเป็นคนดี เพราะมีปัญญา อันเกิดจากความเข้าใจพระธรรม

เป็นคนดีด้วยปัญญา แต่อย่างไรก็ดี หากยังมีกิเลสอยู่ ก็ยังมีอกุศลจิต มีกิเลสเกิดขึ้น

ขณะนั้นก็ชื่อว่าไม่ดี ดังนั้น บุคคลที่ดีพร้อม คือไม่มีความไม่ดีเลย เป็นคนดีโดยสมบูรณ์

คือ เป็นผู้ไม่มีกิเลส จึงชื่อว่าเป็นคนดี คือไม่มีกิเลสที่ทำให้เป็นคนไม่ดี เกิดจิตไม่ดี

นั่นคือ พระอรหันต์ที่ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว และ ความดี จิตที่ดีของแม้ผู้ที่ดับกิเลสแล้ว

จะดียิ่งขึ้นไปอีกที่เป็นคนดี บุคคลที่ดีสูงสุด ประเสริฐสูงสุด คือ พระอรหันตสัมมาสัม

พุทธเจ้าพราะ พระองค์เป็นบุคคลที่ดีสูงสุด ด้วยเพราะมีปัญญาสูงสุด และดับกิเลส

ได้หมดสิ้นด้วย ครับ

การจะเป็นคนดี ดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ตราบเท่าที่ยังมีกิเลส และ การจะเป็นคนดีเพิ่ม

ขึ้นได้ ก็ด้วยปัญญาที่เจริญขึ้น สมดังที่ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวไว้ น่าพิจารณาว่า

เป็นคนดี พร้อมๆ กับการศึกษาพระธรรม ย่อมจะทำให้ถึงความเป็นคนดีจริงๆ

ดี เพราะมีปัญญา และ ละกิเลสได้ ในที่สุด ครับ

สัตบุรุษ คนดี เพราะประกอบด้วย คุณความดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระตถาคตเจ้า พึง ทราบว่า สัตบุรุษ ในคำว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า โสภณบุรุษ เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็นโลกุตตระ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัตบุรุษ. อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ท่านกล่าวแยกออกเป็น ๒ พวก. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกก็ดี เป็นทั้งพระอริยะ และสัตบุรุษ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลใดแล เป็นนักปราชญ์ ผู้กตัญญูกตเวที เป็น กัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทำการช่วยเหลือ ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยความเต็มใจ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้เช่นนั้นว่า สัตบุรุษ ดังนี้.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

...ขออนุโมทนาในกุศลจิต อ.เผดิม และทุกๆ ท่านค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ความประพฤติเป็นไปของคนดี"

พระโพธิสัตว์กระทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่กัลยาณมิตรผู้ดำรงอยู่ในฐานะครูตลอดเวลา. ฟังบทสุภาษิตแล้วทำสาธุการ. พรรณนาคุณของผู้มีคุณธรรม.อดทนในการทำความเสียหายของคนอื่น. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดกาล. ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ปากร้าย ไม่แส่หาเรื่อง. เป็นผู้นำคนตาบอด บอกทางให้ ให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่คนหูหนวก อนุเคราะห์ประโยชน์. คนไม่มีศรัทธาพยายามให้มีศรัทธา. อาศัยความเป็นผู้รู้คุณที่บุพการีกระทำแล้ว จึงพูดขึ้นก่อน พูดน่ารัก สงเคราะห์ นับถือ โดยทำการตอบแทนเช่นเดียวกันหรือยิ่งกว่า. ไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น. ไม่ควรทะเลาะ. ไม่ควรให้เกิดความรังเกียจสัตว์อื่น. พึงปรารภความเพียรในประโยชน์ของสัตว์นั้นๆ . พึงอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ทั้งสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา. อนึ่ง พึงอนุโมทนาบุญของสัตว์ทั้งปวง.

(นำข้อความมาเพียงบางส่วนจาก... ขุททกนิกาย จริยาปิฎก)

ทุกชีวิตเป็นการเกิดขึ้นของสภาพธรรม คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็น

ประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และรูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) ซึ่งไม่มีใครจะสามารถยับยั้งได้เลย ในชีวิตประจำวันก็จะเห็นได้ว่ากิเลส หรือ กุศลธรรม เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของกิเลสและกุศลธรรมนั้นๆ อยู่ตลอดเวลาที่วิบากจิต หรือ กุศลจิตไม่เกิดขึ้น นี้คือความจริง แสดงให้เห็นเลยว่า ปุถุชนมักจะตกไปจากกุศล จริงๆ ขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิด ขณะนั้นกิเลสระดับขั้นต่างๆ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ขณะที่จิตเป็นกุศลเท่านั้น ซึ่งคั่นกิเลสในชีวิตประจำวัน

ชั่วครั้งชั่วขณะ กล่าวคือขณะที่เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในความสงบของ

จิต หรือ เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเกิดน้อยมากในชีวิตประจำวัน เพราะ

สภาพธรรมฝ่ายดี คือ จิต และ โสภณเจตสิกประการต่างๆ เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ จึงมี

การเรียกว่า เป็นดี ตามความเป็นไปของสภาพธรรม นั่นเอง

บุคคลที่ได้สะสมความคิดถูก ความเห็นถูก ความเข้าใจสภาพธรรมอย่างถูกต้อง บุคคลนั้นจะคิดไม่ดี ไม่เป็น คิดใส่ร้ายคนอื่นไม่เป็น คิดประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่นไม่เป็น แต่จะคิดในทางทีดี ที่ถูกที่ควร คิดที่จะมีเมตตา เห็นใจคนอื่นซึ่งเป็นผู้ที่มีกิเลสด้วยกัน คิดเกื้อกูลกันและกัน และเห็นใครทำดี ก็ชื่นชมเสริญเสริญ เป็นต้น นี้คือ ความประพฤติเป็นไปของคนดี และ ที่จะดีจริงๆ ประเสริฐจริงๆ ก็ต้องมีปัญญา มีความเข้าใจถูกเห็นถูก ซึ่งจะนำไปสู่ความดีทั้งหลายทั้งปวงอย่างแท้จริง แต่ถ้าไม่ได้สะสมเหตุที่ดีมา ไม่เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม ก็จะคิดในทางตรงกันข้าม คิดในทางที่เป็นอกุศล ซึ่งขณะนั้นก็เบียดเบียนทำร้ายตนเอง นั่นเอง ซึ่งไม่ควรเลยที่จะเป็นอย่างนี้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ลักษณะคนดี คือ ซื่อสัตย์ สุจริต มีศีลห้า มีน้ำใจเสียสละ ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก

ศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Rodngoen
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

"บุคคลที่ได้สะสมความคิดถูก ความเห็นถูก ความเข้าใจสภาพธรรมอย่างถูกต้อง

บุคคลนั้นจะคิดไม่ดีไม่เป็น คิดใส่ร้ายคนอื่นไม่เป็น

คิดประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่นไม่เป็น

แต่จะคิดในทางทีดี ที่ถูกที่ควร

คิดที่จะมีเมตตา เห็นใจคนอื่นซึ่งเป็นผู้ที่มีกิเลสด้วยกัน

คิดเกื้อกูลกันและกัน และเห็นใครทำดี ก็ชื่นชมเสริญเสริญ เป็นต้น...

...ที่จะดีจริงๆ ประเสริฐจริงๆ ก็ต้องมีปัญญา มีความเข้าใจถูกเห็นถูก

ซึ่งจะนำไปสู่ความดีทั้งหลายทั้งปวงอย่างแท้จริง"

การฟังธรรมพิจารณาศึกษาธรรม เพื่อสะสมความความเห็นถูก

จึงเป็นหนทางสู่การเป็นคนดีด้วยปัญญา

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนา อ.ผเดิม อ.คำปั่น และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nong
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
บรรดลอดทน
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

กราบอนุโมทนาครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอกราบอนุโมทนาค๋ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kinder
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Parinya
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ฃณะนี้ทุกคนยังอยู่ในขั้นขัดเกลากิเลส. เมื่อวานได้ทำอะไรไปบ้าง. ในทางด้าน

กุศล เช่นมีการฟังพระธรรมจนเกิดความเข้าใจในเรื่องที่ฟัง รักษาศีล 5 ได้ครบถ้วน

แค่ไหน. มีมโนทุจริตบ้างหรือไม่. ถึงแม้เรืองเมื่อวานจะหมดไปแล้ว แต่ถ้ามีปัญญา

พิจารณาหาเหตุผลตามความเป็นจริง ก็จะช่วยการเจริญกุศลในวันนี้ได้ดีกว่าเมื่อ

วาน. เพื่อที่จะให้เป็นคนดียิ่งๆ ขึ้นไป จนในที่สุดก็เกิดความเข้าใจว่า คนดีก็คือ จิต

เจตสิก และรูป เท่านั้น. นี่คือส่วนหนึ่งของคนดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
บรรดลอดทน
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาครับผม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ