เจริญสติปัฎฐาน ระหว่างการฟังธรรม

 
peeraphon
วันที่  20 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23074
อ่าน  1,269

เรียนอาจารย์ทุกท่านครับ

ผมได้อ่านพระสูตร จากที่ download มา ใน Dhammahome.com อย่างเช่น

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณนาสก์, ฯลฯ ถึงเมื่อพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้า แสดงธรรมแก่พระสาวก ในเรื่อง พระอภิธรรม, อดีตชาติของภิกษุ

หลายๆ พระองค์ ตลอดจนถึงชาดกต่างๆ ได้เข้าใจว่าพระภิกษุและคฤหัสถ์ หลายๆ

ท่านได้บรรลุธรรมเป็น พระอริยเจ้า มากมาย เต็มไปหมด. ก็มีความเข้าใจว่า ขณะที่

ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ฟังธรรม และมีการพิจารณาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรง

แสดงไปด้วย ปัญญาเจริญขึ้น อินทรีย์ แก่กล้า จากการสะสมในอดีต และบรรลุธรรม

ในที่สุด และตรงจุดนี้มีข้อสงสัยครับ

เข้าใจว่าการที่ฟังธรรม พิจารณาธรรมมะ และเข้าใจโดยแจ่มแจ้งถึงขั้นบรรลุ

คุณธรรมนั้น จะหนีจากเรื่องการเจริญสติปัฎฐาน ในมรรค 8 ไปไม่ได้เลย และมี

ความสงสัยว่า ขณะ ที่ฟังธรรม พิจารณาธรรม และเจริญสติปัฎฐาน ไปด้วยนั้น

ต้องมีความรวดเร็วมาก ซึ่งต้องการ อยากให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบาย ลักษณะ

ของการเจริญสติปัฏฐาน ระหว่าง การฟังพระธรรมครับ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

ครับ.

และสาเหตุที่สงสัยคือ เมื่อรู้แล้วว่า จิตเกิดดับอยู่ทุกขณะ ขณะที่ได้ยินเสียง

ท่านอาจารย์สุจินต์ ขณะที่เข้าใจความหมาย ขณะที่พิจารณาความหมาย นั้น คนละ

ขณะกันทั้งหมดครับ.

ขอบพระคุณและขอนุโมทนาครับ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่เป็นจิตเกิดดับ สลับกันอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งกระผมขออนุญาตยก

ตัวอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ในฝ่ายของอกุศล เช่น ขณะนี้กำลังเห็น เห็นแล้ว

ก็คิดนึกเป็นเรื่องราวต่างๆ อย่างรวดเร็ว และเกิดอกุศลจิต ที่เป็นโลภะ ติดข้องแม้

ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไรได้อย่างรวดเร็ว และก็เกิดอกุศลที่เป็นโลภะ พอใจ ติดข้อง ใน

สมมติบัญญัติอย่างรวดเร็วมากๆ โดยไม่รู้ตัวเลยว่า กิเลสเกิดแล้ว นี่กำลังแสดงให้

เห็นว่า อกุศลเกิดได้อย่างรวดเร็วมากๆ โดยไม่รู้ตัวเลย ซึ่งเป็นเพราะการสะสม

การเกิดอกุศลจิตมามากมาย นับชาติไม่ถ้วน จนชำนาญอย่างมาก เพียงเห็น

ได้ยิน ก็เกิดอกุศลจิตอย่างรวดเร็วในชีวิตประจำวัน และ ไม่รู้เลยว่าเกิดอกุศลจิต

ส่วนในทางฝ่ายกุศลธรรม ที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งดูเหมือนว่ายากมากๆ

ที่จะมีสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ ในขณะที่กำลัง

เกิด ที่จะรู้ทัน ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา เพราะขณะนี้ ก็เห็น ได้ยิน เป็นสมมติ

บัญญัติไปหมดสิ้นแล้ว แต่ก็โดยนัยเดียวกันกับฝ่ายอกุศล ฝ่ายกุศลที่เป็น สติปัฏฐาน

ก็จะต้องมีการสะสม อบรมปัญญา ค่อยๆ เกิดสติ ที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม

ในแต่ละชาติ แต่ละขณะ ที่เพียงเล็กน้อย เป็นล้านๆ ๆ ๆ ชาติ นับชาติไม่ถ้วน เพื่อ

ที่จะถึงความชำนาญ ที่จะเกิดสติปัฏฐาน ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง

ในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เราเช่นกัน ซึ่งอริยสาวก ที่ได้ฟังธรรมในสมัย

พุทธกาล และบรรลุธรรม ก็เพราะมีการสะสมการเจริญสติปัฏฐาน สะสมการเจริญ

อบรมปัญญามามากมายแล้ว นับชาติไม่ถ้วน ไม่ใช่ว่า ยังไม่ได้อบรมมา และจะมา

เกิดการบรรลุ เป็นไปไม่ได้ เพราะ จิต เจตสิกเป็นเรื่องของการสะสมเป็นสำคัญ

ดังนั้น ขณะที่ท่านฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ขณะนั้น ก็มีสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฎ คือ เห็น ได้ยิน คิดนึก เป็นต้น ที่เป็นลักษณะของจิต เจตสิกที่กำลัง

เกิดขึ้น และ มีรูปที่กำลังปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วย ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มี

สภาพธรรมที่มีจริงกำลังปรากฎให้รู้ในชีวิตประจำวัน ปกติ ก็เกิดอกุศล คือ โลภะ

โทสะ หลังจาก เห็น ได้ยินแล้วใช่ไหม ครับ แต่ขณะที่ท่านฟังธรรม ปัญญา และ

สติก็เกิดทันโลภะนั่นเอง เช่น ขณะที่คิดนึก ในเรื่องของพระธรรม อะไรมีจริง

ตัวคิดนึก ที่เป็นจิตคิด จิตมีจริง สติปัฏฐานที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญาก็เกิดต่อ

ระลึกรู้ตัวจิตที่คิดนึกว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ในขณะนั้นก็ได้ครับ เห็นถึงความ

ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตาของ จิตคิด ถึงการประจักษ์แจ้งบรรลุธรรมได้ใน

ขณะนั้น ครับ นี่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาสามารถเกิดแทรก แทนอกุศลได้

ถ้าสะสมมาอย่างยาวนาน หรือ แม้ขณะที่เพียงได้ยินเสียง เวลาที่พระพุทธเจ้าทรง

แสดงธรรม ก็มีวิถีจิตเกิดดับสลับกันอย่างมากมาย ทั้งเห็น ได้ยิน มีเสียง สี ปรากฎ

มีจิตเกิดประเภทต่างๆ สติและปัญญา ที่เป็นสติปัฏฐานเกิดพร้อมเมื่อไหร่ สติและ

ปัญญาก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้นได้ ว่าเป็นแต่

เพียงธรรมไม่ใช่เรา ในขณะนั้น ครับ ถึงการประจักษ์สภาพธรรม แม้ในขณะที่กำลัง

ฟังธรรม ครับ

นี่คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นการเจริญสติปัฐานในชีวิตประจำวัน ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้น ในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิต

ประจำวัน เพราะเหตุว่า พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อ

ความเข้าใจสภาพธรรม ที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ธรรมจึงไม่พ้นไป

จากชีวิตประจำวันไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม ก็มีธรรม ซึ่งเป็นชีวิตปกติธรรมดา

เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ก็ย่อมเป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น ระลึกรู้สภาพธรรมใน

ขณะนั้นได้ สติปัฏฐานไม่ผิดปกติ ไม่ใช่การไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความ

อยาก ความต้องการ

ถ้าฟังพระธรรม มีการพิจารณาไตร่ตรองจนเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็

ย่อมไม่มีอะไรที่จะมายับยั้งการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้

โดยที่ไม่ใช่ตัวตนที่จะพยายามระลึก แต่เป็นกิจหน้าที่ของธรรม ที่เกิดเพราะ

เหตุปัจจัย คือ สติและปัญญา พร้อมกับโสภณธรรมอื่นๆ จะเห็นได้ว่าทุกขณะ

เป็นธรรม มีธรรมหนึ่งธรรมใดแน่นอน แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจในลักษณะของสภาพ

ธรรมตามที่ได้ยินได้ฟังให้ถูกต้องขึ้น ขณะนั้นก็คือ สติเกิด จึงจะค่อยๆ เข้าใจ

ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น แม้จะไม่ใช่ชื่อว่าสติปัฏฐาน แต่สิ่งที่กำลังมีกำลัง

ปรากฏให้เข้าใจและ กำลังค่อยๆ เข้าใจในลักษณะนั้น นั่นคือสติปัฏฐาน แม้ใน

ขณะที่อ่านพระสูตร ก็มีธรรม มีเห็น มีการพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่อ่าน ก็คือ

ความเป็นไปของธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง ก็ย่อมเป็นที่ตั้ง

ของสติปัฏฐานได้ ซึ่งจะต้องอาศัยการฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก

ไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ก่อนจะถึง...สติ-ปัฏฐาน !

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอกราบอนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Rodngoen
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
daris
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wittawat
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

สติปัฏฐาน ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะเกิดขึ้นขณะฟังธรรมนะครับ

การฟังธรรม เป็นประโยชน์ เพื่อความเห็นถูก เข้าใจถูกตรงขึ้น

จากการฟังเรื่องราว ตามที่ทรงแสดงว่า ธรรมคืออะไร ธรรมอาศัยอะไรเกิด

เป็นต้น คนทั่วไปแสดงไม่ได้ ถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นมา

โลกนี้ก็มืดมิด แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่มีปัญญาที่สามารถแสดงได้

ผู้ที่ได้ฟังมามาก ทั้งในอดีต สะสมบารมี พร้อมสุตตะ ความเข้าใจอย่างมาก

ประมาณไม่ได้ เช่น อดีตท่านพระสาวกทั้งหลาย จะสามารถมีความเข้าใจ

ละเอียดแทงตลอดความจริงได้ สำหรับพวกเรา ก็คือฟัง และก็ไม่ต้องหวัง

อะไรมากครับ เพราะไม่มีความหวัง ฟังเพื่อละความหวัง และความไม่รู้

เข้าใจธรรมได้ตามกำลังเท่านั้น ความเข้าใจจากการฟัง

เช่น ได้ยินว่ามีความจริง และความจริงนี้คืออะไร กำลังปรากฏมีลักษณะ

เช่นไร (เย็น ร้อน แข็งมาก แข็งน้อย เสียง) เป็นต้น เมื่อความเข้าใจนี้

ที่มั่นคงยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยให้ความเข้าใจที่ละเอียดขึ้นสามารถที่ระลึกรู้

ลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรงตามความเป็นจริงได้ นี่คือ ความน่า

อัศจรรย์ของพระพุทธศาสนา ที่ทำให้บุคคลที่ศึกษา เห็นว่าสิ่งใดถูกต้อง

ไม่ถูกต้อง สิ่งใดควร ไม่ควร (เกิดมาแล้ว ก็ไม่ต้องรู้ความจริงอะไร

ควรหรือ ไม่ควร?)

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nopwong
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
natural
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Parinya
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

คำถามสำหรับ ความคิดเห็นของท่านที่ 1 ท่านกล่าวไว้ว่า "ขณะที่ฟังธรรม

ปัญญา และ สติ เกิดแทนโลภะ ถ้าสติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น ...... เห็นเป็นความ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา". ขอถามว่า สติปัฏฐานเกิด ขณะฟังพระธรรม

ทำไมถึงเป็นทุกข์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

โดยมาก เรามักเข้าใจ คำว่า ทุกข์ ว่า หมายถึงความทุกข์ที่เป็นทุกข์กาย หรือ

ทุกขเวทนา ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ แต่ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อย่างเช่น

ทุกขอริยัสัจะ ข้อที่ 1 ทรงแสดงไว้ละเอียดลึกซึ้ง ครอบคลุมเกือบทุกสภาพธรรม

ว่า สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตาด้วย ความเป็นทุกข์ที่

เป็นทุกขอริยสัจจะ ทุกข์จริงๆ จึงไมไ่ด้หมายถึง ความรู้สึก ที่เป็นเวทนา ความทุกข์

เช่นนั้น แต่สภาพธรรมใดที่เ่กิดขึ้นและดับไป ทนอยู่ไม่ได้ ลักษณะนั้นเรียกว่า

ทุกขอริยสัจจะ เป็นทุกขัง ที่เป็นลักษณะหนึ่งของไตรลักษณ์ คือ เป็นสามัญญ

ลักษณะ ที่ทั่วไปกับสภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก รูป

เพราะฉะนั้น ขณะที่ฟังธรรม อะไรมีจริง คือ สภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป

ที่เป็นสังขารธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ขณะที่ สติปัฏฐานเกิด

ย่อมสามารถรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้น ซึ่งสติปัฏฐาน ก็เป็นปัญญาที่

รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งสติปัฏฐาน ก็มีหลายระดับ ทั้งระดับโลกียะ

และ ระดับสูงที่เป็นโลกุตตระด้วย ดังนั้น สติปัฏฐาน ของบุคคลที่รู้ความจริง

แม้ขณะที่ฟังธรรม ดั่งเช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฟังธรรมจากพระุพุทธเจ้า

ก็ไ้ด้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ขณะนั้น ผู้มีปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานก็เกิดระลึก

รู้ลักษณะของสภาพธรรม ประจักษ์ความไม่เที่ยงและ ประจักษ์ลักษณะที่เป็นทกุข์

คือ เกิดขึ้นและดับไป ทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ และ ประจักษ์ลักษณะของความ

เป็นอนัตตา ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล จึงได้บรรลุธรรม

เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นและดับไป จึง

ไม่ใช่เป็นเพียง เวทนาเจตสิก แต่แม้ จิต เจตสิกอื่นๆ และรูป ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์

ที่เป็นทุกขลักษณะด้วย ครับ นี่คือ ความละเอียดของพระธรรม โดยเฉพาะ

การเจริญสติปัฏฐานครับ ดังนั้น ขณะที่ฟังธรรม เห็นความไม่เที่ยง และเห็น

ความเป็นทุกข์ แต่ ไม่ใช่กำลังทุกข์ เสียใจ แต่เห็นความเป็นทุกข์ ที่เป็น

ทุกขลักษณะ ด้วยปัญญา ครับ

ดังนั้น เมื่อได้อ่านข้อความ ที่กล่าวว่า

"ขณะที่ฟังธรรม ปัญญา และ สติ เกิดแทนโลภะ ถ้าสติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น ......

เห็น เป็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา".

มีคำว่า เห็น นำหน้า คำว่า ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ และเป็นอนัตตา ก็เป็นการแสดงว่า

เห็น ที่เป็นปัญญา ปัญญา รู้ความไม่เที่ยง และ รู้ความเป็นทุกข์ และ ความเป็น

อนัตตา ครับ

เชิญอ่านข้อความพระไตรปิฎกที่แสดง ในเรื่อง ทุกขลักษณะ ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ต่อแต่นั้นพระโยคาวจรกำหนดกิจและลักษณะของตนตามความเป็นจริงของปัจจัย

และธรรมซึ่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเหล่านั้นแล้วยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมเหล่า

นั้นไม่มีแล้วเกิดมีขึ้น. ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมเหล่าเป็นทุกข์ เพราะความ

ที่ถูกความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น. ยกขึ้นสู่อันตตลักษณะว่าธรรมเหล่านี้

ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. พระโยคาวจรครั้นยกธรรมเหล่านั้น

ขึ้นสู่ไตรลักษณ์อย่างนี้แล้วให้วิปัสสนาเป็นไปโดยลำดับย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคได้.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 195

ลักษณะ ๒

ธรรมทั้งหลายมีลักษณะอยู่ ๒ ลักษณะ คือ สามัญญลักษณะ

(ลักษณะทั่วไป) ๑ ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) ๑ บรรดา

ลักษณะทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัตตลักษณะของ

รูปขันธ์ไว้เป็นอันดับแรกด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ก็

ปัจจัตตลักษณะนี้มีแก่รูปขันธ์เหล่านั้น หามีแก่ขันธ์ทั้งหลาย (นอกนี้)

มีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ.

ส่วนอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ย่อมมีแก่ขันธ์

ทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น ลักษณะทั้ง ๓ นั้นจึงเรียกว่า

สามัญญลักษณะ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Parinya
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

ขอขอบคุณอาจารย์ประเชิญมากครับที่ตอบและอธิบายคำถามของผมที่ส่งมา

พออาจารย์เน้นถึงคำว่า ทุกข์อริยสัจจะข้อที่1ก็ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น

อาจารย์ครับผมขอรายงานถึงผลประโยชน์ที่ผมได้รับจากการมี High Speed

Internet แบบมีสาย ซึ่งผมเพิ่งได้รับการติดตั้งที่บ้านต่างจังหวัดในอำเภอเล็กๆ

ทำให้ผมมีโอกาศเข้า Website ของบ้านธัมมะได้ คราวนี้ผมติดขัดคำอะไรผมก็

สามารถ สอบถามหรือส่งกระทู้ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ท่านอาจารย์สุจินต์

บริหารวนเขตต์ ท่านสอนไว้ว่า ควรต้องศึกษาทุกคำให้เกิดความเข้าใจจริงๆ

พอที่บ้านมี Internet การศึกษาปรมัตถธรรมก็สดวกขึ้น เหมือนกับมีอาจารย์

นักวิชาการ เช่น อาจารย์ประเชิญ และอาจารย์คำปั่น เป็นที่พึ่งทางด้าน

วิชาการตลอดเวลา.

ขออนุโมทนาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนา เช่นกัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
nongnooch
วันที่ 29 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pamali
วันที่ 1 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ