การศึกษาธรรมะเพื่อ ต้องการหลุดพ้น

 
one_someone
วันที่  30 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23107
อ่าน  1,220

การศึกษาธรรมะเพื่อ ต้องการหลุดพ้นใช่ไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

* * เห็นประโยชน์ของพระธรรม (ปัญญา) ก็มั่นคงในการฟังพระธรรม และเข้าใจ

หนทางที่ถูก การตั้งเป้าหมายไม่ได้หมายความว่า เมื่อตั้งแล้วจะทำให้เข้าใจ

หนทางที่ถูก ความอยาก ไม่ได้ทำให้เข้าใจถูก แต่การฟังเพื่อเข้าใจในสิ่งที่

ฟังขณะนั้น และเกิดความเข้าใจขึ้น ความเข้าใจที่เกิดจากการฟังในขณะนั้นต่าง

หากจะทำให้เข้าใจหนทางดับกิเลสได้ถูกและบรรลุได้ โดยไม่ต้องตั้งเป้าหมายหรือ

อยาก อย่างไรเลย

อ้างอิงจาก ... ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๙๗

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา นำมาซึ่งประโยชน์ คือ

เพื่อสภาพธรรมที่เป็นกุศลเจริญขึ้น เพราะกุศลนำมาซึ่งประโยชน์ทั้งปวง ไม่เคยนำความ

ทุกข์ความเดือดร้อนมาให้เลย นอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับตนเองแล้ว เมื่อ

กุศลเกิดขึ้นยังทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้อีกด้วย

ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา คือ เพื่อพ้นจากทุกข์

ไม่เกิดอีก ซึ่งเป็นการดับกิเลสทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

เพราะฉะนั้น พระธรรมคำสอนทั้งหมด ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใดก็ตาม ก็เพื่อ

ประโยชน์สูงสุด คือ การดับกิเลส พ้นจากทุกข์โดยประการทั้งปวง, หนทางแห่งการดับ

กิเลสนั้น มีอยู่แล้ว คือ การอบรมเจริญปัญญาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การจะดำเนินไปตาม

ทางดังกล่าวหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนจริงๆ ถ้าดำเนินตามหนทางที่ถูกต้อง

โอกาสแห่งการพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ก็ย่อมจะมีได้ ซึ่งจะต้องอาศัยกาลเวลาอันยาว

นานในการอบรมเจริญปัญญาต่อไป โดยเห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรม และไม่ขาด

การฟังพระธรรม

จากประเด็นคำถาม ก็ขึ้นอยู่กับสภาพจิตเป็นสำคัญ เพราะถ้าตั้งจิตไว้ชอบ เป็นการ

ตั้งใจจริง ว่า ศึกษาเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เพราะเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม

เป็นไปเพื่อขัดเกลาความไม่รู้ ขัดเกลากิลสทั้งหลาย จนกว่ากิเลสจะดับหมดสิ้นไป พ้น

จากทุกข์ได้ในที่สุด นั้น เป็นกุศล ไม่ใช่ อกุศล ซึ่งผู้ศึกษาก็จะต้องเป็นผู้ตรงต่อ

ตัวเองว่า ศึกษาเพื่ออะไร เพราะการที่หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ไม่ใช่ด้วยความอยากความ

ต้องการ แต้ต้องด้วยการอบรมเจริญปัญญา เห็นประโยชน์ของพระธรรม แต่ถ้าศึกษา

เพื่อจุดประสงค์อื่น เพื่อลาภ สักการะ เพื่อต้องการให้คนอื่นชมว่าเก่ง ต้องการให้สติเกิด

เป็นต้น นั่น ไม่ใช่กุศลเลย แต่เป็นอกุศลเป็นไปกับโลภะ ความติดข้องต้องการ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ่งอย่างยิ่ง แม้แต่คำว่า การศึกษาธรรมเพื่อ

ต้องการหลุดพ้น ซึ่ง โดยมาก หากได้ยินคำนี้ ก็มักจะสำคัญว่า เป็นอกุศลจิต

เท่านั้น ที่เป็นความต้องการที่จะหลุดพ้น แต่ ในความละเอียดของพระธรรม

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทรงแสดง หลากหลายนัย และ ครอบคลุมสภาพ

ธรรมที่ไม่มีส่วนเหลือ แม้แต่การศึกษาธรรม การเจริญกุศล เพื่อต้องการหลุดพ้น

ก็มีหลากหลายนัย อีกเช่นกัน อย่างเช่น ในตัวอย่างพระไตรปิฎก ที่แสดงว่า ความ

เป็นผู้ใครที่จะฟังธรรม หากได้ยินคำนี้ ก็จะเข้าใจว่า หมายถึง โลภะ อกุศลจิตที่

อยากจะฟังธรรม แต่ ในความละเอียดแล้ว แม้แต่คำว่า ใคร่ ในที่นี้ ไมได้หมายถึง

สภาพธรรมที่เป็นโลภะเสมอไป แต่ ความเป็นผู้ใคร่ ต้องการ เป็นการแสดงถึง

สภาพธรรมที่เป็นฉันทะ คือ ยินดีพอใจ ทีเกิดร่วมกับกุศล ที่เกิดจากปัญญาก่อนที่

เห็นประโยชน์ของการฟังธรรม ศึกษาพระธรรม จึงเป็นผู้ใคร่ที่จะฟังธรรม คือ มีฉันทะ

ที่จะเป็นผู้ฟังธรรมด้วยเพราะเกิดปัญญาเห็นประโยชน์ในการฟังพระธรรมนั่นเอง ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 309

[๓๐๔] ข้าพระองค์มา เพื่อจะทูลถาม

ถึงผู้เสื่อม และคนผู้เจริญกะท่านพระโคดม

จึงขอทูลถามว่า อะไรเป็นทางของคนเสื่อม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม

ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้

เสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้

-----------------------------------------

โดยนัยเดียวกัน กรศึกษาธรรมะ เพื่อต้องการที่จะหลุดพ้น ก็เป็นไปได้ทั้งกุศลจิต

และ อกุศลจิต ไม่ได้หมายถึง โลภะที่เป็นอกุศลจิตเท่านั้น เพราะ เมื่อกล่าวถึง คำ

ว่า ต้องการ ก็ไมได้หมายถึง โละอย่างเดียว แต่แสดงถึง ฉันทะ ที่เป้นผู้ใคร่ ต้องการ

ที่จะหลุดพ้น ดั่งเช่น เมื่อคราวที่พระโพธิสัตว์ แสวงหาสัจจธรรม เมื่อพระองค์เห็น

เทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และ นักบวช เกิดจิตสลดสังเวช แสวงหา

หนทางดับทุกข์ พระองค์ก็มีความต้องการที่จะหลุดพ้น แต่ความต้องการของท่าน

ไม่ได้หมายถึง โลภะ แต่ เป็นฉันทะ ที่เกิดกับปัญญาที่เห็นโทษของสังสารวัฏฏ์จึง

แสวงหาทางหลุดพ้น ด้วยการศึกษาพระธรรม ศึกษาจากผู้รู้ต่างๆ มีอุททกดาบส

เป็นต้น การศึกษาธรรมของพระโพธิสัตว์ เพื่อต้องการที่จะหลุดพ้น จึงไม่ใช่อกุศล

แต่ เป้นฉันทะทีเกิดกับกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นสำคัญ ครับ

สำหรับผู้ที่อบรมปัญญา ศึกษาพระธรรม และ เกดิปัญญาเห็นโทษของกิเลส ย่อม

เห็นคุณประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม เพื่อที่จะถึงการดับกิเลสได้ จึงศึกษา

พระธรรมเพื่อต้องการดับกิเลส เพือ่หลุดพ้น อันเป็นฉันทะ ที่ไม่ใช่โลภะที่เห็นคุณ

ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม เพือ่ที่จะหลุดพ้น ครับ

แต่ สำหรับการศึกษาธรรมเพื่อต้องการหลุดพ้น ก็เป็นไปด้วยอกุศลจิต คือ โลภะ

ได้ด้วยเช่นกัน เพราะ ศึกษาเพื่อยากที่จะได้ในสิ่งที่ไกล โดยยังไมได้รู้จักธรรม

เบื้องต้น และ ไมได้เห็นโทษของกิเลส เพราะในความเป็นจริง โลภะติดข้องได้

ทุกอย่าง แม้แต่ชื่อว่า พระนิพพาน แม้แต่คำที่ว่าหลุดพ้น ก็อยากหลุดพ้น จึงศึกษา

เพื่อได้ ไม่ใช่เพื่อละ สิ่งที่ได้ คือ หลุดพ้นจากกุศล แต่ เพิ่มอกุศลโดยไม่รู้ตัว ครับ

การศึกษาพระธรรม จึงเป็นเรื่องเบา สบาย เพราะ เป็นเรื่องละ ตั้งแต่ต้น คือ ละ

ที่จะอยากได้ อยากรู้มากๆ แต่ ศึกษาด้วยความเคารพในพระธรรมว่ายาก และ รู้

ตามกำลังปัญญาเท่าที่ทำได้ รู้เท่าไหร่ ก็เท่านั้น อาศัยระยะเวลายาวนาน ย่อมถึง

การดับกิเลสได้ในที่สุด แม้จะอยาก หรือ ไม่อยาก แต่ถ้าเหตุที่ถูกต้อง ก็ดับกิเลสได้

แต่แม้จะอยาก แต่เหตุไม่ถูกต้อง ก็ไม่มีทางหลุดพ้น พ้นทุกข์ ดังนั้น สำคัญที่เหตุ

คือ การอบรม ศึกษาพระธรรมในหนทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่สำคัญที่ความอยาก ครับ

สมดัง คำในพระไตรปิฎกที่แสดง ถึง ความหวัง หรือ ไม่หวังว่าจะบรรลุ หรือ ไม่บรรลุ

ไม่สำคัญ สำคัญที่การประพฤ๖ิพรหมจารรย์โดยแยบคาย หรือ ไม่แยบคาย คือ โดย

แยบคาย คือ อบรมหนทางที่ถูก แม้หวัง หรือ ไม่หวังก็บรรลุ เพราะอบรมเหตุที่ถูกต้อง

ครับ เชิญอ่านดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒- หน้าที่ 99 ๖. ภูมิชสูตร

[๔๐๗] ท่านภูมิชะกล่าวว่า ดูก่อนพระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพ

มิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย แค่ข้อที่เป็นฐานะมีได้

แล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความ

หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล

ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถ

จะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วพระพฤติพรหมจรรย์

โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความ

ไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุ

ผล แต่ถ้าแม้ทำความหวังแล้วพระพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถ

บรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะ

สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

โดยแยบคาย เขาจะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง

ก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล ดูก่อน

พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ นั่นเป็นฐานะ

ที่มีได้แล.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
one_someone
วันที่ 30 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
one_someone
วันที่ 30 มิ.ย. 2556

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nongnooch
วันที่ 1 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ