การออกกำลังกายเป็นความโลภหรือไม่

 
papon
วันที่  9 ก.ค. 2556
หมายเลข  23148
อ่าน  1,426

เคยได้ยินมาว่าการออกกำลังกายเป็นความโลภที่อยากมีชีวิตอยู่นานๆ ที่จริงเป็นอย่างไร

ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อนว่า โลภะ คือ อะไร?

โลภะ คือ ความติดข้อง ความต้องการ ความทะยานอยาก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ทุกคน

มีในขณะนี้, โลภะ มีหลายระดับขั้น กล่าวคือ มีทั้งโลภะที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิต

ประจำวัน และ โลภะที่มีกำลังมาก หรือ โลภะเกินประมาณ

โลภะที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว

การไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติในชีวิตประจำ

วัน เป็นโลภะประเภทที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เสียหาย หรือเสียประโยชน์แต่อย่าง

ใด ซึ่งคนส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบเลยว่าเป็นโลภะ แต่จริงๆ เป็นโลภะ เพราะเหตุว่า

โดยสภาพของโลภะ ก็คือโลภะ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงแสดงความจริงนี้ เราจะไม่ทราบเลยว่าแท้จริงแล้วจิตของเราเป็นไปกับโลภะเกือบจะ

ตลอดเวลา

สำหรับโลภะที่มีกำลังมาก หรือ โลภะเกินประมาณ เช่น อยากได้อะไรในสิ่งที่

ตนเองต้องการ ถ้าสิ่งนั้นเกินกำลังของตนที่จะได้มาด้วยวิธีที่สุจริต บุคคลที่โลภะมีกำลัง

มากก็จะคิดหาวิธีเพื่อให้ได้มาด้วยวิธีทุจริต ซึ่งเป็นเหตุให้ทำทุจริตทั้งทางกาย ทางวาจา

และทางใจ เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และตนเองก็จะต้องได้รับความเดือดร้อน

ในภายหลังด้วย ไม่ช้าก็เร็ว โดยการได้รับผลของกุศลกรรมที่ตนเองก่อขึ้นอันมีโลภะเป็น

เหตุ ซึ่งไม่มีใครทำให้เลย นอกจากกรรมของตนเองเท่านั้น

จากประเด็นคำถาม ก็สามารถพิจารณาได้ว่า ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่แล้วก็เป็นไปกับ

อกุศล โลภะ บ้าง โทสะ บ้าง โมหะบ้าง โดยเฉพาะโลภะ มีเป็ปกติจริงๆ ตั้งแต่

เช้ามานี้ เท่าไหร่แล้ว สำหรับโลภะ ความติดข้องต้องการ โดยไม่รู้ตัวเลยก็มี นี้คือ ความ

จริง คงไม่ต้องกล่าวเฉพาะขณะที่ออกกำลังกาย ว่า เป็นโลภะ ขณะอื่น โลภะก็เกิดได้

เหมือนกัน เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ขณะใดก็ตาม ที่จิตไม่ได้เป็นไปในทาน ไม่ได้

เป็นไปในศีล ไม่ได้เป็นไปในการอบรมความสงบของจิต และไม่ได้เป็นไปในการอบรมเจริญ

ปัญญาแล้ว นอกนั้นเป็นอกุศลทั้งหมด (ถ้าไม่กล่าวถึงขณะที่เป็นวิบาก และ กิริยา) ซึ่ง

ก็พอจะเข้าใจได้ว่าชีวิตประจำวัน อกุศลมากมายแค่ไหน แต่ก็ไม่ได้มีอกุศลอยู่ตลอด

กุศลก็เกิดแทรกสลับได้บ้าง ประการทีสำคัญ การที่จะมีอายุยืนยาวหรือไม่ อยู่ที่กรรม

ของแต่ละคน

เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว การดูแลรักษาร่างกาย กระทำในสิ่งที่เหมาะควร เพื่อจะ

ได้มีชีวิตดำเนินต่อไป เพื่อประโยชน์ในการะสะสมความดีและอบรมเจริญปัญญา ก็ย่อมเป็น

สิ่งที่ควร ไม่ใช่ว่าจะไม่ดูแลสุขภาพร่างกายเสียเลย แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เราก็ไม่

สามารถที่จะรู้ได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นแม้ในขณะต่อไป ชีวิตในภพนี้ชาตินี้จะสิ้นสุดเมือใด

ก็ไม่มีใครทราบได้ จะมีชีวิตอยู่ยืนยาวหรือสั้น ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่า มีโอกาสได้

สะสมความดีและอบรมเจริญปัญญาหรือไม่ เพราะสิ่งนี้เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งในชีวิตอย่าง

แท้จริง ไม่ใช่อย่างอื่น ส่วนใหญ่ก็มีการคิดวิตกกังวลว่า เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วจะ

มีโอกาสได้ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาหรือไม่ ซึ่่งเป็นการคิดถึงอนาคตซึ่งยังไม่

เกิดขึ้น แต่ประโยชน์จริงๆ อยู่ที่ขณะนี้เดี๋ยวนี้ คือ ทำสิ่งที่ดี ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากการ

สะสมความดีประการต่างๆ รวมถึงการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจถูก

เห็นถูกเป็นปัญญาของตนเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หากเข้าใจความจริงของชีวิต ที่ละเอียดลึกซึ้ง การออกกำลังกาย ก็คือ การ

ทำหน้าที่ของ จิต เจตสิก เพราะ การออกกำลังกาย ก็คือ การเคลื่อนไหวไปของ

แขน ขา ที่สมมติเรียกขึ้น ซึ่ง รูปร่างกาย ที่เป็นรูปธรรมเหล่านี้ จะเคลื่อนไหวไม่ได้

เลย หากไม่มีการเกิดขึ้นของจิต ที่ทำให้เกิดรูปที่ไหวไป เพราะฉะนั้น เมื่อ จิต

เจตสิกเกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัยให้มีการไหวไปของรูป ที่เป็นวาโยธาตุ ธาตุลมไหว

ไปได้ ครับ เพราะฉะนั้น การออกกำลังกาย ก็ไม่พ้นการทำหน้าที่ของจิต เจตสิก

และ รูปทีเกิดขึ้น จึงไม่มีเราที่เคลื่อนไหว ออกกำลังกาย อย่างไรเลย มีแต่ธรรมที่

ไม่ใช่เรา ครับ

ซึ่ง ตามท่กล่าวไปแล้วว่า การออกกำลังกาย เป็นการทำหน้าท่ของ จิต เจตสิก

รปทีเกิดขึ้น ดังนั้น จิต ไม่ใช่มีเพียง อกุศลจิตเท่านั้น กุศลจิตก็มี กิริยาจิตก็มี

วิบากจิตก็มี ซึ่ง ขณะที่เป็นวิบากจิต ที่เป็นผลของกรรม เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น

เป็นต้น ไม่ได้เป็นปัจจัยให้เกิดรูป ดังนั้น ขณะใดทีเห็น ได้ยิน ที่เป็นวิบากจิต จิตที่

เป็นผลของกรรม ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย จึง

ไม่ใช่ด้วยวิบากจิต

ออกกำลังกายไม่ใช่ด้วยอกุศลจิตก็ได้ แต่เป็นกิริยาจิตก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้อง

เป็นอกุศล พระอรหันต์ มีการเดินจงกรม เปลี่ยนอิริยาบถของท่านที่นั่งนาน ซึ่ง

เป็นการบริหารร่างกาย ให้เหมาะสม แต่ จิตของพระอรหันต์ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว

ดังนั้น การเดินจงกรม ที่เป็นการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ร่างกาย ด้วยการบริหาร

ร่างกายนั้น ไม่ใช่ด้วยอกุศลจิต และ ไม่ใช่ด้วย กุศลจิต แต่ ด้วยจิตที่เป็นกิริยาจิต

การบริหารร่างกาย ด้วยโลภะก็เป็นไปได้โดยส่วนมากของปุถุชน เพราะต้องการ

ให้ร่างกายแข็งแรง ก็กระทำด้วยโลภะ ซึงขณะที่ออกกำลังกาย นั้น มีจิตเกิดดับ

มากมาย เพราะฉะนั้น ก็สามารถเกิด อกุศลจิต เกิดโทสะได้ ที่เป็นอกุศล แต่ไม่ใช่

โลภะ คือ ขณะที่ไม่พอใจ ขุ่นใจ ที่เหนื่อยในขณะนั้นในขณะที่ออกกำลังกาย และ

สามารถเกิด กุสลจิตก็ได้ ที่คิดนึกในสิ่งที่ดี มีเมตตา เป็นต้น หรือ เกิด กุศลจิตทีเกิด

พร้อมปัญาในขณะนั้น ทีรู้ความจริงในขณะนั้น ที่กำลังเห็น ได้ยิน เป็นต้น ในขณะที่

ออกกำลังกายก็ได้ ครับ

ซึ่ง ในข้อความพระไตรปิฎก แสดงไว้ว่า ผุ้ที่ใช้ชีวิตเป็นสุขในปัจจุบัน คือ รู้

ประโยชน์โลกนี้ ไม่ใช่เพียงการเจริญกุศลเท่านั้น แต่ หมายถึง การใช้ชีวิตที

เหมาะสมของเพศคฤหัส์ คือ มีการบริหารร่างกายด้วย เพื่อประโยชน์ให้สุขภาพ

แข็งแรง เพื่อที่จะมีชีวิตต่อเพื่อเจริญกุศล อบรมปัญญาต่อไป จึงไม่ได้หมายความ

ว่า เมื่อเป็นโลภะแล้วห้ามทำ ไม่มีใครห้ามเลย ที่จะทำหรือไม่ทำ คือ ออกกำลัง

กาย มีเหตุปัจจัยก็ทำ แต่ จะทำด้วยจิตอะไรนั้นก็แล้วแต่การสะสมของแต่ละบุคคล

แต่ ควรพิจารณาให้ละเอียดว่า แม้ไมได้ออกกำลังกายเลย ก็ไม่ได้หมายความว่า

จิตจะเป็นกุศลโดยมาก ก็เป็นอกุศลโดยมากเช่นกัน เพราะฉะนั้น ควรหรือไม่ ที่จ

มีชีวิตที่สุขภาพไม่แข็งแรง ไม่ออกกำลังกาย และ เป็นปัจจัยให้มีชีวิตไม่ยืนยาวได้

และ ป่วย เป็นต้น ปัจจัยในการเจริญกุศลก็น้อยลง เพราะมีชีวิตที่ป่วย ไม่แข็งแรง

มีอายุสั้น เพราะ ไม่รู้จักการบริหารร่างกาย มีการทานอาหารที่ดี และ ออกกำลังกาย

ให้เหมาะสม ครับ

ชีวิตที่เหลืออยู่ก็ดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ทั้งการบริหารร่างกาย การอบรมปัญญา

เจริญกุศลทุกๆ ประการ และ ที่สำคัยที่สุด ที่ไม่ควรลืม คือ เรามักกลัวอกุศล เมื่อ

เริ่มศึกษาธรรม ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้จักอกุศลที่กำลังเกิดจริงๆ ในขณะนี้เลย

แต่ หนทาการอบรมปัญญา คือ การไม่หลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิดอกุศล เพราะ

อย่างไรก็ดี อกุศกล็เกิดอยู่แล้วในชีวิตประจำวันโดยมาก เพราะฉะนั้น หนทางการ

อบรมปัญญาที่ถูกต้อง คือ การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเกิด แม้อกุศลที

เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้อกุศลทีเกิดก็เป็นธรรม ขระที่ออกกำลังกาย ก็มี

สภาพธรรมที่มีจริง มีโลภะ มีเห็น ไดยิน อันเป็นสภาพธรรมที่ควรรู้ความจริงได้

และ สามารถอบรมปัญญา คือ ปัญญาเกิดได้รู้ความจริงในขระนั้น ในขณะที่ออก

กำลังกายว่าเป้นธรรมไม่ใช่เรา ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Pure.
วันที่ 9 ก.ค. 2556

ขออนุญาติครับ ร่วมตั้งกระทู้ต่อ_

_การออกกำลังกายถือว่าเป็นโลภะ แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อรางกายด้วยเหตุและผล, ดังนั้นการบำเพ็ญภาวนาเพื่อละกิเลสและเพื่อความพ้นทุกข์ถือว่าประกอบไปด้วยโลภะหรือไม่?

ขอให้เจริญในธรรมครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

การออกกำลังกาย ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโลภะ อย่างเช่น การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ

ของพระภิกษุ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโลภะ แต่ด้วยกุศลจิต หรือ กิริยาจิตก็ได้ ครับ ส่วน

การบำเพ็ญภาวนา เพื่อละกิเลส เพื่อความพ้นทุกข์ ต้องเป็นกุศลจิตเท่านั้น เพราะขึ้น

ชื่อว่า ภาวนา ย่อมหมายถึง การเจริญขึ้นของกุศลธรรม และ ปัญญา อันเป็นไปเพื่อ

ละกิเลสประการต่างๆ ซึ่ง ภาวนา ก็มีทั้งสมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา เพราะฉะนั้น

ภาวนา ทั้ง 2 จึงเป็นอกุศล มีโลภะ ไม่ได้เลย ครับ แต่ ภาวนาทั้ง 2 จะต้องเป็นมหา

กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา และ เจตสิกทีดีงามอื่นๆ มี สติและ ศรัทธา เป็นต้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาในประเด็นนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natural
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
mon-pat
วันที่ 11 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Pure.
วันที่ 11 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ