เสียงที่ทำให้เข้าใจธรรม
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอเรียนถามค่ะ
๑. "เสียงที่ทำให้เข้าใจธรรม" หมายความว่าอย่างไรคะ มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เข้าใจธรรม ลักษณะหรือองค์ประกอบของ"เสียงที่ทำให้เข้าใจธรรม" คืออะไรบ้างคะ
๒. "ภิกษุได้ยินเสียงกลอง ก็รู้ว่า เป็นเสียงกลอง" มาจากพระสูตรใดคะ หมายความว่าอย่างไรคะ ต่างกับปุถุชนก็รู้เสียงกลองอย่างไรคะ และ การที่ไม่รู้เสียงเครื่องดนตรีได้ทุกชนิด ดังนักดนตรี การรู้ละเอียดแบบนักดนตรี คืออย่างไร เรียกธรรมนี้ ว่าอะไรค ลักษณะ "ดัง" ของเสียง เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หรืออย่างไรคะ อย่างอื่นนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า ลักษณะของเสียง ระดับสูงต่ำ หรือ ความแตกต่างนานา ของเสียง คือ อะไรคะ
๓. กรุณาอธิบาย "วจีวิญญัติ" ด้วยค่ะ (อ่าน"หยัด" หรือ "ยัด" คะ)
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา ท่านผู้รู้ สำหรับคำอธิบายค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อกล่าถึงสภาพธรรมที่เป็นเพียงเสียง ก็คือสภาพธรรมที่เป็นเสียงเท่านั้น คือ เป็นสภาพธรรมที่กระทบกับ โสตปสาทะ ที่มีลักษณะที่ดัง จะดังมาก ดังน้อย ก็แล้วแต่เสียงนั้น ดังนั้น เสียงทุกเสียงไม่ต่างกัน คือ เป็นสภาพธรรมที่ ดังที่กระทบได้ทางหู แต่ ลักษณะของเสียง ก็มีความประณตของตัวปรมัตถธรรม คือ เสียงที่ประณัตไพเราะ และ เสียงที่หยาบดัง ไม่ประณีตก็มี นี่กำลังหมายถึง เสียงที่ยังไม่ได้นึกคิดเป็นความหมาย แต่ลักษณะของเสียงที่ประณีต และ ไม่ประณีตก็มีแตกต่างกันไป แต่ เพียงเสียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้จะทำให้ เข้าใจธรรม เพราะ เพียงเสียงยังไม่ได้รู้ความหมาย แต่ เสียงที่แสดงจาก ผู้ที่ ตรัสรู้ จากผู้มีปัญญา อันเป็นเสียงที่จะสื่อความหมาย เสียงสูง เสียงต่ำที่ แสดงให้นึกคิดเป็นพยํญชนะ เช่น เสียง คำว่า ธรรม เสียงคำว่า ปัญญา เมอื่ได้ยินเสียงนี้ ก็เป็นปัจจัยให้นึกคิดเป็นคำนี้ และ สำหรับผู้ที่สะสมปัญญามา ก็ทำให้เกิดปัญญา ความเข้าใจถูก เมอื่ได้ยินเสียง สูงๆ ต่ำๆ แต่ เป็นเสียง สูง ต่ำ ทีแสดงถึงความจริงของสภาพธรรม ที่เป็นพระธรรมของพระพุทธเจ้า ที่ เมือ่ได้นยินแล้ว นึกคิดเป็นเรื่อราวของสภาพธรรม ครับ
๒. "ภิกษุได้ยินเสียงกลอง ก็รู้ว่า เป็นเสียงกลอง" มาจากพระสูตรใดคะ หมายความว่าอย่างไรคะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่
โสตานุคตสูตร - อานิสงส์การฟังธรรม
พระสูตรหมายความว่า เป็นการแสดงอานิสงส์ของการฟังธรรมว่า เมื่อได้ยินได้ ฟังพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในชาติที่เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ความเข้าใจ ธรรมไม่ได้หายไปไหน แต่สะสมต่อไป คือ สะสมความเข้าใจไว้ในจิตขณะต่อไป เมื่อไปเกิดเป็นเทวดา เป็นต้น เมื่อได้ยินพระธรรมที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนในอดีต ชาติก็ย่อมเกิดปัญญา ความเข้าใจได้อีก และ รู้ว่านี้เคยเป็นธรรมที่เคยได้ยินได้ฟังมา เป็นต้น เปรียบเหมือนผู้ที่เคยได้ยินเสียงกลอง มาแล้วในอดีต เมื่อได้ยินเสียงกลองอีก ก็รู้ว่าเป็นเสียงกลองได้ ครับ นี่จึงเป็นการแสดงอานิสงส์ ของการฟัง พระธรรมว่า สะสมปัญญาต่อไป ไม่ได้สูญหายไปไหน และ ในพระสูตรก็อธิบายต่อ ไปว่า ก็สามารถให้บรรลุธรรมได้ ในอนาคต ครับ
จากคำถามที่ว่า ต่างกับปุถุชนก็รู้เสียงกลองอย่างไรคะ
ปุถุชน รู้เสียงกลอง คือ เกิดปัญญา ความเข้าใจพระธรรม ในระดับหนึ่ง คือ เสียงกลอง อุปมา เหมือน เสียงพระธรรมที่เคยได้ยินได้ฟัมา เมื่อปุถุชน ในชาติ ทีเ่กิดเป็นมนุษย์ได้ฟังพระธรรม และ เกิดความเข้าใจธรรมบ้าง ไม่มาก เมอื่เกิดอีกชาติหนึ่ง ได้ยินพระธรรมอีก ก็ค่อยๆ เข้าใจธรรมากขึ้น เป็นการสะสมต่อ ไปในชาติหน้า ครับ
ส่วนพระอริยบุคคล เมื่อได้ยินพระธรรม ที่อุปมา ดั่งเสียง กลองอีกก็เกิดปัญญา ความเข้าใจถูก เช่นกัน และ สามารถอบรมปัญญา ดับกิเลส ได้ หากยัเป็นพระอริยบุคคลที่ยังไม่ใช่พระอรันต์ ครับ แต่ สิ่งที่เหมือนกัน คือ ปัญญาเจริญขึ้น เพียงแต่จะมาก หรือ น้อยเท่านั้น ระหว่างปถุชน กับ พระอริยะ
จากคำถามที่ว่า และ การที่ไม่รู้เสียงเครื่องดนตรีได้ทุกชนิด ดังนักดนตรี การรู้ละเอียดแบบนักดนตรี คืออย่างไร เรียกธรรมนี้ ว่าอะไรคะ ลักษณะ"ดัง"ของเสียง เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หรืออย่างไรคะ อย่างอื่นนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า ลักษณะของเสียง ระดับสูงต่ำ หรือ ความแตกต่างนานา ของเสียง คือ อะไรคะ
การรู้ลักษณะของเสียงของนักดนตรี อาศัย สัญญา ความจำที่จำลักษณะของเสียง และ วิตกเจตสิก ที่นึกขึ้นได้ว่าเป็นเสียงอะไร อย่างละเอียด อันเคยเกิด สัญญา ความ จำในลักษณะของเสียงนั้นมาแล้ว แต่ ไม่ใช่การนึกขึ้นได้ด้วยปัญญา ที่เกิดความ เข้าใจพระธรรม ที่เมื่อได้ฟังแล้ว ก็รู้และเข้าใจว่าเป็นธรรม ครับ
ส่วนลักษณะของเสียง ก็คือ ดัง เพียงแต่จะดังมาก ดังน้อย ก็ตามแต่ลักษณะของ เสียงนั้น ซึ่ง ระดับสูง ต่ำของเสียง ก็คือ ลักษณะของเสียง ที่มีความละเอียด ประณีต ที่แตกต่างกันไป ครับ
ส่วนคำถามเรื่อง วจีวิญญัติ
วจี (วาจา) + วิญฺญตฺติ (แสดงให้รู้ ประกาศให้รู้) แสดงให้รู้ด้วยวาจา ประกาศให้รู้ด้วยวาจา หมายถึง อาการพิเศษที่ทำให้รู้ความหมายได้ด้วยคำพูด วจีวิญญัติ เป็นอสภาวรูปคือไม่มีภาวลักษณะของตน แต่เป็นวิการหรืออาการของสภาวรูปที่เกิดจากจิตซึ่งมีเจตนาจะพูด ในขณะที่จิตเกิดขึ้นว่า “เราจักกล่าวคำนี้“ ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นของจิต ปฐวีธาตุที่มีจิตเป็นอุปาทินนกรูป (รูปที่เกิดจากกรรม) ทำให้เกิดเสียงขึ้น เสียงที่เกิดจากจิตนี้ไม่ใช่ วจีวิญญัติ ความวิการแห่งอาการ ที่สามารถเพื่อเป็นปัจจัยแก่การกระทบฐานเสียงซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปของปฐวีธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ ชื่อว่า วจีวิญญัติรูป เสียงที่ไม่ได้เกิดจากจิต ที่เป็นปัจจัยทำให้มีรูปกระทบที่ฐานของเสียง ไม่มีวจีวิญญัติรูป เช่น เสียงเรอ เสียงอ้วก เสียงที่เปล่งออกมาเป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง แม้เสียงสุนัขที่เห่า ไม่ว่าผู้ฟังจะเข้าใจความหมายหรือไม่ก็ตาม หรือแม้พูดอยู่คนเดียว ก็มีวจีวิญญัติรูป ซึ่งการออกเสียง ออกว่า วะ จี วิน ยัด ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม เป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประโยชน์จริงๆ คือความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เสียงที่จะทำให้เข้าใจ สภาพธรรมย่อมไม่พ้นไปจากเสียงของพระธรรมและที่สำคัญต้องมีโอกาสได้ฟังธรรม ไม่อย่างนั้นจะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ได้ยินเสียงพระธรรมหรือเสียงที่ทำให้เราสามารถ เข้าใจธรรมได้เลย ความเป็นผู้มีศรัทธาเห็นประโยชน์ของพระธรรม จึงทำให้มีการฟัง พระธรรมซึ่งจะเป็นไปเพื่อปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด จึงต้องฟังบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ละทิ้งสิ่งที่มีประโยชน์อย่างนี้ และเพราะเคยได้สะสมเหตุที่ดีนี้ไว้ก็ย่อมจะเป็น เครื่องอุปการะเกื้อกูลให้ได้อบรมเจริญปัญญาต่อไปจนกว่าจะถึงความเจริญสมบูรณ์ พร้อมได้ในที่สุด ซึ่งจะตรงกันข้ามกับผู้ไม่เห็นประโยชน์ของพระธรรมอย่างสิ้นเชิง แม้จะยังมีพระธรรมยังดำรงอยู่ก็ไม่สนใจที่จะฟัง แต่ไปฟังอย่างอื่นที่ไม่ทำใหปัญญา เจริญขึ้นก็ยิ่งทำให้สังสารวัฏฏ์ยืดยาวต่อไปอีก ครับ
...ขออนุโทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน...
เสียงเป็นรูปธรรม ไม่รู้อะไร การได้ยินเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เสียงที่ทำให้เกืดปัญญา คือ เสียงพระธรรม ค่ะ