พระที่มีบัญชีเงินฝาก ผิดพระธรรมวินัย หรือไม่ครับ

 
govit2553
วันที่  13 ก.ค. 2556
หมายเลข  23168
อ่าน  3,345

พระยินดีในเงินหรือทอง ก็จะอาบัติ พระที่มีบัญชีเงินฝาก ล่ะครับ อาบัติ หรือไม่ ประการใดครับประสบการณ์ สมัยที่ผมบวชเณรครับ พระธรรมยุต จะไม่จับเงินและทองต่อหน้าโยมครับ แต่พอลับตาโยม ก็จะแกะซอง แล้วมานับ ดูครับ ว่าได้มาเท่าไร ส่วนผมเอง ซึ่งเป็นเณร รู้สึกยินดี เกิดความโลภครับ ที่ได้เงินมา จากการที่ญาติโยมถวายมา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่มีเงินอยู่ในบัญชีธนาการก็แสดงว่ามีการการรับเงิน ถึงจะนำไปฝากธนาคารได้ สำหรับพระภิกษุ การรับเงิน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สำหรับสามเณรผิดศีลข้อที่ ๑๐

ไม่ว่าจะรับต่อหน้า หรือรับในภายหลัง ก็มีโทษด้วยกันทั้งนั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นบรรพชิต ในพระพุทธศาสนาแล้ว จะต้องมีความจริงใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัย น้อมประพฤติในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เท่านั้น ไม่กระทำในสิ่งที่ผิด ที่เป็นการต้องอาบัติล่วงละเมิดสิกขาบทข้อต่างๆ เพราะการต้องอาบัติ เป็นโทษกับตนเอง โดยส่วนเดียว ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เงินและทอง ย่อมสมควรกับเพศคฤหัถ์ ไม่สมควรกับเพศบรรพชิตที่สละหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ดังนั้น แม้การยินดีในเงินทอง ก็มีโทษ ไม่ต้องกล้่าวถึงการมีบัญชีในธนาคาร ที่ไม่สมควรโดยประการทั้งปวง พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย ในเรื่องเงินทอง เพื่อประโยชน์กับ พระภิกษุที่บวชในธรรมวินัยนี้ เพื่อละกิเลสของตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งเหตุผลในข้อนี้ ในการไม่ควรมีบัญชีในธนาคารของเพศพระภิกษุด้วย

เหตุผลหลายประการดังนี้

1.ผิดพระวินัย ในข้อยินดีในเงินทอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
2.นำมาซึ่งความไม่เลื่อมใสของประชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
3.นำมาซึ่งความเสื่อมความเลื่อมใส จากบุคคลที่เคยเลื่อมใส เพราะ ประพฤติปฏิบัติตนดั่งเช่นคฤหัสสถ์
4.เป็นไปเพื่อความมักมาก เพราะ สะสมในสิ่งที่ไม่ควรสะสม
5.เป็นไปเพื่อเพิ่มอาสวะกิเลสที่ยังไม่เกิด ทำให้เจริญมากขึ้น
6.เอื้อต่อการอยู่ไม่ได้ของเพศบรรพชิต อันจะเป็นไปในการลาสิกขาไป และ ทำให้เมื่อไม่สึก ตายไป มีอบายเป็นเบื้องหน้าเท่านั้น

จากเหตุผลที่กล่าวมาจะเห็นถึงพระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงเห็นโทษในประการต่างๆ ของ การประพฤติฏิบัติตนดั่งเช่น คฤหัสถ์ในการยินดีในเงินทอง และ มีการประกอบธุรกรรมดั่งเช่น คฤหัสถ์

อุบาสก อุบาสิกาที่ดี จึงควรเป็นผู้ศึกษาพระธรรมวินัย ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมทีเ่กิดขึ้น ว่า เป็นแต่เพียงกิเลสของแต่ละคนที่เป็นไป ที่ยินดีในสิ่งที่ไม่ควรยินดี และ เข้าใจความจริงด้วย การไม่ไปเพ่งโทษ แต่อยู่ด้วยความเข้าใจ ด้วยจิตที่เป็นกุศลในเหตุการณ์นั้น ครับ

พระพุทธศาสนาจึงไม่ได้มัวหมองเลยจากบุคคลใด เพราะ ความมัวหมอง เป็นเรื่องของ อกุศลของแต่ละคนที่เกิดขึ้น แต่ พระพุทธศาสนา เป็นสัจจะ ความจริง ปัญญา ศรัทธา อริยมรรค ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่เป็นพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นสัจจะความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ความดีย่อมไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนทองแท้ที่เมื่อผ่าออก ก็ย่อมเป็นของจริงทั้งสองท่อน กุศลกธรรมที่เป็นพระพุทธศาสนาความดี ไม่ว่าจะมีใครรักษา หรือ ไม่รักษา ความดีเหล่านี้ก็ไม่เปลี่ยนแปลง โทษจึงอยู่ที่ตัวบุคคลที่รักษาไม่ดีเป็นสำคัญ เมื่อเข้าใจดังนี้ ก็เห็นกิเลสของคนอื่นพื่อที่จะไม่ประมาทในการขัดเกลากิเลสของตนเอง เพียรพยายามด้วยความเข้าใจที่จะเจริญกุศล อบรมปัญญา ตามกำลังความสามารถของตนในชีวิตที่เหลือน้อย ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ต.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ