สนทนาธรรมกับเพื่อน

 
daeng
วันที่  13 ก.ค. 2556
หมายเลข  23173
อ่าน  1,073

เมื่อวันเสาร์ได้สนทนาธรรมกับเพื่อน เพื่อนสงสัยว่านิพพานมีกี่ระดับ มีบางคนบอกว่า

นิพพานมีหลายระดับ และนิพพานชั่วครู่ก็มี ยังหาคำตอบไม่ได้ จึงกราบเรียนถามท่านวิท

ยากรน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าการคิดนึกไปเอง

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด และไม่ดับ

จึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่ จิต เจตสิก และ รูป ครับ

นิพพานมีหลายระดับ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 อย่าง ดังนี้

สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทาทเสสนิพพาน

สุอุปาทิสเสนิพพาน คือ พระอรหันต์ที่ประจักษ์พระนิพพาน และ ถึงการดับกิเลส

ดังนั้น ทั้งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระสาวก ที่เป็นพระอรหันต์

ที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ใช้คำว่า นิพพาน ทั้งสิ้น แต่เป็นนิพพาน ที่ดับกิเลสหมดแล้ว แต่

ยังมีชีวิตอยู่ครับ แต่ สำหรับพระนิพพานนี้ ยังไม่ใช่ ปรินิพพาน คือ การดับรอบสนิท

ซึ่งสภาพธรรมทุกอย่าง

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกกพุทธเจ้า พระสาวก ผู้เป็นพระ

อรหันต์ ดับกิเลสหมดแล้ว สิ้นชีวิต เมื่อ จุติจิตเกิด ก็ไม่มีการเกิดขึ้นของขันธ์ ของ

สภาพธรรมใดๆ ทั้งสิ้น จึงชื่อว่าดับรอบ ในสภาพธรรมทุกอย่าง จึงเรียกว่า ปรินิพพาน

ดังนั้น พระนิพพาน จึงไม่ใช่ นิพพานเพียงชั่วครู ที่สำคัญว่า จิตสงบก็นิพพานชั่วขณะ

แล้ว อันนี้ เป็นการสำคัญผิด ในลักษณขะองกุศลเพียงชั่วขณะว่าเป็นนิพพาน

แต่ นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีกิเลสเลย ซึ่งสามารถ

แบ่งได้ เป็น 2 อย่างตามที่กล่าวมาข้างต้นครับ ที่แสดงถึงภาวะของผู้นิพพานดับกิเลส

หมด และดับกิเลสหมดด้วย และไม่มีการเกิดขึ้นของสภาพธรรม คือ ขันธ์ 5 ด้วย แต่

เมื่อว่า โดยปรมัต ที่เป็นพระนิพพาน ย่อมมีลักษณะอย่างเดียวคือ สภาพธรรมที่ไม่เกิด

ไม่ดับ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง อันเป็นอารมณ์ของจิตได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง แสดงถึงความเป็นจริงทั้งหมด เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม, สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่นามธรรมก็เป็นรูปธรรมทั้งหมด นามธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือนามธรรมที่รู้อารมณ์ได้แก่ จิต และ เจตสิก และนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ได้แก่พระนิพพาน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ แต่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์

ดับกิเลส ตรงกันข้ามกับสภาพธรรมที่เกิดดับ ตรงกันข้ามกับสังสารวัฏฏ์ อย่างสิ้นเชิง

ซึ่งมีพยัญชนะมากมาย ที่แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นนิพพาน เช่น

อนาลยะ (ไม่มีอาลัย คือ ไม่มีตัณหา) อุปสมะ (ความเข้าไปสงบจากกิเลส และ

สังขารธรรมทั้งหลาย) นิโรธะ (ความดับทุกข์) ตาณะ (เป็นที่ต้านทานกิเลส)

เลณะ (เป็นที่เร้นจากกิเลส จากทุกข์ จากสังสารวัฏฏ์) เป็นต้น

กว่าจะประจักษ์แจ้งพระนิพพาน ก็ต้องเป็นพระอริยบุคคล สิ่งที่ควรจะได้พิจารณา

จริงๆ ในขณะนี้ คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกใน

สภาพธรรมที่มีจริง ในชีวิตประจำวัน ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 ก.ค. 2556

นิพพานไม่เกิด ไม่ดับ นิพพานเที่ยง และ เป็นสุข และนิพพานมีจริง ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
daeng
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
daeng
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ที่กล่าวว่ามีหลายระดับ คืออย่างไรครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือหมายถึงว่าระดับความเป็น

พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีอย่างนี้หรือเปล่าครับ อ.เผดิมกรุณาให้ความเข้า

ใจเพิ่มเติมด้วยนะครับ

กราบขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ถ้ากล่าวถึง สภาพธรรมที่เป็นพะรนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

ไม่เกิด ดับ มีอย่างเดียว ระดับเดียว ไม่ว่าจะมีเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี

พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ขณะที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ พระอริยบุคคลทั้ง

4 ที่รู้พระนิพพาน ก็รู้สภาพธรมที่เป้นพระนิพพานอย่างเดียวกัน ไม่มีแบ่งระดับ

เพียงแต่ว่า สามารถเรียก นิพพาน ที่หมายถึง สภาพธรรมที่ดับ สนิท เย็น ได้เป็น

2 อย่าง คือ สอุปาทิสสนิพพาน ที่ดับกิเลสหมด แต่ ยังมี ร่างกายอยู่ กับ อนุปาทิ

เสสนิพพาน คือ ดับกิเลสและขันธ์หมดสิ้นด้วย ครับ

แต่ เมื่อว่าโดยสภาพธรรม ที่เป็นพระนิพานแล้ว มีอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น

บุคคลใดรู้ก็ตาม ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
daeng
วันที่ 15 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nopwong
วันที่ 16 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ