กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๑. ในพระอภิธรรมปิฎกตอนหนึ่ง มีประโยคว่า "กุศลธรรมอันประกอบด้วยอนุมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" (จำผิดอย่างไรขออภัยด้วยครับ) อยากเรียนถามให้ช่วยอธิบายว่าหมายความว่าอย่างไร
๒. ความอยากที่จะละโลภะ ละโทสะ ละโมหะ ถือว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลหรือ เป็นกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
กราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
ในคำถามข้อ ๑ อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ครับ
[๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ขอบพระคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นก็เข้าใจคำว่า ทุกข์ โดยนัย ทุกขอริยสัจก่อน ครับ
ทุกขอริยสัจจ์ ที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นทุกข์
ทุกฺข (สภาพที่ทนได้ยาก) + อริยสจฺจ (ความจริงอย่างประเสริฐ) ความจริงอย่างประเสริฐคือสภาพที่ทนได้ยาก หมายถึง สภาพธรรมที่เกิดดับ และทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ คือ จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ ซึ่งเป็นโลกียธรรมทั้งหมด จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ เป็นความจริงอย่างประเสริฐ เพราะผู้ที่ตรัสรู้ความจริง คือทุกขธรรมเหล่านี้แล้ว เป็นผู้เข้าถึงความประเสริฐ คือเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยเจ้า
อริยสัจธรรมที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”
ดังนั้นทุกขอริยสัจจะ จึงกินความกว้างขวาง ทั้งสภาพธรรมที่เป็นทุกขทุกข์ ที่เป็นทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิตด้วย ไม่ว่า ทุกข์ คือ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ก็เป็นทุกขอริยสัจจะ สัจจะ. ความป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ซึ่ง ทุกข์ สภาพธรรมที่เป็นทุกข์ ก็รวมถึง เป็นสภาพธรรมที่เป็นที่ติดข้องของโลภะ เป็นต้น ที่เป็น อาสวะกิเลส เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทีเกิดขึ้น และ ดับไปทั้งหมด เป็นทุกขื เพราะ เป็นที่ตั้ง หรือท ยึดถือ ติดข้อง ของโลภะ ซึ่งเป็นอาสวะกิเลสประเภทหนึ่ง ครับ
ดังนั้น จากคำถามที่ว่า
[๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉนกิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
หมายความว่าอะไร
คือ สภาพธรรมที่เป็นกิเลสทั้งหมด เป็นทุกข์ เพราะ เกิดขึ้นและดับไป และ เป็นที่ติดข้องของโลภะ ที่เป็นอาสวะกิเลสด้วย รวมทั้ง กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหเจตสิก ก็เป็น ที่ตั้ง ติดข้องของโลภะได้อีกเช่นกัน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ จึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ด้วย เพราะเกิดขึ้น และ ดับไป และเป็นที่ต้อข้อง ของ โลภะ ที่เป้นอาสวะกิเลส ครับ
กุศลธรรมอื่นๆ ก็เป็นอารมณ์ของ อาสวะ คือ เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วยโลภะได้อีกเช่นกันและเกิดดับด้วย จึงเป้นทุกข์ ครับ วิบากจิต ที่เป็นวิบากของกุศลและ อกุศละรรมทั้งหลายเกิดดับ จึงเป็นทุกข์ รวมทั้ง ธรรมที่เป็น กิริยา ก็เป็นทุกข์เพราะเกิดดับ ครับ รวมถึง รูปทั้งหมดก็เกิดดับ จึงเป็นทุกข์ ครับ
จากคำถามที่ว่า
ความอยากที่จะละโลภะ ละโทสะ ละโมหะ ถือว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรืิอเป็นกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
- ความอยาก ด้วย โลภะ ย่อมเป็นอกุศลธรรม และ เป็นอารมณ์ของอาสวะ คือเป็นที่ติดข้องของโลภะได้ด้วย ซึ่ง ความอยากที่จะละกิเลส มีจริง เกิดขึ้นและดับไป เป็นทุกข์ ส่วน ความอยาก ฉันทะ พอใจ ทีเกิดกับกุศล ประกอบด้วยปัญญาไม่ใช่ อกุศล แต่ เป็นกุศล แต่กุศลนั้นก็เป็น อารมณ์ของอาสวะกิเลส ที่ติดข้องของโลภะได้ และเกิดขึ้นและดับไปด้วย จึงเป็นทุกข์ อีกเช่นกัน ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สภาพธรรมที่เป็นทุกข์ เป็นไปในฝ่ายเกิด ซึ่งเป็นโลกิยธรรม ย่อมเป็นที่ตั้งที่ยึดถือของอาสวะได้ รวมถึงสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดีที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ด้วย แต่ถ้าเป็นธรรมที่เป็นโลกุตตระ คือ มรรคจิต ผลจิตและ นิพพาน แล้ว ไม่ได้เป็นไปในฝ่ายเกิด แต่เป็นไปในฝ่ายดับวัฏฏะ ดับทุกข์ดับกิเลส ย่อมไม่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือของกิเลสใดๆ ได้เลย
ถ้าเป็นผู้เห็นประโยชน์ของการได้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ จึงมีศรัทธาที่จะฟังที่จะศึกษาด้วยความจริงใจ มีจุดประสงค์ที่ถูกต้องในการศึกษาว่าเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ขัดเกลาความไม่รู้ และกิเลสทั้งหลาย อย่างนี้ ย่อมถูกต้อง แต่ถ้ามีจุดประสงค์อย่างอื่น ศึกษาเพื่อรู้ชื่อรู้คำไม่ได้น้อมมาเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ หรือศึกษาเพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ ย่อมผิดอย่างแน่นอน เป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลสให้กับตนเองโดยส่วนเดียว ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ทุกข์ เป็น สภาพธรรมที่เกิดด้บ ไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ นิพพานเป็นสภาพที่เที่ยงเป็นสุข. ค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
เหตุที่ถามนี้เนื่องจาก ฟังแล้วเกิดความไม่เข้าใจ จึงทำให้อยากเข้าใจในเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในเรื่องกุศล อกุศล ทุกข์ เรื่องที่ลึกซึ้งอย่างอื่นๆ เช่น "การเป็น"กุศล หรือ"การเป็นอารมณ์"ของอาสวะ ยกตัวอย่างเช่น มีหลายตอนในพระอภิธรรมปิฎกที่กล่าวว่า "ไม่เป็นกิเลส แต่เป็นอารมณ์ของกิเลส"
จึงใคร่ขอถามเพิ่มเพื่อให้ความเข้าใจเจริญมากขึ้น ดังนี้
-- จากคำถาม ๑ ข้างต้น อ้างเรื่อง ทุกข์ มาจาก อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร วิภังคปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่อง สัจจะ ๔ จึงยังไม่เข้าใจว่า "กุศลมุล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" นั้น เป็น ทุกข์ อย่างไรตามนัยของสัจจะ ๔ (แต่ถ้าเป็นตามนัยของไตรลักษณ์นั้น เข้าใจได้) --
และยังมีตอนต่อไปว่า
-- [๑๙๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ -- เนื่องจากกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะควรละ จึงเห็นว่าควรทำความเข้าใจให้มากขึ้นครับ
ขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็นที่ 5 ครับ
กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ เป็นที่ติดข้อง ยินดีพอใจ ของ โลภะ ที่เป็นอาสวะกิเลสได้ซึ่ง กุศลมูล ที่เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหเจตสิก เป็นทุกข์อยางไรนั้น ก็ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในความหมายของทุกข์ ครับว่า สภาพธรรมที่เป็นทุกข์ คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป เป็นทุกข์ และ สภาพธรรมใดที่เป็นอารมณื ติดข้องของอาสวะกิเลส คือ โลภะ ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นทุกข์เช่นกัน ดังนั้น อโลภะ อโทสะ อโมหเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ เพราะ เกิดขึ้นและดับไป ไม่เที่ยง และเป็นอารมณ์ คือ เป็นที่ตั้งของความติดข้อง โลภะได้ ที่เป็นอาสวะ ครับ ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณครับ และขออนุโมทนา
"กุศลมุล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ " เป็น ทุกข์ เพราะไม่สามารถคงอยู่ในสภาพนั้นตลอดไปได้ ต้องมีการเสื่อมและดับไป
"กุศลมุล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" ยังเป็น ทุกขสมุทัย ด้วย
[๑๙๖] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ถูกต้องครับ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป และ เป็นอารมณ์ ติดข้องของโลภะได้เป็นทุกข์ แม้แต่สภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็น กุศลธรรม มี อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เช่นกัน ครับ รวมทั้งสภาพะธรรมที่เป็นอกุศล มีโลภะ ตัณหา เป็นต้น ก็เป็นทุกข์ เพราะ เกิดขึ้นและดับไป เป็นที่ตั้ง อารมณ์ของอาสวะ คือ โลภะได้อีกเช่นกัน ครับ
ขออนุโมทนา