ถามอุบายทดสอบธรรมกับผู้ที่ว่าเข้าใจธรรม
1.เมื่อมีผู้สนทนาด้วยซึ่งสนิทกัน เราก็รับฟังโดยดี เขาก็แนะนำเราว่า ในแต่ละวันเรา
ควรแบ่งเวลานั่งสมาธิด้วย บางที่การง่วงก็ต้องฝืนมันบ้าง ไม่สู้จะแพ้กิเลส ผมก็รับฟัง
โดยดี การปฏิบัติเพื่อลดโลภ โกรธ หลง เราจะมีอุบายอะไรทดสอบเขาบ้าง ถ้า
ทดสอบแล้วผ่านก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ว่า การนั่งสมาธิตามที่แนะนำก็จำเป็น
2.กรณีมีเพื่อนร่วมงานเคยผิดใจกัน ก็ปรับความเข้าใจกันไปแล้ว แต่ บางที่เรายิ้มให้
มองหน้าไปที่เขา ทักทาย สายตาเขาไม่มองเรา ทำหลบตา เบี่ยงหน้า จะพูดคุยก็
เรื่องงาน เราควรวางอารมณ์แบบใด ที่สำคัญเป็นเพศหญิงด้วย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1.เมื่อมีผู้สนทนาด้วยซึ่งสนิทกัน เราก็รับฟังโดยดี เขาก็แนะนำเราว่า ในแต่ละวัน
เราควรแบ่งเวลานั่งสมาธิด้วย บางที่การง่วงก็ต้องฝืนมันบ้าง ไม่สู้จะแพ้กิเลส ผม
ก็รับฟังโดยดี การปฏิบัติเพื่อ ลดโลภ โกรธ หลง เราจะมีอุบายอะไรทดสอบเขาบ้าง
ถ้าทดสอบแล้วผ่านก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ว่า การนั่งสมาธิตามที่แนะนำก็จำเป็น
- ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า จะทรงซักถาม และ สนทนา ในข้อประพฤติปฏฺบัติ
ว่าผู้นั้น มีความเข้าใจพระธรรมถูกต้องหรือไม่ ดังนั้น ก็สำคัญที่ว่า บุคคลนั้น ที่จะทำ
อะไรก็ตาม นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม มีความเข้าใจเบื้องต้นในขั้นการฟังมากน้อยแค่ไหน
แม้แต่คำว่า ธรรม คำว่า ปฏิบัติธรรม คือ อะไร หากไม่มีความเข้าใจขั้นการฟัง ขอ
เพียงจะไปปฏิบัติ แต่ไม่รู้แม้ขั้นการฟังว่าปฏิบัติคืออะไร นั่นก็เท่ากับว่าเป็นความ
เข้าใจผิด ไม่ใช่การอบรมปัญญาที่เป็นไปตามลำดับที่เป็น ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
เพราะฉะนั้น เครื่องทดสอบว่าปฏิบัติถูกหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นคนอื่น หรือ
ตัวเราเอง คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ เพราะ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนา
ของปัญญา ไม่ใช่ ศาสนาที่ทำแล้ว สงบ นิ่ง แต่ไม่รู้อะไร เพราะ ธรรมที่จะละกิเลส
ไม่ใช่การนิ่ง แต่ ไม่รู้อะไร แต่ธรรมที่ละกิเลส คือ ปัญญา ดังนั้นเครื่องทดสอบที่
สำคัญ คือ ทำแล้ว ปัญญารู้อะไรบ้าง ตรงตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง หรือ
ไม่ ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
2.กรณีมีเพื่อนร่วมงานเคยผิดใจกัน ก็ปรับความเข้าใจกันไปแล้ว แต่ บางที่เรายิ้ม
ให้ มองหน้าไปที่เขา ทักทาย สายตาเขาไม่มองเรา ทำหลบตา เบี่ยงหน้า จะพูดคุย
ก็เรื่องงาน เราควรวางอารมณ์แบบใด ที่สำคัญเป็นเพศหญิงด้วย
- เรื่องของการวางใจ ก็เป็นเรื่องของใจที่ไม่ใช่เรา ที่ไม่สามารถบังคับได้ ทุกคน
ก็ไม่อยากโกรธ ไม่อยากเกิดอกุศล แต่อกุศลก็เกิดได้เป็นธรรมดา เพราะ สะสม
อกุศลมามาก หากแต่ว่า ที่สำคัญ แทนที่จะวางใจอย่างไรที่ทำไม่ได้เลย ก็สะสม
เหตุใหม่ที่จะทำให้คิดถูกมากขึ้น นั่น คือ การสะสม อบรมปัญญาไปเรื่อยๆ จากการ
ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น ก็จะค่อยๆ คิดถูก และก็จะ
ไม่บังคับหาทางที่จะพยายามวางใจอย่างไร แต่ รู้ความจริงในสิ่งที่เกิดแล้ว แม้จะ
เป็นอกุศลที่พบเห็นใครว่าเป็นธรรมดา และ เป็นธรรมที่ไม่ใช่เราที่เกิดอกุศล การ
เข้าใจเช่นนี้ก็จะเบา เพราะ ไม่หนักด้วยการพยายามที่จะไม่ให้อกุศลเกดิ เพราะรู้ว่า
เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้
หน้าที่ที่สำคัญ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในหนทางที่ถูกต้องไป
เรื่อยๆ ปัญญาจะค่อยๆ เกิดขึ้น และคิดถูกมากขึ้นเมื่อพบเจอเหตุการณ์ต่างๆ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-ต้องมีความมั่นคงในหนทางแห่งความถูกต้อง คือ การอบรมเจริญปัญญา ถ้าหากว่า
ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก มีแต่การกระทำด้วยความหลงผิด ไม่รู้ตามความ
เป็นจริง นั่นย่อมไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาอย่างแน่นอน มีแต่พอกพูน
ความไม่รู้และความเห็นผิดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า
หนทางที่เป็นไปเพื่อการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จนกระทั่งสามารถดับกิเลสตาม
ลำดับขั้น ก็คือ หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญา เป็นหนทางเดียว ที่พระอริยเจ้าทั้ง
หลายดำเนินมาแล้ว ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อมีโอกาสได้พบกัน ประโยชน์อยู่ที่
การแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือ แนวทางที่ถูกต้องให้ เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก
ถ้าอีกฝ่าย เห็นไม่ตรงตามความเป็นจริงของธรรม ก็จะต้องอธิบายให้ได้เข้าใจถูก ใน
สิ่งที่ถูกต้องครับ
-การอยู่ร่วมกัน ความเป็นมิตร เป็นเพื่อนเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นธรรมดา ไม่มีใครดี
พร้อม ถ้ายังไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ยังมีข้อบกพร่อง ยังมีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นเป็นไปบ้าง ตาม
การสะสมของแต่ละบุคคล แม้ตนเองก็มีสิ่งที่ไม่ดี มากเหมือนกัน ซึ่งถ้าได้เข้าใจถูก
เห็นถูกอย่างนี้ ก็เห็นใจคนที่มีกิเลสด้วยกัน แล้วช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง ช่วยให้ได้เข้าใจถูกเห็นถูกในธรรม ซึ่งเป็นการช่วยที่ประเสริฐ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...