ทำไมพระสงฆ์ หรือพุทธศาสนิกชนสมัยพุทธกาล นิพพานได้เร็ว

 
ais2005ais
วันที่  24 ก.ค. 2556
หมายเลข  23236
อ่าน  4,783

ผมมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่งนะครับ

ทำไมพระสงฆ์ หรือฆราวาสสามัญชนทั่วไปสมัยพุทธกาล นิพพานได้เร็วจังครับเพียงแค่ พุทธองค์ เทศนาสอน เพียงเท่านี้คนเหล่านั้นก็นิพพานได้แล้ว แสดงว่าสมัยพุทธกาลนั้นหลักคำสอนของพุทธองค์เข้าใจได้ง่ายใช่ไหมครับ หรือปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขพระธรรมคำสอนหรือป่าวครับ อยากรู้จริงๆ ครับ

สาธุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ais2005ais
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ตัวอย่างเช่น - พุทธบิดา ที่กำลังป่วย พุทธองค์ได้ไปเทศนาสอนก็นิพพานเลยครับ- พระโมคคัลลานะ สำเร็จอรหันต์เพียง 7 วันหลังการบวชและอื่นๆ อีกมากมายบรรยายไม่หมดนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฝนตก ลง ภาชนะ มี ตุ่ม เป็นต้น เมื่อฝนเริ่มตก ตุ่มจึงค่อยๆ กักเก็บน้ำทีละน้อย เพียงฝนตกครั้งแรก ปริมาณน้ำน้อย ยังไม่มาก เพียงก้นตุ่ม แต่เมื่อฝนตกบ่อยๆ หลายๆ ครั้ง และใช้เวลาที่ยาวนาน น้ำก็เกือบเต็มตุ่ม มีปริมาณมาก และเมื่อ ฝนตกครั้งสุดท้าย เพียงตกไม่นาน น้ำก็ล้นจากตุ่มได้ เพราะ ปริมาณน้ำเกือบ เต็มตุ่มอยู่แล้ว ไม่ได้หมายความว่า อยู่ดีๆ ฝนตกครั้งสุดท้ายจะทำให้น้ำเต็มตุ่ม ทันที หากตุ่มว่างเปล่า แต่แสดงว่า ตุ่มได้มีการสะสมน้ำทีละน้อยมาแล้ว จาก ฝนที่ตกครั้งก่อนๆ อย่างยาวนาน จนถึงการตกของฝนครั้งนี้จึงทำให้น้ำเต็มตุ่ม เพียงครั้งเดียว ฉันใด การบรรลุธรรมของบุคคลในสมัยพุทธกาล บางท่าน ท่านฟังเพียงครั้งเดียวก็บรรลุธรรม ดูเหมือนง่าย แต่ในความเป็นจริง บุคคล เหล่านั้นก็ต้องอาศัยการอบรมปัญญา มายาวนาน นับชาติไม่ถ้วน หากได้อ่าน อดีตชาติของอริยสาวกต่างๆ เช่น ท่านอบรมมา แสนกัปกว่าจะบรรลุ ไม่ใช่เวลา เล็กน้อยเลยครับ เพราะอาศัยการอบรมปัญญามายาวนาน เปรียบเหมือนเริ่ม จากปัญญาน้อย น้ำมีน้อยในตุ่ม เพียงก้นตุ่ม แต่ก็ค่อยๆ สะสมปัญญา สะสม ปริมาณน้ำฝนลงตุ่ม อย่างยาวนาน ได้พบบัณฑิต และพบพระพุทธเจ้าในอดีต มากมาย ค่อยๆ สะสมปัญญามาในอดีตชาติ จนในชาติปัจจุบัน น้ำใกล้เต็มตุ่ม คือ ปัญญาพร้อมที่จะได้ตรัสรู้แล้ว เพราะสะสมปัญญามามากพอแล้วครับ

ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

ท่านพระสารีบุตรเถระ เมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปติสสปริพาชก ได้ฟังธรรมจากท่านพระ อัสสชิ (หนึ่งในภิกษุปัญจวัคคีย์) ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านพระพาหิยทา รุจีริยะ ได้ฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทเจ้า ด้วยธรรมเพียงสั้นๆ ทำให้ท่าน ได้ตรัสรู้อย่างเร็วพลันสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะและพระ ราชบิดา ที่ได้บรรลุธรรม เป็นต้น ก็ได้ฟังพระธรรมมาในในสมัยอดีตชาติ นับชาติ ไม่ถ้วนแล้ว ครับ จะมองเพียงชาตินั้นไม่ได้ เพราะก่อนที่ท่านจะมีวันดังกล่าว คือ วันที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เมื่อย้อนกลับไปในชาติก่อนๆ ท่านเหล่านั้น ล้วน เป็นผู้ได้สะสมอบรมเจริญปัญญา ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม จากพระสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ มาแล้วทั้งนั้น

"ก่อนจะมีวันนั้นได้ ก็ต้องมีวันนี้ คือ วันที่มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ" จะเห็นได้ว่าพระอริยบุคคลทั้งหลายในอดีต ก่อนที่ท่านเหล่านั้นจะได้รู้แจ้งอริย สัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้นั้น ก็จะต้องเป็นผู้ได้สะสมอุปนิสัยที่ดี ได้สดับตรับฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สะสมปัญญามาเป็น เวลาอันยาวนานด้วยกันทั้งนั้น ดังข้อความเตือนสติ ที่สรุปได้จากคำบรรยาย ของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ตอนหนึ่ง มีว่า "ไม่มีใครฟังพระธรรม เพียงครั้งเดียวแล้วจะรู้ธรรมได้ในทันทีทันใด พระอริยบุคคลทั้งหลายในอดีต ล้วนเป็นผู้สะสมเหตุที่ดี คือ สะสมการฟังพระธรรม เป็นผู้สดับตรับฟังพระธรรม มามาก ทั้งนั้น"

ส่วนในสมัยปัจจุบันที่บรรลุธรรมได้ยากกว่าในสมัยพุทธกาล เพราะเหตุว่าปัญญา ของสัตว์โลกน้อยลง ตามกิเลสที่เพิ่มขึ้น เพราะสมัยพุทธกาล ผู้ที่สะสมบุญ บารมี และปัญญามามากเกิดในสมัยนั้น จึงสามารถเกิดบรรลุธรรมได้มากกว่า คนในสมัย ปัจจุบัน ที่สะสมบุญ บารมี และปัญญามาน้อยกว่ามาก ครับ อย่างไรก็ดี พระธรรม ไม่เคยง่าย เป็นสิ่งที่ยากเสมอ เพราะเกิดจากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้แต่ พระพุทธเจ้าเองก็ต้องอบรมบารมี นับชาติไม่ถ้วน เช่นเดียว กับอริยสาวก ที่อบรม ปัญญามานับชาติไม่ถ้วน กว่าจะได้บรรลุธรรม ในสมัยพุทธกาล ครับ

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 44

เชิญคลิกอ่านที่นี่

[คาถาธรรมบท]


สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมโดยเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม ว่า ไม่ควรที่จะท้อถอย ยิ่งยากก็ยิ่งจะต้องศึกษา เพราะปัญญาไม่สามารถจะ เจริญขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ ศึกษาไปตามลำดับ เพียงแค่วันนี้ พรุ่งนี้ หรือ ชาตินี้ ยังไม่พอ ต้องสะสมความเข้าใจต่อไปอีกเป็นเวลา อันยาวนาน ซึ่งมีข้ออุปมาเหมือนการจับด้ามมีด เมื่อจับบ่อยๆ นานๆ รอยสึกย่อม ปรากฏได้ ปัญญาก็เช่นกัน ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการสะสม ในการ อบรม จึงจะเจริญขึ้นได้ โดยที่ไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมสะสม ปัญญาต่อไปครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ais2005ais
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ชัดเจนมากเลยครับกับคำตอบ ขอถามต่ออีกหน่อยนะครับ

- ตามที่ท่านได้กล่าวว่า ผู้ที่สั่งสมบารมีธรรมมาหลายภพหลายชาติ เป็นเวลายาวนาน ถึงจะบรรลุนิพพานได้นั้น แบบนี้ปุถุชนทั่วไปคงไม่สามารถทราบได้ ดังนั้นผู้ที่จะเริ่ม ศึกษาธรรมนั้นจึงเหมือนเป็นการพิสูจน์บุญบารมีตนเองว่ามีพอหรือป่าว ที่จะเข้าถึง ธรรมมะได้ ใช่หรือไม่ครับ

- แล้วการที่พุทธองค์ทรงค้นพบ หลักของธรรมชาติที่มีอยู่บนโลกอยู่แล้ว ในการไปถึง นิพพานเพื่อให้ทุกคนหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนั้น ดูจะไม่สอดคล้องนะครับ

- กระผมคิดว่าทุกคนมีสิทธิ์ไปถึงนิพพานได้ ถ้าปฎิบัติไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือผิดขอคำชี้แนะด้วยนะครับ เป็นสมาชิกใหม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ค. 2556

เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ

- ตามที่ท่านได้กล่าวว่าผู้ที่สั่งสมบารมีธรรมมาหลายภพหลายชาติ เป็นเวลายาวนาน ถึงจะบรรลุนิพพานได้นั้น แบบนี้ปุถุชนทั่วไปคงไม่สามารถทราบได้ ดังนั้นผู้ที่จะเริ่ม ศึกษาธรรมนั้นจึงเหมือนเป็นการพิสูจน์บุญบารมีตนเองว่ามีพอหรือป่าว ที่จะเข้าถึง ธรรมมะได้ ใช่หรือไม่ครับ

* ถูกต้อง ครับ ซึ่ง ก็แล้วแต่ว่าใครสะสม ปัญญามามากแค่ไหน เพียงพอจะบรรลุใน ชาตินั้นหรือไม่ ครับ


- แล้วการที่พุทธองค์ทรงค้นพบ หลักของธรรมชาติที่มีอยู่บนโลกอยู่แล้ว ในการ ไปถึงนิพพานเพื่อให้ทุกคนหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนั้น ดูจะไม่สอดคล้องนะ ครับ

* พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง และ ทรงแสดงกับหมู่สัตว์ ที่สะสมความเห็นถูกมา ที่มีศรัทธา ส่วน คนที่ไม่สะสมปัญญา ความเห็นถูกมา พระองค์ก็ไม่ทรงแสดงกับ ผู้นั้น เพราะเขาไม่สามารถที่จะฟัง และ ไม่สนใจในพระธรรม ครับ พระพุทธเจ้าจึง เป็นเพียงผู้บอกทาง ส่วนคนใดที่จะเดินตามทางถูกก็แล้วแต่การสะสมของแต่ละคน เพราะ แม้บอกทางเดียวกัน แต่เดินผิดทางก็ได้ ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ข้อความบางตอนจาก..

คณกโมคคัลลานสูตร

[๑๐๓] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็มีอยู่ ทางไปนิพพาน ก็มีอยู่ เราผู้ชักชวนก็มีอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวก เพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่สำเร็จ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทาง.


- กระผมคิดว่าทุกคนมีสิทธิ์ไปถึงนิพพานได้ ถ้าปฎิบัติไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือผิดขอคำชี้แนะด้วยนะครับ เป็นสมาชิกใหม่ครับ

* หากว่าใครก็ตามที่ฟังธรรมเข้าใจ และ น้อมประพฤติในหนทางที่ถูก ย่อม ถึงพระนิพพานได้ เพียงแต่ว่า ทุกคนไม่ได้สะสมความเห็นถูกมาเหมือนกันทั้งหมด แผ่นดิน ไม่ได้เรียบเสมอกันทั้งหมด บางที่ก็มีหลุม มีบ่อ ฉันใด ไม่ใช่ทุกคนจะสนใจ พระธรรม บางบุคคลก็เป็นผู้มีความเห็นผิดดิ่ง ก็ไม่สามารถรับพระธรรมได้ ปฏิเสธ พระธรรม จึงเป็นตอของวัฏฏะ ไม่สามารถที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ พระองค์ก็ไม่ ทรงแสดงธรรมกับเขา เพราะ จะมีโทษกับบุคคลนั้นมากขึ้น เพราะอาจกล่าวว่าร้าย พระพุทธเจ้าได้ ส่วนผู้ที่สะสมความเห็นถูก และ เดินตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงอย่างถูกต้อง เขาเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรม ถึง นิพพานแน่นอน ครับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ข้อความบางตอนจาก....

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

ในนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น บางคนดิ่งลงสู่ทัศนะเดียว บางคน ๒ ทัศนะ บางคน ๓ ทัศนะก็มี เมื่อดิ่งลงไปในทัศนะเดียวก็ดี ใน ๒ หรือ ๓ ทัศนะก็ดี ย่อมเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ห้ามทางสวรรค์และห้ามทาง นิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์แม้ในภพที่ติดต่อกันนั้น จะกล่าวไปไยถึงนิพพานเล่า สัตว์นี้ชื่อว่าเป็นตอวัฏฏะ เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน โดยมากคนมี ทิฏฐิเห็นปานนี้ ออกจากภพไม่ได้.

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา และ ยินดีต้อนรับกับสมาชิกใหม่ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ais2005ais
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขอบคุณมากนะครับ สำหรับทุกคำตอบ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natural
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขออนุญาตเรียนถามความหมายคำว่าดิรัจฉานกถา จากข้อความ...สัตว์เหล่านั้นฟั ดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล..

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น มีความละเอียด ลึกซึ้งยากที่จะตรัสรู้ตามได้ เป็นธรรมอันบัณฑิตเท่านั้นที่จะรู้ได้ ธรรมจึง ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะกว่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ต้องใช้เวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญพระบารมีตลอดระยะเวลาสี่อสงไขย แสนกัปป์ และเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ในการ ประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น ก็เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกได้เข้าใจความจริง หลุดพ้นจากทุกข์ หมดจดจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ตามพระองค์ ซึ่งจะเห็น ได้ว่าจากการแสดงพระธรรมของพระองค์ในแต่ละครั้งๆ นั้น มีผู้ที่ได้ประโยชน์จาก พระธรรม รู้แจ้งอริยสัจจธรรมบรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เป็นจำนวน มากมายนับไม่ถ้วน และพระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นกว่าที่ท่านจะถึงวัน ดังกล่าวนั้นได้ ท่านก็ต้องเป็นผู้ได้สะสมการสดับตรับฟังพระธรรม สะสมปัญญา มาเป็นเวลาอันยาวนาน ด้วยกันทั้งนั้น ต้องมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้บรรลุ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็จะบรรลุ

จึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดี สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาพระธรรม โดยเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม ว่า ไม่ควรที่จะท้อถอย ยิ่งยากก็ยิ่งจะต้อง ศึกษา เพราะปัญญาไม่สามารถจะเจริญขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ ศึกษาไปตามลำดับ เพียงแค่วันนี้ พรุ่งนี้ หรือ ชาตินี้ ยังไม่พอ ต้องสะสมความเข้าใจต่อไปอีกเป็นเวลาอันยาวนาน (จิรกาลภาวนา) ซึ่งมีข้ออุปมา เหมือนการจับด้ามมีด เมื่อจับบ่อยๆ นานๆ รอยสึกย่อมปรากฏได้ ปัญญาก็เช่นกัน ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการสะสม ในการอบรม จึงจะเจริญขึ้นได้ เพราะ ฉะนั้น ในแต่ละภพในแต่ละชาติ มีชีวิตอยู่ก็เพื่อได้ฟังพระธรรม ได้สะสมอบรม เจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งขึ้น เพราะเหตุว่าการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นเรื่องที่ไกลมาก ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นได้ก็ต้องมีวันนี้ คือ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาต่อไป.

ประเด็นเรื่องดิรัจฉานกถา

ดิรัจฉานกถา หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นไปทางขวาง คือ ขวางทางสวรรค์ และ ทาง นิพพาน เพราะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้ออกไปจากทุกข์ การได้ฟังในสิ่งที่ไม่มีสาระ ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้น ของกุศลธรรม มีแต่จะพอกพูนอกุศลให้หนานแน่นยิ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเตือนพุทธบริษัทในเรื่องการพูดไว้ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการพบปะกัน มีการประชุมกัน ควรจะพูดในเรื่องใด ไม่ควรพูดในเรื่องใด กล่าวคือ หากเป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่เพิ่มอกุศล ให้มีมากขึ้น ทั้งโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ไม่ได้ทำให้กุศลเจริญขึ้นเลย คำพูดใน ลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นดิรัจฉานกถา เป็นคำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงไม่ควรพูด พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงแสดงโทษและความไม่เป็นประโยชน์ของดิรัจฉานกถา เหล่านั้นไว้ พร้อมทั้งทรงแสดงเรื่องที่ควรพูด ควรสนทนากัน ไว้ด้วย คือ เรื่องที่เป็น ไปเพื่อขัดเกลากิเลส เรื่องการอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง เป็นต้น เป็นความจริงที่ว่า ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ วาจาก็ย่อมเป็นไปกับกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นธรรมดา แต่สำหรับบุคคลผู้เห็นโทษของอกุศลธรรม เห็นประโยชน์ ของการเจริญกุศลทุกประการ ย่อมหลีกเลี่ยงวาจาหรือคำพูดใดๆ ที่เป็นไปในทาง เบียดเบียนผู้อื่น อันหาสาระแก่นสารไม่ได้ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้อกุศลธรรมเพิ่มมากขึ้น ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลงอย่าง เห็นได้ชัด ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

เดรัจฉานกถาแน่ๆ ?

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
papon
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 24 ก.ค. 2556

เพราะ คนสมัยก่อน มีบุญ สะสมบุญและเหตุปัจจัยพร้อมมาแล้วในอดีต จึงเป็นปัจจัยให้บรรลุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ค. 2556

เรียน ร่วมสนทนา ความเห็นที่ 6 ครับ

เดรัจฉานกถา ก็คือ คำพูดใดที่พูดแล้ว จิตเป็นอกุศลในขณะนั้น เรื่องใดที่พูดแล้ว จิตเป็นอกุศล ก็ชื่อว่า เป็นเดรัจฉานกถา แม้เรื่องนั้น จะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่อง ที่ไร้สาระ แต่ เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระ คือ ไม่มีคุณความดีที่เป็นกุศล เพราะเกิดอกุศลจิต ในขณะนั้น ก็ชื่อ เดรัจฉานกถา ยกตัวอย่างเช่น หากกล่าวถึงเรื่องบ้านเมือง หากพูด ด้วยอกุศลจิต ก็ชื่อว่า เป็นเดรัจฉานกา เพราะ ขัดขวางไม่ให้ไปสวรรค์ เพราะ จิตเป็น อกุศลในขณะนั้น ครับ

เดรัจฉานกถาคือคำพูดที่เป็นไปในเรื่องราวต่างๆ มีเรื่องราวของชาวบ้าน เรื่องราว ของสิ่งต่างๆ ด้วยเจตนาที่เป็นอกุศลเจตนา อันมีความประสงค์จะพูดเรื่องราวที่ไม่มี ประโยชน์ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มีเจตนา ต้องย้ำว่ามีเจตนานะครับ มีเจตนาที่เป็นอกุศลด้วย โลภะ เป็นต้น พูดเรื่องราวที่เป็นบุคคลต่างๆ สิ่งต่างด้วยจิตอกุศลไม่ใช่กุศล ขณะนั้น เป็นเดรัจฉานกถา คำพุดที่กั้นสวรรค์ มรรคผลนิพพาน

จะเป็นกุศลหรืออกุศลจิตนั้นสำคัญที่จิตและสำคัญที่เจตนาครับ ดังนั้นคำพูดใดเป็น เดรัจฉานกถาก็สำคัญที่เจตนา ไม่ใช่เรื่องที่จะพูด สำคัญที่จิตครับ เช่น แม้จะพูดเรื่อง ราวของบุคคลอื่น เช่น เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องโจร แต่พูดด้วยจิตที่เห็นถึงความ ไม่เที่ยงว่า แม้โจรคนนี้จะเก่งเพียงใดก็ต้องตาย มีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด แม้ข้าว น้ำ ที่มีมากเพียงใด ข้าวและน้ำนั้นก็ต้องถึงความสิ้น เสื่อมไปเป็นธรรมดา คำพูดนี้ไม่ใช่ เดรัจฉานกถา แม้จะกล่าวเรื่องของโจร เรื่องของข้าว เรื่องของน้ำ เพราะเจตนากล่าว ด้วยจิตที่เป็นกุศล ด้วยจิตที่เห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงโดยปรารภ เรื่องราวในชีวิตประจำวัน แต่จิตขณะนั้นเป็นความเห็นถูก หากจิตเป็นกุศลแล้ว เรื่อง ราวที่พูดจะเป็นเดรัจฉานกถาไมได้เลยครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...คำพูดที่ไม่เป็นเดรัจฉานกถา [ปฐมวัตถุกถาสูตร]

ดังนั้น คำถามที่ถามว่า สัตว์เหล่านั้นฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ คือ อะไร ก็คือ การฟังเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ คือเรื่องที่ไม่เป็นเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เรื่องที่ไม่เป็นไปเพื่อละกิเลส ซึ่งข้อความก่อนหน้านี้ แสดงไว้ว่า สัตว์ โดยมาก ยากที่จะได้พบพระพุทธเจ้า เพราะ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นโดยยาก เมื่อไม่ได้พบ พระพุทธเจ้า ก็พบกับบุคคลที่เป็นปุถุชน ที่มากไปด้วยกิเลส และ มากไปด้วย ความไม่รู้ด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อพบกับคนที่ไม่มีปัญญา เป็นคนพาล โดยมาก คนพาล คนไม่มีปัญญา เมื่อจะพูดก็พูดในเรื่องที่เป็นไปตามจิต เมื่อ จิตเป็นอกุศล เรื่องที่พูดก็เป็นไปตามจิต คือ เป็นเรื่องที่ฟังแล้วไม่เกิดปัญญา แต่ เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของอกุศล เป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงเป็น เรื่องที่เป็นเดรัจฉานกถา ดังนั้น เมื่อโดยมากในสังสารวัฏฏ์ พบเจอคนพาลโดย มาก ก็ทำให้ได้ฟังในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์โดยมาก และ ที่สำคัญที่สุด ผู้ที่ ฟังเรื่องนั้น ก็เป็นปุถุชน ที่มากไปด้วยกิเลส ก็ไหลไปตามกิเลสนั้นด้วย ก็ทำให้ สะสมกิเลส สะสมความไม่รู้เพิ่มขึ้นมากไปอีก ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ดังข้อความที่ยกมานั้น เป็นเรื่องของอุบาสก 5 คน ที่ไม่ตั้งใจฟังพระธรรม บางคน ก็หลับ บางคนก็นั่งดูท้องฟ้า เป็นต้น เพราะ สะสมการฟังเรื่องไม่เป็นประโยชน์ มามาก พอได้ฟังเรื่องที่มีประโยชน์ก็ไม่สนใจ เพราะไม่ได้สะสมปัญญามา พระธรรมที่พระพุทธเจ้า จึงยากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะยาก อย่างยิ่ง กับบุคคลที่ ไมได้สนใจในพระธรรม

เมื่อเห็นคุณค่าตามความเป็นจริงของ พระธรรมทีเกิดขึ้นยากในโลก เพราะ การอุบัติของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นยาก ควรที่จะเป็นผู้ใส่ใจ สนใจในเรื่องที่เป็น ประโยชน์ คือ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ตามความเป็นจริง เพราะ ไม่รู้ ว่าชาติต่อไปจะได้พบพระพุทธศาสนาหรือไม่ แต่ให้รู้ว่าอนาคต ก็จะต้องพบ คนพาล พบเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากมาย ก็สะสมกิเลสอีกมากมาย เพราะ ฉะนั้น เวลาที่เหลือน้อยในชาตินี้ ควรที่จะอบรมปัญญา ศึกษาพระธรรมตามกำลัง ของตนเท่าที่จะมีได้ เป็นการสะสม กถาวัตถุ 10 คือ คำพูด ที่เป็นไปเพื่อขัดเกลา กิเลส อันเป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั่นเอง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nopwong
วันที่ 25 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
natural
วันที่ 25 ก.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
guy
วันที่ 26 ก.ค. 2556

กราบขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
orawan.c
วันที่ 1 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ