ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ มูลนิธิฯ อาสาฬหบูชา ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  25 ก.ค. 2556
หมายเลข  23244
อ่าน  2,336

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ที่ผ่านมามูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้จัดให้มีการสนทนาธรรม เนื่องในโอกาส วันอาสาฬหบูชา นำโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร ของมูลนิธิฯ โดยมีผู้สนใจ เข้าร่วมรับฟังการสนทนาธรรมเป็นจำนวนมากเช่นเคย

เหมือนกับทุกๆ ครั้งที่ผ่านมานะครับ ในวันพระใหญ่ ที่มีการสนทนาธรรมที่ มูลนิธิฯ จะมีสหายธรรม เจริญกุศล เป็นเจ้าภาพ นำอาหารคาวหวานต่างๆ ล้วนน่ารับประทานมาบริการแก่ผู้เข้าร่วมฟังการสนทนา ทั้งมื้อเช้า และ มื้อกลางวัน เช่นเคย

ทุกอย่าง ล้วนเป็นอาหารจานเด็ด ที่ทุกท่านคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นะครับ ขอกราบอนุโมทนาท่านเจ้าภาพอาหารคาวหวาน ไอศครีมตัก ไอศครีมแท่ง น้ำดื่ม ผลไม้ ฯลฯ รวมถึงท่านเจ้าภาพดอกไม้ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ และ สหายธรรมทุกๆ ท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ด้วยครับ

อันดับต่อไป ขอนำความการสนทนาธรรม ในภาคบ่ายของวันนั้นมาให้ทุกๆ ท่าน ได้พิจารณา เป็นช่วงของการสนทนาเรื่อง ปฏิบัติธรรม ท่านอาจารย์ ได้สนทนากับพระคุณเจ้ารูปหนึ่ง ที่ท่านเข้าร่วมฟังการสนทนาในวันนั้นเป็นตอนที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับทุกๆ ท่าน ที่สนใจในเรื่องของการปฏิบัติธรรมซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจ ไปทำปฏิบัติ ตามสถานที่ หรือ สำนักต่างๆ เป็นจำนวนมาก ครับ

พระคุณเจ้า เจริญพร เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ก่อนอื่น ก็ต้องขออภัยที่ขัดจังหวะการสนทนา แล้วก็ขออภัย เฉพาะที่ความเห็นไม่ถูก (ตรง) กันเพื่อความเข้าใจของอาตมาเอง ในเรื่องการปฏิบัติ ไม่ค่อยเข้าใจ เพราะในสมัยนี้ ทุกวัน ในสถานที่ อย่างเช่นในสำนัก เมื่อกี้ ได้ยินพูดถึง สำนักภาษาบาลี ใช้คำว่า สันติเก ตามที่ได้ศึกษามา ลงในอรรถ ๒ อย่าง คือ แปลว่า ในสำนัก อันที่ ๒ คือ ในที่ใกล้ในสำนัก ในที่นี้ อย่างเช่น ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยพุทธกาล ในพระไตรปิฎก ในสูตรต่างๆ ท่านเข้าไปในสำนัก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ดีเข้าไปในสำนัก ของเพื่อนภิกษุ ที่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ก็ดี เข้าไป เพื่อจะฟังธรรม เพื่อจะสนทนาธรรม

นั่น ตามศัพท์ ที่ได้เจอในพระไตรปิฎก และ อรรถกถา ท่านอธิบาย อย่างเช่น ในสำนัก ที่นั้นหมายถึง ที่อยู่ ที่พัก ชั่วคราว ไม่ใช่อยู่ตลอดเวลาอย่างเช่น ในอิริยาบถทั้ง ๔ ท่านจะอยู่ในที่ใด จะยืนก็ดี จะนั่งก็ดี จะนอนก็ดี แล้วภิกษุนั้น เข้าไปหา เพื่อจะฟังธรรม ไปในที่ใกล้ของท่าน ไม่ไกลมาก และ ไม่ใกล้มาก เพื่อที่จะสนทนากัน รู้เรื่อง รู้เนื้อความ ในที่อย่างนี้ เรียกว่า สันติเก (ในสำนัก,ในที่ใกล้) อีกคำหนึ่ง ใช้ในคำว่า วิหารติ คือ ที่ประทับอยู่ ที่อยู่ อย่างเช่น ตามสูตรต่างๆ ถ้าเราดูภาษาบาลี จะเห็นคำว่า พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ในวัดเชตวัน หรือใช้คำว่า พระศาสดา วิหารติ ประทับอยู่ เชตวเน ในวัดเชตวัน อนาถบิณฑิกัสสอารามของท่าน บิณฑิกเศรษฐี นั่นในพระไตรปิฎก ใช้คำว่าอย่างนี้ แต่ในเรื่องทุกวันนี้ อาตมา ก็มีความสงสัย ในเรื่องของการปฏิบัติมากเลย จำเป็นไหม? ที่เราจะไปสำนัก เพื่อปฏิบัติ?

เจริญพร

ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ ต้องเข้าใจว่า ปฏิบัติ คือ อะไร? ทุกคำ ต้องเข้าใจก่อน ไป เพื่อ อะไร?

พระคุณเจ้า ศัพท์ว่า ปฏิบัติ หรือ ปฏิปัตติ ที่เคยศึกษามา แปลว่า ถึงเฉพาะ

ท่านอาจารย์ ขณะ "ถึงเฉพาะ" เป็นขณะที่ ปัญญา รู้ว่า กำลังถึงเฉพาะ ไม่ใช่สงสัย เอ๊ะ! ถึงเฉพาะ หรือเปล่า? หรือว่า จะเรียกว่าอะไร ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เจ้าค่ะ แต่จะต้อง มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ในสภาพธรรมะ ที่ได้ยิน ได้ฟัง มาก จนกระทั่ง มีความเข้าใจขึ้น

เพราะฉะนั้น เมื่อกี้นี้ ฟังเรื่องชีวิตินทริยนาม กับ ชีวิตินทริยรูป ชีวิตตินทริยเจตสิก "ฟัง" อย่างละเอียด เพื่อ อะไร? ไม่สามารถที่จะ ถึงสภาพของชีวิตตินทริย เลย แต่ว่า ฟัง เพื่อเข้าใจขึ้น ในความเป็น อนัตตา เพื่อ เมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้ เวลาที่ สติสัมปชัญญะ เริ่มเกิด ก็จะเริ่ม ค่อยๆ เข้าใจถูก ใน "ลักษณะ" ของสภาพธรรมะนั้น จนกระทั่ง สิ่งที่ได้ฟัง ทุกครั้งที่ได้ฟัง และ มีความเข้าใจ ในความเป็น อนัตตา ก็จะถึงระดับขั้นของปัญญา ที่สละ ละความติดข้อง ในสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเคยปรากฏ แม้ในขณะนี้ ก็ปรากฏ กับความไม่รู้ ต่อไป ก็ปรากฏ กับ ความเข้าใจขึ้น ต่อไป ก็ปรากฏ กับ สติสัมปชัญญะ พร้อมด้วยปัญญาที่ เริ่ม จะรู้จัก "ลักษณะ" ที่เป็นธาตุ หรือ เป็นธรรมะ แต่ละหนึ่ง

จนกระทั่ง สภาพธรรมะ "แต่ละหนึ่ง" ปรากฏ ตามความเป็นจริง จึงใช้คำว่า "วิปัสสนา" คือ "รู้แจ้ง" ขณะนั้น ไม่มีอะไรปิดบัง มีเฉพาะ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมะ "หนึ่ง" อย่างอื่น ไม่ปรากฏ

เพราะฉะนั้น จะเหมือน ขณะที่ ใช้คำว่า รู้แจ้ง ทั้งๆ ที่ ไม่รู้แจ้ง ไม่ได้ เพราะเหตุว่า สภาพธรรมะ ปรากฏพร้อมๆ กันหลายอย่าง อย่างขณะนี้ ทั้งเห็นด้วย ทั้งได้ยินด้วย ทั้งคิดนึกด้วย ทั้งสุข ทุกข์ และ สภาพเจตสิกอื่นๆ ซึ่งไม่รู้เลย ว่าไม่ใช่เราสักอย่าง แล้วก็เกิด แล้วก็ดับ ไปพร้อมกัน

เพราะฉะนั้น กำลัง "ถึงเฉพาะ" อันไหน? ก็ไม่มีเลย เพียงแต่ ฟัง เข้าใจ และ ความเข้าใจ ที่เกิดจากการฟังขณะนี้ ไม่ใช่เรา แม้ปัญญา ก็เป็น สังขารขันธ์ "ปัญญา" ที่เกิดจากการฟัง และ เข้าใจขึ้น ทีละน้อย ก็เป็น สังขารขันธ์ที่จะทำให้สามารถเข้าใจ ในลักษณะ ของสิ่งที่กำลังปรากฏ

เมื่อศรัทธา เจริญขึ้น สติ เจริญขึ้น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นอินทรีย์ หรือ อินทริย ถึงความเป็นใหญ่ ที่ "เริ่ม" จะเข้าใจ ลักษณะ ของสภาพธรรมะ ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ซึ่งเป็น โพธิปักขิยธรรม ที่จะนำไปสู่ การรู้ความจริง ของสิ่งที่ ได้ยิน ได้ฟัง

เพราะฉะนั้น ขณะที่ฟังเรื่อง ชีวิตินทริยเจตสิก และ ชีวิตินทริยรูป มีความเข้าใจขึ้น ยังไม่รู้ความจริง แต่รอไว้ ปรุงแต่ง ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่ ปัญญา ถึงความสมบูรณ์ ขณะไหน ระดับไหน ก็สามารถที่จะ เพราะได้ฟัง เพราะเริ่มเห็น ว่าไม่ใช่ตัวตน จึงสามารถที่จะ สละคืน ความติดข้อง ในสภาพธรรมะนั้นที่เข้าใจว่า เป็นตัวตน ได้

เพราะฉะนั้น ก็เป็นสังขารขันธ์ ในขณะนี้ ที่กำลัง "ปรุงแต่ง" จากการ "เข้าใจ" ทีละเล็ก ทีละน้อย ไปเรื่อยๆ

พระคุณเจ้า ขอถามเพิ่มเติม อีกข้อหนึ่ง ที่วัดอาตมา หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านบอกอาตมาว่า อย่ามัวแต่ศึกษา อย่ามัวแต่ฟัง ต้องไปปฏิบัติด้วย และ ปีนี้ ท่านไปปฏิบัติ ๗ เดือน อาตมา ไม่รู้จะปฏิบัติ อย่างไร? ไปสำนัก...

ท่านอาจารย์ ค่ะ ไม่รู้ ก็ ไปทำไม? ไปไม่รู้...ไม่รู้...ก็ไป...

พระคุณเจ้า ถ้า อย่างเช่น เจอในพระไตรปิฎก ภิกษุทั้งหลายไปในสำนัก ของพระผู้มีพระภาคฯ อย่างเช่น พระปุณณะท่านไปสำนักของพระผู้มีพระภาคฯ เพื่อจะขอกรรมฐาน แล้วก็ไปปฏิบัติ อย่างนี้

ท่านอาจารย์ กรรมฐาน คือ อะไร? แล้ว "ให้กรรมฐาน" ให้ อย่างไรคะ? เอาอะไร มาให้?

พระคุณเจ้า ก็ ฟังพระธรรม ให้เข้าใจ

ท่านอาจารย์ ค่ะ ให้ความเข้าใจถูก แต่ให้อย่างอื่นไม่ได้ค่ะ กรรมฐาน คือ อะไร? ขณะนี้ "เห็น" มีจริง เป็นกรรมฐาน หรือเปล่า? ฐานะ ที่ตั้ง ของการกระทำ ที่ไม่ใช่ "เรา" เลย เป็นสติ และ ปัญญา ที่ทำหน้าที่ ที่จะ "ถึงลักษณะ" ของสภาพธรรมะนั้น ฟังธรรมะ ต้องไม่ทิ้ง ตั้งแต่คำแรก คือ ธรรมะ ทุกอย่าง ที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล จึงทรงแสดงไว้ว่า ธรรมะ ทั้งหลาย เป็นอนัตตา ลืมไม่ได้ เจ้าค่ะ

เพราะว่า จะทำให้ ขณะใดก็ตาม ที่เข้าใจผิด ว่าเป็นเราระลึกได้ ว่าเป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่มีจริง เพียงเป็นสิ่งที่ปรากฏ

เพราะฉะนั้น การฟัง เพื่อเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น จนกระทั่ง แม้ขณะนั้น โลภะเกิด เคยเป็นเรา ก็สามารถที่จะ ระลึกได้ สติ กำลังเข้าใจว่า สิ่งนี้ มีจริง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย แต่ไม่ใช่ของใคร เกิดแล้ว ก็ดับไป กว่าจะทั่ว ทั้งหมด ในชีวิต โดยไม่เลือก ไม่ว่าสภาพธรรมะใด เมื่อเป็นปัญญา ที่ได้อบรมแล้ว มีกำลังสามารถที่จะเข้าใจถูก เห็นถูก รู้แจ้งความจริง ของสิ่งที่ปรากฏ

ด้วยเหตุนี้ ปัญญา จึงมีหลายขั้น แม้แต่ อินทริย (อินทรีย์) สภาพธรรมะที่เป็นใหญ่ ที่กล่าวว่า มี ๒๒ ประเภท ก็ยังมีปัญญา ต่างขั้น ตั้งแต่ที่เป็น อินทรีย์ จนกระทั่งถึง ปัญญา ระดับพระโสดาบัน จากพระโสดาบัน โสตาปัตติผล ถึง อรหัตตมรรค ก็เป็นปัญญา อีกระดับหนึ่ง และ เวลาที่ จิตที่เป็นผลของมรรค เกิดขึ้นขณะนั้น ก็เป็นปัญญา อีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของ ความเข้าใจถูก ทั้งหมด เจ้าค่ะซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ตรง ว่า ขณะนี้ ไม่ได้พูดถึง สิ่งที่ไม่มี ถ้าใครจะพูดถึงสิ่งที่ไม่มี ไม่มีประโยชน์เลย จะไปเข้าใจ ได้อย่างไร? ในเมื่อ ไม่มีสิ่งนั้น ให้เข้าใจ

แต่ถ้าพูดถึง สิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้ แล้วเข้าใจขึ้นว่า เป็นอนัตตา เกิด-ดับ ก็พิจารณาได้ว่า ถูกต้อง จริงหรือเปล่า? เมื่อจริง ก็สามารถที่จะรู้แจ้ง แต่ไม่ใช่ ด้วยความ "เป็นเรา" ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวตน ที่หวัง ต้องการ แล้วก็ "ทำ" เพื่อที่จะ "ได้" ขณะนั้น ก็เพิ่มความเป็นตัวตน ไม่ได้เข้าใจ ว่า แท้ที่จริงแล้ว จะต้อง "ละ" ทั้งหมดเลย ตั้งแต่ ละ "ความไม่รู้" ละ "ความติดข้อง" ละ "ความต้องการ" เพราะว่า "โลภะ" ไม่ใช่ "ปัญญา" เจ้าค่ะ

พระคุณเจ้า ถ้าอย่างนั้น ในทุกวันนี้ เห็นมีหลายวัด หลายสำนักเข้าไป เขายังไม่ได้สอนให้ฟัง ให้เข้าใจ อะไรเลย เขาบอกวิธีการเดิน ยุบหนอพองหนอ อะไรอย่างนี้ แล้วก็ให้ "หัดเดิน" แล้วก็ให้ "หัดดู" อะไรอย่างนี้ ถูกไหมครับ?

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น พระคุณเจ้า ฟังใคร? เจ้าคะ?

พระคุณเจ้า ฟังพระธรรม คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า มากกว่า

ท่านอาจารย์ ไม่ได้สอนอย่างนี้ ไม่ได้สอนให้ "หัดเดิน" แต่ สอนให้ "เข้าใจ" เป็นปรกติด้วย ใช้คำว่า "เป็นผู้มีปรกติ" เพราะสภาพธรรมะ เกิดแล้ว แม้แต่ ประโยคสั้นๆ ขณะนี้ ทุกคน ประพฤติ ตามที่เป็นไป แสดงความ เป็นปรกติ

พอรู้อย่างนี้ ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ไปกำหนด ไม่ได้อะไร ทั้งสิ้น แต่ รู้ว่า ขณะนี้ เป็นธรรมะ ซึ่งเกิด แล้วก็สามารถที่จะรู้ได้ เมื่อเข้าใจก่อน จากขั้นการฟัง โดยรอบรู้จริงๆ โดยศรัทธา มั่นคงขึ้น จริงๆ

พระคุณเจ้า เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะถึงขั้นปฏิบัติ ต้องฟังให้เข้าใจก่อน แล้วก็น้อม สิ่งที่เข้าใจนั้น มาประพฤติ ปฏิบัติ ภาษาบาลีใช้คำว่า วัตต แปลว่า ความประพฤติ ตามสิ่งที่เข้าใจนั้น ยังไม่ถึงขั้น ปฏิปัตติ ถึงเฉพาะ ใช่ไหมครับ?

ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ เพราะฉะนั้น ก็ต้องฟังและเข้าใจว่า กำลังฟังอะไร? ถ้าคำพูดนั้น ไม่จริง ไม่มีเหตุผล เช่น ไม่ต้องรู้อะไร ก็ไปปฏิบัติ ใครจะไป? ไม่รู้อะไร ก็ไปปฏิบัติได้ ชวนกันไปปฏิบัติ ใครจะไป? คนที่ไม่รู้ ไปแน่ๆ

เพราะฉะนั้น ฟังใคร? ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ฟัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่ไปนั้น ฟังคนหนึ่งคนใด ที่มีความคิด ความเห็น อย่างนั้น แต่ ไม่ใช่ฟังพระธรรม และ ไม่ใช่ฟังพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงด้วย

พระคุณเจ้า เพราะฉะนั้น ต้องฟังให้เข้าใจ แล้วน้อมมาประพฤติ จะเดินก็ดี จะนั่งก็ดี จะนอนก็ดี จะกินก็ดี อย่างนี้ ถูกไหมครับ?

ท่านอาจารย์ ธรรมะ น้อมอยู่แล้ว ทีละเล็ก ทีละน้อย ทีละนิด ทีละหน่อย ไม่มีเราทำอะไรได้เลย ขณะที่ กำลังเข้าใจ นิดหนึ่ง ก็กำลังน้อมไปสู่ความจริง

พระคุณเจ้า ทีละเล็ก ทีละน้อย นี่ หมายถึง รู้ทัน ขณะ แต่ละขณะ แต่ละขณะ หรืออย่างไรครับ?

ท่านอาจารย์ ขณะนี้ มีเห็น ยังไม่รู้จัก "เห็น" ตามความเป็นจริง ในขณะที่เห็นเกิด และ เห็นดับ แล้วไม่รู้ด้วยว่า แท้ที่จริง ขณะนี้เป็น นิมิต ของ จักขุวิญญาณ เป็น จักขุวิญญาณนิมิต เพราะเหตุว่า เพียงขณะเดียว ไม่มีใครสามารถจะไปรู้ได้ ในขณะนั้น แต่เมื่อ เกิดซ้ำ จนปรากฏ เหมือนเห็นอยู่ตลอดเวลายังมีเห็นอยู่ ยังไม่ได้หลับ

เพราะฉะนั้น ขณะนั้น เมื่อได้ฟังพระธรรม เข้าใจ ก็ เริ่มเข้าใจ "เห็น" ว่าเห็น ขณะนี้ เกิดแน่ๆ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เป็นได้ยิน ไม่ได้ เป็นคิดนึก ไม่ได้เป็นเฉพาะ สิ่งที่เกิดขึ้น "เห็น" แล้วก็ดับไป

ทั้งหมดนี้ เจ้าค่ะ กำลังน้อม ไม่มีใครน้อม แต่ความเข้าใจ สังขารขันธ์ ค่อยๆ น้อมไป สู่การไม่ละทิ้ง ที่จะเข้าใจ ไม่ใช่ฟังใคร ไม่ใช่ฟังคนอื่น แต่ ฟังความจริง ที่ทรงแสดง โดยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อจะให้ถึงกาละ ที่ สติสัมปชัญญะ มีปัจจัย จึงเกิด ไม่ใช่เราไปทำ ไม่ใช่ว่า เราไปที่ไหน แล้วเราไปทำให้เกิด

พระคุณเจ้า ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งครับ

พุทโธ อุปปันโน โลเก พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ในโลก เกิดขึ้นแล้ว ในโลก

ธัมโม อุปปันโน โลเก พระธรรม เกิดขึ้นแล้ว ในโลก

สังโฆ อุปปันโน โลเก พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เกิดขึ้นแล้ว ในโลก

เจริญพร

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๒๐

ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒ ปฐมตถาคตสูตร

(ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักร)

[๑๖๗๐] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะ ได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 25 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่วันชัย ภู่งาม เป็นอย่างยิ่งครับ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ธนัตถ์กานต์
วันที่ 25 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 26 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 26 ก.ค. 2556

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณวันชัย มา ณ กาลครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 26 ก.ค. 2556
กราบขอบพระคุณคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 26 ก.ค. 2556
อ่านจบน้ำตาซึมอีกแล้วคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
panasda
วันที่ 26 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ch.
วันที่ 26 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาและขอบคุณคุณวันชัย ภู่งามเป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 26 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณวันชัย ภู่งาม เป็นอย่างยิ่งค่ะ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
natural
วันที่ 26 ก.ค. 2556

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับการถ่ายทอดคำสอนของทางมศพ.

และอนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
raynu.p
วันที่ 27 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Boonyavee
วันที่ 27 ก.ค. 2556

ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Jans
วันที่ 28 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณวันชัย ภู่งาม

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
nopwong
วันที่ 29 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Noparat
วันที่ 29 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณวันชัย ภู่งาม เป็นอย่างยิ่งค่ะ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Parinya
วันที่ 31 ก.ค. 2556

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 30 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Jarunee.A
วันที่ 23 ก.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ