ความอัศจรรย์ ของ นามและรูป ที่เป็น ปัจจัย แก่กันและกัน

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  28 ก.ค. 2556
หมายเลข  23257
อ่าน  1,193

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญรับฟัง...

ความอัศจรรย์ของนามและรูปที่เป็นปัจจัยแก่กันและกัน

จะเห็นความน่าอัศจรรย์ของ การที่สภาพธัมมะจะปรากฏ ครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่ง ในชีวิตได้ เพราะเหตุว่า ถ้าย่อเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต ลงอย่างละเอียด ที่สุดแล้วก็จะปรากฏว่า มีการเกิดขึ้น ของจิต ที่กำลังรู้อารมณ์หนึ่ง เพียงขณะเดียว ขณะเดียวจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ขณะหนึ่ง แล้วก็ดับไป จิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ ขณะหนึ่ง แล้วก็ดับไป แต่ถ้าไม่สามารถ ที่จะรู้ความจริง อย่างนี้นะคะจะปรากฏ เหมือนกับเป็นเหตุการณ์ ยาวนาน สำคัญ เหลือเกิน แต่ถ้าย่อ หรือ ตัดลงมาแล้ว จะเหลือเพียง การเกิดขึ้น รู้อารมณ์ของจิตแต่ละขณะเท่านั้น เพราะฉะนั้น บางท่าน กล่าวว่า รูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิต นี่นะคะจะ แตกกระจัดกระจายลง ในขณะใด ได้ทั้งหมดคือ ความตายเนี่ยค่ะ ง่ายที่สุด เพราะเหตุว่าเพียงไม่รักษา ไม่ทะนุถนอม รูปนี้ ไว้อย่างดี นะคะ รูปนี้ ก็คงจะต้องไม่สามารถจะเป็นปัจจัย เป็นที่อาศัย ให้เกิด จิตได้เพราะเหตุว่า รูปนี้ค่ะ บอบบาง แล้วก็อันตรายมาก เพียงถูกมีดนิดเดียว นะคะ เลือดก็ไหลกระทบอะไรหน่อย ก็พร้อมที่จะแตกย่อย ไปได้ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า รูป นี้ ไม่ยั่งยืนความตาย เป็นสิ่งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างรวดเร็ว แล้วก็เมื่อไหร่ก็ได้แต่ การที่จะมีชีวิต เป็นอยู่ต่อไป โดยที่ยังไม่ตาย นี่สิคะ ที่น่าอัศจรรย์ว่า มีปัจจัยอะไร ที่จะทำให้ การประจวบกัน ของปัจจัยต่างๆ ของนามธรรมและรูปธรรมที่จะสัมพันธ์ และเป็นปัจจัยกัน ให้สภาพธัมมะ ปรากฏ แต่ละขณะเพราะเหตุว่า กรรมเป็นสมุฏฐาน ให้เกิด จักขุปสาท ไม่มีใครสามารถที่จะสร้าง จักขุปสาทรูปได้เพราะเหตุว่าจักขุปสาทรูปเป็นรูปซึ่งใส สามารถรับกระทบ เฉพาะสี คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่สีสันวรรณะ นะคะ แต่เป็น คุณลักษณะ เป็น สภาพของรูป ซึ่งกรรมทำให้สามารถรับกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตาได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า กรรมทำให้จักขุปสาทเกิดดับ ๑๗ ขณะจีต เมื่อเกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้ว ๑๗ ขณะจิต ก็ดับไป อาจจะยังไม่มีการเห็นเลย

เพราะฉะนั้น ในขณะนี้นะคะ ถ้าขณะที่กำลังได้ยินเสียง เนี่ยค่ะ จักขุปสาท ซึ่งเกิด พอ ๑๗ ขณะของจิต ก็ดับโดยที่ไม่ได้กระทำกิจการงาน ไม่ปรากฏว่าเป็นที่เกิดของ การเห็น หรือว่าไม่ปรากฏ ให้รู้ว่ามี รูปนั้นเลย เมื่อไม่ปรากฏ จึงไม่รู้ว่าเป็นรูปนั้น แต่ถึงจะ รู้ หรือ ไม่รู้ ก็ตามรูป ซึ่งมีสมุฏฐาน เกิดก็เกิดตามอายุ แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น การประจวบกันของแต่ละขณะ อย่างรวดเร็ว เหลือเกิน เพราะเหตุว่า จักขุปสาท หรือ โสตปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท หรือ หทยวัตถุ ซึ่งเป็นที่เกิดของจิต ก็มีอายุ เพียงแค่ จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

-รูปารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา

-สัททารมณ์ เสียงที่ปรากฏทางหู

-คันธารมณ์ กลิ่นที่ปรากฏทางจมูก

-รสารมณ์ รสที่ปรากฏทางลิ้น

-โผฏฐัพพารมณ์ ที่ปรากฏทางกาย

ก็มีอายุ ๑๗ ขณะ เหมือนกัน

แต่ว่าทั้ง จักขุปสาทก็ดี และ รูปารมณ์ก็ดี ซึ่งต่าง ก็มีอายุ ๑๗ ขณะจิต เนี่ยค่ะ จะต้อง เกิด และ เป็น ปัจจัยที่จะทำให้ มีการเห็นเกิดขึ้น ได้อย่างรวดเร็ว เพียงไร เพราะเหตุว่า จักขุปสาท ที่เกิดนะคะ ต้องยังไม่ดับ คือยังไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต รูปารมณ์ ที่เกิดต้องยังไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต ยังไม่ดับจึงจะ เป็นปัจจัยที่กระทบกันแล้วทำให้ ภวังคจิตไหว เป็น ภวังคจลนะ หนึ่งขณะเป็น ขณะที่ ๒ ของ รูปทั้งสอง นะคะ แล้วก็ ภวังคุปัจเฉทะ เป็น ขณะที่ ๓ ของ รูปทั้งสองเมื่อ ภวังคุปัจเฉทะจิต ดับแล้ว เป็นปัจจัย ให้ ปัญจทวาราวัชชนจิต เกิดขึ้นทั้งสองรูป ยังไม่ดับ คือ จักขุปสาท ก็ยังไม่ดับ รูปารมณ์ ก็ยังไม่ดับเมื่อ ปัญจทวาราวัชชนจิต ดับแล้ว เป็น วิถีจิตที่ ๑ เพราะเหตุว่า ภวังคจิต ทั้งหมด ไม่ใช่ วิถีจิต จิตใดก็ตามที่ไม่ใช่ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ จิตนั้น เป็น วิถีจิต

เพราะฉะนั้น ภวังคจลนะ ไม่ใช่ วิถีจิต ภวังคุปัจเฉทะ ไม่ใช่ วิถีจิต ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็น วิถีจิตที่ ๑ ดับไป จักขุวิญญาณ ซึ่งเกิดต่อ เป็นวิถีจิตที่ ๒ ดับไป สัมปฏิจฉันนจิต เป็น วิถีจิตที่ ๓ สัณตีรณจิต เป็น วิถีจิตที่ ๔ โวฏฐัพพนจิต เป็นวิถีจิตที่ ๕ ชวนจิต อีก ๗ ขณะ เป็นวิถีจิตที่ ๖ แล้วก็ ตฑาลัมพนะ อีก ๒ ขณะ เป็นวิถีจิต ๗ อายุของรูป ๑๗ ขณะจิต จึงดับ พร้อมกับ ตฑาลัมพนะขณะที่ ๒ ทั้งจักขุปสาท และ รูปารมณ์ นี่คือ การเป็นปัจจัย อย่างรวดเร็ว ของ นามธรรมและรูปธรรม น่าอัศจรรย์ ไหม

แต่ละขณะ ที่จะ เห็นได้ ได้ยินได้ ได้กลิ่นได้ ลิ้มรสได้ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ การที่ รูปธรรม และ นามธรรม เป็น ปัจจัย ซึ่งกันและกัน อย่างรวดเร็วนี่ค่ะ เป็น ความน่าอัศจรรย์เพราะเหตุว่า รูป มี อายุเพียง ๑๗ ขณะจิต ซึ่งก็นับว่า สั้นมาก นะคะและนามธรรม ก็เกิดดับ เร็วกว่า รูปนั้นอีก แต่ก็ยังสามารถ ที่ นามธรรม และ รูปธรรม เป็น ปัจจัย ซึ่งกันและกันโดย รูปธรรม ที่เป็นปัจจัย เป็นปัจจัย โดยเป็น ปุเรชาตปัจจัย เป็นสภาพธัมมะซึ่งเกิดก่อนนามธรรม แต่เวลาที่นามธรรม เป็นปัจจัย แก่ รูปธรรม เป็นปัจจัย โดยเป็น ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยการเกิดภาย หลังซึ่งก็จะได้กล่าวถึงต่อไป


ข้อความ โดย มศพ.

สภาพธรรมนั้นๆ จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อ มีสภาพธรรมอื่น ที่เกิดร่วมด้วยนั่นเอง ต่าง เป็น ปัจจัย ซึ่งกันและกัน อาศัยกันและกัน จึงเกิดขึ้นถ้า ปราศจากกันแล้ว ก็เกิดไม่ได้เลยเลย เมื่อเข้าใจ ตามความเป็นจริงจะค่อยๆ คลาย การยึดถือ สภาพธรรม ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

...กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณใหญ่ราชบุรี เป็นอย่างยิ่ง ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nopwong
วันที่ 30 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สิริพรรณ
วันที่ 30 ก.ค. 2556

กราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเศียรเกล้า

กราบขอบพระคุณท่านอ.สุจินต์เป็นอย่าสูง

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณใหญ่ที่สร้างเหตุดีผลย่อมน่าจะดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 27 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของ คุณใหญ่ราชบุรี อย่างยิ่ง ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ