ทำไมศึกษาพระธรรมแล้ว รู้สึกแห้ง ๆ
คำบรรยายพื้นฐานพระอภิธรรม แผ่นที่ ๔ ตอนที่ ๒๓๔ - ๒๓๕
โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ผู้ถาม กราบเรียนท่านอาจารย์ครับ คือ ผมฟังธรรมะมาตั้งแต่เช้ามันยังไม่ตื่นเลยครับ ฟัง
แล้วมันแห้งๆ ท่านอาจารย์ครับ คือมันไม่อยากจำอะไรเลย
แต่ถ้าเผื่อว่า ถ้าแกงอย่างนี้ใช้ทำอาหารเช้า แกงอย่างนี้เป็นอาหารกลางวัน แกงอย่างนี้
สำหรับอาหารเย็นเนี่ย เราจะรู้สึกว่า เอ๊ ! ประโยชน์ของมันคืออะไร นำไปใช้อะไร มัน
อยากจะตื่นเต้น อยากจะเรียน แต่พระธรรมอ่านไปมันก็แห้ง
ท่านอาจารย์ ที่กล่าวว่าแห้งเนี่ยนะค่ะ เพราะเหตุว่า พระธรรมไม่ได้อยู่ในกระดาษ
ไม่ว่าจะมีตำรามากมายในพระไตรปิฎก อรรกถา ฎีกา ในรุ่นตั้งแต่พระผู้มีพระภาคทรง
ดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วก็มีการสังคายนา ตลอดมาจนกระทั่งถึงแต่ละยุค ซึ่งก็มีตำรา
เพิ่มขึ้น เป็นกระดาษทั้งหมด
เพราะฉะนั้นความแห้งก็คือว่า ไม่ได้เข้าใจธรรมะ เพียงแต่ว่าจำชื่อ อ่านชื่อ รู้เพียงว่า
คำนี้มาจากไหน ตำราทั้งหมดเนี่ยค่ะ มีเพียบพร้อมทั้งหมด แล้วก็จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย แต่
แห้งเพราะเหตุว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในกระดาษ
ด้วยเหตุนี้ การฟังธรรมะก็คือว่า ฟังเพื่อที่จะได้มีตนเองเป็นที่พึ่ง ถ้าเราฟังแล้วยังถาม
คนนั้นคนนี้นะคะว่า นี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หมายความว่าขณะนั้นนะค่ะ เราไม่ได้เข้า
ใจธรรมะ เราจะได้แต่เพียงคำตอบ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ของเรา ซึ่งเกิดจากการฟัง ไตร่ตรอง
จนกระทั่งเป็นความเห็นถูก จนกระทั่งเป็นที่พึ่งของตนเอง
...........
ผู้ถาม กราบเรียนท่านอาจารย์ครับ คือ ผมยังมีโมหะมากๆ อยู่ ยังไม่ตื่นยังไม่เบิกบาน
ที่จะฟัง ขณะนั้น เลยไม่รู้จะใช่คำว่าอะไร
ท่านอาจารย์ หลายคนจะกล่าวว่า พระอภิธรรมแห้ง ไม่เหมือนพระสูตรนะค่ะ มีเรื่อง
บุคคลนั้น บุคคลนี้ และชีวิตของคนในครั้งนั้น ก็เต็มไปด้วยเรื่องที่เหมือนชีวิตของคน
สมัยนี้แต่ว่าวิถีชีวิตคือวิถีจิตก็จะต่างๆ กันไป ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมไม่ได้
เข้าใจว่า อภิธรรมคือ ธรรมะที่มีจริง ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ขณะนี้เอง
นะคะ ถ้าฟังแล้วเข้าใจ ก็คือรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมแต่ละลักษณะ เพื่อที่จะได้มีความมั่นคง
ในสัจจญาณ ที่จะรู้ว่า ไม่มีเราค่ะ ทั้งหมดเพื่อที่จะถึงความจริงที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่
สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ถ้าเข้าใจก็คือความไม่ประมาท
แต่ไม่ใช่หมายความว่าเป็นชื่อที่เราจะไปอ้างว่า อยู่ในสูตรนั้นมีความหมายประการใดๆ
บ้างนะค่ะ แต่ว่าเป็นทุกขณะนี้เองที่กุศลจิตเกิด ตรงกันข้ามกับประมาท ต้องค่อยๆ เข้า
ถึงความเป็นธรรมะ เพราะว่า เรามักจะลืม ฟังไม่เท่าไหร่ก็ลืม เดียวลับมาเป็นเราที่
อยากจะทำอย่างนั้น อยากจะทำอย่างนี้
ลืมว่า ธรรมะเป็นธรรมะ ไม่มีใครที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่สามารถที่จะอบรม
ความรู้ถูก ความเห็นถูก ในลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ มิฉะนั้น ก็จะเป็นเพียงชื่อ กับเรื่อง
ราว เท่านั้นเอง
..........................
กราบเท้าบูชาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ขออนุโมนาในกุศลจิตของผู้ร่วมศึกษาธรรมะทุกๆ ท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เพราะฉะนั้นความแห้งก็คือว่า ไม่ได้เข้าใจธรรมะ เพียงแต่ว่าจำชื่อ อ่านชื่อ รู้
เพียงว่า คำนี้มาจากไหน ตำราทั้งหมดเนี่ยค่ะ มีเพียบพร้อมทั้งหมด แล้วก็จะ
มีเพิ่มขึ้นเรื่อย แต่แห้งเพราะเหตุว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ในกระดาษ
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ ผู้ร่วมเดินทาง เป็นอย่างยิ่งครับ
ขออนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถ้าฟังแล้วเข้าใจ ก็คือรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมแต่ละลักษณะ เพื่อที่จะได้มีความมั่นคงใน
สัจจญาณ ที่จะรู้ว่า ไม่มีเราค่ะ ทั้งหมดเพื่อที่จะถึงความจริงที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์
ไม่ใช่บุคคล ถ้าเข้าใจก็คือความไม่ประมาท
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ ผู้ร่วมเดินทาง เป็นอย่างยิ่งครับ
"...การฟังธรรมะ ก็คือว่า ฟังเพื่อที่จะได้มีตนเองเป็นที่พึ่ง
ถ้าเราฟังแล้วยังถามคนนั้นคนนี้นะค่ะว่า นี้เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล
หมายความว่า ขณะนั้นนะคะ เราไม่ได้เข้าใจธรรมะ เราจะได้แต่เพียงคำตอบ
ซึ่งไม่ใช่ความรู้ของเรา ซึ่งเกิดจากการฟัง ไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเห็นถูก
จนกระทั่งเป็นที่พึ่งของตนเอง..."
.........
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณผู้ร่วมเดินทางด้วยครับ
การได้ร่วมเดินทางในหนทางที่ถูกต้องนี้ พร้อมๆ กับกัลยาณมิตรทั้งหลาย
เป็นหนทางที่มีแต่ความอบอุ่น ชุ่มชื่นในใจเสมอๆ ครับ
ขออนุโมทนาอีกครั้งครับ
ขออนุญาติคุยด้วยนะคะ คงไม่โดนบล๊อกนะคะ
ถ้าศึกษาพระอภิธรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ จะไม่สับสน และจะไม่รู้สึกแห้งๆ นะคะ
เมื่อเข้าใจได้บ้าง จะรู้สึกแช่มชื่นใจ ตื่นตัวที่จะรับรู้ไปเรื่อยๆ ค่ะ คือถ้าเชื่อมโยงกันได้ ปัญญาก็จะเกิดค่ะ ปัญญาเกิดมันสว่างแจ่มใส ก็ไม่รู้สึกแห้งแล้งนะคะ
ฟังพระอภิธรรม รู้เข้าใจแล้ว ก็ยังไม่เท่าเชื่อมโยงกันได้ แล้วนำมาปฏิบัติได้จริงค่ะ
เรียนคุณ Soamusa ครับ
หากผู้ศึกษาเริ่มเข้าใจและเชื่อมโยงกันได้
แสดงว่าปัญญาขั้นฟังพัฒนาไปได้ดี ไม่ติดขัด เข้าใจไปได้เรื่อยๆ
แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า หากเกิดความแช่มชื่นใจตรงนี้
จะเป็นความแช่มชื่น โสมนัส ด้วยกุศลหรืออกุศล
ส่วนที่คุณ Soamusa กล่าว ปัญญาเกิดมันสว่างแจ่มใส เป็นอย่างไร? ครับ
และที่กล่าวว่า รู้เข้าใจแล้ว ยังไม่เท่าเชื่อมโยงกันได้ แล้วนำมาปฏิบัติได้จริง
ตรงนี้ขออนุญาตถามว่า นำมาปฏิบัติได้อย่างไร? ครับ
หากผู้ศึกษาเริ่มเข้าใจและเชื่อมโยงกันได้
แสดงว่าปัญญาขั้นฟังพัฒนาไปได้ดี ไม่ติดขัด เข้าใจไปได้เรื่อยๆ
แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า หากเกิดความแช่มชื่นใจตรงนี้
จะเป็นความแช่มชื่น โสมนัส ด้วยกุศลหรืออกุศล
ตอบ.....กุศลค่ะ ในขณะเข้าใจพระอภิธรรม ...คุณคิดว่าขณะนั้นดิฉันเกิดโลภะเหรอคะ
ส่วนที่คุณ Soamusa กล่าว ปัญญาเกิดมันสว่างแจ่มใส เป็นอย่างไร? ครับ
ตอบ.....จากประสบการณ์ตนเองนั้น เวลาอ่านพระอภิธรรมเข้าใจ มันจะมีสภาวะสว่าง
แจ่มใสขึ้นในใจแว๊ปหนึ่งค่ะ เร็วมากค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าเวลาอ่านเข้าใจแล้วจะเกิดทุกครั้งนะคะ
และที่กล่าวว่า รู้เข้าใจแล้ว ยังไม่เท่าเชื่อมโยงกันได้ แล้วนำมาปฏิบัติได้จริง
ตอบ....อย่าง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ละบรรพ ต้องแยกให้เป็น ต้องเชื่อมโยงไป
ต่อวิปัสสนาได้ ต้องเข้าใจว่าบรรพไหนเป็นอะไรได้บ้างค่ะ และปฏิบัติอย่างไรอยู่ในขั้น
สมถะ ปฏิบัติอย่างไรอยู่ในขั้นวิปัสสนา
ตรงนี้ขออนุญาตถามว่า นำมาปฏิบัติได้อย่างไร? ครับ
ตอบ....ฟังแล้วเข้าใจ ก็ปฏิบัติได้ค่ะ ทั้ง สมถะกับวิปัสสนา
.........................................................................................
ขอบพระคุณมากค่ะที่สนทนากัน
ขอบพระคุณครับที่กรุณาตอบคำถามครับ
ความแช่มชื่น ที่เกิดจากความเข้าใจพระธรรมนั้น สำหรับผมคิดว่า นอกจากสามารถจะ
เป็นกุศลแล้ว อาจจะเป็นอกุศลได้ (อันนี้ตัวผมเองนะครับ)
เหมือนกับตอนผมเรียนหนังสือ เมื่ออ่านแล้วรู้สึกรู้เรื่อง เข้าใจ ทะลุปรุโปร่งก็มีความรู้สึก
แช่มชื่น อารมณ์ดี อย่างนี้ครับ
พอผมมาเปรียบเทียบกับขณะที่ศึกษาเนื้อหาถ้อยคำในพระธรรม พอเข้าใจในถ้อยคำว่า
มีความหมายอย่างไร แล้วยกไปอธิบายในส่วนอื่นๆ ได้สอดคล้องกัน ทำให้เข้าใจมาก
ขึ้น ก็รู้สึกแช่มชื่น สดชื่น เหมือนกันนะครับ
แม้ว่าการศึกษาข้างต้นเป็นการศึกษาต่างกันคือ ทางโลกและทางธรรม แต่เมื่อพิจารณา
โดยละเอียดแล้ว ความแช่มชื่นข้างต้นทั้งสองลักษณะนั้นมีความคล้ายคลึงกันมากๆ เลย
ครับ เนื่องจากยังคงเป็นการศึกษาเรื่องราว ถ้อยคำ ความหมาย ในตำราเหมือนๆ กัน
จำได้ เข้าใจ อธิบายได้ ในเรื่องราวเหมือนๆ กัน ผมจึงรู้สึกว่าแยกกันได้ยากมาก
เว้นแต่ ตามที่ท่านอาจารย์สุจินต์ท่านเน้นไว้ข้างต้น นะครับ กล่าวคือ เมื่อระลึกได้ในสิ่ง
ที่ปรากฏขึ้นจริงๆ จากการที่ได้ฟังได้ศึกษามา เมื่ออกุศลเกิดก็รู้ชัดว่าเป็นอกุศล เมื่อ
กุศลเกิดก็รู้ชัดว่าเป็นกุศล แล้วเริ่มเข้าใจสภาพธรรมที่แยกย่อยออกไปแต่ละประเภทอัน
ทำให้เริ่มต้นที่จะเข้าใจได้ว่าตัวเรา ของเรา มีอยู่ที่ไหน นอกจากสภาพธรรมที่หลาก
หลายต่างกันไป ทำหน้าที่ในแต่ละขณะเท่านั้น หากมีความแช่มชื่นที่เกิดขึ้นจากความ
เข้าใจความเป็นจริงเช่นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า เป็นกุศลแน่นอนครับ เพราะก้าวเข้าใกล้ความ
เป็นจริงอันเป็นสัจจธรรมแล้ว ไม่มากก็น้อยครับ
ส่วนเรื่องปฏิบัติที่คุณ Soamusa ตอบว่า ฟังแล้วเข้าใจ ก็ปฏิบัติได้ นั้น
ผมมีความเห็นเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ ว่า เมื่อเข้าใจจากการฟังการศึกษา แล้วสามารถ
พิจารณาด้วยความแยบคายจนเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏ ณ ขณะนั้น จะเป็นทางตา หู จมูก
ลิ้น กาย หรือทางใจ ก็ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติแล้ว ตามความหมายที่แท้จริงของคำว่า
"ปฏิบัติ" คือ ปฏิปตฺติ หมายถึง การถึงเฉพาะ
ถึงเฉพาะสภาพธรรมที่ปรากฏแต่ละประเภท แต่ละขณะ ตามสภาพความเป็นจริงของเขา
ตามลำดับ ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ไม่จำต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติไปจากชีวิต
ประจำวัน ด้วยความต้องการหรือความหวังใดๆ เลยนะครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในการสนทนาธรรมเพื่อความเข้าใจยิ่งๆ ขึ้นนะครับ
ในขณะความเข้าใจพระธรรมเกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่โลภะค่ะ
ในการศึกษาพระอภิธรรมนั้นหากมีความเข้าใจแล้ว ขณะนั้นมีปัญญาเกิดร่วมด้วยค่ะ
แต่ขณะอื่นต่อไป จะเป็นโลภะนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะต้องมีความอยากที่จะไปรู้
และเมื่อฟังแล้วเกิดความเข้าใจขณะนั้นเกิดกุศลค่ะ เป็นฉันทะเกิดร่วมกับกุศลแล้วค่ะ
มหากุศลจิต8 และโลภมูลจิต8 มีเวทนาที่เป็นโสมนัสและอุเบกขา เหมือนกันก็จริง
แต่หากมีความเข้าใจในพระธรรมเมื่อไร เมื่อนั้นไม่ใช่โลภะแน่นอนค่ะ
เพราะปัญญาไม่สามารถประกอบกับอกุศลจิตได้ค่ะ ปัญญาต้องประกอบกับโสภณจิตค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
ถ้าฟังแล้วเข้าใจ ก็คือรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมแต่ละลักษณะ เพื่อที่จะได้มีความมั่นคง
ใน สัจจญาณ ที่จะรู้ว่า ไม่มีเราค่ะ ทั้งหมดเพื่อที่จะถึงความจริงที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่
สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ถ้าเข้าใจก็คือความไม่ประมาท
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ ผู้ร่วมเดินทาง เป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุญาติร่วมสนทนาด้วยค่ะ
สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีใครเลือกได้
แม้ขณะที่อกุศลเกิด ก็ไม่มีใครห้ามได้ ถ้าจะฝืน ก็ยังเป็นเราที่จะทำ แต่ความเข้า
ใจถูกเห็นถูก คือ ปัญญา เท่านั้น ที่จะเกิดขึ้นโดยความเป็นอนัตตา ปกติธรรมดาที่
รู้ว่าแม้อกุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงธรรม ไม่ใช่เราค่ะ ขณะนั้นก็เป็นกุศล ส่วน
ปัญญานั้นเกิดจากการฟังให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ พิจารณา
ไตร่ตรองจนค่อยๆ เข้าใจขึ้นถึงความจริงแต่ละอย่างที่มีลักษณะจริงๆ ปัญญาเกิด
จากการอบรมให้ค่อยๆ มีขึ้นเข้าใจขึ้นค่ะ
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณผู้ร่วมเดินทาง และทุกๆ ท่านด้วยค่ะ...
ในความเข้าใจส่วนตัวนะครับ
ในขณะที่เราฟังธรรมไม่มีความเข้าใจในข้อนั้นๆ มันก็จะดูเหมือนว่ามันแห้งๆ ไม่แช่มชื่น
ก็ได้แก่ ตัวโมหะที่เป็นวิจิกิจฉานั้นเอง เพราะเวทนาเขาเป็นอุเบกขาเวทนา ถ้าเราฟังแล้ว
เข้าใจข้อธรรมนั้น ปัญญาที่เป็นโสมนัสก็จะเข้ามาแทนที่ วิจิกิจฉาก็จะดับไป ทำให้เกิด
ความแช่มชื่น เป็นมหากุศลแน่นอน
สามารถเชื่อมโยงกันได้กับข้อธรรมอื่น คือ กุศลเกิดขึ้น อกุศลก็ดับไป เข้ากับหลักธรรม
ที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ สอดคล้องกับกฏเกณของ พระไตรลักษณ์นั่นเอง การ
ฟังธรรม ย่อมถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติได้ด้วย ได้แก่ จิตตานุปัสสนา คือจิตดูจิต เข้าหลัก
ของสติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องมือนำออกจากทุกข์ หรือ มรรคมีองค์ ๘
ดังมีมาในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ฟังธรรมแล้วสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลได้มีเยอะ
เรียนคุณ Soamusa ครับ
ขอบพระคุณครับที่ชี้ให้เห็นละเอียดยิ่งขึ้น ในขณะที่เข้าใจในพระธรรมที่ศึกษาขณะนั้น
ย่อมมีปัญญาเกิดขึ้น ย่อมเป็นกุศลจิตแน่นอน จะมีโสมนัสเวทนาหรือไม่ ก็ต้องเป็น
โสภณจิต
แต่หลังจากนั้นเป็นคนละขณะกัน อาจจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ หากมีทิฏฐิ มานะ
เข้ามาย่อมเป็นโสมนัสเวทนาที่เกิดกับอกุศลแน่ๆ เลยครับ
พระธรรมนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดมากๆ เลยนะครับ
และขอบพระคุณพี่เมตตาด้วยครับที่ยกข้อเตือนใจให้เข้าใจได้ชัดเจนว่า สภาพธรรมใด
จะเกิดก็เลือกไม่ได้เลย มีปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าใจได้ถูกต้องจริงๆ ว่า อะไรเป็นกุศล
อะไรเป็นอกุศล ไม่สับสนปนเปกัน
ส่วนคุณลุงหมานยกเรื่อง วิจิกิจฉา นั้น ทำให้เห็นภาพดียิ่งขึ้นนะครับ เมื่อไม่เข้าใจใน
พระธรรมก็ย่อมต้องลังเลสงสัย แต่เมื่อได้ศึกษาและเข้าใจย่อมดับความลังเลนั้นไปได้
ระดับหนึ่ง ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าต้องเป็นกุศลจิตที่ดับความลังเลนั้นแน่ๆ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านครับ
อนุโมทนาบุญค่ะทุกๆ ท่าน
อนัตตาต้องรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา ด้วยปัญญาในขั้นสมสนญาณ ขั้นสมสนญาณนี้ได้ก็ต้องได้ญาณมาแล้วถึง ๒ ญาณ ผ่านขั้นจูฬโสดาฯ แล้ว
ดิฉันก็ยังแค่ปฏิบัติในขั้นนามรูปปริจเฉทญาณก่อนค่ะ อะไรเกิดก็สติตามรู้ไปค่ะ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรม ทรงตรัสว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
พระธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เป็นเพียงธาตุ นานาธาตุ ไม่มีเรา แต่ด้วยความไม่รู้ที่
สะสมมานานแสนนาน จึงยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นของเรา ก็ต้องเริ่มจาก
เห็นมีจริงหรือเปล่า สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงไหม เสียงมีจริงไหม กลิ่นมีจริงไหม
ทุกอย่างเป็นเพียงธาตุแต่ละอย่าง ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วจะมีเราที่ตรงไหน
แม้สติก็เป็นธาตุ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเราที่จะไปทำ
อะไรได้เลยจริงๆ สัญญาจำในสิ่งที่มีจริงๆ ตามที่ได้ฟังมาว่าสิ่งที่มีจริงๆ แต่ละอย่าง
นั้นมีลักษณะที่มีจริงๆ อย่างไร ฟังจนเป็นความเข้าใจที่มั่นคงจึงเป็นเหตุให้สติเกิด
โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีเราไปทำอะไรได้เลยค่ะ ต้องมั่นคงในความเป็นอนัตตา
ตามที่ทรงแสดงไว้ ศึกษาธรรมทีละคำให้เข้าใจจริงๆ "อนัตตา" ขออนุโมทนาใน
กุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาในความใจกว้างของบ้านธัมมะ
ซึ่งแต่เดิม หากมีผู้เห็นผิด แสดงความเห็นผิดๆ จะถูกบล๊อคข้อความนั้นๆ
กระทู้นี้ อาจเป็นตัวอย่างหนึ่ง สำหรับการเปิดโอกาสให้ท่านสมาชิกได้แสดงความเห็น
ความเห็นต่างๆ จากการสนทนา ส่องให้เห็นถึงความเข้าใจของท่านผู้ร่วมสนทนานั้นๆ
อย่างไรก็ดี ประโยชน์ของการสนทนา อยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้อง ของบุคคลนั้นเอง
" ปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา"
การที่คุณ SOAMUSA กล่าวว่า...
"...อนัตตาต้องรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา ด้วยปัญญาในขั้นสมสนญาณ
ขั้นสมสนญาณนี้ได้ ก็ต้องได้ญาณมาแล้วถึง ๒ ญาณ ผ่านขั้นจูฬโสดาฯ แล้ว
ดิฉันก็ยังแค่ปฏิบัติในขั้นนามรูปปริจเฉทญาณก่อนค่ะ อะไรเกิดก็สติตามรู้ไปค่ะ ..."
.........
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ขอให้กำลังใจท่าน ในกุศลศรัทธาต่อพระธรรมคำสอน
แต่พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงแล้วนั้น
มีความละเอียด ลึกซึ้ง อย่างยิ่ง
ผู้ที่ศึกษาและมีความเข้าใจในขั้นต้นๆ ย่อมเป็นผู้ที่ระมัดระวังอย่างยิ่ง
ที่จะไม่ให้มีความเห็นผิด คลาดเคลื่อน ไปจากความจริงที่ได้ทรงแสดง
สิ่งที่บุคคลจะกระทำได้ คือ การศึกษาด้วยความเคารพและอ่อนน้อมอย่างยิ่ง
ด้วยความที่ว่า
เพราะไม่รู้ จึงฟัง และ ฟังๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
เข้าใจ ในสิ่งที่ได้ฟัง
อย่าเพิ่งปฏิบัติเลยครับ
อนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ สัพเพ ธัมมา อนัตตา
คงขึ้นอยู่กับปกตูของแต่ละคนที่สั่งสมมาค่ะ ผู้มีปัญญามากก็คงเห็นอนัตตาก่อน
ผู้มีปัญญาน้อยก็คงเห็นความไม่เที่ยง เห็นทุกข์ก่อนค่ะ
ดิฉันเห็นด้วยเสมอกับการฟังในขั้นสุตตะ และเห็นด้วยเสมอว่าพระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดควรฟังให้เข้าใจ
หากดิฉันเป็นผู้มีความเห็นผิด เห็นว่าปัญญาเป็นเรื่องระดับสูง ดิฉันว่าน่าจะปฏิบัติไป
ตามลำดับขั้นก่อน ด้วยสติตามดูรูปนาม เดี๋ยวรูปนามก็จะบอกความเป็นไตรลักษณ์
แก่ปัญญาเองนั้น เป็นความเห็นผิดแล้วละก็
หากท่านทั้งหลายเห็นว่าเป็นความเห็นผิด ดิฉันก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาในความเห็นของคุณ Soamusa ในความเห็นว่า
"ดิฉันเห็นด้วยเสมอกับการฟังในขั้นสุตตะ และเห็นด้วยเสมอว่าพระธรรมเป็น
เรื่องที่ละเอียดควรฟังให้เข้าใจ"
ส่วนที่เห็นว่า "ปัญญาเป็นเรื่องระดับสูง ดิฉันว่าน่าจะปฏิบัติไป ตามลำดับขั้นก่อน
ด้วยสติตามดูรูปนาม เดี๋ยวรูปนามก็จะบอกความเป็นไตรลักษณ์แก่ปัญญาเอง
นั้น เป็นความเห็นผิดแล้วละก็ "
ความเห็นตรงนี้ อาจจะต้องอธิบายในรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ปฏิบัติสติอย่างไร เพื่อ
ความสมบูรณ์ในความเข้าใจเรื่องสติและสติปัฎฐานที่ชัดเจนขึ้นนะครับ
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่มที่ ๔๗ - หน้าที่ ๒๗๐
บุคคล ไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมแม้ ๒ อย่าง ด้วยปัญญาของตนแล้ว
และไม่ใคร่ครวญเนื้อความแม้สักว่า คำว่า อนิจจัง คำว่า ทุกขัง และคำว่า
อนัตตา ในสำนักของบุคคลผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ไม่รู้อยู่เพราะความที่ตนไม่รู้
ได้ด้วยตนเอง และชื่อว่ายังข้ามความสงสัยไม่ได้ เพราะตนยังไม่ได้พิจารณา
ใคร่ครวญ แล้วอาจเพื่อจะทำบุคคลอื่นให้เพ่งเล็ง คือ ให้เพ่งพินิจได้อย่างไร
ดังนี้. ในข้อนี้ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ
ผู้นั้นแล ชื่อว่า บ่นเพ้ออยู่ด้วยตนเอง ดังนี้.
...............................................................................
ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน เป็นทุกข์
เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นสิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจจริงๆ ขณะนี้ เห็น เกิดดับอยู่ เป็นทุกข์ก็ไม่
รู้ การศึกษาธรรมเพื่อรู้ทุกข์ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ถ้าขณะนี้
ยังไม่รู้เห็น ไม่รู้ได้ยิน ไม่รู้เสียง.... และคิด ตามความเป็นจริง ปัญญาขั้นสูงย่อมเกิด
ขึ้นไม่ได้แน่นอน การฟังธรรมศึกษาธรรมเพื่อรู้ทุกข์ เพราะทุกข์เห็นได้ยาก ปัญญา
เท่านั้นที่จะรู้ ควรรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏไหม ความจริง เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ
ถ้าไม่เข้าใจ แล้วจะไปประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปได้อย่างไร
.....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...