การรู้แล้วละ เป็นตัวตนหรือไม่

 
tee
วันที่  10 ส.ค. 2556
หมายเลข  23328
อ่าน  1,326

คืนวันหนึ่งผมนอนอ่านหนังสือ อยู่ๆ ก็รู้สึกอยากกินขนมทั้งๆ ที่ไม่หิว ขณะนั้นก็รู้ใน

ใจว่ากำลังเป็นโลภะ จึงไม่กิน ไม่นานความรู้สึกอยากกินขนมก็หายไป กรณีเช่นนี้ถือ

ว่ายังเป็นตัวตนอยู่หรือไม่ (สงสัยครับ-เพราะได้ยินประโยคว่ารู้แล้วละบ่อยๆ รู้เกิดเอง

โดยอัตโนมัติ ละ น่าจะเกิดจากเจตนา-แต่ไม่นานก็หายไปหมด สังเกตตามความเข้าใจ

ที่เป็นอยู่นะครับ)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นตัวตน ที่เป็นเรา คือ ด้วยโลภะ มานะ และทิฏฐิ ความเห็นผิด ซึ่งขณะที่

มีความต้องการที่จะทำ จะละ ด้วยโลภะ ที่ไม่ใช่ปัญญา ขณะนั้น เป็นเรา เป็นตัวตน

ที่จะทำ เป็นตัวตนที่จะละ ดังนั้น การที่อยากกินขนม และ รู้ว่าติดข้อง จึงไม่กินแล้ว

ความอยาก ก็หายไป ขณะที่ไม่กิน ไม่ได้หมายถึงปัญญา เพราะ การละโลภะ ไม่ใช่

ด้วยการที่จะไม่อยาก ไม่ใช่ด้วยการพยายามที่จะไม่ทำตามโลภะ นั่นก็เป็นตัวเราเป็น

ตัวตน ด้วยโลภะ ที่ต้องการที่จะให้กิเลสเกิดขึ้น ก็เป็นกิเลสที่ซ้อนกิเลส จึงไม่ใช่

ความรู้ ที่เป็นปัญญาที่ละ แต่เป็นตัวเรา ตัวตนที่จะละครับ ซึ่งไม่ใช่หนทางการละกิ-

เลส เพราะ เราด้วยโลภะ ละกิเลสไม่ได้ แต่ ปัญญาเท่านั้นที่จะละกิเลสได้

การรู้แล้วละ จริงๆ ที่เป็นการรู้ด้วยปัญญา ไม่ใช่เป็นตัวตนด้วยโลภะ มานะ และ

ทิฏฐิ แต่ ปัญญาที่เกิดขึ้น ย่อมรู้ความจริงในขณะที่กิเลสเกิดขึ้น ในขณะอยากทาน

ขนม ก็รู้ว่าเป็นโลภะ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา การรู้ว่าเป็นธรรม ละ อกุศลไม่ให้เกิดใน

ขณะนั้น และ รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็เป็นการละตัวตนไปทีละขณะในขณะนั้น จึง

เป็นการรู้แล้วละ ละอะไร ไม่ใช่ละ ไม่ให้โลภะไม่เกิด แต่ ละ กิเลสที่ควรละ อันดับ

แรก คือ ละความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล เพราะรู้ว่าอกุศล เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

และก็ไม่เดือดร้อนกับอกุศลที่เกิดแล้ว เพราะรู้ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัย

อกุศลก็เกิดขึ้นอีก เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่พยายามที่จะไม่ให้อกุศลเกิด นั่นเป็นเรา

ด้วยอกุศล ด้วยโลภะที่อยากจะละกิเลส แต่เข้าใจอกุศลที่เกิดแล้วว่า คืออะไร คือ

เข้าใจว่าเป็นธรรม ไม่ใชเราครับ ซึ่งการละด้วยปัญญา ที่รู้แล้วละ จะต้องค่อย ๆ

เจริญปัญญาเป็นลำดับ ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในขั้นการฟังให้ถูกต้อง

เป็นสำคัญก่อน ก็จะค่อยๆ ละกิเลสไปเรื่อยๆ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
tee
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจจริงๆ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tee
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ตอนนี้ผมดูถ่ายทอด ที่ท่านอาจารย์สุจินต์กำลังอธิบายซึ่งตรงกับความสงสัยขณะนี้

อย่างบังเอิญ ชัดเจนไม่ลังเลเลย แต่ก่อนก็เข้าใจแบบท่านผเดิมอธิบายแต่ยังไม่มั่น

ใจ แต่มีสิ่งหนึ่งที่กลัวคือการสะสมสิ่งที่ไม่ดี (อกุศล) เพราะรู้ว่าธรรมะเกิด เราห้าม

ไม่ได้ เช่น ผมเป็นคนทานเก่ง อยากทานอาหารก็รู้ว่าอยาก แล้วก็ทานตามความ

อยาก แล้วยังอกุศลอื่นๆ ผมก็เลยกังวลเรื่องการสะสมอุปนิสัยที่ไม่ดีข้ามภพข้าม

ชาติ ขอให้อาจารย์อธิบายด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 11 ส.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

โลภะ ที่เป็นสภาพธรรมที่ติดข้องเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ผู้ที่ละความติดข้องได้

หมดสิ้น ที่พอใจในรสอาหาร คือ พระอนาคามี แม้พระโสดาบัน ก็ยังติดข้องในรส

อาหาร เป็นธรรมดา แม้ตัวอย่างในพระอริยบุคคลสมัยพุทธกาล ท่านพระปิณโฑละ

ภารทวาชะ ท่านบวชแล้วก็ติดข้องในรสอาหารอย่างมาก แต่ท้ายสุด ท่านก็อบรม

ปัญญา บรรลุเป็นพระอรหันต์ แสดงให้เห็นว่า เราไม่สามารถไปฝืนการสะสมที่สะสม

มาได้ แต่สิ่งที่สำคัญ ก็คือ การสะสมปัญญาควบคู่กันไป ก็จะทำให้ละกิเลสได้ใน

อนาคต ซึ่งโลภะความพอใจในอาหาร ไม่ใช่กิเลสที่ต้องละก่อน แต่กิเลสที่ต้องละ

คือ ความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล เพราะไม่รู้ว่ากิเลสเป็นธรรมไม่ใช่เรา

และ บังคับบัญชาไม่ได้ จึงเดือดร้อนกับกิเลสที่เกิดขึ้น เพราะสำคัญว่าเป็นเราที่มี

กิเลส ครับ ดังนั้น อกกุศลเกิดขึ้นห้ามไม่ได้ สิ่งที่สำคัญ คือ อบรมเหตุค่อไป คือ

การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ปัญญาในอนาคตที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ละกิเลสไป

ตามลำดับ และ ละกิเลสได้ในที่สุดครับ ดังนั้น เป็นธรรมดาของกิเลสที่เกิดขึ้น

สำคัญ คือ อบรมเหตุในขณะนี้ต่อไปครับ ซึ่งขณะนี้กำลังฟังธรรม ก็ทำในสิ่งที่ถูกต้อง

แล้วครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 11 ส.ค. 2556

sadhu kaa

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tee
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิต ที่ทำให้ผมเข้าใจอย่างง่ายดาย และไม่กังวล

กับการศึกษาพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การละ ต้องเป็นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวตน ไม่ใช่ด้วย

ความสำคัญผิด

ปกติในชีวิตประจำวันของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น กุศลจิตย่อมเกิดมากกว่า

กุศลจิต จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม แต่ส่วนมากมักจะไม่รู้ว่ามีกุศลจิตเกิดมากกว่า, กุศล

เกิดขึ้น ตามการสะสมของจิตในอดีตที่ได้สะสมกิเลสมาอย่างมากมายนับชาติไม่ถ้วน

โดยเฉพาะโลภะ ซึ่งเป็นความติดข้องยินพอใจในวัตถุต่างๆ ติดข้องยินดีพอใจในรูป

เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ซึ่งเป็นวัตถุกามในชีวิตประจำวัน

เมื่อมีเหตุมีปัจจัยโลภะก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เมื่อสะสมมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น ย่อม

เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

บุคคลผู้ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ถึงแม้ว่า

ตนเองจะยังมีโลภะอยู่ก็ตาม เมื่อฟังบ่อยๆ เนืองๆ ย่อมจะมีความรู้ความเข้าใจ

ถึงโทษภัยของโลภะ สามารถค่อยๆ อบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรม

ตามความเป็นจริงได้ สามารถรู้ลักษณะของโลภะว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน และปัญญานี้เองเป็นธรรมที่จะดับโลภะได้

การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม

พิจารณา ไตร่ตรองพระธรรม ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ

อดทนที่จะฟัง ที่จะศึกษาต่อไปด้วยความไม่ท้อถอย ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ขาด

การฟังพระธรรม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ละด้วยความเป็นเราไม่ได้ เพราะเป็นอวิชชา ต้องเป็นปัญญา ถึง

จะละความเป็นเราได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
papon
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 28 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ