ขอทราบขอบข่ายของคำว่า ครองเรือน ครับ

 
tanaprasith
วันที่  11 ส.ค. 2556
หมายเลข  23343
อ่าน  1,217

คำว่าครองเรือนหมายถึงกิจกรรม/การแสดงออก หรือว่าท่าที อะไรได้บ้างครับ?

หมายถึง การแต่งงาน

หรือว่า หมายถึงชีวิตคู่ทั่งหมดที่เริ่มตั้งแต่ การแต่งงาน การอยู่ด้วยกัน การมีสัมพันธ์

ต่อกัน (อย่างถูกต้องทำนองคลองธรรม ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง) การเลี้ยงดูบุตร การดูแล

ครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน การว่ากล่าวตักเตือนกัน แสดงความหวังดี

ต่อไป หรือว่าการอื่นๆ ที่ชีวิตคู่ของคน 2 คนพึงจะมีได้

หรือจะแปลความหมาย "ครองเรือน" ว่า เป็นการใช้ชีวิตคู่ของสามี ภรรยาทั่วไปนั่น

แหล่ะ เพียงแต่ว่าพิเศษในเรืองศีลและคุณธรรมในแบบพระอริยเจ้านี่แหล่ะที่ต่างจาก

ปุถุชน

ก่อนหน้านี้ผมเคยสอบถามเกี่ยวกับพระอริยะบุคคลในระดับเบื้องต้นอย่างโสดาบัน/

สกิทาคามี ว่าบรรลุมรรคผลในขณะที่เป็นโสดต่อมายังสามารถใช้ชีวิตคู่ได้หรือไม่?

ก็ได้คำตอบเป็นที่เข้าใจได้ในเบื่้องต้นไปแล้ว

รวมถึงพระอนาคามีจะมีชีวิตคู่หรือว่าควรปฏิบัติต่อคู่ของตนอย่างไรเมื่อถึงมรรคผลใน

ขณะที่ตนครองเพศคฤหัสถ์

ท่านผู้รู้พูดถึงคำว่า "ครองเรือน" อยู่ ผมเลยอยากทราบคำว่า คำๆ นี้ที่ใช้กันมันมี

ขอบเขต ครอบข่ายของกิจกรรมอย่างไรบ้างครับผม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 16 ส.ค. 2556

วิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายตั้งแต่สมัยโบราณ มีทางเดิน ใหญ่ๆ อยู่ ๒ ทาง

คือ เป็นฆราวาส ๑ เป็นบรรพชิต ๑ ผู้ที่มีชีวิตแบบฆราวาสก็คือ ทำมา

หาเลี้ยงชีพ ประกอบกิจการงาน หาทรัพย์เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวให้

เป็นสุข และโดยปกติทั่วไปของชีวิตฆราวาส เมื่อถึงวัยที่สมควรแล้ว ย่อมจะ

มีครอบครัวมีคู่ครอง มีบุตรเพื่อสืบสกุล นี้เรียกว่า ผู้ครองเรือน (ฆราวาส)

ส่วนผู้ที่ไม่มีคู่ครอง แต่ไม่ได้บวช ก็นับเนื่องในผู้ครองเรือนเช่นกัน บาง

บุคคล สะสมอัธยาสัยมาที่จะเป็นบรรพชิต ก็สละทรัพย์อาคารบ้านเรือนญาติ

มิตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่แสวงหาทรัพย์สินเงินทอง แต่ท่าน

ประพฤติธรรมอย่างเดียว นี้เรียกว่า บรรพชิต ผู้ไม่ครองเรือน

อนึ่ง การจะครองเรือนที่ดี มีความสุข และประพฤติธรรมตามหลักคำสอนของ

พระพุทธเจ้า ควรศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจ อบรมเจริญปัญญาในเพศ

ฆราวาส ย่อมจะเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเห็นแล้ว

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมเรื่องทิศ ๖ ที่

อยากทราบว่าหลักการครองเรือนมีอะไรบ้าง รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ