สละการครองเรือนของพระอนาคามี และความรับผิดชอบต่อครอบครัว

 
tanaprasith
วันที่  11 ส.ค. 2556
หมายเลข  23344
อ่าน  2,385

ถามต่อเนื่องจากกระทู้ที่ผ่านมา สำหรับผู้ที่เป็นบรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีในเพศคฤหัสถ์แล้วจะ "สละการครองเรือน" การสละการครองเรือนหมายถึง มีกิจกรรมหรือว่าการแสดงออกในลักษณะอย่างไรบ้างสำหรับพระอนาคามีในเพศคฤหัสถ์ที่มีครอบครัวทั้งมีบุตร และไม่มีบุตร + ยังไม่ประสงค์จะออกบวช เช่น แยกกันอยู่คนละบ้าน

สำหรับสามี-ภรรยา การไม่ครองเรือนเมื่อเป็นพระอนาคามี แล้วให้ภรรยาสามารถไปรักกับชายอื่นได้นั้น ถือว่าผิดหรือว่าละเลยต่อหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งในทางโลกและทางธรรมหรือเปล่าครับ หากมีบุตรแล้วจะต้องทำอย่างไรหรือว่า พระอริยเจ้าระดับอนาคามีในเพศคฤหัสถ์ท่านนั้น ท่านย่อมทราบของได้เองว่า วิถีที่ถูกต้องของอริยเจ้าระดับนั้นควรต้องทำอย่างไรบ้าง สำหรับกรณีที่มีครอบครัวทั้งมีบุตรและไม่มีบุตร รวมถึงความประพฤติ การไปมาหาสู่ หรือว่าดูแลคู่ครองของท่าน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การไม่ครองเรือนหมายถึง การไม่อยู่อย่างสามี ภรรยา หากว่ามีบุตร ภรรยาแล้ว การให้ภรรยากับผู้อื่นไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้ทำหน้าที่ แต่ท่านกล่าวกับภรรยาว่า หากเธอประสงค์จะไปหาชายอื่นก็ได้ อนุญาต แต่ หากจะอยู่ด้วย ก็อยู่ด้วยกันในฐานะน้องสาว และ ก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้ แต่ ไม่อยู่ร่วมกัน แบบสามีภรรยาอีกครับ นี่แสดงให้เห็นว่า ท่านไม่ได้ทิ้ง แต่ พระอนาคามี ที่เคยมีครอบครัวก็ดูแล เหมือนน้องสาวได้ หากประสงค์จะไม่ไปไหน แต่ ท่านก็ใจกว้าง เพราะ ท่านไม่ติดข้อง ในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส จึงสามารถบอกให้ไปอยู่กับคนที่ชอบได้ครับ โดยท่านให้ทางเลือก และ แม้จะอยู่ด้วยกัน ท่านก็รับผิดชอบ เลี้ยงดูเหมือนน้องสาว ครับ

ส่วนมีบุตรก็ต้องดูแล เลี้ยงดู ตามหน้าที่เช่นกัน แต่ท่านไม่ยินดี ติดข้องแล้วเท่านั้น ครับ ท่านก็ทำหน้าที่ตามที่สมควรจะเป็นนั่นเอง การไม่ครองเรือนคือ การไม่อยู่มีความสัมพันธ์ดั่งเช่น สามี ภรรยา แต่ ก็ทำหน้าที่อันสมควรต่อไป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 11 ส.ค. 2556

sadhu kaa

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 11 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การเป็นพระอนาคามีบุคคล ตลอดจนถึงพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เป็นไปด้วยปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูก พระอนาคามี เป็นพระอริยบุคคลขั้นที่ ๓ เป็นผู้ดับความยินดีพอใจในกามได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้ เป็นผู้ที่ดับความโกรธได้อย่างหมดสิ้น เมื่อได้เป็นพระอนาคามีแล้วไม่มีโลภะที่เป็นความติดข้องในกามเลย ถ้าท่านไม่ได้บวช ยังอยู่ในเพศคฤหัสถ์ต่อไป ความประพฤติเป็นไปของท่านก็เป็นไปอย่างผู้ที่ดับความติดข้องในกามได้ และมีกิจหน้าที่อะไรที่ท่านจะพึงกระทำ ท่านก็ทำตามควรแก่ฐานะของท่าน แต่ไม่ได้เป็นไปกับความติดข้อง ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wittayapay
วันที่ 19 ส.ค. 2556

เรื่องรูปขันธ์นั้นหมดปัญหาไป ตั้งแต่ครั้งท่านได้พระอานาคามี แต่จริงๆ แล้ว มีเรื่องเล่าเนื่องด้วยครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงขนาบพระเจ้าปเสนทิ เมื่อท่านเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในวัด และท่านได้ตรัสว่า พระสงฆ์หลายรูปที่เดินอยู่ในวัดด้วยอาการสงบ และสำรวมอินทรียคงจะมีสักรูปที่เป็นพระอรหันต์เป็นแน่ พระพุทธองค์ตรัสว่ามิใช่วิสัยของท่าน ท่านยังเสพ และยังยินดี ใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะแล้ว ใยถึงเที่ยวกล่าวว่าพระรูปนั้นรูปนี้เป็นพระอรหันต์ ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ