เกษถาม : ชื่อ และ ความหมาย ของ กรรม16 ค่ะ

 
wkedkaew
วันที่  28 ส.ค. 2556
หมายเลข  23455
อ่าน  3,743

เกษถาม : ชื่อ และ ความหมาย ของ กรรม16 ค่ะ


Tag  กรรม16  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กรรม หมายถึง เจตนา เป็นกรรม คือ เจตนาท่เป็นไปในการทำกุศลกรรม คือ การ

ทำบุญ และ เจตนาที่เป็นไปในการทำอกุศลกรรม ที่เป็นการทำบาป ซึ่งกรรมโดยนัย

16 ประการนั้น เป็นการอธิบาย การให้ผลของกรรมว่า กรรมบางอย่างให้ผลก็มี เพราะ

อะไร ไม่ให้ผลก็มีเพราะอะไร ซึ่ง ตัวแปร ปัจจัยที่จะเกิดให้มีการให้ผลของกรรม มี 4

อย่างดังนี้ คือ

คติ ภพูมิที่เกิด อุปธิ รูปร่าง หน้าตา กาล ช่วงเวลาที่เกิด ปโยคะ ความเพียร

คติ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการให้ผลของกรรมในปัจจุบัน เช่นกัน คติคือภพภูมิ

ที่เกิด เช่น เกิดในภพภูมิที่ดี เช่น เทวดา โอกาสที่ผลของกุศลจะให้ผลก็มีมากกว่า

แทนที่กรรมในอดีตที่เป็นอกุศลกรรมที่เคยทำไว้จะให้ผลในชาตินั้น แต่เมื่อเกิดในภพ

ภูมิที่ดี เป็นคติสมบัติ มีเทวดา เป็นต้น ผลของอกุศลก็ให้ผลน้อยหรือห้ามอกุศลกรรม

นั้น ส่วนผลของกุศลก็ให้ผลแทนครับ เพราะมีคติ คือ ภพภูมิที่เกิดเป็นปัจจัยประการ

หนึ่งในการให้ได้รับผลของกรรม ที่เป็นกรรมดี มีการเกิดในภพภูมิที่ดีครับ โดยนัยตรง

กันข้าม ถ้าเกิดในคติไม่ดี คติวิบัติ เช่น เกิดในนรก โอกาสที่ผลของอกุศลจะให้ผล

มากกว่าผลของกุศลกรรมครับ เพราะอยู่ในภพภูมิที่มีแต่การทรมาน แม้จะเคยทำกรรม

ดีไว้มากมาย แต่ภพูมินั้นเป็นภพภูมิที่ได้รับอกุศลวิบากเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้เกิดใน

คติไม่ดี เป็นคติวิบัติก็ย่อมห้าม ผลของบุญที่จะให้ผลครับ

อุปธิ คือ รูปร่าง หน้าตา บุคคลที่เกิดมามีรูปร่่างหน้าตาดี อุปธิสมบัติ ก็มีโอกาส

ได้รับสิ่งที่ดีมีโอกาสของผลของกุศลกรรมจะให้ผล เช่น การได้ยินเสียงที่ดี (คำชม)

การได้รับโอกาสในชีวิตที่ดี เพราะอาศัย อุปธิเป็นปัจจัยประการหนึ่งในการทำให้ได้

รับวิบากที่ดีง่ายขึ้นเพราะอาศัยรูปร่างหน้าตาที่ดี ส่วน ผู้ที่มีอุปธิไม่ดี อุปธิวิบัติ คือ

รูปร่างหน้าตาไม่ดี ก็มีเหตุที่จะได้รับอกุศลวิบากและห้ามกุศลวิบากบางอย่างได้ครับ

เช่น ได้รับเสียงที่ไม่ดี (คำติ) เป็นต้น

กาล คือ ช่วงเวลาที่เกิด เช่น หากเกิดในกาลสมบัติ คือ ช่วงเวลาที่บ้านเมืองสงบสุข

ก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีๆ จากบ้านเมืองสงบสุขมากกว่า กาลวิบัติคือ บ้านเมือง

ไม่สงบสุข ข้าวยากหมากแพง เป็นต้นครับ

ปโยคะ ความเพียร หมายถึง ความเพียรที่เป็นไปในกุศลกรรมและอกุศลกรรม

ความเพียรที่เป็นปโยคะนี้เองที่เป็นเหตุปัจจุบันที่จะมีผลต่อการได้รับผลของกรรมที่ดี

หรือไม่ดี ก็เพราะอาศัยความเพียรครับ ปโยคสมบัติ คือ ความเพียรที่เป็นไปในกุศล

กรรม เช่น การทำความดีประการต่างๆ เนืองนิตย์ในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันชาติ ผู้ที่

ทำความดีเนืองๆ แม้มีอกุศลกรรมในอดีตที่ทำมา แต่อกุศลกรรมในอดีตนั้นก็ไม่

สามารถให้ผลได้เพราะถูกปโยคสมบัติห้ามไว้ เนื่องด้วยความเป็นผู้ทำความดีเป็น

ประจำในชีวิตประจำวันนั่นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีกรรมในอดีตที่จะไม่ให้

ผลที่เป็นอกุศลกรรมเลย แต่เพราะอาศัยกรรมดีที่ประกอบเนืองๆ ในปัจจุบัน ย่อมห้าม

กรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลกรรมได้ เพราะอาศัยเหตุปัจจุบัน คือการทำความดีครับ

ดังนั้นความเพียรที่เป็นไปในกุศลกรรมในปัจจุบันย่อมห้ามกรรมไม่ดีบางอย่างได้ และ

ย่อมส่งเสริมให้ได้รับผลของกุศลกรรมในอดีตให้ผลได้ เพราะอาศัยปโยคสมบัติ คือ

การทำความดีในปัจจุบันครับ โดยนัยตรงกันข้าม ผู้ที่มักทำกรรมชั่วในปัจจุบัน เนืองๆ

บ่อยๆ เป็นปโยควิบัติ ความเพียรที่ไม่ดี ก็ย่อมทำให้มีโอกาสได้รับผลของอกุศล

กรรมในอดีตได้มากขึ้นเพราะปัจจุบันทำกรรมไม่ดี บ่อยๆ เนืองๆ นั่นเอง และเป็น

การห้ามวิบากของกรรมดีที่เคยทำไว้ในอดีตแทนที่จะให้ผล ก็ไม่ให้ผล เพราะชาติ

ปัจจุบันเป็นผู้ทำกรรมชั่วเป็นประจำ จึงเป็นปโยควิบัติ ห้ามกรรมดีในอดีตไม่ให้ผลครับ

ซึ่ง ตามที่กล่าวมาทั้ง 4 ประการนี้ ย่อมมีผลต่อการให้ผลของกรรม ที่จะห้ามอกุศล

กรมให้ผล หรือ ห้ามกุศลกรรมให้ผล ซึ่ง ก็จำแนก เป็น 16 ประการ อันเกี่ยวข้องกับ

คติ อุปธิ กาล และ ปโยคะ ครับ ดังนี้

อธิบายกรรม ๑๖ อย่างตามแนวทางพระอภิธรรม

ส่วนพระอภิธรรมปริยาย ท่านจำแนกกรรมไว้ ๑๖ อย่าง. คือ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง เพราะคติสมบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง เพราะอุปสมบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง เพราะกาลสมบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง เพราะปโยคสมบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยคติวิบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยอุปธิวิบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยกาลวิบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยปโยควิบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง เพราะคติวิบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง เพราะอุปธิวิบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง เพราะกาลวิบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง เพราะปโยควิบัติห้ามไว้ ยังไม่ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยคติสมบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยอุปธิสมบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยกาลสมบัติ ให้ผล ๑ กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยปโยคสมบัติ ให้ผล ๑

จากข้อความในพระไตรปิฎก แสดงถึงกรรมที่สมาทานชั่ว คือ การทำอกุศลกรรม

เช่น การฆ่าสัตว์ เพราะ คติสมบัติห้ามไว้ คือ เพราะเกิดในสวรรค์ เป็นต้น กรรมชั่ว

บางอย่างก็ยังไม่ให้ผล เป็นต้น ครับ

ส่วนกรรมที่สมาทานดี คือ การทำกุศลกรรม มีการให้ทาน เป็นต้น แต่ ถูกคติวิบัติ

คือ คติภพภุมิที่เกิดไม่ดี ก็ไม่ให้ผล เช่น เกิดในนรก เป้นต้น กรรมดีบางอย่างก็ยัง

ไม่ให้ผล เพราะกำลังได้รับอกุศลกรรมที่ให้ผลอยู่ ครับ เป็นต้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wkedkaew
วันที่ 28 ส.ค. 2556

เกษถาม : กัมมจตุกกะ 4 หมวดใหญ่ (16ประเภทย่อย)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 ส.ค. 2556

๑. กิจจจตุกกะ (ว่าโดยกิจ) มี ๔ คือ

๑.๑ ชนกกรรม คือ กรรมที่ทำให้วิบากเกิดขึ้น นำเกิด

๑.๒ อุปัตถัมภกกรรม คือ กรรมที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ

๑.๓ อุปปีฬกกรรม คือ กรรมที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ

๑.๔ อุปฆาตกกรรม คือ กรรมที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ หรือตัดรอนผลของกรรม อื่นๆ

๒. ปากทานปริยายจตุกกะ (ว่าโดยลำดับแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ

๑.๑ ครุกรรม คือ กรรมอย่างหนักที่กรรมอื่นๆ ไม่สามารถจะห้ามได้

๑.๒ อาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำไว้เมื่อใก้ลจะตาย

๑.๓ อาจิณณกรรม คือ กรรมที่เคยทำไว้เสมอๆ

๑.๔ กฏัตตากรรม คือ กรรมที่ทำไว้พอประมาณไม่เท่าถึงกรรมทั้ง ๓ นั้น

๓. ปากกาลจตุกกะ (ว่าโดยเวลาแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ

๑.๑ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุปันชาติ (ชาตินี้)

๑.๒ อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๒

๑.๓ อปราปริยเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะถึง

พระนิพพาน

๑.๔ อโหสิกรรม คือ กรรมที่ได้มีแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสให้ผล

๔. ปากัฏฐานจตุกกะ (ว่าโดยฐานะแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ

๑.๑ อกุศลกรรม

๑.๒ กามาวจรกุศลกรรม

๑.๓ รูปาวจรกุศลกรรม

๑.๔ อรูปาวจรกุศลกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wkedkaew
วันที่ 28 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนา และ ขอบพระคุณค่ะ

ขอร่วมแชร์ เพื่อประโยชน์ แก่ผู้ใฝ่ธรรมค่ะ

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 28 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่พอจะเข้าใจได้ คือ ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อกล่าว

รวมๆ แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีธรรม ก็ไม่มีอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่มีจริงเป็นธรรมแต่ละ

อย่างแต่ละลักษณะ แม้แต่กรรมก็เช่นเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรม

ประการหนึ่ง คือ เป็นเจตนา ความจงใจ ความตั้งใจ ซึ่งความจงใจ ความตั้งใจนั้น

เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ มี ๒ ประการ คือ ความจงใจ ตั้งใจที่เป็นกุศลกับที่เป็นกุศล

ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

- เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจที่เป็นกุศล เช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรม ย่อมมีเจตนาอย่างแน่นอน ที่จงใจ ตั้งใจที่จะฟังในสิ่งที่พระผู้-

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง เพื่อจะได้มีความเข้าใจ

ถูกเห็นถูกเพิ่มขึ้น อย่างนี้ เป็นกุศลกรรม (กุสลเจตนา) โดยไม่ต้องไปถามใครเลย

ว่าเป็นกุศลกรรมหรือไม่ อย่างไร? เพราะเหตุว่า ขณะใดก็ตามที่ความจงใจ

ความตั้งใจ เป็นไปในฝ่ายที่ดีงาม ขณะนั้น ความจงใจ ตั้งใจ ไม่ได้เบียดเบียน

ใครเลย จึงเป็นกุศลกรรม สำหรับเจตนาในกุศลประการอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน

-เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจ ที่เป็นกุศล เป็นความจงใจ ตั้งใจที่เกิดขึ้นบ่อย

มากในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่า กุศลจิตเกิดมากกว่ากุศลจิต ทุกครั้งที่กุศลจิต

เกิด เจตนาก็ต้องเป็นกุศลด้วย (กุศลเจตนา) ยิ่งถ้าสะสมกุศลจนกระทั่งมี

กำลังมากขึ้น ก็ล่วงเป็นทุจริตกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง เบียดเบียน

ผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นกุศลกรรมบถ ซึ่งโดยปกติของปุถุชนก็มีกุศลเป็นพื้นอยู่แล้ว

นี้คือ ความจริง แต่ถ้าถึงขั้นล่วงเป็นทุจริตกรรม ก็แสดงให้เห็นถึงกำลังของกุศล ว่า

มีกำลังมากทีเดียว

ข้อที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ กรรมที่ได้กระทำแล้ว ทั้งกุศลกรรม

และกุศลกรรม เป็นสภาพที่ปกปิด เพราะเหตุว่าไม่มีใครรู้เลยว่ากรรมที่ได้กระทำ

แล้วนั้น จะให้ผลเมื่อใด ให้ผลในชาตินี้ ในชาติหน้า หรือ ในชาติต่อๆ ไป ก็ไม่

สามารถรู้ได้ แต่จะต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

ของใครทั้งสิ้น

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ความจริงทั้งหมดทุก

ประการ แล้วทรงแสดงพระธรรมให้สัตว์โลกได้เข้าใจความจริงตามพระองค์ ด้วย

บุคคลผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษา ความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ

เจริญขึ้นไปตามลำดับ แม้แต่ในเรื่องกรรม ก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้ฟัง ได้ศึกษา ก็จะ

ทำให้เข้าใจละเอียดยิ่งขึ้น มีความมั่นคงในเรื่องกรรมเพิ่มขึ้น คือ มีความจริงใจที่จะ

สะสมเหตุที่ดี คือ กุศลทุกประการต่อไป พร้อมกันนั้นก็ละเว้นในสิ่งที่ไม่ดี ที่ไม่ควร

ซึ่งเป็นกุศลกรรม และมีความมั่นคงในเรื่องผลของกรรม ด้วย กล่าวคือ เมื่อได้รับ

ผลของกุศลกรรม ก็จะไม่โทษคนอื่น แต่เข้าใจความจริงเพิ่มขึ้นว่าในเมื่อเป็นกุศล

กรรมที่ตนได้กระทำไว้ ผลที่ไม่น่าปรารถนา จึงเกิดขึ้น ไม่ใช่คนอื่นกระทำให้เลย

หรือ ถ้าได้รับผลของกรรมที่ดี ก็จะเป็นผู้ไม่หลงระเริง ไม่มัวเมาด้วยอำนาจของ

กุศลธรรม ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา อันเริ่มจากการฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน นั่นเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 28 ส.ค. 2556

กรรม 16 เช่นกรรมที่ได้ทำแล้ว แต่ไม่ให้ผลก็มี เช่น อโหสิกรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 28 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ