พระโพธิสัตว์ให้ทานแก่ปลา [มัจฉทานชาดก]

 
khampan.a
วันที่  28 ส.ค. 2556
หมายเลข  23456
อ่าน  1,130

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๓๐๔

มัจฉทานชาดก

(ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา)

[๔๖๓] ปลาทั้งหลายมีราคาถึงหนึ่งพันกหาปณะ

กับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และ

ในที่นี้เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่เราก็ซื้อ

ปลาพวงนั้นได้.

[๔๖๔] ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้ว

อุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญ

อันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านได้กระทำ

แล้ว จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.

[๔๖๕] บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มี-

ความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลาย

ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอก

เอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการจะให้พี่

ชาย เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.

จบ มัจฉทานชาดกที่ ๘

อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘.

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พ่อค้าโกงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อคฺฆนฺติ มจฺฉา

ดังนี้. เรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎุมพี พอรู้เดียงสาก็

รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้. และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.

ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทำกาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่ง

พี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็น

ของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้น

กหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.

พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้

ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น

ก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรำพึงถึงความเจริญยศของตน

ก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ลาดผ้าห่มลงบนทรายนอนหลับไป.

ส่วนน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น มีปกตินิสัยค่อนข้างเป็นโจรอยู่บ้าง

เขาจึงทำห่อกรวดเข้าห่อหนึ่งให้เหมือนห่อกหาปณะ แล้ววางทั้งสอง

ไว้รวมกัน เพราะประสงค์จะไม่ให้กหาปณะเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์

จะถือเอาเสียเองคนเดียว. เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้นขึ้นเรือไปถึงกลาง

แม่น้ำคงคา น้องชายทำเรือให้โคลงแล้วคิดว่าเราจะโยนห่อกรวดทิ้งน้ำ

กลับโยนห่อทรัพย์พันกหาปณะลงไปเก็บช่อนห่อกรวดไว้ แล้วกล่าวว่า

คุณพี่ ห่อทรัพย์พันกหาปณะตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรกัน.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อมันตกน้ำไปแล้ว พวกเราจักกระทำอย่างไร

ได้ อย่าคิดมันเลย. เทวดาประจำแม่น้ำคิดว่า เราอนุโมทนาส่วนบุญที่

พระโพธิสัตว์นี้ให้ จึงเจริญด้วยยศทิพย์ เราจักรักษาทรัพย์อันเป็นของ

พระโพธิสัตว์นี้ไว้ จึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่ง กลิ่นห่อทรัพย์

นั้นไว้ด้วยอานุภาพของตน ตนเองถือการอารักขาอยู่. ฝ่ายน้องชายผู้

เป็นโจรแม้นั้นแล ไปถึงเรือนแล้วคิดว่า เราลวงพี่ชายได้แล้ว จึงแก้

ห่อออกเห็นแต่กรวด มีหัวใจเหี่ยวแห้ง นอนกอดแม่แคร่เตียงอยู่.

ในกาลนั้น พวกชาวประมงได้ทอดแหเพื่อจับปลา. ปลาตัวนั้นได้เข้า

ไปติดแหด้วยอานุภาพของเทวดา. พวกชาวประมงจับปลานั้นได้แล้ว

จึงเข้าไปยังพระนครเพื่อจะขายปลา. คนทั้งหลายเห็นปลาใหญ่จึงถาม

ราคา. ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะกับเจ็ด

มาสก แล้วจงถือเอาปลานั้นไป. พวกประชาชนทำการหัวเราะเยาะว่า

แหมปลาราคาทั้งพันไม่เคยเห็น. พวกชาวประมงจึงถือเอาปลาไปยัง

ประตูเรือนของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านจงถือเอาปลาตัวนี้. พระ-

โพธิสัตว์ถามว่า ปลานี้ราคาเท่าไร? ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้เจ็ด

มาสกแล้วเอาไปเถอะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า พวกท่านเมื่อให้แก่คน

อื่นให้อย่างไร? พวกชาวประมงกล่าวว่า ให้แก่คนอื่น ๑ พันกับ ๗

มาสก แต่ท่านให้ ๗ มาสก แล้วเอาไปเถิด. พระโพธิสัตว์ให้พวก

ชาวประมงไป ๗ มาสก แล้วส่งปลาให้แก่ภรรยา. ภรรยาผ่าท้องปลา

เห็นห่อทรัพย์พันกหาปณะ จึงมอบแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์

ตรวจดูห่อทรัพย์นั้นเห็นตรา (เครื่องหมาย,สัญลักษณ์) ของตน ก็รู้ว่าเป็น

ของตน จึงคิดว่าบัดนี้ ชาวประมงเหล่านี้เมื่อให้ปลาตัวนี้แก่คนอื่น

ก็ให้ถึง ๑ พัน กหาปณะกับ ๗ มาสก แต่พอมาถึงเราเข้าไม่พูดถึงพันเลย

ได้ให้เอาเพียง ๗ มาสกเท่านั้น เพราะพันกหาปณะนั้นเป็นของของตน

เรา ไม่อาจให้ใครๆ ผู้ไม่รู้เหตุการณ์นี้เชื่อถือได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะ

กับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และ

ในที่นี้ เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่ก็ซื้อ

ปลาพวงนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิกํ ความว่า ชาวประมงถูก

คนอื่นถามย่อมกล่าวว่า ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะกับอีก ๗

มาสก. บทว่า น โส อตฺถิ โย อิมํ สทฺทเหยฺย ความว่า คนที่

ไม่รู้เหตุการณ์นี้โดยประจักษ์จะเชื่อถือคำของเรา ย่อมไม่มี หรือว่า

คนที่จะเชื่อคำนี้ที่ว่า ปลาทั้งหลายมีราคาประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี.

เพราะเหตุนั้นแหละ คนอื่นๆ จึงไม่ถือเอาปลาเหล่านั้น. บทว่า

มยฺหญฺจ อสฺสู ความว่า อนึ่ง เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น. บทว่า

มจฺฉทานํ แปลว่า พวงปลา. เพราะว่า เขาผูกปลา แม้อื่นๆ รวม

กับปลาตัวนั้น ท่านหมายเอาพวงปลาแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงกล่าวคำว่า

มจฺฉทานํ ได้แก่ พวงปลานั้น บทว่า กิเณยฺยํ แปลว่า เราซื้อ อธิบาย

ว่า เราให้ ๗ มาสกเท่านั้น ถือเอาพวงปลามีประมาณเท่านี้ได้.

ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคิดดังนี้ว่า

เพราะอาศัยอะไรหนอ เราจึงได้กหาปณะเหล่านี้. ขณะนั้น เทวดา

ประจำแม่น้ำแสดงรูปร่างให้ปรากฏ ยืนอยู่ในอากาศกล่าวว่า เราเป็น

เทวดาประจำอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารส่วนเกินแก่ปลาทั้งหลาย

แล้วให้ส่วนบุญแก่เรา ด้วยเหตุนั้น เราจึงมาอารักขาทรัพย์ของท่าน

ไว้ เมื่อจะแสดงความให้แจ่มแจ้ง จึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้ว

อุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญ

อันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านกระทำแล้ว

จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า การให้ส่วน

บุญชื่อว่า ทักษิณา ในที่นี้ . บทว่า กตํ อปจิตึ ตยา ความว่า เรา

ระลึกถึงความนอบน้อมที่ท่านกระทำแก่เรานั้น จึงรักษาทรัพย์ของ

ท่านนี้ไว้.

ก็แหละ เทวดาประจำแม่น้ำนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึง

บอกการคดโกงที่น้องชายกระทำทั้งหมดแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้ว

กล่าวว่า บัดนี้น้องชายของท่านั้นมีหัวใจเหี่ยวแห้งนอนอยู่ ชื่อว่า

ความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตประทุษร้าย เราคิดว่า ทรัพย์

อันเป็นของท่านอย่าได้พินาศฉิบหายเสีย จึงได้นำทรัพย์นั้นมาให้ท่าน

ท่านอย่าให้ทรัพย์นี้แก่น้องชายโจรของท่าน จงถือเอาผู้เดียวทั้งหมด

เถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

บุคคลผู้นี้จิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มี

ความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลาย

ก็ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอก

เอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการให้พี่ชาย

เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ผาติ โหติ ความว่า ชื่อว่า

ความเจริญในโลกนี้หรือในโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่บุคคลเห็นปานนั้น.

บทว่า น จาปิ นํ ความว่า เทวดาทั้งหลายผู้อารักขาสมบัติของ

พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมไม่บูชาบุคคลนั้น.

ดังนั้น เทวดาผู้ไม่ประสงค์จะให้กหาปณะแก่โจรผู้ประทุษร้าย

มิตร จึงกล่าวอย่างนั้น. ส่วนพระโพธิสัตว์คิดว่า เราไม่อาจกระทำ

อย่างนั้น จึงได้ส่งทรัพย์จำนวน ๕๐๐ ไปให้แก่น้องชายผู้เป็นโจร

แม้นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะทั้งหลายแล้วทวงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ พ่อค้าดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผล. น้องชายในครั้งนั้น ได้เป็นพ่อค้าโกงในบัดนี้. ส่วน

พี่ชายในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
napachant
วันที่ 28 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ