มาปรองดองกันเถอะ

 
kanchana.c
วันที่  29 ส.ค. 2556
หมายเลข  23460
อ่าน  1,868

ตั้งแต่เกิดมาจนย่างเข้าวัยชรา ผ่านเหตุการณ์ความแตกแยกรุนแรงถึงกับต้องใช้กำลัง ปราบปรามในบ้านเมืองหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดจากประชาชนไม่พอใจเจ้าหน้าที่บ้าน เมืองผู้ปกครองที่ลุแก่อำนาจ ทุจริตคอรัปชั่น เลือกปฏิบัติ ปิดกั้นสื่อ และทำทุจริตกรรม อีกหลายอย่าง เช่น วันมหาวิปโยค 14 ต.ค. 2516 และพฤษภาทมิฬ พ.ค. 2535 เป็น ต้น หลายคนในวัยเดียวกันคงจำได้ หลังสิ้นเสียงปืนในวันมหาวิปโยค ประชาชน (รวม ทั้งเราด้วย) พากันออกไปดูร่องรอยการต่อสู้และความเสียหายกันเต็มทางเท้าถนนราช ดำเนิน และในปี 2535 หลังการต่อสู้ ทหารไม่สามารถใส่เครื่องแบบไปทำงานได้ รถที่ ติดป้ายทหารก็ถูกทุบ และคงจำกันได้ไม่ลืมว่า ที่เหตุการณ์สงบอย่างรวดเร็ว ไม่บาน ปลายไปสู่สงครามกลางเมือง ไม่ใช่เพราะการใช้กำลังปราบปรามจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย แต่เป็นเพราะพระมหากรุณาคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงออกมาแก้ปัญหา อย่างสันติ เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปทุกอย่างก็กลับคืนสู่ความสงบสุขเหมือนเดิม เหมือน รอยขีดบนทราย เมื่อถูกคลื่นและน้ำทะเลซัด รอยขีดนั้นก็หายไป

แต่เมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว เกิดความแตกแยกทางความคิดในบ้านเมืองขึ้นอีก คราวนี้ เกิดทั่วไปในทุกภาคส่วนของสังคม เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวที่เป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด บางครอบครัวมีแค่สามีภรรยา ก็ยังแตกแยกกัน ยิ่งครอบครัวใหญ่ ก็ยิ่งแบ่งแยก พ่อ แม่ ลูก ลูก พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย (ที่ต้องเว้นวรรค เพราะรวมกันไม่ได้จริงๆ ต่างคนต่างก็มี ความคิดของตัวเอง ไม่เหมือนกัน แล้วยังขัดแย้งกันรุนแรงด้วย) สังคมไทยเต็มไปด้วย ความหวาดระแวง ต้องระวังคำพูดว่า เรื่องนี้จะพูดกับคนกลุ่มนี้ไม่ได้ ถ้าคนนั้นร่วมการ สนทนาด้วยต้องระวังอย่าเผลอพูดเรื่องนี้ เดี๋ยวเขาของขึ้น เราจะหมดสนุก พบคนที่เพิ่ง รู้จัก แม้กระทั่งคนขับแท๊กซี่ก็ต้องระมัดระวัง อย่าพูดเรื่องการเมือง เดี๋ยวจะไม่ถึงที่ หมายอย่างปลอดภัย ความขัดแย้งสะสมมากขึ้นจนเกิดการต่อสู้ด้วยกำลัง มีคนบาดเจ็บ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปก็ยิ่งขัดแย้งรุนแรงกว่าเดิม เพราะความ ขัดแย้งนั้นฝังรากลึก เนื่องจากผูกพันกับผลประโยชน์ที่เคยได้รับหรือหวังว่าจะได้รับใน อนาคต ซึ่งทุกคนก็คงมีประสบการณ์เหล่านี้ด้วยตัวเอง สามารถจารึกไว้เป็นประวัติ ศาสตร์ชาติไทยได้ ใครๆ จึงเรียกหาความปรองดอง โดยเข้าใจว่า ความปรองดองคือไม่ แบ่งพวก ด้วยการมารวมกันเป็นพวกฉัน คิดเหมือนฉัน พูดเหมือนฉัน ถ้าเป็นอย่างนั้นยิ่ง แตกแยก เพราะแต่ละฉัน ก็ยิ่งมีมากพวกขึ้นไปอีก

แล้ว “ความปรองดอง” คืออะไร ความปรองดอง หรือความสามัคคี มาจากภาษาบาลีว่า เอกีภาโว สภาพที่เป็นหนึ่ง รวมกัน ไม่แบ่งแยก แม้ความคิดจะต่างกัน แต่สามารถรวมกันทำความดีเพื่อประโยชน์สุข ของตนเองและประเทศชาติได้ แล้ว “ความดี” ที่ว่านั้นทำอย่างไร

การทำความดีนั้นต้องเริ่มจากการเข้าใจความจริงของชีวิตว่า แต่ละคนที่เกิดมาเป็น บุคคลนี้ก็เพียงชั่วคราว เดี๋ยวก็จะจากกันไป ไม่รู้จักกันอีก เมื่อเห็นกันอยู่ ก็ควรเมตตา เอ็นดูกัน มองกันด้วยเมตตา พูดกันด้วยเมตตา คิดถึงกันด้วยเมตตาว่า เพราะต่างก็เกิด มาร่วมโลกเดียวกัน เพื่อทำกรรมและรับผลของกรรมเท่านั้นเอง มีอะไรช่วยเหลือเกื้อกูล กันได้ก็รีบทำ เพราะชีวิตเป็นของน้อย ไม่รู้ว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไร เห็นผู้อื่นทำ อกุศลกรรม ไม่ว่าจะพูดชั่ว คิดชั่ว ทำชั่ว ก็เข้าใจสภาพจิตที่เร่าร้อนด้วยไฟที่เผาในขณะ ที่ทำ และจะติดตามไปเผาในอนาคต ควรกรุณาช่วยให้เขาพ้นทุกข์ มีทางใดที่ทำให้เขา ได้เข้าใจความจริง ก็ช่วยกันทำ ใครก็ห้ามความคิดของใครไม่ได้ อยากให้เขาคิดเหมือน เรา เพราะหลงผิดว่า เราคิดถูก เขาคิดผิด แต่ความคิดก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับ ไป ไม่ใช่ความคิดของเราหรือของเขา เดี๋ยวก็คิดอย่างอื่นอีก ขณะที่คิดผิด คิดเป็น อกุศล คนคิดก็เร่าร้อน อยู่ไม่เป็นสุข ได้รับผลของความคิดผิดนั้นทันที ไม่ต้องอยากให้ เขาได้รับโทษภัย เพราะขณะที่อยากนั้นเราก็เร่าร้อนเพราะความอยากเองเช่นกัน จึงไม่ ต้องไปกะเกณฑ์พยายามให้คนอื่นมีความคิดเหมือนเรา แม้ความคิดของเราเองก็ยัง เปลี่ยนไปมา ไม่คงที่

เมื่อต่างคนต่างมีความเห็นถูกอย่างนี้ ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคลอื่นได้ เพราะรู้ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่สะสมมาต่างกัน และพร้อมใจกันทำความดี ความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือความปรองดองจึงจะเกิดขึ้นอย่างที่ต้องการได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 29 ส.ค. 2556

... ขณะที่ คิดผิด คิดเป็นอกุศล คนคิดก็เร่าร้อน อยู่ไม่เป็นสุขได้รับผลของความคิดผิดนั้นทันที ไม่ต้องอยากให้เขาได้รับโทษภัย เพราะขณะที่อยากนั้น เราก็เร่าร้อน เพราะความอยากเองเช่นกัน จึงไม่ต้องไปกะเกณฑ์ พยายามให้คนอื่น มีความคิดเหมือนเรา แม้ความคิดของเราเองก็ยังเปลี่ยนไปมา ไม่คงที่ ...


กราบอนุโมทนาครับพี่แดงครับ แม้บทความนี้ จะเป็นเสียงของความเห็นถูก ที่หาได้ยากยิ่ง ในสมัยปัจจุบัน และ อาจจะไม่ดังพอ ที่จะมีบุคคลทั่วไป เห็นประโยชน์ในวงกว้างแต่เพียงพอสำหรับบุคคลที่มีความเห็นถูก เข้าใจถูก ที่จะ " ช่วยชาติ ให้พ้นภัย " และ มีความเป็นมิตรแก่กันและกัน ครับ

กราบอนุโมทนาอีกครั้งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 ส.ค. 2556

ปรองดองคู่กับนิรโทษกรรมเหมือนว่าพระธรรมที่เรียกว่า.

อปริหานิยธรรม 7 ในสารันททสูตร ... น่าจะนำมาเกื้อกูลได้ ...

ธรรมที่ทำให้ชาวเมืองมีความเจริญ [สารันททสูตรที่1]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
panasda
วันที่ 29 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์กาญจนา เป็นอย่างยิ่ง ครับ เป็นข้อความที่ไพเราะ เตือนใจดีเป็นอย่างยิ่ง ครับ

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ในความเป็นจริงของกุศล กับ อกุศล ดังนี้ ครับ

ชีวิตประจำวันของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ นั้น อกุศลจิตของเรานั้นเกิดมากมายทีเดียว เพราะไม่ว่าจิตจะมีอารมณ์ใดมากระทบ ทั้งที่น่าปรารถนา และที่ไม่น่าปรารถนา จิตของเราก็เป็นอกุศล เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมโดยละเอียด ก็จะไม่มีทางรู้อย่างนี้ได้เลย เพราะฉะนั้น จึงต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อจะ ได้ทราบว่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำรัสเตือนอยู่บ่อยๆ เนืองๆ อย่างนี้ ก็เพื่อ ให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาได้เข้าใจตนเอง ให้รู้ว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล หรือ จิตเป็นกุศล นี้แหละที่จะเป็นหนทางที่จะดับกุศลได้

จิตของใครจะเป็นอย่างไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการสะสมของแต่ละบุคคล เมื่อฟัง พระธรรมแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะไปบังคับบัญชาสภาพธรรมได้ แต่เพื่อให้เราเข้าใจว่า สิ่งไหนจะดีกว่ากันระหว่างกุศลจิต กับ อกุศลจิต ซึ่งควรที่จะเข้าใจตรงนี้ก่อน และ เมื่อเข้าใจจริงๆ แล้วก็จะเป็นเหตุปัจจัยทำให้กุศลจิตแต่ละประเภทเกิดขึ้นได้ในชีวิต ประจำวัน

การฟังพระธรรมให้เข้าใจและเห็นโทษของกุศล จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้กุศลจิตเกิดได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่เห็นโทษของกุศลจิต ก็จะเดือดร้อน เพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้น และจะพอกพูนกุศลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า กุศลจิต เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัย โดยอาศัยความเข้าใจ และ การเห็นโทษของกุศล ที่เกิดจากได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะถ้ายังไม่เห็นโทษของกุศล ก็ยังละกุศลไม่ได้ และถ้ายังไม่เข้าใจ ก็หมายความว่ายังไม่เห็นโทษของกุศล อยู่นั่นเอง จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อเห็นโทษของกุศลตามความเป็นจริง และ สะสมกุศล เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ต่อไป

ถ้าทุกคนเป็นอย่างนี้ได้ แต่ละคนก็ปลอดภัย ส่วนรวมก็ปลอดภัย เนื่องจากว่าเป็นผู้น้อมไปในทิศทางเดียวกัน คือ สะสมความดี และ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ เมื่อความเข้าใจเจริญขึ้นก็อุปการะเกื้อกูลให้ความดีเจริญขึ้น ปัญหาต่างๆ ก็จะไม่มี ครับ.

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 29 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หากเข้าใจตามความเป็นจริงของสัจจธรรมแล้ว ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่ธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูปทีเกิดขึ้นเป็นไป และสมมติว่าเป็นสัตว์ บุคคล มีการกระทำต่างๆ ทางกาย วาจาและ ใจ ซึ่ง หากจะพูดถึง ความปรองดอง ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรม ที่มีจริง ที่เป็นสภาพธรรม ที่เข้ากันได้ สามัคคีกัน ไม่แยกกัน ซึ่งจะขออธิบายราย ละเอียด หลากหลายนัยดังนี้ ครับ

ความปรองดอง ที่ไม่แยกกัน เข้ากันได้ ของสภาพธรรม ประการหนึ่ง เรียกว่า สัมปยุตต์ธรรม คือ สภาพธรรมที่เข้ากันได้ ไม่แยกกัน เหมือน น้ำ กับน้ำนม ที่ เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ปรองดองกัน เข้ากันได้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ประกอบกัน นั่นก็คือ จิต เจตสิกทีเกิดขึ้น จิตเมื่อเกิดขึ้น จะต้องอาศัย เจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตกับ เจตสิกเข้ากันได้ดี เป็นธรรมที่เรียกว่า สามัคคีกัน ปรองดองกัน อันเป็นปัจจัยซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทีเกิดร่วมกัน ที่เรียกว่า สัมปยุตต์ธรรม ครับ

เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่สภาพธรรม ความปรองดอง เข้ากันได้ ก็ต้องป็นเรื่องของสภาพธรรมเช่นกัน นั่นก็คือ จิต เจตสกิที่กำลัเงกิดในขณะนี้ นี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่อุบัติย่อมไม่รู้ความจริงเลยว่า ไม่มีใคร ไม่มีเรา ที่จะสามัคคี ปรองดอง แต่ มีแต่เพียงสภาพธรรมที่เข้ากันได้ และ ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล นั่น ก็คือ จิต เจตสิก ครับ นี่คือ ความหมายของการเข้ากันได้ ปรองดอง ที่เป็น สภาพ ธรรมทีเป็น สัมปยุตตธรรม คือ จิต เจตสิก โดยนัยที่ 1 ครับ

อีกประการหนึ่ง ความปรองดอง ที่ลึกลงไปในสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็คือ สภาพ ธรรมที่เป็นฝ่ายดี และ สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายไม่ดี หากเรามองทางโลก ทำไมบาง คนเข้าได้กับคนนี้ ไม่เข้ากับคนี้ ชอบคนนี้ ไม่ชอบคนนี้ แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เป็นต้น ก็เพราะ อาศัยความต่างกันของธาตุ คือ สภาพธรรมที่สะสมมา คือ จิต เจตสิกนั่นเอง ที่สะสมมาแตกต่างกันไป ผู้ที่มีธาตุเดียวกัน คือ สะสมอุปนิสัยมาเหมือนกัน ไม่ว่าจะ เป็นธาตุดี หรือ ธาตุเลว ธาตุเลว ก็ย่อมไหล เข้ากันได้กับธาตุเลว ก็รวมกลุ่มกันไป ธาตุดี ก็ย่อมรวมกลุ่มกันของธาตุดี ก็แบ่งกลุ่มกันไปตามธาตุนั้น แต่ ธาตุเลว คือ อกุศลธรรม ย่อมเข้ากันไม่ได้ กับ ธาตุดี ทีเป็น กุศลธรรม ดั่งเช่น น้ำมัน กับ น้ำ ที่เข้ากันไม่ได้

ดังนั้น จึงกล่าวได้อีกนัยหนึ่ง ของ ความหมายของการปรองดอง คือ การปรองดอง เข้ากันได้ ของสภาพธรรมแต่ละอย่าง และ การไม่ปรองดอง เข้ากัน ไม่ได้ของสภาพะรรมแต่ละอย่าง กุศลธรรม ย่อมเข้ากันได้ กับ กุศลธรรม ปัญญาเกิดขึ้น ย่อมมีเจตสิกที่ดีเกิดขึ้น ปัญญา ย่อมเข้ากันได้ กับ สติ หิริ โอตตัปะ ปรองดองกันเข้ากันได้โดยสภาพธรรมทีเกิดร่วมกัน ทีเป็นสภาพธรรม ฝ่ายดีเหมือนกัน แต่ ปัญญา ย่อมเข้ากันไม่ได้ ไม่ปรองดอง สามัคคี และไม่เกิด ร่วมกับ อวิชชา ความไม่รู้ ความโลภ ความโกรธ เป็นต้น ทีเป็นสภาพธรรมที่เป็น อกุศล กุศละรรมจึงเข้ากันได้ กับ กุศลธรรม อกุศลธรรม ไม่เข้ากันกับ กุศลธรรม ส่วนสภาพธรรมที่ไม่ดี มี อวิชชา เป็นต้น ก็เข้ากันได้ สามัคคี ปรองดองกับสภาพ ธรรมที่ไม่ดี เช่น โลภะ โทสะ ริษยา มานะ เป็นต้นเหล่านี้ เพราะ เมื่อ อกุศลเกิด ก็มีความไม่รู้เกิดร่วมด้วยเสมอ เพราะฉะนั้น ก็เป็นสภาธรรมที่เป็นอกุศลที่ปรองดอง กันอยู่นั่นเอง ครับ

เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริง ที่จะเป็นความเห็นถูกแล้ว ขณะนี้ กำลังปรองดองกับอะไร และ มีสภาพธรรมอะไรที่กำลังปรองดองกันอยู่ จึงไม่ต้องไปแสวงหา พยายามให้ใคร หรือคนอื่นปรองดองกัน เพราะ สัตว์ทั้งหลาย คบกันโดยธาตุ ตามการสะมมาท่ไม่เหมือนกันเลย จึงไม่มีตัวตที่จะไปจัดการ สำคัญ คือ ตนเอง ในขณะนี้ มากไปด้วยความปรองดองกับอะไร กุศลธรรม หรือ อกุศลธรรม

เพราะฉะนั้น ก็ควรอบรมสภาพธรรมที่ปรองดองกันแล้วเกิดประโยชน์ เกิดความ เห็นถูก นั่นคือ การอบรมสภาพธรรมทีเกิดร่วมกัน ปรองดองกัน ด้วยกุศลธรรม อัน เริ่มจาการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นสำคัญ

เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ย่อมนำมาซึ่ง กุศลธรรมประการต่างๆ ปรองดองด้วย กุศลธรรม จนถึง ความปรองดองสูงสุด คือ อริยมรรค มีองค์ 8 การเข้ากันได้ ปรองดอง ประชุม รวมกันของสภาพธรรม องค์ 8 ที่เป็นไปเพื่อดับกิเลส ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Parinya
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอร่วมสนทนากับคุณ Janya Pinpard เพราะผมเองก็อยากจะเห็นบ้านเมือง มีความสงบ

ผมก็เลยนำ สารันททสูตรที่1 ผมคัดลอกมาจาก

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 43

วัชชีวรรคที่ ๓

๑. สารันททสูตร

เชิญคลิกอ่านที่นี่

[วัชชีวรรคที่ ๓ สารันททสูตร]

ก็จะขอเรียนถามคุณ Janya. Pinpard. ว่า

"ปรองดอง คู่ กับ นิรโทษกรรมอยู่ตรงไหนใน สารันททสูตรที่ 1"

ขอแสดงความนับถือ

ปริญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Parinya
วันที่ 31 ส.ค. 2556

เรียนคุณ Janya Pinpard

อปริหานิยธรรม 7 ประการ เป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นเพื่อความเจริญ ฝ่ายเดียว และสำหรับหมู่ชน หรือสำหรับผู้ที่บริหารบ้านเมือง ผมขออภัย ที่ตั้งกระทู้ถาม คุณว่า ปรองดองคู่กับนิรโทษกรรม อยู่ตรงไหนในสารันททสูตรที่ 1. การปรองดอง และนิรโทษกรรม ถ้านำความสุขมาสู่ทุกคนในประเทศได้ ก็คือผลดี ที่ทุกคนจะได้รับ วันหนึ่งๆ อกุศลเกิดขึ้นมากกว่ากุศล แต่ถ้าได้รับฟังคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า บ่อยๆ เนืองๆ กุศลจิตก็คงจะเกิดเพิ่มขึ้น ความมีเมตตา การให้อภัย ก็เป็นธรรมฝ่ายดี ที่ควรสะสมไว้ในจิต

ขออนุโมทนากับคุณ Janya Pinpard ที่เสนอแนะ อปริหานิยกรรมธรรม ๗ ประการ มาให้อ่าน กว่าจะมีความเข้าใจในพระสูตรนี้ ก็ต้องอ่านและพิจารณาอย่างมาก

ปริญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Boonyavee
วันที่ 31 ส.ค. 2556

ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 31 ส.ค. 2556

ขอขอบคุณและอนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 2 ก.ย. 2556

พระธรรม ... ปรองดองกับนิรโทษกรรมคงไม่มีแบบตรงๆ ในเหตุการปัจจุุบัน..ด้วยความเชื่อ ว่าพระธรรมตอบคำถามได้ทุกสิ่งเลยลองหาดูคิดว่า สารันททสูตรน่าจะเป็นแแนวทาง แก้ปัญหาที่เรียกว่าการเมืองได้ ... เช่น จักบัญญัติ สิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่งที่ท่าน บัญญัติไว้แล้วประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชีครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้

ถ้าดูความหมายในอรรถกถาน่าจะเข้ากับการปรองดองที่ดูเหมือนมีเงื่อนไขของนิรโทษ กรรม ... ... อย่างไรก็ตามความเข้าใจธรรมะและความคิดแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน.. ถ้าเหมือนกันคงไม่ต้องปรองดอง

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
rrebs10576
วันที่ 21 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 21 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ด้วยความเคารพ จาก ใหญ่ราชบุรี - ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ