ภวังคจิตเป็นผลของกรรม...

 
ดวงทิพย์
วันที่  29 ส.ค. 2556
หมายเลข  23464
อ่าน  1,303

อยากเรียนถามว่า....ภวังคจิตนั้นเกิดหลายครั้งมากตลอดชีวิตที่ยังไม่ตาย....ภวังคจิตเป็น

ผลของกรรม....คำถามคือ แต่ละขณะของภวังคจิตแต่ละขณะซึ่งนับไม่ถ้วนเกิดจากกรรม

เดียวกันด้วยเหตุผลว่า...ภวังคจิตทำกิจดำรงภพชาติ.... หรือมีกรรมมากมายที่เป็นเหตุ

ของภวังจิตแต่ละขณะค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ภวังคจิต คือ จิตที่ดำรงภพชาติของความเป็นบุคคลนี้ เป็นวิบากจิต ซึ่ง ภวังคจิต

นั้น เป็นจิตชาติวิบาก มีอารมณ์เดียวกับ ปฏิสนธิจิต และจุติจิต และเกิดจากกรรม

เพียงกรรมเดียว กรรมใด กรรมหนึ่ง ที่เป็นกรรมเดียวกับการทำให้เกิดปฏิสนธิจิต ครับ

เพราะฉะนั้น กรรมใดที่ทำให้เกิดปฏิสนธิจิต เช่น เกิดเป็นมนุษย์ ในชาตินี้ ปฏิสนธิ

จิตในชาตินั้นก็เกิดด้วย กุศลกรรม เช่น มหากุศลดวงใดดวงหนึ่ง เช่น เกิดจากบุญที่

เกิดจากการให้ทาน เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ก็เกิดภวังคจิตต่อ ภวังคจิตนั้น ก็เป็นผล

มาจาก กุศลกรรมที่เป็นการให้ทานเช่นเดียวกัน และ แม้ภวังคจิตอื่นที่เกิดต่อไม่ว่า

จะขณะใดก็ตามในชาตินี้ นับไม่ถ้วน ก็ต้องเกิดจากกรรมเดียว ที่เหมือนกันกับปฏิ-

สนธิจิตนั่น คือ กุศลที่เป็นการให้ทาน นั่นเอง ที่ทำให้เกิดปฏิสนธิจิต ภวังคจิตก็

ต้องเกิดจากกรรมเดียวเท่านั้น ที่เหมือนกับปฏิสนธิจิต ครับ รวมถึง จุติจิตที่เหมือน

กันด้วย ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ภวังคจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้ จนกว่าจะ

จุติ ในชีวิตประจำวัน มีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

และทางใจ สลับกับภวังคจิต

ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ดำเนินไปในแต่ละวันๆ นั้น เป็นจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นเป็นไป

ดำรงอยู่เพียงชั่วหนึ่งขณะจิตเท่านั้น จึงไม่พ้นไปจากวิถีจิต (จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทาง

หนึ่งทางใดใน ๖ ทาง คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจในการรู้

อารมณ์) และ จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต (จิตที่ไม่ต้องอาศัยทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางในการรู้

อารมณ์ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต จิตทั้ง ๓ ประเภทนี้ ได้แก่ วิบากจิต

ประเภทเดียวกัน ที่เกิดขึ้นทำกิจปฏิสนธิ ทำกิจภวังค์ และ ทำกิจจุติ ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิด

เป็นอะไร) ดังนั้น ในภพนี้ชาตินี้ ปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นจิตขณะแรกเกิดแล้วดับไปแล้ว ส่วน

จุติจิต ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีใครทราบได้ ชีวิตประจำวันจึงมีแต่วิถีจิต

สลับกับภวังคจิต (ไม่ใช่วิถีจิต) จนกว่าจะถึงคราวที่จุติจิต เกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความ

เป็นบุคคลนี้ในภพนี้ชาตินี้ และสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ด

ขาด ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อยู่ร่ำไป เดินทางไกลในสังสารวัฏฏ์อีกต่อไป

การศึกษาเรื่องจิต ก็เพื่อเข้าใจจิตตามความเป็นจริงว่า จิตเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์

บุคคล ตัวตน เพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรมยิ่งขึ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ภวังคจิต คือ จิตที่ดำรงภพชาติ ถ้าคนนั้นเป็นคน ภวังคจิตก็เกิดจากรรมที่เป็น

คนไปตลอด ถ้าเกิดเป็น นก ภวังคจิต ก็ดำรงภพชาติ ด้วยกรรมที่เกิดเป็น นก

ไปตลอด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ภวังคจิต ปฏิสนธิจิต จุติจิต ที่มีอารมณ์เดียวกันนั้น หมายถึงในชาติเดียวกัน

ใช่ไหมคะ หรือจุติจิตของชาติก่อนคะ

รบกวนถามเพิ่มอีกนิดค่ะ ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ถูกต้องครับ ในชาติเดียวกัน ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

ในชาตินี้ ชาติเดียวกันมีอารมณ์เดียวกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 31 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ