ละอายใจต่อความชั่ว เกรงกลัวผลของบาป

 
ประวิทย์พลีไพร
วันที่  29 ส.ค. 2556
หมายเลข  23466
อ่าน  2,494

ละอายใจต่อความชั่ว: ยังพอเข้าใจครับละอายที่จะไม่ทำชั่ว ใจก็เป็นกุศล

เกรงกลัวผลของบาป : ไม่ค่อยเข้าใจครับ เพราะเวลาผมกลัวใจเป็นอกุศลทุกที และไม่กล้า

ทำอะไรเลยครับแม้แต่กิจชีวิตประจำวัน เวลาทำกิจวัตรประจำวันก็ต้องกระทบสัตว์ต่างๆ

ก็เลยกลัวไปหมด มีแต่อะกุศลทั้งที่ไม่คิดจะทำร้ายใคร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เกรงกลัวต่อการทำบาป ทีเป็นโอตตัปปะ ไม่ได้หมายถึง โทสะ ความกลัว ที่

เป็นอกุศล ที่กลัวด้วยความหวาดกลัวที่จะไดรับผลของกรรม หรือ กลัว

ตกนรก ด้วยโทสะ อันนี้ไม่ใช่กุศลแน่นอน และ ไม่ใช่โอตตัปปะ แต่เป็นการเกรง

กลัวที่เห็นโทษของอกุศลตามความเป้นจริงที่จะนำมาซึ่งโทษ ด้วยปัญญา จึงเกิด

โอตตัปปะในขณะนั้น จึงงดเว้นจากากรทำชั่ว ซึ่ง การจะได้รับผลของกรรมนั้น

จะต้องล่วงทุจริตมีกำลัง เช่น การล่วงศีล แต่การทำงาน ดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน

ด้วยอกุศลจิต แต่ ไม่ถึงการล่วงศีล จึงไม่ให้ผลอะไร แต่สะสมเป็นอุปนิสัย จึงไม่ต้อง

กลัวที่จะไม่ทำอะไรเลยครับ ใช้ชีวิตเป็นปกติ พร้อมๆ กับการศึกษาพระธรรม อบรม

ปัญญา เป็นสำคัญ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์จากการได้ยินได้ฟังพระธรรม คือ เข้าใจถูกเห็นถูก ว่า มีแต่ธรรม เท่านั้น

ที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เมื่อประมวลแล้ว ก็ไม่พ้นไปจากความเกิด

ขึ้นเป็นไปของธรรมที่เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม ไม่พ้นไปจากนี้เลย แต่ก็ไม่รู้จนกว่าจะได้

ฟังพระธรรมที่พระสัมมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

เป็นอย่างอื่น จะเห็นได้ว่า ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นเป็นไปนั้น จะไม่ปราศจากธรรมฝ่ายดี ๒

อย่าง คือ หิริ ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะความเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป

ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งพอจะเข้าใจได้ว่า การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น มีเมตตา ความเป็นมิตรเป็น

เพื่อนกับผู้อื่น หวังดี ไม่หวังร้าย การไม่โกรธผู้อื่น การให้อภัยความประพฤติไม่ดีของผู้อื่น

การวิรัติงดเว้นจากทุจริตกรรมประการต่างๆ ตลอดจนถึงการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม

อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น นั้น ล้วนเพราะหิริโอตตัปปะ เกิดขึ้นทำ

กิจหน้าที่ทั้งนั้น ซึ่งจะตรงกันข้ามกับขณะที่เป็นอกุศลอย่างสิ้นเชิง เพราะขณะใดก็ตาม

ที่จิตเป็นอกุศล ขณะนั้นปราศจากหิริโอตตัปปะ

ในขณะที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นนั้น คุ้มครองให้จิตไม่เป็นอกุศล และในขณะที่กุศลจิต

เกิดขึ้นเป็นไปนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งแก่ตนและแก่บุคคลอื่น

เพราะเกรงกลัวโทษภัยของอกุศล จึงไม่ทำอกุศล ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ปกติก็ควรรักษาศีลห้า อกุศลเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว แต่สามารถอบรมปัญญาได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ประวิทย์พลีไพร
วันที่ 30 ส.ค. 2556

ขอบคุณครับ เป็นครับตอบที่ชัดเจนมาก เป็นไปเพื่อกุศลจริงๆ

การสะสมเป็นอุปนิสัย มีลักษระเป็นอย่างไรบ้างครับ

และคุณสมบัติอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

จิตเป็นสถานธรรมที่สะสม สะสมสิ่งที่ดี และ สะสมสิ่งที่ไม่ดี คือ ขณะที่

กุศลจิตเกิดเช่น ให้ทาน ขณะนั้นก็สะสมอุปนิสัยในการให้ทาน ให้ทาน

ได้ง่ายขึ้น ถ้าเกิดอกุศล เช่น โกรธ ก็สะสมอุปนิสัยที่จะโกรธง่ายขึ้น

ดังนั้น คุณสมบัติของการสะสม คือ จิต ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประวิทย์พลีไพร
วันที่ 31 ส.ค. 2556

ขอบคุณครับ ขอบคุณในความ เมตตา กรุณา ที่ชี้ทางสว่างตลอดมา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ