ศีลขาด
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ
บทว่า ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ความว่า ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายใคร่แล้ว คือ เป็นที่ชอบใจเทียว เพราะว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ไปแล้วระหว่างภพ ก็ไม่ทำให้ศีลห้ากำเริบ ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ หมายเอาศีลห้าเหล่านั้น แม้ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น คำว่า ไม่ขาดเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เช่น เดียวกันเทียว ส่วนหนึ่งขาดที่ริม ท่านเรียกว่า ขาดตามลำดับ.
บทว่า ขาดทะลุในท่ามกลาง ความว่า ส่วนเหล่านั้นมีชนิดต่างกันในที่หนึ่ง.
บทว่า ด่าง ได้แก่ มีลวดลายต่างๆ .
บทว่า พร้อย ความว่า ศีลที่แตกในข้อต้น หรือที่สุดไปตามลำดับอย่างนี้ ชื่อว่า ขาด ที่แตกในท่ามกลาง ชื่อว่า ทะลุ ชื่อว่า ด่าง เพราะขาดไปตามลำดับ ๒-๓ สิกขาบทในที่ใดที่หนึ่ง ที่ทำลายระหว่างสิกขาบทหนึ่ง ชื่อว่า พร้อย พึงทราบความที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น เพราะไม่มีโทษเหล่านั้น.
บทว่า เป็นไทย ได้แก่โดยกระทำความเป็นไท.
บทว่า วิญญูชนสรรเสริญ ความว่า อันวิญญูชนทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว.
บทว่า อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว ความว่า อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาจลูบคลำอย่างนี้ว่า ความตรึกชื่ออันท่านทำแล้ว ความตรึกนี้ท่านทำแล้ว.
บทว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ ความว่า สามารถเพื่อให้อัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิเป็นไป.